Urban Sketch
เปิดแนวคิดสุดครีเอทีฟในรูปแบบ Skecth Design เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ในเมือง เมืองในฝันที่อาจทำได้จริงเป็นอย่างไรดูได้ที่นี่
เปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ BTS ให้เป็น ‘จุดนั่งรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์’ ลดปัญหาการแออัดบนบันไดและฟุตพาท
ฝนตก แดดออก รอรถไฟฟ้าก็ว่าเหนื่อยแล้ว หลายคนยังต้องลงมาท้อกับการเข้าแถวรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จนเกิดเป็นความแออัดบนทางเท้าที่บางครั้งก็ยาวไปถึงตีนบันได BTS อีกต่อ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ายังคงมีเพียงบนถนนเส้นหลัก ในขณะที่บ้านของเราหลายคนตั้งอยู่ในซอกซอยที่ขนส่งสาธารณะไปไม่ถึง การเชื่อมต่อด้วยมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่จึงกลายเป็นชอยส์ที่ดีที่สุด อีกทั้งบางทีพื้นที่ทางเท้าใต้บีทีเอสยังกลายเป็นจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ทั้งที่มีป้ายกำกับไว้ชัดเจนว่าห้ามจอด หรือซ้ำร้ายบางแห่งก็ถูกปล่อยว่างไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งาน จนกลายเป็นจุดบอดที่สร้างความน่ากลัวให้กับคนที่ผ่านไปมาวันนี้คอลัมน์ Urban Sketch ขอหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขด้วยการออกแบบจุดรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ใต้บันไดบีทีเอสซะเลย เผื่อจะช่วยลดปัญหาความแออัดในการยืนรอ รวมถึงป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่ผิดวิธีอีกด้วย 1) ไร้กังวลฝนตกฟ้าร้อง ด้วยส่วนหลังคาต่อขยาย ฝนจะตก ฟ้าจะถล่มก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้ขยายหลังคาบีทีเอสออกทั้งสองด้าน เพื่อให้การเดินทางไร้รอยต่อ สามารถเชื่อมการเดินทางจากบันไดบีทีเอส สร้างเส้นทางเดินยาวไปยังจุดนั่งรอได้สบายๆ 2) รอได้สะดวก ด้วยที่นั่งใต้บันไดทางลงรถไฟฟ้า ที่ว่างโล่งๆ ใต้บันไดบีทีเอสบางครั้งอาจถูกนำไปใช้ผิดวิธี ทั้งกลายเป็นจุดจอดมอเตอร์ไซค์ พื้นที่ขายของ หรือปล่อยว่างไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เราขอปรับเป็นม้านั่งยาวๆ ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางต่อเนื่องจากบีทีเอส หรือใครก็ตามที่ต้องการรอรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ได้มีที่นั่งกัน ไม่ต้องกลัวเมื่อยหรือขวางเส้นทางเดินเท้าของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา 3) ปลอดภัย สบายใจ ด้วยไฟสว่างและ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมืดยามค่ำคืนผสมกับเงาใต้บันไดบีทีเอส ที่อาจทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่มืดๆ น่ากลัว แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเราจะติดตั้งหลอดไฟและกล้องวงจรปิดตลอด 24 […]
Ghost Public Space ถ้ามีพื้นที่สาธารณะให้ผีทำกิจกรรม คนก็ไม่ต้องกลัวผีออกมาหลอกอีกต่อไป
พื้นที่สาธารณะของผีจะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ คนที่ตายไปแล้วก็น่าจะอยากได้พื้นที่ทำกิจกรรมของตัวเองด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีพื้นที่รองรับความต้องการนี้ การออกไปเดินเล่นข้างนอกตอนกลางคืนและปรากฏตัวให้คนเห็นจนกลายเป็นการหลอกหลอน ก็คงกลายเป็นเรื่องเดียวที่เหล่าผีสามารถทำได้ในยามว่าง สำหรับฮาโลวีนปีนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จะขอมาเอาใจประชากรในปรโลก ด้วยการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับผีที่คนเองก็ใช้งานได้ โดยเปลี่ยนสุสานที่นานๆ ครั้งจะมีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนตามโอกาส ให้กลายเป็นพื้นที่เพื่อผีบ้าง 1) Public Housing : เปิดบ้านพักให้ผีทุกตัวไม่ต้องเป็นวิญญาณเร่ร่อน แม้ว่าจะเป็นสุสาน แต่ผีทุกตัวที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่ว่าจะมีที่อยู่ทั้งหมด บางตัวอาจเป็นผีไม่มีญาติ ทำให้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หากมีลูกหลานของใครบางคนเผาตึกหรือคอนโดฯ กระดาษไปให้ อากงอาม่าก็นำไปเปิดเป็นที่พักให้กับผีเร่ร่อนอาศัยร่วมชายคา