Tempelhof สวนสาธารณะเบอร์ลินจากสนามบินสมัยสงครามโลก

พื้นที่สาธารณะในเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นั้นมีมากมาย ทั้งสวนสาธารณะ ทางจักรยาน ไปจนถึงสเปซคนเดิน เพื่อรองรับประชากรเกือบ 4 ล้านคนให้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยหนึ่งในพื้นที่ซึ่งนำมาเปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองคือ สถานที่รกร้าง เราเลยชวนทุกคนมาสำรวจพื้นที่สาธารณะในเมืองเบอร์ลิน ที่ถือกำเนิดขึ้นจากการคืนชีวิตให้พื้นที่รกร้างมีลมหายใจอีกครั้ง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวเบอร์ลิน Tempelhof สวนบนสนามบินร้าง เท็มเพลโฮฟ (Tempelhof) คือชื่อของสนามบินที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตเท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์ค ทางใต้กลางของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งในอดีตนั้นยิ่งใหญ่ในฐานะสนามบินหลักของเมืองเบอร์ลิน มีอาคารผู้โดยสารที่เคยใหญ่ที่สุดในยุโรป รวมถึงเป็นสนามบินแรกของเยอรมนีซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยเครื่องบินขึ้นไปถ่ายภาพทางอากาศ และปล่อยบอลลูนที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ไม่เพียงเท่านั้น ความที่สุดของสนามบินเท็มเพลโฮฟคือสองพี่น้องตระกูลไรต์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก เคยมา Take Off เครื่องบินที่นี่และทำสถิติใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับวงการการบินในเยอรมนี มากไปจนถึงเคยเป็นส่วนหนึ่งของการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา สนามบินเท็มเพลโฮฟปิดตัวลงเมื่อ ค.ศ. 2008 และได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะมีทางทอดยาว และกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่เปิดที่มีขนาดใหญ่มากของโลก ซึ่งชาวเบอร์ลินถูกใจกับสิ่งนี้ไม่น้อย และมักออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่สวนสาธารณะเท็มเพลโฮฟ ไม่ว่าจะเป็นเล่นสเก็ต เล่นว่าว ขี่จักรยาน และยังมีสวนกว้างใหญ่สองข้างทางให้ชาวเมืองได้มานั่งปิกนิกรับแดด […]

เลาะชายแดนสวีเดน-นอร์เวย์ พบเผ่าต้นกำเนิด Elsa ฟังอดีตของวันที่ยังไม่มีเส้นแบ่งประเทศ

ย้อนกลับไปในช่วงเวลานี้ของปีที่แล้วพอดี ก่อนที่พายุโควิด-19 จะเคลื่อนตัวเข้าถล่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เรายังเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการเพื่อความยั่งยืนอยู่ในมหาวิทยาลัยประจำเมืองมัลเม่อ (Malmö) ที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เมืองที่เรากับเพื่อนๆ คนไทยตั้งชื่อเล่นให้ว่า ‘หาดใหญ่สวีเดน’ เพราะมันเป็นเมืองใหญ่ที่มีทุกอย่างเหมือนเมืองหลวง แม้จะมีอย่างละนิดละหน่อย แต่เราไม่เคยรู้สึกว่าการใช้ชีวิตในมัลเม่อเหมือนขาดอะไรไป เว้นแค่อย่างเดียว… หิมะ จากบ้านที่เมืองไทยไปเรียนไกลถึงสวีเดน เราอดหวังไม่ได้หรอกว่าจะได้ใช้ชีวิตท่ามกลาง White Winter ได้เดินทางไปเรียนท่ามกลางหิมะฟูๆ นุ่มๆ ดูสักครั้ง แต่เอาเข้าจริงหาดใหญ่สวีเดนนั้นไม่ได้มีหิมะเยอะอย่างที่คิด ตามสถิติแล้วหิมะตกแค่ปีละไม่ถึง 10 วัน ซ้ำร้ายปี 2018 – 2019 ยังเป็นปีที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างหนักในภูมิภาค ในฤดูร้อนเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ แล้วจะเอาอะไรมาหวังว่าจะมีหิมะนุ่มๆ ในฤดูหนาว และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เรากับเพื่อนสาวชาวเบลเยียมวางแผนมุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อหวังไปนอนกอดหิมะให้สาแก่ใจ ปลายทางของทริปสองสาวนักศึกษาครั้งนี้อยู่ที่เมืองคีรูน่า (Kiruna) เมืองขนาดเล็กที่อยู่เหนือสุดของประเทศสวีเดน ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาปกคลุมด้วยหิมะและป่าสน และเป็นเมืองชายแดนติดเมืองนาร์วิก (Narvik) ประเทศนอร์เวย์ นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งของเมืองคีรูน่ามีชื่อเรียกในหมู่นักเดินทางว่า Swedish Lapland ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสมองเห็นแสงเหนือในตำนานอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ช่วงเวลาที่เราเดินทางไม่ใช่ฤดูกาลล่าแสงเหนือ จึงอดไปตามระเบียบ เราตั้งใจใช้สิทธิ์ความเป็นนักศึกษาให้เต็มที่ จึงจองทริปราคาประหยัดกับเอเจนซี่ที่ให้บริการทริปสำหรับนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้ได้ทริปที่มีหมุดหมายสมใจอยากในราคาน่ารักน่าเอ็นดู ทั้งการเล่นเลื่อนหิมะกับเหล่าน้องหมาฮัสกี้ เยี่ยมชมฟาร์มเรนเดียร์ของชนพื้นเมือง เดินชมเขตเหมืองเหล็กเก่าตั้งแต่สมัยสงครามโลก ข้ามชายแดนไปแช่ทะเลสาบที่ไม่มีวันเป็นน้ำแข็ง […]

