
Urban Sketch
เปิดแนวคิดสุดครีเอทีฟในรูปแบบ Skecth Design เกี่ยวกับการใช้งานพื้นที่ในเมือง เมืองในฝันที่อาจทำได้จริงเป็นอย่างไรดูได้ที่นี่
เปลี่ยนการเดินในเมืองให้สนุกขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบทางเท้า ที่ส่งเสริมให้คนเอนจอยกับการเดิน
เคยคิดไหมว่า ทำไมเราถึงไม่อยากใช้เวลาในวันหยุดออกไปเดินเท้าท่องแต่ละย่านของเมือง คำตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แดดร้อน ทางเท้าไม่ดี หรือเดินได้ไม่สะดวก แต่นอกเหนือจากความปลอดภัยและความสะดวกสบายทั่วๆ ไปอย่างทางเท้าที่กว้างตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอของพื้นทางเท้าที่ไม่เหยียบแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างตลอดการเดิน ยังมีอีกปัจจัยสำคัญอย่างการออกแบบสนุกๆ ที่จะช่วยทำให้การเดินในเมืองของพวกเรามีสีสันมากขึ้นได้อีก คอลัมน์ Urban Sketch ขอลองออกไอเดียว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนการเดินธรรมดาๆ ให้มีชีวิตชีวาและสนุกได้ตลอดทาง 1) พื้นจอ Interactive เดินอย่างเดียว มองพื้น มองทางแล้วก็เบื่อๆ ถ้ามีจอ Interactive ที่ทำให้การเดินไม่ต้องมองแต่อะไรซ้ำๆ ก็คงดี เราเลยคิดถึงจอที่โต้ตอบได้ พร้อมใส่อะไรสนุกๆ อย่างปลาทองที่ว่ายไปว่ายมา พร้อมผืนน้ำที่เมื่อเราเหยียบแล้วมีคลื่นเกิดขึ้น กระทั่งทุ่งหญ้าที่มีกระรอกตัวเล็กๆ กระโดดดึ๋ง เวลาเหยียบจุดไหนหญ้าก็เกิดการเคลื่อนไหว 2) จุดแวะนับก้าวและเติมพลัง นี่เราเดินมาไกลแค่ไหน เป็นจำนวนกี่ก้าวแล้ว หรือวันนี้เดินได้มากกว่าเมื่อวานไหม นี่เลย เราขอเสนอจุดแวะนับก้าวและเติมพลังให้ทุกคนนำ Smart Watch ไปแปะที่แท่นพร้อมขึ้นโชว์เป็นลำดับแข่งขัน และมอบรางวัลให้นักเดินคนเก่งที่สะสมจำนวนก้าวได้มากที่สุดในสัปดาห์ คู่กับบริการเช่ายืมเซตนักเดินอย่างหมวก แว่นกันแดด ร่ม หรือพัดลมจิ๋ว โดยมีค่าบริการคิดตามรายชั่วโมงและคืนได้ที่จุดแวะนับก้าวจุดต่อไป อีกส่วนสำคัญที่จุดนับก้าวนี้มีคือ ข้อความให้กำลังใจสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันเดินแชมเปียนชิป แต่ก็ต้องการกำลังใจดีๆ ให้ผ่านวันยากๆ […]
วิ่ง สู้ ฝุ่น ไปกับสวนสาธารณะที่ออกแบบมาให้ออกกำลังกายได้อย่างสบายปอด
ช่วงนี้ใครที่อยากออกไปทำกิจกรรมข้างนอกคงไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ เพราะต้องเจอกับฝุ่น PM 2.5 ที่ปกคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็รับฝุ่นไปเต็มๆ ปอด จากสถานการณ์นี้ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตในสถานที่ปิดแทน โดยเฉพาะสายออกกำลังกายที่ต้องงดวิ่งหรือออกกำลังกายในสวนสาธารณะ เพราะกังวลเรื่องสุขภาพและโรคทางเดินหายใจ แต่แหม…เคยวิ่งชมนกชมไม้อยู่ดีๆ ต้องมาวิ่งในยิมคงเศร้าแย่ คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียเอาใจสายรักสุขภาพในช่วงเวลาที่สภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้ออำนวย ด้วยการออกแบบพื้นที่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานท่ามกลางฝุ่นได้ อุ่นใจกับ ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ แน่นอนว่าการวิ่งในพื้นที่แบบเปิดโล่งย่อมเป็นสวรรค์ของนักวิ่งหลายคน เพราะนอกจากได้ออกกำลังกายแบบใจฟู ไม่ต้องพาตัวเองไปอยู่ห้องออกกำลังกายแบบปิดมิดทุกซอกทุกมุมแล้ว ยังได้ชมวิวทิวทัศน์ในระหว่างวิ่งไปด้วย แต่ถ้าฝุ่นเยอะแบบนี้ เราจะวิ่งข้างนอกแบบสบายใจก็คงไม่ไหว นำมาสู่นวัตกรรม ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ ที่จะมาตอบโจทย์ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ทุกคนวิ่งกลางแจ้งได้แบบสบายใจ ด้วยการออกแบบให้ทุกๆ พื้นที่โล่งในเส้นทางมีพื้นที่ปลอดฝุ่นในรูปแบบอุโมงค์ที่คอยรองรับเหล่านักวิ่งให้ได้พักปอดตลอดเส้นทาง และยังสามารถพับเก็บในวันที่ไม่มีฝุ่นได้ด้วยนะ อุโมงค์ที่ว่านี้เป็นอุโมงค์โปร่งใสครอบคลุมถนนทางวิ่งทั้งสองเลน แถมยังติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อดึงไฟฟ้ามาใช้กับเครื่องฟอกอากาศภายใน เรียกว่าเป็นการวิ่งที่ทั้งรักปอดคนวิ่งและรักษ์โลกไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งการออกแบบอุโมงค์ในรูปแบบที่มองเห็นภายนอกยังทำให้เราชมนกชมไม้ได้เหมือนเดิม แวะ ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ พักขา ผ่อนคลายปอด วิ่งมาเหนื่อยๆ นั่งพักตากแอร์เย็นๆ แบบไร้ฝุ่นใน ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ กันไหม เพราะศาลาปลอดฝุ่นกระจายตัวอยู่ทุกที่รอบสวน และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เช่นเดียวกันกับอุโมงค์ไร้ฝุ่น แตกต่างตรงที่ภายในศาลาจะใช้ ‘แอร์ฟอกอากาศ’ ที่นอกจากให้ความเย็นแบบฉ่ำปอดแล้ว ยังไร้กังวลเรื่องฝุ่นเพราะสามารถกรองมลภาวะในอากาศ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ เพื่อทำให้อากาศภายในศาลากลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ ให้เรานั่งพักได้แบบสบายกายสบายใจ […]
เปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ BTS ให้เป็น ‘จุดนั่งรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์’ ลดปัญหาการแออัดบนบันไดและฟุตพาท
ฝนตก แดดออก รอรถไฟฟ้าก็ว่าเหนื่อยแล้ว หลายคนยังต้องลงมาท้อกับการเข้าแถวรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จนเกิดเป็นความแออัดบนทางเท้าที่บางครั้งก็ยาวไปถึงตีนบันได BTS อีกต่อ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ายังคงมีเพียงบนถนนเส้นหลัก ในขณะที่บ้านของเราหลายคนตั้งอยู่ในซอกซอยที่ขนส่งสาธารณะไปไม่ถึง การเชื่อมต่อด้วยมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่จึงกลายเป็นชอยส์ที่ดีที่สุด อีกทั้งบางทีพื้นที่ทางเท้าใต้บีทีเอสยังกลายเป็นจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ทั้งที่มีป้ายกำกับไว้ชัดเจนว่าห้ามจอด หรือซ้ำร้ายบางแห่งก็ถูกปล่อยว่างไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งาน จนกลายเป็นจุดบอดที่สร้างความน่ากลัวให้กับคนที่ผ่านไปมาวันนี้คอลัมน์ Urban Sketch ขอหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขด้วยการออกแบบจุดรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ใต้บันไดบีทีเอสซะเลย เผื่อจะช่วยลดปัญหาความแออัดในการยืนรอ รวมถึงป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่ผิดวิธีอีกด้วย 1) ไร้กังวลฝนตกฟ้าร้อง ด้วยส่วนหลังคาต่อขยาย ฝนจะตก ฟ้าจะถล่มก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้ขยายหลังคาบีทีเอสออกทั้งสองด้าน เพื่อให้การเดินทางไร้รอยต่อ สามารถเชื่อมการเดินทางจากบันไดบีทีเอส สร้างเส้นทางเดินยาวไปยังจุดนั่งรอได้สบายๆ 2) รอได้สะดวก ด้วยที่นั่งใต้บันไดทางลงรถไฟฟ้า ที่ว่างโล่งๆ ใต้บันไดบีทีเอสบางครั้งอาจถูกนำไปใช้ผิดวิธี