FiNESSE โปรเจกต์ธีสิสวงไอดอลระยะสั้น ที่อยากให้คนรับรู้ความแตกต่าง และยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง

“เฟทอยากให้สังคมรับรู้ว่า ‘ความต่าง’ ที่โดนปฏิเสธมาตลอด จริงๆ แล้วมันโดนปฏิเสธเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่เก่ง แต่เป็นเพราะวงการไอดอลยังห่างไกลกับการยอมรับ Self-determination (สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง)” ในวันที่อุตสาหกรรม T-POP กำลังเติบโตและถูกจับตามองจากทั่วโลก ใครหลายคนอาจกำลังเดินตามความฝันของตัวเองอย่างสุดกำลัง แต่สำหรับใครบางคน ความฝันของพวกเขาอาจดับลงไปแล้ว เพียงเพราะพวกเขา ‘แตกต่าง’ จากสิ่งที่สังคมต้องการ ‘FiNESSE’ คือธีสิสวงไอดอลระยะสั้นจากฝีมือการโปรดิวซ์ของ ‘เฟท-ฐิตา เกษรสมบัติ’ อดีตสมาชิกไอดอลวง Siamese Kittenz ที่ปัจจุบันเป็นนิสิตชั้นปีสุดท้ายจากคณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน สาขาการออกแบบและผลิตสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโปรเจกต์นี้ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมไอดอลที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่ที่เพศสภาพ อายุ หรือบิวตี้สแตนดาร์ด คอลัมน์ Debut ขอพาไปรู้จักธีสิสวงไอดอล FiNESSE ให้มากขึ้นผ่านบทสนทนาของหญิงสาว ถึงแนวคิดจุดเริ่มต้นตั้งแต่เดย์วันของการตัดสินใจทำธีสิสว่า อะไรคือสิ่งที่อยากนำเสนอ จนถึงวันนี้ที่เธอพยายามผลักดันให้วงนี้เข้าสู่อุตสาหกรรมเพลงได้จริงในอนาคต ได้เวลาทำวงไอดอลระยะสั้น หลายคนคงเคยเห็นธีสิสที่ทำขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจมาจากไอดอลที่ชอบ แต่สำหรับธีสิสของเฟทแตกต่างออกไป เพราะ ‘FiNESSE’ คือธีสิสที่เกิดจากเศษเสี้ยวความฝันการเป็นไอดอลของเธอเอง “อดีตเฟทเคยเป็นไอดอลมาก่อน แต่ในตอนนี้ ต่อให้อยากกลับไปเป็นอีกมันก็ไม่ง่ายแล้ว ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นจนเกินเพดานการสมัคร และเรารู้สึกว่ามันคงมีคนที่เป็นแบบเราเยอะ เลยตัดสินใจทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมา” เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้น ธีสิสในรูปแบบวงไอดอลระยะสั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในคณะ […]

‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ เรียนรู้ เข้าใจ และตั้งคำถาม รวมความรู้สึกหลังชมงานศิลปะที่เชียงราย

งานศิลปะถือว่าเป็นตัวกลางรูปแบบหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในหลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม การตระหนักรู้ หรืออาจเป็นการเรียนรู้บางเรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอผ่านชิ้นงาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกันกับงาน ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ ที่คราวนี้ขึ้นเหนือไปจัดแสดงผลงานศิลปะกันถึงจังหวัดเชียงราย โดยผลงานที่จัดแสดงนั้นก็ได้สะท้อนถึงความน่าสนใจของเมืองเชียงรายที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ผ่านการตีความของศิลปินที่เข้าร่วมงานนี้ และในช่วงเดือนสุดท้ายของการจัดแสดงงาน Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมผลงานบางส่วนมาด้วย เราจึงอยากพาไปย้อนชมผลงานเหล่านั้น เพื่อซึมซับความงดงามและตีความสารที่ศิลปินต้องการสื่อพร้อมๆ กัน Thailand Biennale ‘Thailand Biennale’ คืองานมหกรรมศิลปะระดับชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปี โดยปีก่อนๆ ที่ผ่านมานั้น จังหวัดที่เป็นสถานที่จัดงานล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ เรื่องราวทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นพื้นที่แห่งเมืองท่องเที่ยว ที่พร้อมเปิดให้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้เข้ามาใช้เวลาไปกับการชมงานศิลปะร่วมสมัยที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด เปิดโลก ที่เชียงราย สำหรับครั้งที่ผ่านมา ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน และ 13 พาวิลเลียนในจังหวัดเชียงราย จากศิลปินกว่า 60 คนทั่วโลก โดยงานนี้มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘เปิดโลก’ หรือ ‘The […]