ช่วยเหลือกันแม้ในยามที่ไม่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยให้เหล่าผีได้มีความสุขดีในโลกหลังความตาย หรืออาจจะเปิดให้ผีตัวอื่นๆ เช่า สร้าง Passive Income ในอนาคตต่อไป ลูกหลานจะได้ไม่ต้องเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ทุกวันไหว้ 2) Community Space : พื้นที่สร้างสังคม ให้ทั้งคนและผีมีปฏิสัมพันธ์กัน ปกติแล้วพื้นที่ในสุสานมักเป็นลานกว้างๆ ให้ญาติๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนหลุมศพของคนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น เราเลยขอเพิ่มศาลาหลบแดด เพื่อให้คนทั่วไปและคนที่เข้ามาเยี่ยมหลุมศพได้นั่งพักหลบร้อน รวมตัว พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ที่มาเจอกันที่นี่ ส่วนตอนกลางคืน เหล่าผีก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะ พูดคุย ทำความรู้จักกับผีใหม่ๆ เพื่อสร้างสังคมแบบผีๆ […]
เปิดไอเดียเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยวให้ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ตามแนวคิด ‘Inclusive Tourism’
การท่องเที่ยวสำหรับหลายคนคือการพักผ่อน ปลดล็อกตัวเองออกจากพันธนาการในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้พิการ การท่องเที่ยวคือความลำบากอันยิ่งยวด “อยากเห็นโบราณสถานว่าเป็นอย่างไรก็เห็นไม่ได้ แต่อยู่ด้านหน้า เพราะเราเข้าไปไม่ได้ อะไรอย่างนี้คือสิ่งพื้นฐานที่เราเจอประจำเวลาเที่ยว” ‘นำโชค เพชรแสน’ นักวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสารดิจิทัลของโครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เป็นคนที่มีใจรักในการเดินทางเป็นทุนเดิม ทว่าการออกเดินทางสำหรับเขาช่างเป็นเรื่องยาก ต้องคิดหนักหลายตลบ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งไม่ได้ไยดีกับตัวเขาที่เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและต้องใช้ชีวิตอยู่กับวีลแชร์ “ถ้าเป็นคนไม่พิการ อยากไปไหนก็เดินทางไปได้เลย แต่ผมเสียเวลามากนะ เพราะต้องหาข้อมูลดูว่าจะเดินทางไปสถานที่นั้นอย่างไร มีรถขนส่งสาธารณะที่ผู้พิการใช้ได้ไหม โรงแรมเป็นอย่างไร ทำการบ้านเยอะมาก หลายข้อมูลก็ไม่ได้มีในเว็บไซต์ทั่วไป ต้องเปิดดูวิดีโอรีวิวที่คนถ่ายไว้เพื่อให้รู้ว่าเราจะไปได้หรือเปล่า” ชีวิตของนำโชคคงไม่ได้อยู่ในโหมด Very Hard ถ้าสภาพแวดล้อมที่ท่องเที่ยวไม่พิกลพิการ จนทำคนอย่างเขาต้องหนักใจทุกทีเวลาหอบเป้พเนจร และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แนวคิด ‘Inclusive Tourism’ หรือ ‘การท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ เป็นแนวคิดสำคัญที่ทุกคนควรคำนึง Inclusive Tourism เพราะทุกคนควรได้ท่องเที่ยว Inclusive Tourism หรือการท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นแนวคิดที่มองว่าทุกคนสมควรเข้าถึงการท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ในปี 2565 UNICEF ประเมินว่า ประเทศไทยมีผู้พิการอยู่มากถึง 4.19 ล้านคน หรือกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศ หากสถานที่ท่องเที่ยวออกแบบมาโดยเห็นความสำคัญของผู้พิการ คนกว่าสี่ล้านคนก็จะไม่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง […]
‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน
ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]
‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า
หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์ รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]
Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง
อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]
เปิดแปลนห้อง 3 สไตล์จาก ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ ที่ออกแบบเองได้ตามความต้องการ