ทั้งกลายเป็นจุดจอดมอเตอร์ไซค์ พื้นที่ขายของ หรือปล่อยว่างไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เราขอปรับเป็นม้านั่งยาวๆ ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางต่อเนื่องจากบีทีเอส หรือใครก็ตามที่ต้องการรอรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ได้มีที่นั่งกัน ไม่ต้องกลัวเมื่อยหรือขวางเส้นทางเดินเท้าของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา 3) ปลอดภัย สบายใจ ด้วยไฟสว่างและ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมืดยามค่ำคืนผสมกับเงาใต้บันไดบีทีเอส ที่อาจทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่มืดๆ น่ากลัว แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเราจะติดตั้งหลอดไฟและกล้องวงจรปิดตลอด 24 […]
Ghost Public Space ถ้ามีพื้นที่สาธารณะให้ผีทำกิจกรรม คนก็ไม่ต้องกลัวผีออกมาหลอกอีกต่อไป
พื้นที่สาธารณะของผีจะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ คนที่ตายไปแล้วก็น่าจะอยากได้พื้นที่ทำกิจกรรมของตัวเองด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีพื้นที่รองรับความต้องการนี้ การออกไปเดินเล่นข้างนอกตอนกลางคืนและปรากฏตัวให้คนเห็นจนกลายเป็นการหลอกหลอน ก็คงกลายเป็นเรื่องเดียวที่เหล่าผีสามารถทำได้ในยามว่าง สำหรับฮาโลวีนปีนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จะขอมาเอาใจประชากรในปรโลก ด้วยการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับผีที่คนเองก็ใช้งานได้ โดยเปลี่ยนสุสานที่นานๆ ครั้งจะมีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนตามโอกาส ให้กลายเป็นพื้นที่เพื่อผีบ้าง 1) Public Housing : เปิดบ้านพักให้ผีทุกตัวไม่ต้องเป็นวิญญาณเร่ร่อน แม้ว่าจะเป็นสุสาน แต่ผีทุกตัวที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่ว่าจะมีที่อยู่ทั้งหมด บางตัวอาจเป็นผีไม่มีญาติ ทำให้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หากมีลูกหลานของใครบางคนเผาตึกหรือคอนโดฯ กระดาษไปให้ อากงอาม่าก็นำไปเปิดเป็นที่พักให้กับผีเร่ร่อนอาศัยร่วมชายคา ช่วยเหลือกันแม้ในยามที่ไม่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยให้เหล่าผีได้มีความสุขดีในโลกหลังความตาย หรืออาจจะเปิดให้ผีตัวอื่นๆ เช่า สร้าง Passive Income ในอนาคตต่อไป ลูกหลานจะได้ไม่ต้องเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ทุกวันไหว้ 2) Community Space : พื้นที่สร้างสังคม ให้ทั้งคนและผีมีปฏิสัมพันธ์กัน ปกติแล้วพื้นที่ในสุสานมักเป็นลานกว้างๆ ให้ญาติๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนหลุมศพของคนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น เราเลยขอเพิ่มศาลาหลบแดด เพื่อให้คนทั่วไปและคนที่เข้ามาเยี่ยมหลุมศพได้นั่งพักหลบร้อน รวมตัว พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ที่มาเจอกันที่นี่ ส่วนตอนกลางคืน เหล่าผีก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะ พูดคุย ทำความรู้จักกับผีใหม่ๆ เพื่อสร้างสังคมแบบผีๆ […]
เปิดไอเดียเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยวให้ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ตามแนวคิด ‘Inclusive Tourism’
การท่องเที่ยวสำหรับหลายคนคือการพักผ่อน ปลดล็อกตัวเองออกจากพันธนาการในชีวิตประจำวัน แต่สำหรับผู้พิการ การท่องเที่ยวคือความลำบากอันยิ่งยวด “อยากเห็นโบราณสถานว่าเป็นอย่างไรก็เห็นไม่ได้ แต่อยู่ด้านหน้า เพราะเราเข้าไปไม่ได้ อะไรอย่างนี้คือสิ่งพื้นฐานที่เราเจอประจำเวลาเที่ยว” ‘นำโชค เพชรแสน’ นักวิเคราะห์ข้อมูลและการสื่อสารดิจิทัลของโครงการอาสาสมัครแห่งสหประชาชาติและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เป็นคนที่มีใจรักในการเดินทางเป็นทุนเดิม ทว่าการออกเดินทางสำหรับเขาช่างเป็นเรื่องยาก ต้องคิดหนักหลายตลบ เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งไม่ได้ไยดีกับตัวเขาที่เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหวและต้องใช้ชีวิตอยู่กับวีลแชร์ “ถ้าเป็นคนไม่พิการ อยากไปไหนก็เดินทางไปได้เลย แต่ผมเสียเวลามากนะ เพราะต้องหาข้อมูลดูว่าจะเดินทางไปสถานที่นั้นอย่างไร มีรถขนส่งสาธารณะที่ผู้พิการใช้ได้ไหม โรงแรมเป็นอย่างไร ทำการบ้านเยอะมาก หลายข้อมูลก็ไม่ได้มีในเว็บไซต์ทั่วไป ต้องเปิดดูวิดีโอรีวิวที่คนถ่ายไว้เพื่อให้รู้ว่าเราจะไปได้หรือเปล่า” ชีวิตของนำโชคคงไม่ได้อยู่ในโหมด Very Hard ถ้าสภาพแวดล้อมที่ท่องเที่ยวไม่พิกลพิการ จนทำคนอย่างเขาต้องหนักใจทุกทีเวลาหอบเป้พเนจร และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้แนวคิด ‘Inclusive Tourism’ หรือ ‘การท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ เป็นแนวคิดสำคัญที่ทุกคนควรคำนึง Inclusive Tourism เพราะทุกคนควรได้ท่องเที่ยว Inclusive Tourism หรือการท่องเที่ยวที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เป็นแนวคิดที่มองว่าทุกคนสมควรเข้าถึงการท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ในปี 2565 UNICEF ประเมินว่า ประเทศไทยมีผู้พิการอยู่มากถึง 4.19 ล้านคน หรือกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วประเทศ หากสถานที่ท่องเที่ยวออกแบบมาโดยเห็นความสำคัญของผู้พิการ คนกว่าสี่ล้านคนก็จะไม่ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง […]
‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน
ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]
‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า
หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์ รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]
Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง
อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]
เปิดแปลนห้อง 3 สไตล์จาก ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ ที่ออกแบบเองได้ตามความต้องการ
คงเป็นเรื่องยากถ้าคอนโดฯ สักแห่งจะตอบโจทย์ความต้องการของเราทั้งหมด แต่สำหรับ ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ คอนโดฯ ใหม่ เพียง 5 นาทีถึงสาทรและพระราม 3 จากบริษัทผู้นำด้านโครงการบ้าน AP Thailand ทำได้ เพราะหากพูดถึงความต้องการของเหล่าคนที่กำลังหาที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง นอกจากจะต้องดูย่านที่ใช่ โลเคชันที่เดินทางสะดวก และมีความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อีกทั้งภายในห้องเองก็ยังต้องตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยด้วย ด้วยความเป็น The Luxury Gated Community ของ RHYTHM Charoenkrung Pavillion นี่เอง