Hard Light แรงงานกลางแดดจ้า

เดือนเมษายน-พฤษภาคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนที่สุด หลายๆ คนคงเบื่อหน่ายและเกลียดฤดูกาลนี้จนไม่อยากออกไปไหน ทว่าในสังคมเมืองที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตมาอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางแสงของดวงอาทิตย์ได้ และถึงแม้ร่างกายจะถูกแผดเผาจากแสงแดด แต่ก็ไม่อาจที่จะแผดเผาความหวังและความฝันของชีวิตได้ เนื่องในวันแรงงานที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง ผมในฐานะแรงงานคนหนึ่งเฝ้าฝันอยากเห็นภาพที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

เลื้อยลอด (รอด) ร้อน ส่องดอกไม้ตามตรอกซอกเมือง

ในเมืองหลวงที่อากาศร้อนระอุ ทั้งคนทั้งสัตว์เลี้ยงต่างต้องปรับตัวสู้อุณหภูมิเดือดด้วยการเข้าไปอยู่ในที่เย็นสบาย เปิดแอร์ฉ่ำใจ แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ขยับอะไรมากไม่ได้แบบพืชนั้นน่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งว่า ปรับตัวได้อย่างไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยป่าซีเมนต์มากมาย และในหลายพื้นที่นั้นนอกจากจะไม่มีคนคอยให้น้ำแล้ว ยังผลิดอกออกสีสันให้จรรโลงตาได้อีก พุ่มเล็กๆ ในกระถางดินเผานี้อาจไม่ช่วยให้ร่มเงากับคนปลูกมากนัก แต่ช่วยให้สบายตาขึ้น ตาข่ายกันแดดนี้ก็สภาพไม่ต่างกัน แม้จะรุ่ยจนไม่อาจให้ร่มเงาอะไรได้อีกแล้ว แต่สีโทนเย็นของมันก็สอดรับกับสีชมพูนวลนี้ได้ดี ช่วยปรุงให้เหล็กและปูนที่แข็งกระด้างดูมีชีวิตชีวาขึ้นทันตา ดาดฟ้าคือพื้นที่ที่รับความร้อนโดยตรง การปลูกไม้ดอกไม้พุ่มจึงเป็นทางเลือกที่พอจะบรรเทาอุณหภูมิให้เย็นลงได้ น่าทึ่งที่ไม้พุ่มเหล่านี้นอกจากจะไม่เหี่ยวเฉาแล้ว ยังผลิดอกใบได้ดกดีท้าแดด ช่วยให้คนที่นั่งรถไฟฟ้าผ่านไปมาได้สัมผัสธรรมชาติใกล้ตาบ้าง ไม่ต้องมองทะลุไปไกลสุดลูกหูลูกตา ที่คุ้นตากันดีคงหนีไม่พ้นพุ่มไม้ผลิดอกสีเหลืองที่มักจะเห็นตามข้างถนนใหญ่ เป็นสัญญาณว่าหน้าร้อนมาถึงอย่างเป็นทางการแล้ว หากมองจากระนาบเดียวกันจากถนนไปยังต้นไม้อาจจะรู้สึกแสบตาอยู่บ้าง แต่หากแหงนหน้ามองจากใต้ต้นไม้ทะลุไปยังท้องฟ้า จะเห็นสีสันที่ค่อยสบายตามาหน่อย ด้วยสีท้องฟ้าที่ตัดกับสีของดอกเหลืองนี้พอดี และทำให้เห็นชัดขึ้นมาหน่อยว่ามันก็มีฝักเล็กๆ แซมอยู่ ไม่เพียงแต่ต้นไม้ใหญ่ดอกสีเหลืองที่เราคุ้นตากันดีในหน้าร้อนนี้ ดอกสีแดงอมแสดก็เป็นอีกสีคุ้นตากันดีในประเภทต้นไม้ใหญ่ที่มักขึ้นตามถนนหรืออาคารเก่าแก่เช่นกัน ต้นไม้ใหญ่ที่มีแต่ใบเขียวครึ้มแปะกับสีโทนเย็นอย่างฟ้าครามทำให้ดูเย็นตาเย็นใจ พอได้สีแดงแต้มใส่หน่อยก็เป็นลูกเล่นที่ลงตัวเข้ากันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ พุ่มชมพูแสบตานี้ไม่เพียงแต่เป็นไม้เลื้อยที่เรามักคุ้นตากันดีว่าอยู่ตามบ้านหรือกำแพงแล้วตั้งตระหง่านบานใหญ่โต บางอาคารที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถปลูกไว้บนดาดฟ้าได้ แล้วให้มันเลื้อยเป็นก้านเล็กๆ ชูไสวลู่ลมร้อน ทำให้แผ่นปูนแผ่นกระเบื้องจืดๆ ดูสดชื่นขึ้นในพริบตา สีละมุนขนาดนี้ มองเผินๆ นึกว่าดอกไม้ในหน้าหนาว แต่ที่จริงแล้วเป็นดอกไม้ที่ชูช่อสูงในหน้าร้อนนี่แหละ เป็นดอกไม้ที่ใครหลายคนก็คงนึกไม่ถึงว่าจะมีด้วย อาจเพราะสีของมันที่จืดชนิดที่ว่ากลืนไปกับท้องฟ้าหรือแผ่นปูน หากไม่มีสีของใบไม้ช่วยตัด และหากไม่แหงนไปสังเกตดีๆ ก็จะมองไม่เห็นเลย สีขาวสว่างนี้เป็นดอกไม้ที่หลายคนคุ้นตาดีว่ายืนต้นในหน้าร้อนได้ อาจจะเพราะความหลากหลายของมันที่อยู่ได้ทั้งกระถางเล็กๆ ไปจนถึงต้นสูงใหญ่ ปลูกได้ทั้งที่พักอาศัยหรือโรงแรม ไม่ต้องดูแลอะไรมากก็ทนแดดทนฝนได้ หลายแบบหลายฟังก์ชันขนาดนี้ ก็ไม่แปลกที่หลายคนจะคุ้นเคยกันดี ก้านลีบเรียว […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

