“หลาดเก่า” ตะกั่วป่า เงียบงันแต่ไม่เงียบเหงา

“หลาดเก่า” (ตลาดเก่า) หรือเมืองเก่าตะกั่วป่า คือชุมชนเก่าแก่ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดิมที่นั่นคึกคักด้วยผู้คน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือนกลับเหงาลงถนัดตา แม้หลายสิ่งที่เคยเคลื่อนไหวค่อยๆ หยุดลง หากแต่การดำเนินชีวิตของชาวตะกั่วป่าก็ยังคงดำเนินไปอยู่ทุกวัน  เด็กตะกั่วป่าอย่างเราจึงขอชวนทุกคนมาสัมผัสหลาดเก่าผ่านภาพถ่าย ที่แม้จะเงียบงันไปเสียหน่อย แต่ก็ไม่เงียบเหงาซะทีเดียว ด้วยความตื่นเต้นที่จะไปเดินหลาดเก่า เราเลยตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาดเจอผู้คนที่ออกมาหาอะไรกินตอนเช้า เราฝากท้องที่ ‘ร้านโกปี๊’ ในตรอกเล็กๆ มีเพียงคุณลุงท่านหนึ่งนั่งดื่มโกปี๊อยู่เพียงลำพัง กับคุณป้าเจ้าของร้านที่กำลังเตรียมของอยู่ในร้าน มองแล้วชวนนึกถึงวันวาน ในทุกๆ เช้าจะมีแต่ความคึกคัก เสียงทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและเสียงพูดคุยของเหล่าคอกาแฟวัยเก๋า เมื่อเสร็จจากมื้อเช้า ถึงเวลาออกเดินเก็บภาพ ซึ่งตรงข้ามร้านโกปี๊เป็นที่ตั้งของ ‘ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซิ่นใช่ตึ๋ง’ หรือที่คนในชุมชนเรียกกันว่า “อ๊ามใต้” ส่วนใหญ่คนหลาดเก่านั้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่นี่เลยเป็นอีกสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในละแวกนี้ ซึ่งจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลกินเจ ก่อนจะไปต่อ บังเอิญหันไปเห็นน้องๆ นักเรียนกำลังเดินเรียงแถวหิ้วดอกไม้และปิ่นโตไปทำบุญที่วัด ทำให้นึกถึงสมัยประถมฯ ที่เราต้องเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เดินไปเรื่อยๆ บนถนนศรีตะกั่วป่า ถนนสายหลักที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก่อนนี้คึกคักไปด้วยผู้คน แต่ตอนนี้กลับเบาบางลงถนัดตา จากที่เคยเห็นผู้คนนั่งอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับทักทายคนไปมาหาสู่กันได้ง่าย แต่วันนี้หน้าบ้านส่วนใหญ่เหลือเพียงม้านั่งที่ว่างเปล่า มีแต่ภาพวาด เด็กจริงๆ กลับไม่เห็น ท่ามกลางความเงียบเหงาที่ไม่ค่อยจะชินตาสักเท่าไร คงมีแต่บรรดาร้านรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเปิดรอคอยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยสินค้ากันตามปกติ […]

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

ตึกแถว ศิลปะชิ้นเอกของคนอยู่

ทุกครั้งที่เดินเที่ยวย่านเมืองเก่า จะเห็น ‘ตึกแถว’ เรียงตัวยาวต่อไปกันจนสุดหัวมุมถนนทั้งสองฝั่ง หากมองเจาะลึกลงไปยังโครงสร้างหน้าตาของตึกแถว มักมีความตายตัว เรียบง่าย และเน้นประโยชน์การใช้สอยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก  แต่หากมองลึกลงไปให้มากกว่านั้น จะเห็นเสน่ห์ของวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในตึกคูหา ผ่านทุกการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่หันออกมาทางหน้าบ้าน เปรียบได้กับ ‘ผ้าใบผืนใหญ่’ ที่วาดลวดลายโดยจิตรกรเอกอย่าง ‘ผู้อยู่อาศัย’ “เฟื่องฟ้า” “ดาวเรือง” “ปั๊มทองเคยันเสา” “ซ่าทั้งโค้ก ทั้งเฮีย ลองเลย” “กุมารเรนเจอร์ในตึกเรนโบว์” “ว่าง ที่ไม่มีที่ว่าง” “ห้ามหยุด ทำไมถึงหยุด” “ขาคู่” “คนละครึ่ง คนละบาน”

ย้อนวันวาน 1991 ผ่านภาพจากสไลด์ฟิล์มที่บังเอิญเจอในตลาดขายของเก่าเชียงใหม่

มนุษย์ชอบถ่ายฟิล์มอย่างผม ยามว่างคือการออกเดินตลาดมือสอง เพื่อมองหากล้องฟิล์มบ้าง ม้วนฟิล์มบ้าง และมีสิ่งหนึ่งที่ผมยังพอเจออีกบ้างคือ เหล่าสไลด์ฟิล์มเก่า ที่มักเป็นภาพถ่ายฟิล์มครอบครัว ไม่ก็งานเทศกาล แต่สไลด์ฟิล์มชุดนี้แตกต่างจากที่ผมเคยเจอ ภาพที่ปรากฏบนสไลด์นั้นน่าสนใจจนอดไม่ได้ที่จะซื้อเก็บ แม้สไลด์ค่อนข้างเก่ามากแล้ว จนสีเพี้ยนไปจากเดิมมากพอสมควร แต่ผมก็ยังคงนำไปส่งแล็บสแกน ก่อนเอาไฟล์มาทำ Color Grading และปรับ White Balance เท่าที่พอจะทำให้สีภาพออกมาดีที่สุด  เพื่อนำมาแบ่งปันให้คุณที่กำลังอ่านอยู่ได้ชมภาพฟิล์มสมัยปี 1991 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นยุคนั้น กับความน่าสนใจของคนในรูปภาพ ที่บางภาพ หรือแฟชั่นบางอย่าง ต้องบอกว่า “มาก่อนกาล” คุณรู้สึกเหมือนผมไหม ว่าหลังจากดูเซตภาพถ่ายฟิล์มจากสไลด์ฟิล์มเก่าเสร็จผมชื่นชมการจัดวางองค์ประกอบภาพที่ดีมากๆ การจัดวาง Subject ก็สวยงาม รวมถึงจังหวะ และทิศทางของแสงก็พาให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้มอง  ไม่รู้ว่าช่างภาพเป็นใครไม่รู้ว่าสถานที่คือที่ไหนไม่รู้ว่าใช้กล้องฟิล์มอะไรแต่รู้ว่าคุณในปี 1991 ถ่ายภาพสวยมากๆ เลยครับ

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

หน้ากากอนามัย ถูกทอดทิ้ง

หน้ากากอนามัย ที่ใช้แล้วทิ้ง ชวนให้นึกถึงประโยค “เสร็จแล้วก็ทิ้งกันอย่างไม่ไยดี” พวกมัน ‘ถูกถอดทิ้ง’ และ ‘ถูกทอดทิ้ง’ ไว้แทบทุกที่ที่สามารถย่ำเท้าเข้าไปถึง บางชิ้นหล่นร่วงข้างทาง บ้างติดอยู่ที่พุ่มไม้สวยบนเกาะกลางถนน กลายเป็นขยะที่ยิ่งกว่าขยะ เพราะมีเชื้อโรคมากมายฝังตัวอยู่  หลายคนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งหน้ากากอนามัย มีเผลอทำหล่นหรือลมพัดปลิวหายบ้าง และแน่นอนว่ายังมีคนที่ตั้งใจทิ้งขว้างอย่างไม่ใส่ใจอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกถอดทิ้งก็ควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ภาพถ่ายชุดนี้จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจที่อยากลบความรู้สึกคุ้นชินเมื่อเห็นหน้ากากอนามัยถูกถอดทิ้งนอกถังขยะ และอยากสะกิดใจผู้ใช้งานให้นึกถึงผู้เก็บขยะที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ้างสักนิดก็ยังดี สวัสดีจำเราได้มั้ย เราที่เคยต้องการมากๆ ไง ตอนนั้นเรากล่องละ 800 บาทเลยนะ ตอนนี้ถูกทอดทิ้งเหมือนไม่มีค่าเลย ทิ้งไว้คนเดียวแบบนี้มันหนาวนะ จะทิ้งทั้งทีก็ทำให้มันดีๆ หน่อย หรือบางทีเธออาจลืมไป ลืมว่าเราใช้ซ้ำได้ ลืมไว้กับโพยหวย ลืมไว้กลางเศษแก้ว ตอนนี้ยัง Move on ไม่ได้เลย ถูกทิ้งแล้วยังถูกเหยียบซ้ำอีก นอยด์แล้ว เลิกใจร้ายได้แล้ว เราอยาก Move on

วิถี คน | เรือ | โยง

คน เรือ โยง คือคำนิยามที่เราใช้เรียกอาชีพ ‘นายท้ายเรือกล’ คนขับเรือลำเล็กที่คอยยึดโยงเรือลำใหญ่มีให้เห็นจนชินตาที่แม่น้ำเจ้าพระยา

คนขายพวงมาลัย : อดีตมาม่าซัง และการเติบโตเป็นดอกรักในโลกใบใหญ่

คุยกับคนขายพวงมาลัย ผู้ที่เป็นอดีตมาม่าซัง ก่อนเปลี่ยนสู่คนขายพวงมาลัยที่มองว่าตัวเองเป็นดอกรักในเมืองใหญ่

คอลเลกชันภาพคนชมศิลปะที่แต่งตัวแมทช์กับงานศิลป์ของช่างภาพชาวฝรั่งเศส

นี่คือคอลเลกชันรูปภาพของคนชมศิลปะที่แต่งตัวแมทช์กับงานศิลป์ ! แปลกใจใช่ไหม ? แต่ภาพเหล่านี้มีอยู่จริง

1 13 14 15 16

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.