คงเป็นเรื่องยากถ้าคอนโดฯ สักแห่งจะตอบโจทย์ความต้องการของเราทั้งหมด แต่สำหรับ ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ คอนโดฯ ใหม่ เพียง 5 นาทีถึงสาทรและพระราม 3 จากบริษัทผู้นำด้านโครงการบ้าน AP Thailand ทำได้ เพราะหากพูดถึงความต้องการของเหล่าคนที่กำลังหาที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง นอกจากจะต้องดูย่านที่ใช่ โลเคชันที่เดินทางสะดวก และมีความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อีกทั้งภายในห้องเองก็ยังต้องตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยด้วย ด้วยความเป็น The Luxury Gated Community ของ RHYTHM Charoenkrung Pavillion นี่เอง ที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ดื่มด่ำกับความเป็นส่วนตัว ด้วยวิวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสูงสุด แถมยังอยู่ตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury สถานศึกษาคุณภาพสูงระดับสากล แถมในส่วนของที่พักเองยังสามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบให้แมตช์กับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยได้ง่ายๆ เพราะห้องรูปแบบ 1 Bedroom Plus เริ่มต้น 158,000 บาท/ตารางเมตร จากทาง AP Thailand ให้ขนาดพื้นที่มาถึง 43.5 ตารางเมตร ทำให้มีความกว้างขวาง สามารถเปลี่ยนห้อง Plus […]
ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ
‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]
Books Vending Machines ใครก็เข้าถึงการอ่านได้ง่ายๆ ด้วยไอเดียตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ
ดูเหมือนว่าปัญหาราคาของต่างๆ ที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ จะทำให้ ‘หนังสือ’ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยที่หลายคนเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แถมนอกจากปัญหาราคาหนังสือที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ร้านเช่าหนังสือที่เคยเป็นแหล่งเข้าถึงหนังสือในราคาที่ไม่สูงนักก็แทบล้มหายตายจากไปหมดแล้ว เพราะการอ่านคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง คอลัมน์ Urban Sketch ครั้งนี้จึงอยากลองออกแบบ ‘Books Vending Machines’ หรือตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติที่จะตั้งไว้กระจายตามจุดต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการยืมหนังสือได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย 1) ยืมและคืนหนังสือด้วยการลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน หากใครเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ชอบซื้อมาดอง ก็อาจจะมีปัญหากับการเสียเงินสมัครสมาชิกห้องสมุดรายปี เพราะอาจไม่ได้มีเวลาเดินทางหรือใช้บริการจนคุ้มค่าสมัครขนาดนั้น แต่ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติเปิดโอกาสให้ทุกคนยืมหนังสือได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัตรประชาชนสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ยืมหนังสือ และสแกนบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการคืนหนังสือเล่มที่ยืมไป ก่อนจะยืมเล่มใหม่หรือยืมเล่มเก่าต่อในครั้งถัดไป 2) ใช้งานง่ายด้วยระบบจอ Touchscreen ด้วยความที่เป็นตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ แค่พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการยืมจากเมนูรายชื่อหนังสือทั้งหมด หรือจะเลื่อนดูหนังสือที่น่าสนใจผ่านหน้าจอ Touchscreen ก็ทำได้ทันที เพราะระบบจะแจ้งว่ายังมีเล่มไหนเหลือให้ยืมบ้าง หรือเล่มไหนที่คนยืมหมดไปแล้วก็ขอจองยืมอ่านต่อเป็นคิวถัดไปได้ แถมการชำระค่าบริการก็สะดวก เนื่องจากจ่ายผ่าน QR Code บนหน้าจอหรือเงินสดก็ได้ ส่วนใครที่ใช้บริการบ่อยๆ จะเติมเงินไว้เป็นเครดิตให้ระบบหักเงิน ตัวเครื่องก็รองรับเช่นเดียวกัน 3) สะสมแต้มยืมหนังสือครบ 10 ครั้ง ยืมฟรี 1 ครั้ง ทุกๆ […]
ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์
‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]
Public Convenience ดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะที่รับจบทุกการชำระล้าง สะดวกและสะอาดครบในที่เดียว