ที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ดื่มด่ำกับความเป็นส่วนตัว ด้วยวิวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสูงสุด แถมยังอยู่ตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury สถานศึกษาคุณภาพสูงระดับสากล แถมในส่วนของที่พักเองยังสามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบให้แมตช์กับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยได้ง่ายๆ เพราะห้องรูปแบบ 1 Bedroom Plus เริ่มต้น 158,000 บาท/ตารางเมตร จากทาง AP Thailand ให้ขนาดพื้นที่มาถึง 43.5 ตารางเมตร ทำให้มีความกว้างขวาง สามารถเปลี่ยนห้อง Plus […]
ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ
‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]
Books Vending Machines ใครก็เข้าถึงการอ่านได้ง่ายๆ ด้วยไอเดียตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ
ดูเหมือนว่าปัญหาราคาของต่างๆ ที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ จะทำให้ ‘หนังสือ’ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยที่หลายคนเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แถมนอกจากปัญหาราคาหนังสือที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ร้านเช่าหนังสือที่เคยเป็นแหล่งเข้าถึงหนังสือในราคาที่ไม่สูงนักก็แทบล้มหายตายจากไปหมดแล้ว เพราะการอ่านคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง คอลัมน์ Urban Sketch ครั้งนี้จึงอยากลองออกแบบ ‘Books Vending Machines’ หรือตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติที่จะตั้งไว้กระจายตามจุดต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการยืมหนังสือได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย 1) ยืมและคืนหนังสือด้วยการลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน หากใครเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ชอบซื้อมาดอง ก็อาจจะมีปัญหากับการเสียเงินสมัครสมาชิกห้องสมุดรายปี เพราะอาจไม่ได้มีเวลาเดินทางหรือใช้บริการจนคุ้มค่าสมัครขนาดนั้น แต่ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติเปิดโอกาสให้ทุกคนยืมหนังสือได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัตรประชาชนสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ยืมหนังสือ และสแกนบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการคืนหนังสือเล่มที่ยืมไป ก่อนจะยืมเล่มใหม่หรือยืมเล่มเก่าต่อในครั้งถัดไป 2) ใช้งานง่ายด้วยระบบจอ Touchscreen ด้วยความที่เป็นตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ แค่พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการยืมจากเมนูรายชื่อหนังสือทั้งหมด หรือจะเลื่อนดูหนังสือที่น่าสนใจผ่านหน้าจอ Touchscreen ก็ทำได้ทันที เพราะระบบจะแจ้งว่ายังมีเล่มไหนเหลือให้ยืมบ้าง หรือเล่มไหนที่คนยืมหมดไปแล้วก็ขอจองยืมอ่านต่อเป็นคิวถัดไปได้ แถมการชำระค่าบริการก็สะดวก เนื่องจากจ่ายผ่าน QR Code บนหน้าจอหรือเงินสดก็ได้ ส่วนใครที่ใช้บริการบ่อยๆ จะเติมเงินไว้เป็นเครดิตให้ระบบหักเงิน ตัวเครื่องก็รองรับเช่นเดียวกัน 3) สะสมแต้มยืมหนังสือครบ 10 ครั้ง ยืมฟรี 1 ครั้ง ทุกๆ […]
ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์
‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]