Seashore Sadness ขยะริมทะเลหาดลับ พัทยา

พัทยาคือหนึ่งในเมืองที่ไม่เคยหลับใหล และเป็นจุดมุ่งหมายของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากอยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เท่าไรนัก ใช้เวลาแค่สองชั่วโมงก็มาพักผ่อนพักใจที่ริมทะเลได้แล้ว ภาพความทรงจำของเรากับพัทยาคือ การได้มานั่งเล่นริมชายหาด ใช้เวลานั่งมองท้องฟ้า หาดทราย และน้ำทะเลกับเพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งกับครอบครัว ซึ่งก็ผ่านมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสกลับไปที่พัทยาอีกครั้งเพื่อพักผ่อนในช่วงวันหยุดยาวหน้าร้อนกับเพื่อนๆ และก็อดไม่ได้ที่อยากจะสำรวจความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ว่าแตกต่างจากครั้งสุดท้ายที่เราได้มีโอกาสมาไหม เราเลือกไปเดินสำรวจ ‘หาดลับ’ หนึ่งในหาดที่มีชื่อเสียงสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ภาพของชายหาดสีขาวกับโขดหินเล็กใหญ่รูปทรงแปลกตามักจะปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นแบ็กกราวนด์ให้เหล่าหนุ่มสาวมาถ่ายรูป อวดความงามของตนเองและภูมิทัศน์รอบข้างอยู่เสมอ แต่ความจริงแล้วริมหาดไม่ได้งดงามอย่างที่รู้กัน ความทรงจำไม่ได้ถูกบันทึกไว้ด้วยแค่ภาพถ่าย แต่เหล่าผู้มาเยือนยังคงทิ้งร่องรอยไว้ ด้วย ภาพขยะจากถุงพลาสติก ขวดน้ำ และเศษขยะที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวถูกทิ้งไว้เป็นอนุสรณ์ที่ธรรมชาติไม่ต้องการ ภาพถ่ายชุดนี้เป็นการบอกเล่าถึงความจริงที่ถูกมองข้ามอย่างตรงไปตรงมา เพื่อไม่ให้ธรรมชาติหรือสิ่งสวยงามสูญสลายไปในอนาคตอันใกล้ เราหวังเพียงแค่ให้มนุษย์ทุกคนช่วยรักษาความสะอาดและระเบียบวินัย เพื่อที่ธรรมชาติจะได้อยู่กับเราไปนานๆ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

The Garden Secret คนสวนในความลับ

ที่สวนสาธารณะ คนสวนทำหน้าที่หยิบ จับ จัด และทำสวนให้ ‘ราบรื่นสวยงาม’ ไม่มีกิ่งไม้ร่วง ใบไม้เฉา เหลือง เหี่ยว แห้ง และทำให้ดอกไม้บานเสมอ ‘คนสวน’ เหลื่อมเวลาทำสวนกับคนมาใช้สวน คนสวนต้องระวังไม่ให้อุปกรณ์ทำสวนและน้ำจากสปริงเกอร์ไปโดนคนใช้งานสวน ส่วนคนใช้งานสวนได้ใช้สวนเอี่ยมๆ สะอาดๆ ไม่ต้องระวังกิ่งไม้จะหล่นใส่หัว ไม่ต้องระวังน้ำจากสปริงเกอร์ และไม่ต้องระวังว่าจะไปเหยียบกองใบไม้ที่รอกวาดทิ้ง ‘คนสวน’ ทำงานตามแสงตะวันและฟ้าฝน เริ่มงานตอนแดดออกและเลิกงานก่อนพระอาทิตย์ตก เพราะแดดทำให้มองเห็น และหยุดทำเมื่อฝนตก เพราะฝนช่วยทำงานแทน ส่วนคนใช้งานสวนส่วนมากใช้สวนก่อนแดดออกหรือหลังพระอาทิตย์ตก เพราะแดดทำให้ผิวดำ และหยุดใช้เมื่อฝนตกเพราะเปียก คนใช้สวนรับรู้การมีอยู่ของคนสวนผ่านความ ‘ไม่ราบรื่นสวยงาม’ ของฉากและพร็อปของสวน กิ่งมะฮอกกานีร่วงบนทางวิ่งเพราะคนสวนไม่ได้กวาด กอลิ้นมังกรเหลืองเพราะคนสวนไม่ได้เด็ดออก พุ่มชาฮกเกี้ยนไม่เป็นทรงช้างเพราะคนสวนไม่ได้เล็ม ทุ่งทานตะวันเหี่ยวเพราะคนสวนเอาต้นใหม่มาเปลี่ยนไม่ทัน คนสวนทำงานเหมือนดั่งจอมยุทธ์ในนิยายกำลังภายในของโกวเล้งที่ว่า ‘เร้นตน ซ่อนคม งำประกาย’ เลี่ยงไม่ให้เห็นอุปกรณ์ทำงาน เลี่ยงไม่ให้เห็นตัวตนตอนทำงาน ให้คนรับรู้แต่ผลของงาน ยิ่งคนใช้งานสวนไม่นึกถึงคนสวนได้ยิ่งดี หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เวทีของนักทำหนังรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าหนังโลกร้อนไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ

เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงใหม่ เราจึงมีประสบการณ์ตรงกับฤดูฝุ่นควันที่แวะเวียนมาทุกปี จำไม่ได้แล้วว่าครั้งแรกที่คัดจมูกเพราะฝุ่นควันคือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทุกครั้งที่ฤดูฝุ่นเวียนมาถึง มันจะรุนแรงขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอุณหภูมิในเมืองที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ วัดได้จากหน้าหนาวที่ไม่ได้หนาวเท่าเดิม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาที่น่ากลัว และไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา เช่นเดียวกับ ‘บุษกร สุริยสาร’ ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการ Changing Climate, Changing Lives (CCCL) Film Festival ใครหลายคนอาจรู้จัก CCCL ในชื่อ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2563 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี เทศกาลนี้ไม่ได้เป็นเทศกาลฉายหนังสั้นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดให้นักทำหนังอิสระรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียได้เสนอโปรเจกต์ขอทุนทำหนังของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็เปิดรับหนังสั้นจากคนทำหนังทั่วโลก เมื่อพูดถึงหนังสั้นหรือคอนเทนต์ใดๆ เกี่ยวกับโลกร้อน เรามักจะนึกถึงการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาหรือสารคดีน่าเบื่อ แต่ CCCL ไม่เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าหนังสั้นที่สื่อสารประเด็นจริงจังก็มีความหลากหลาย ดูสนุก และครีเอทีฟได้เหมือนกัน เรานัดพบกับบุษกรและ ‘นคร ไชยศรี’ ผู้ออกแบบกิจกรรมและเทศกาล เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างเฟสติวัล Edu-tainment ในบ่ายวันหนึ่งที่เราได้ยินข่าวว่าฤดูฝุ่นของเชียงใหม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ก่อนจะจบบทสนทนาด้วยความหวังเต็มเปี่ยมหัวใจว่าในปีต่อไปเราจะได้ยินข่าวดีบ้าง ทุกอย่างเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราได้เรียนรู้เช่นนั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เพราะเคยทำงานให้ UN และติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกมาตลอด […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี

เผลอแป๊บเดียวเวทีประกวดเฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘THE POWER BAND’ ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ก็เข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยคอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ ครั้งนี้ ‘King Power’ จัดใหญ่ จับมือกับคนในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงดัง ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS Entertainment, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่พร้อมมาส่งต่อประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคน ถ้าถามว่า ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ ในครั้งนี้จัดใหญ่จัดเต็มแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ Art Attack […]

1 2 3 4 5 6 32

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.