‘ปล่อยแกะออกไปกินหญ้า’ วิถีธรรมชาติของกรุงปรากที่ทำให้ คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันได้

เมื่อฤดูใบไม้ผลิและหน้าร้อนเริ่มมาเยือน ผู้คนในกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก มักจะเห็นฝูงแกะและแพะกระจายตัวอยู่ตามลานหญ้า สวนสาธารณะ และพื้นที่ธรรมชาติต่างๆ ทั่วเมือง แต่รู้หรือไม่ว่า ฝูงสัตว์เหล่านี้ไม่ได้ถูกส่งมาเพื่อให้ถ่ายรูป หรือแจกความน่ารักให้ชาวเมืองได้ชื่นชมเท่านั้น พวกมันยังเป็นฮีโร่ดูแลธรรมชาติและสร้างระบบนิเวศอย่างยั่งยืนเลยทีเดียว

แปลงร่างรถตู้คันเก่าเป็นรถบ้านคู่ใจ แล้วพาร่างกายออกไปแคมปิ้งอย่างอิสระเสรีในงบแสนห้า

เราเชื่อว่าครั้งหนึ่งหลายคนคงเคยมีฝันอยากออกเดินทางเที่ยวรอบโลก แต่ในวันที่ไฟลท์บินถูกยกเลิกกระทันหัน อิสระของเราถูกกักขังด้วยข้อจำกัดในการเดินทาง หญิงสาวผู้โหยหาชีวิตอิสระจึงพาตัวเองไปเปิดประสบการณ์ค่ำไหนนอนนั่น โมดิฟายรถตู้คันเก่าให้เป็นรถบ้านคู่ใจ

กระท่อมนอกเมืองยุคคอมมิวนิสต์จำกัดอิสรภาพชาวเช็ก ที่กลับมาฮิตอีกครั้งในช่วง COVID-19

เมื่อเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างการระบาดของ Covid-19 ทำให้การท่องเที่ยวตามฝันที่อยากจะโบกโบยบินไปทั่วโลกอาจต้องถูกพักลงชั่วคราว แต่ใครจะรู้บ้างว่าสถานการณ์และความรู้สึกถูกจำกัดการเดินทางท่องเที่ยวเช่นนี้ ไม่ได้เกิดกับชาวเช็กเป็นครั้งแรก

นั่งชมวิวจากยอดภูเขาหิน ในหมู่บ้านจิ๋ว Svatý jan pod skalou ที่สาธารณรัฐเช็ก

Svatý Jan pod Skalou เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ถึงเล็กมาก ที่มีคนอาศัยอยู่เพียงร้อยกว่าครัวเรือนเท่านั้น และเป็นหนึ่งในหมู่บ้านที่สวยงามที่สุดในแคว้นโบฮีเมีย แห่งสาธารณรัฐเช็ก มีธรรมชาติเขียวขจีรายล้อมและมีแม่น้ำ Berounka ไว้เติมความสดชื่นให้ชุมชน หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในใจกลางเขตอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีชื่อว่า Karlštejn อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากกรุงปรากเพียง 30 กิโลเมตรเท่านั้น เอกลักษณ์อีกอย่างของหมู่บ้านนี้คือตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีภูเขาหินล้อมรอบ

Kutná Hora เมืองเล็กๆ แต่เสน่ห์ล้นจน UNESCO ต้องยกให้เป็นแหล่งมรดกโลก

ตามไปชมเมืองเล็กๆ ในสาธารณรัฐเช็ก Kutná Hora ที่ผสมผสานธรรมชาติและสถานที่ประวัติศาสตร์ได้อย่างกลมกลืนจน UNESCO ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก ขึ้นเขาชมโบสถ์ประจำเมืองสไตล์โกธิก St. Barbara´s Cathedral ที่ใช้เวลาสร้างนานกว่า 500 ปี และหันหลังมองวิวเมืองสุดโรแมนติก

เมื่อวันอาทิตย์เวียนมา ถึงเวลา ‘เดินเขา’ กิจกรรมยอดฮิตของชาวเยอรมัน

ในวันอาทิตย์ที่ทุกอย่างปิดทำการในประเทศเยอรมนี การเดินเขาเป็นกิจกรรมกลางแจ้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถึงขั้นมีสมาคมที่ดูแลเส้นทางต่างๆ และกระท่อมตามหุบเขาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว

Art Gallery ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกลางกรุงปราก เชื่อมโยงศิลปะกับชีวิตคนเมือง

Art Gallery เป็นสิ่งที่หลายคนอาจมองว่าเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยศิลปะชั้นสูง ที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจ ‘ MEGA Gallery ’ แกลเลอรี่น้องใหม่สัญชาติแคนาดา จึงร่วมมือกับกรมการขนส่งมวลชนแห่งกรุงปราก เพื่อสร้างปรากฏการณ์ยกเอาผลงานกราฟิตี้ ที่เรามักเห็นตามกำแพงริมถนน ( Street Art ) ให้เข้ามาอยู่ใน Art Gallery แนวใหม่ ที่จัดขึ้นพิเศษในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินกลางกรุงปราก โดยมีคอนเซปต์เก๋ไก๋ในการเชื่อมโยง Street Art ให้เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน ผ่านการสัญจรในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนเมือง

‘Tainan Spring’ คืนชีพอาคารร้างเก่าให้กลายเป็นสวนน้ำสาธารณะกลางแจ้งแห่งแรกของไต้หวัน

หนึ่งในพื้นที่สาธารณะของประเทศใต้หวันที่เราหมายมั่นตั้งใจว่าต้องมาให้ได้สักครั้งหนึ่งไหนๆ ก็ยังกลับประเทศไทยไม่ได้เราเลยแวะไปสำรวจ ‘Tainan Spring’ สวนน้ำสาธารณะใจกลางเมืองไถหนัน ผลงานการออกแบบล่าสุดของ MVRDV สตูดิโอสถาปัตยกรรมสัญชาติดัตช์สวนสาธารณะที่สร้างความตื่นเต้นและฮือฮาให้ชาวไต้หวัน (รวมถึงเราเองด้วย) ไม่น้อยเลย เราอาจเรียก Tainan Spring ว่าเป็นสวนน้ำกลางแจ้งในเมืองแห่งแรกของไต้หวันก็ว่าได้ โครงการฟื้นฟูพื้นที่ T-Axis ทางฝั่งตะวันออกของเมืองไถหนันนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 เมื่อสำนักงาน Urban Development Bureau เทศบาลเมืองไถหนัน (Tainan City Government) ต้องการสร้างพื้นที่สาธารณะที่ให้คนในเมืองมารวมตัวกัน ช่วยกระตุ้นการเดินเท้าในย่าน Haian Road ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อเมืองกับคลองไถหนัน (Tainan Canal) ซึ่งระบบคลองถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองไถหนันมาตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิงในช่วงปี ค.ศ. 1800 และยังเป็นแหล่งสร้างงานสร้างอาชีพผ่านธุรกิจประมงและธุรกิจท่องเที่ยวในเมือง Tainan Spring ยังคงคอนเซปต์การรีโนเวตอาคารเก่าร้างมาแปลงใหม่เป็นพื้นที่สาธารณะตามสไตล์ที่ไต้หวันเขาถนัด ทั้งยังสะท้อนแนวคิด Circular Economy อีกด้วยนะ เพราะเดิมพื้นที่นี้คือ Tainan China Town Mall แหล่งช้อปปิ้งยอดฮิตของชาวไถหนันที่สร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 จนเวลาผ่านเลยไป ความคึกคักก็น้อยลงจนต้องปิดตัวลงไปเมื่อปี […]

แปลงร่างตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่าเป็น ‘ห้องสมุดจิ๋ว’ แลกเปลี่ยนหนังสือส่งต่อพลังบวก

ในปัจจุบันเมื่อโลกหมุนนำพาเราเข้าสู่ยุคดิจิตอล ที่มีสมาร์ทโฟนเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่เราเคยหยอดเหรียญโทรหากันเมื่อก่อน จึงกลายเป็นเพียงสิ่งคลาสสิก ตั้งตระหง่านตามริมถนน และแทบไม่มีใครกดใช้งานมันไปเสียแล้ว แต่ถ้าจะทำการรื้อถอนให้หมดเกลี้ยงก็น่าเสียดาย แถมยังเป็นการเพิ่มขยะให้โลกเราอีกต่างหาก จึงเกิดไอเดียสายกรีนสุดล้ำแปลงร่างตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่าให้ฟื้นคืนชีพ กลายเป็นห้องสมุดจิ๋วที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ตู้โทรศัพท์สาธารณะร้างหลายตู้ในกรุงปราก ถูกปรัับเปลี่ยนให้กลายเป็นห้องสมุดจิ๋วที่เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแบ่งปันและแลกเปลี่ยนหนังสือกัน โดยแต่ละตู้ถูกแปลงร่างด้วยวิธีการง่ายๆ เพียงแค่ทำความสะอาด ต่อเติมชั้นวางหนังสือด้านใน ติดไฟเข้าไปสักดวง จากนั้นก็นำหนังสือที่เราอ่านแล้วเข้าไปวางเรียงในตู้ พร้อมให้นักอ่านได้เข้ามาเลือก หมุนเวียนแลกเปลี่ยนหนังสือกันอย่างเสรี เสมือนเป็นห้องสมุดที่เปิดให้เข้าฟรีตลอด 24 ชั่วโมง แถมยังสามารถยืมหนังสือได้ตามใจชอบ โดยไม่ต้องสมัครสมาชิกอีกด้วย “ ห้องสมุดในมุมมองใหม่ที่เพลิดเพลินและเข้าถึงได้ง่ายกว่าเดิม ” ไอเดียการ REUSE แปลงร่างตู้โทรศัพท์สาธารณะเก่านี้ ไม่ได้เป็นเพียงไอเดียที่ช่วยลดขยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดมุมมองและภาพลักษณ์ใหม่ของคำว่า “ ห้องสมุด ” เพราะเมื่อก่อนหากเราพูดถึงห้องสมุด ใครหลายคนอาจนึกถึงความเงียบสงบ ความน่าเบื่อ และเป็นสิ่งที่อาจเข้าถึงยาก หรือบ้างก็มองว่าห้องสมุดเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยความรู้ เหมาะสำหรับนักปราชญ์หรือนักศึกษาเกียรตินิยม เข้าไปหาข้อมูลงานวิจัยสุดซับซ้อนเท่านั้น แต่เมื่อห้องสมุดถูกแบ่งย่อยกลายเป็นตู้เล็กๆ หลายๆ ตู้กระจายอยู่ทั่วเมือง ทำให้การอ่านหนังสือกลายเป็นเรื่องที่เข้าถึงง่ายสำหรับทุกคน จนเกิดเป็นมิติใหม่ของการเลือกอ่านหนังสือ ที่นอกจากจะเกิดความเพลิดเพลินแล้ว ยังสามารถลบภาพความน่าเบื่อให้หายไปได้อย่างสิ้นเชิง “ ความน่ารักมักซ่อนอยู่ในตู้ ” แน่นอนว่า ไอเดียที่เปิดโอกาสให้ทุกคนนำหนังสือมาวางแลกเปลี่ยนกันได้อย่างอิสระเช่นนี้ อาจไม่ทำให้เกิดระบบการแยกประเภทและหมวดหมู่ในการจัดเรียงหนังสือเหมือนห้องสมุดทั่วไป […]

Shen Ji New Village พลิกฟื้นบ้านพักเก่าให้เป็นหมู่บ้านนักสร้างสรรค์ที่ไถจง

Shen Ji New Village หมู่บ้านแห่งความสร้างสรรค์ที่รีโนเวตจากบ้านหลังเก่าที่เมืองไถจง ประเทศไต้หวัน ซึ่งเกิดขึ้นตามคอนเซปต์ Urban Regeneration ของรัฐบาลไต้หวัน ที่ต้องการฟื้นฟูสถานที่ทิ้งร้างหรืออาคารเก่าให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.