ทำไมสร้างเมืองต้องฝัง ‘เสาหลักเมือง’

ตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยดูละครเรื่อง “เจ้ากรรมนายเวร” แล้วมีตอนหนึ่งที่เขาโยนคนลงในหลุมแล้วตอกเสาเข็มประตูชัยเมืองทับลงไป เพื่อฆ่าเอาดวงวิญญาณมาดูแลมืองถือเป็นฉากที่น่ากลัวและเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เราจึงพาย้อนเวลาไปตามหาที่มาของ ‘เสาหลักเมือง’ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

‘แก๊สน้ำตา’ คราบของความเจ็บปวดภายหลังสงคราม

แก๊สน้ำตาอาจไม่ใช่ทางออกของความรุนแรง แต่กลับกลายเป็นอาวุธชนิดใหม่ที่ทำร้ายผู้คนได้เหมือนกันหรือเปล่า ?

หัวขาด สยายปีก ‘Winged Victory of Samothrace’ ประติมากรรมที่สะท้อนถึงชัยชนะ

‘Winged Victory of Samothrace’ หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ณ ประเทศฝรั่งเศส ประติมากรรมที่สะท้อนถึงชัยชนะ

พิธีไล่ ‘ห่า’ โรคระบาดหนักยุค ร.2

“ไอ้ห่า” เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำด่านี้กันใช่ไหม มันมีที่มาจากคำว่า โรคห่า เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอดีต พอเห็นว่าโรคระบาดใดๆ ก็ตามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเยอะ ชาวบ้านก็จะเรียกว่า ห่าลง มันซะเลย เพราะแต่ก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีและการแพทย์ที่ดี อีกทั้งชาวสยามยังเข้าไม่ถึงความรู้ด้านสุขอนามัย อันที่จริงบ้านเมืองเราต้องเจอกับโรคระบาดมานับครั้งไม่ถ้วน หากย้อนกลับไปในช่วงโรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าโรคห่าในตอนนั้น แท้จริงแล้วคือกาฬโรค หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็คาดกันว่าเป็นไข้ทรพิษ จนมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ก็เกิดห่าลงอีกครั้ง โดยห่าในครั้งนี้ คือ อหิวาตกโรค ซึ่งหนักเอาการถึงขนาดทุกตารางนิ้วบริเวณวัดสระเกศเต็มไปด้วยซากศพและฝูงแร้งนับร้อย จนเป็นที่มาของวลีที่เราคุ้นเคยอย่าง แร้งวัดสระเกศ อหิวาต์ ทำห่าลงสยาม โรคห่าในยุครัชกาลที่ 2 คือ อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชียที่จะเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่มักเจอในของสุกๆ ดิบๆ และมีพาหะคือแมลงวัน ซึ่งเชื้อโรคนี้จะถ่ายทอดผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต  ยิ่งวิถีชีวิตริมแม่น้ำของคนสมัยก่อน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคและป่วยเป็นอหิวาตกโรคนี้ได้ง่าย เมื่อผู้คนขับถ่ายลงแม่น้ำ ความแย่ก็เกิดกับคนที่ต้องกินต้องใช้น้ำต่อๆ กันจนไม่รู้เลยว่าใครป่วยหรือไม่ป่วยกันแน่ จากบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้แต่ง และผู้ตีพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น […]

มารดาแห่งวงการพยาบาล ผู้บุกเบิกการดูแลผู้ป่วย

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้เปลี่ยนมุมมองในอาชีพพยาบาลให้ได้รับการยกย่องเป็นผู้บุกเบิกด้านพยาบาลศาสตร์ยุคใหม่

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.