‘ห้องน้ำสาธารณะ’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบริการสาธารณะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน ซึ่งห้องน้ำสาธารณะทั่วไปที่เราเห็นและเคยใช้งานกันมักมีบริการแค่ห้องน้ำอย่างเดียว แต่ในหลายๆ ครั้ง คนเราอาจต้องการบริการด้านความสะอาดและสุขอนามัยอื่นๆ ในสถานการณ์ที่จำเป็นด้วยเหมือนกัน อย่างการอาบน้ำหลังออกกำลังกาย การซักเสื้อผ้าที่ต้องรีบทำความสะอาดทันที หรือแม้แต่พื้นที่ในการเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผมแบบเร่งด่วนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะ 24 ชั่วโมงแบบครบวงจรที่มีให้มากกว่าแค่พื้นที่ปลดทุกข์ปล่อยเบา เพราะยังมีบริการอื่นๆ ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตในเมืองมีคุณภาพด้านความสะอาดและสะดวกสบายมากขึ้น โซนห้องน้ำ : ทำธุระหนัก-เบา และชำระล้างร่างกายได้ตลอดเวลา โซนแรกของพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ แน่นอนว่าต้องเป็นโซนห้องน้ำสำหรับให้บริการใครที่ต้องการปล่อยหนัก-เบา โดยโซนนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนห้องน้ำ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป คนแก่ หรือคนพิการ อีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนห้องอาบน้ำ สำหรับให้บริการผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายเสร็จ มีธุระสำคัญต่อ หรือแม้แต่บ้านไหนที่น้ำไม่ไหลแต่จำเป็นต้องอาบน้ำก็เข้ามาใช้บริการที่นี่ได้ โดยห้องอาบน้ำของเรามีการแบ่งโซนเปียกและโซนแห้งไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่ทุกคนจะได้มีพื้นที่ในการอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีสบู่หรือแชมพูกระเด็นไปเลอะเทอะหรือไม่ โซนแต่งตัว : จัดชุด แต่งหน้า เตรียมความพร้อมก่อนออกไปงานสำคัญ อาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว แต่จะให้ออกไปทั้งที่ผมเปียกก็ยังไงอยู่ หรือถ้าใครมีงานสำคัญที่ต้องไปต่อก็ควรต้องเสริมสวยเพิ่มหล่อก่อนหรือเปล่า ดังนั้นเราจึงมีโต๊ะเครื่องแป้งพร้อมกระจกบานใหญ่ให้สำรวจความพร้อมได้อย่างเต็มที่ พร้อมมุมเป่าผมให้บริการในโซนแต่งตัว เพื่อจัดการความเรียบร้อยให้เสร็จสิ้นก่อนออกไปข้างนอก ภายในโซนนี้ยังมีตู้จำหน่ายอุปกรณ์อาบน้ำราคาย่อมเยา ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า […]
‘Multifunctional Station’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานบนพื้น เก็บลงใต้ดิน
‘ข้อจำกัดทางพื้นที่สาธารณะ’ คือหนึ่งในปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบและพยายามหาหนทางแก้ไขกันอยู่ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของเราก็มีพื้นที่สาธารณะที่ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ทำให้พื้นที่สาธารณะอันน้อยนิดในเมืองเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำเสนอ ‘Multifunctional Station (MS)’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะที่จะมาช่วยทำให้พื้นที่สาธารณะในเมืองเกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการไม่จำกัดให้พื้นที่นั้นๆ ทำเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่จะมีฟังก์ชันและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากทำให้เมืองได้ใช้พื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ได้อีก MS Cabinet & Materialอยู่ใต้ดินเมื่อไม่ใช้งาน เรียกใช้งานบนพื้นดินผ่านแอปพลิเคชัน นวัตกรรม MS มีโครงสร้างหลักอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานจะซ่อนอยู่ใต้ดิน โดยมี Cabinet หรือตู้ที่ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนที่สองคืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกนำไปใช้งานเป็นสเตชันบนพื้นดิน ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นสเตชันสำหรับการขายอาหาร ภายในตู้จะมีช่องเก็บโต๊ะปรุงอาหาร ช่องเก็บเก้าอี้ ช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ฯลฯ หรือถ้าเป็นสเตชันสำหรับขายสินค้า ภายในตู้จะมีช่องใส่บาร์แขวนผ้า ตะแกรงแขวนสินค้า โต๊ะพับ อุปกรณ์ไฟตกแต่งร้านและเต้าเสียบ รวมถึงเสาและผ้าใบสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างกางกันแดดและฝน เป็นต้น ตัว Cabinet นั้นสร้างขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง […]