ไทยอัตราการเกิดต่ำสุดใน 50 ปี จำนวนคนตายมากกว่าคนเกิด จุดเริ่มต้นหลังรัฐประหาร 2557

สมัยนี้หากคุณมีครอบครัวจะอยากมีลูกไหม? หากคุณตอบว่า ‘ไม่’ เป็นคำตอบที่ไม่แปลกเลยสำหรับยุคนี้ ไม่ใช่แค่คนไทยแต่รวมถึงทั่วโลกต่างมีอัตราการเกิดลดลง เพราะคนไม่อยากมีลูกและอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ ที่ผ่านมาปี 2564 ทำลายสถิติอัตราการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย 50 ปี หนักถึงขั้นมีจำนวนคนตายมากกว่าคนเกิดเสียอีก สังเกตได้จากข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลที่เผยว่า อัตราการเกิดปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 540,000 คน น้อยลงจากที่เคยเกิดเมื่อ 50 ปีที่แล้วประมาณ 1,200,000 คน และเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตาย (ประมาณ 560,000 คน) จากข้อมูลคนเกิดน้อยลง มองเผินๆ อาจมองเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกัน หากคิดอีกมุมหนึ่ง ก็น่าตั้งคำถามไม่น้อยว่า ทำไมอัตราการเกิดในไทยถึงได้มีจำนวนดิ่งลงจนติดลบขนาดนี้ เศรษฐกิจไม่ดี ดูแลตัวเองให้ดีก่อน หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คนไม่อยากมีลูกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเด็ก ครอบครัว และเลี้ยงดูตนเองที่ไม่เพียงพอ อ้างอิงจากรายงานของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูง และค่าตอบแทนต่ำ หากต้องส่งลูกเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลถึงระดับปริญญาโทควรต้องมีเงินอย่างน้อย 1.3 ล้านบาท และระดับปานกลางประมาณ 6.5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไป) ปัจจัยค่าจ้างแรงงาน เป็นอีกสิ่งสำคัญที่คนจะตัดสินใจในการมีลูก […]

Dropout Crisis เทอม 1/2565 มีนักเรียน กทม. หลุดจากระบบการศึกษากี่คน

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบได้ตามข่าวสารทั่วไป ย้อนกลับไปในวัยเด็ก สมัยที่เราศึกษาอยู่ในรั้วโรงเรียน ก็เคยได้ยินว่ามีเพื่อนบางคนต้องหยุดเรียนหรือหลุดออกจากการศึกษากลางคัน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ปัญหาในโรงเรียน หรือปัญหาส่วนตัว แต่ในอดีตปัญหาเด็กไม่ได้เรียนต่อก็ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยเท่ายุคปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสังคมยุคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตรอบด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลงหรือต้องหยุดงานชั่วคราว ขณะเดียวกัน พวกเขายังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน ซึ่งดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ช่วงที่นักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนออกไลน์ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความพร้อมตั้งแต่แรกต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ส่วนช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดตามปกติ ก็ยังจะต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน และของอื่นๆ ที่จำเป็นต้องซื้อใหม่มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย  เมื่อครอบครัวไม่มีความพร้อมทางการเงิน นักเรียนหลายคนจึงไม่ได้เรียนต่อ และต้องออกจากระบบการศึกษากลางคันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจข้อมูลนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 258,124 คน ของภาคเรียนที่ 2/2564 พบว่า มีผู้ที่ไม่ได้รับศึกษาต่อในภาคเรียนถัดมาหรือภาคเรียนที่ 1/2565 มากถึง 2,582 คน จากเดิมที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 434 คนในภาคเรียนที่แล้ว  หมายความว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งภาคเรียน มีเด็กกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.8 […]

ชุดนักเรียนไทย สะท้อนความเท่าเทียม หรือซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ?

คุณคิดว่าชุดนักเรียนไทยยังจำเป็นต้องใส่อยู่หรือไม่? หลังจากข่าวกระทรวงมหาดไทยมอบหมายผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดสำรวจครอบครัวที่ขาดแคลนเครื่องแบบนักเรียน และจึงจะระดมกำลังภาคีเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัดจัดหาชุดเครื่องแบบให้ ซึ่งแน่นอนว่าวิธีนี้เป็นการแก้ไขปัญหาเพียงชั่วคราว และอาจไม่ได้ช่วยคลายปมให้ถูกจุดในระยะยาวเท่าไหร่นัก สำหรับเด็กไทย ชุดนักเรียนคือเสื้อผ้าที่ต้องใส่แทบทุกวัน แถมเครื่องแต่งกายยังมีหลายรูปแบบ เช่น ชุดลูกเสือ ชุดเนตรนารี ชุดพละ หรือเสื้อผ้าใส่ในวันพิเศษอย่างชุดกีฬาสี ชุดผ้าไหมไทย หรือชุดอาเซียนร่วมใจก็มี ความหลากหลายของชุดตามมาด้วยราคาที่ต้องจ่ายเองแสนหนักอึ้ง สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจตอนนี้ที่ซบเซาและค่าครองชีพที่พุ่งสูงมากกว่าเคย 8,840 บาท/คน ค่าชุดนักเรียน (ขั้นต่ำ) ที่พ่อแม่ต้องจ่าย จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลราคาเฉลี่ยเครื่องแบบนักเรียนไทยเบื้องต้น ชุดนักเรียน 3 ชุด ชุดลูกเสือ/เนตรนารี 1 ชุด และชุดพละ 1 ชุด เริ่มจากวัยอนุบาลประมาณ 1,697 บาท วัยประถมศึกษาประมาณ 1,949 บาท และวัยมัธยมศึกษาประมาณ 2,180 บาท รวมกับค่าใช้จ่ายจุกจิก เช่น เครื่องประดับชุดนักเรียน ชุดกิจกรรม กระเป๋า และรองเท้า ตีรวมเป็นเลขกลมๆ ประมาณ 1,000 บาทคูณสามวัยการศึกษา สรุปได้ว่า หากคุณเป็นผู้ปกครองเด็กคนหนึ่งต้องเก็บเงินเผื่อค่าชุดนักเรียน […]

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติไฟไหม้ปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวไฟไหม้ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ที่สีลมซอย 2 บ่อนไก่ ไปจนถึงสำเพ็ง ซึ่งแต่ละครั้งห่างกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ‘ไฟไหม้’ จึงเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่คนกรุงต้องระวังและควรมีแผนป้องกันในอนาคต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งคือความสูญเสียของประชาชนที่ประเมินค่าไม่ได้  หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมช่วงนี้ถึงเกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีไฟไหม้บ่อยมาก ไม่ใช่แค่ช่วงนี้ที่เป็นข่าวเท่านั้น Urban Creature จึงอยากพาไปดูตัวเลขจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าแต่ละปีกรุงเทพฯ ไฟไหม้ไปกี่ครั้ง และเกิดขึ้นที่เขตไหนบ้าง  ในระยะเวลา 6 ปี กรุงเทพฯ มีไฟไหม้กี่ครั้ง? ปี 2560 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้งปี 2561 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้งปี […]

กรุงเทพฯ ติด 5 อันดับโลก (จากสุดท้าย) เมืองสุขภาพผิวดี

ทุกคนเคยเป็นไหม เวลาเจอแดดเปรี้ยงแล้วรู้สึกแสบผิว หรือมลพิษฝุ่นควันทำให้หน้าหมองคล้ำ (ปาดสำลีเช็ดหน้าเป็นสีเทา) แถมสิวยังบุกซ้ำจนผิวทรุดโทรม เหล่านี้เป็นเรื่องปกติของสภาพแวดล้อมเมืองที่มีกันทุกที่หรือเปล่านะ ความคิดดังกล่าวต้องหยุดชะงัก เมื่อเจอผลวิจัยสภาพแวดล้อมเมืองส่งผลต่อสุขภาพผิวของ Covalo บริษัทผลิตภัณฑ์ความงามในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เผยแพร่ปี 2020 จัดอันดับกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสุขภาพผิวอันดับที่ 76 จากทั้งหมด 80 ประเทศทั่วโลก โดยเมืองฟีนิกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้อันดับที่ 1 และเมืองมุมไบ ประเทศอินเดียได้อันดับสุดท้าย เกณฑ์การประเมินมี 9 ข้อหลักๆ คือเรื่องสภาพอากาศ การจราจร และความเครียดของคนเมือง ซึ่งแต่ละข้อเต็ม 10 คะแนนไล่เรียงตั้งแต่อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งปี 0 คะแนน จำนวนวันที่มีแสงแดดส่องถึงเฉลี่ย 3 คะแนน ดัชนีรังสี UV 0.7 คะแนน มลพิษทางอากาศ 9 คะแนน ความเร็วลมเฉลี่ย 7 คะแนน ความชื้นอากาศเฉลี่ย/ปี 2 คะแนน เวลาการทำงาน/คน 5 คะแนน ความแออัดของการจราจร 3 คะแนน […]

Where Are We Now? 31 ประเทศเริ่ม ‘สมรสเท่าเทียม’ นานแล้ว ส่วน ‘ไทย’ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม กำลังไปต่อ

‘มิถุนายน’ ของทุกปีคือเดือน ‘Pride Month’ ที่ทั่วโลกจัดงานเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ ประเทศไทยเองก็ให้ความสำคัญกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่ม LGBTQIA+ เห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ของภาครัฐ เอกชน และประชาชน ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญรณรงค์ การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ รวมไปถึงการเดินขบวนพาเหรดไพรด์ครั้งใหญ่ในรอบ 16 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่มีชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าร่วมอย่างคึกคัก ทว่า หากประเทศไทยอยากให้ความเท่าเทียมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม หนึ่งในมูฟเมนต์ที่ควรเกิดขึ้นก็คือการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย โดยเฉพาะ ‘กฎหมายการสมรสเพศเดียวกัน’ หรือ ‘กฎหมายสมรสเท่าเทียม’ ซึ่งเป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองคนที่มีเพศเดียวกัน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมในการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผลักดันให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิทางความรักและเข้าถึงสวัสดิการต่างๆ เช่นเดียวกับการสมรสระหว่างชายและหญิง อย่างไรก็ตาม กฎหมายสมรสเท่าเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นประเด็นถกเถียงที่หลายประเทศทั่วโลกพิจารณากันมาหลายทศวรรษ ปัจจุบันมีประเทศที่อนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด 31 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนทั้งหมดนี้ หากแบ่งตามทวีป มีประเทศทวีปยุโรป 17 ประเทศ ทวีปอเมริกาใต้ 6 ประเทศ ทวีปอเมริกาเหนือ 4 ประเทศ ทวีปออสเตรเลีย 2 ประเทศ ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศ […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’ 

2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ  แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]

หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงสุดทุบสถิติในรอบ 18 ปี เศรษฐกิจวิกฤตหนัก ไม่มีกำลังฟื้นฟู

สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว โดยหนี้ครัวเรือนพุ่งไปถึง 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5% ของ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท

COVID-19 ทำคนตกงานมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ความล้มเหลวในการจัดการปัญหาวิกฤติการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ที่นับวันตัวเลขการติดเชื้อพุ่งกระจายขึ้นเหมือนดอกเห็ดจนอาจจะมากถึงหลักหมื่นต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอาจจะล่มสลายได้  ทว่าความรุนแรงของพิษจากไวรัสร้ายโควิดกลับมากไปกว่าการเกาะกินสุขภาพของประชาชน แต่หมายรวมถึงการเกาะกิน ‘ระบบเศรษฐกิจไทย’ อย่างไม่มีชิ้นดี  รายงานของกระทรวงแรงงานเผยว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 303,984 คน และผู้ว่างงานจากสาเหตุการถูกเลิกจ้างจำนวน 91,794 ซึ่งหากดูเพียงตัวเลขและกราฟจะเห็นว่าสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เพราะตัวเลขผู้ว่างงานลดลง  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายนปี 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีอัตราการว่างงานจากสาเหตุการเลิกจ้างสูงถึง 242,114 คน นับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รุนแรงเสียยิ่งกว่า วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ปี 52 ที่มีสถิติคนตกงานสูงสุดอยู่ที่ 83,109 คน และวิกฤติการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่มีสถิติสูงสุดที่ราว 42,689 คนเสียอีก  แต่ความน่ากังวลใจคือ แม้อัตราว่างงานกำลังลดลง ก็นับว่าสูงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่น้อยเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น สถิติตัวเลขคนว่างงานจากสาเหตุคนเลิกจ้างของกรมแรงงาน เป็นการอ้างอิงสถิติจากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยสาเหตุเลิกจ้างในระบบประกันสังคม ยังไม่นับรวมถึงพ่อค้าแม่ค้า คนประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถระบุเข้าระบบว่ามีอีกเท่าไหร่ที่บาดเจ็บล้มตายจากพิษเศรษฐกิจและพิษของเชื้อไวรัส เป็นที่น่าเศร้าใจว่าท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งเป็น New […]

เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เมื่อรัฐจัดลำดับความสำคัญผิด

ราคาที่ถูกที่สุดในการรับมือคือการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล

เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.