Fantaci (ty) ความเหมือนกันของความแปลกแยกแตกต่าง

อสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมนุษย์ ไม่ว่าจะเพศ อายุ สถานะ หรืออะไรก็ตามแต่ ไม่ว่าที่ไหนก็มีภาพสะท้อนของกันและกัน ในโลกใบเล็กแคบเดียวกัน นั่นจึงทำให้เราเลือกนำเสนอภาพถ่ายเป็นแบบคอลลาจ

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

On the Road ซิ่ง ซ่า เซ็กซ์ โลกบนท้องถนนของนักซิ่ง

“เป็นนักซิ่ง ต้องมีบาดแผล” เมื่อความใคร่ในการขี่รถมอเตอร์ไซค์ของวัยรุ่นก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เรียกว่า “เด็กแว้น” ทำให้พวกเขาต่างค้นหาความเป็นตัวของตัวเองผ่านความซิ่ง ความซ่า และเซ็กซ์ที่ฉาบฉวยในวัยคึกคะนอง

‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า

ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี  เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี  จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว  ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

ไขคดีฆาตกรรมท้องมหาสมุทร หนังสือภาพที่สอนให้คนระวังพิษสัตว์ทะเล

พบผู้เสียชีวิตหลังจากไปดำน้ำในทะเล ไม่พบบาดแผลเด่นชัด เจอเพียงรอยบวมบนแขนเล็กๆ และเนื้อซีดจนเป็นสีน้ำเงินคล้ำ จากข้อมูลผู้ตายเป็นคนชอบดำน้ำและสะสมของสวยงาม คาดว่าฆาตกรน่าจะใช้ของมีคมปลายแหลมขนาดเล็กทำร้ายเหยื่อ แล้วคนร้ายคือใครกัน? ผู้ต้องสงสัย 1 : หมึกสายวงน้ำเงิน ลายของมันเป็นวงแหวนสีน้ำเงินและเรืองแสงได้ พิษของมันอยู่ในน้ำลาย สามารถพบได้ในฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ผู้ต้องสงสัย 2 : หอยเต้าปูน มีลวดลายของหอยเป็นเอกลักษณ์ พิษของมันอยู่ที่งวงที่ยื่นออกมาเป็นเข็มพิษ มักจะพบตามแนวปะการัง ——————————————————————- เฉลย : ผู้ร้ายคือ หอยเต้าปูน เนื่องจากแผลของผู้เสียชีวิตมีรอยบวมเล็กๆ จนแทบมองไม่เห็น สอดคล้องกับหอยเต้าปูนที่มีอาวุธตรงงวงเป็นเข็มพิษเล็กๆ และตัวมันมีลวดลายสวยงามตรงกับนิสัยผู้ตายที่ชอบสะสมของแปลกตา วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกหอยเต้าปูนทำร้ายคือ ใช้แอลกอฮอล์รีบเช็ดบาดแผล ดึงเข็มพิษออกแล้วคัดเลือดบริเวณแผลให้ออกมากที่สุดและรีบนำส่งโรงพยาบาล จากเนื้อหาคดีฆาตกรรมดังกล่าวอาจจะมองเป็นเกมสืบสวนทั่วไป แต่สิ่งสำคัญที่ซ่อนไว้คือ การทำให้คนตระหนักถึงพิษสัตว์น้ำในมหาสมุทรและการป้องกันตนเองเบื้องต้น ผ่านการเล่าเรื่องสืบสวนคดีฆาตกรรมที่น่าติดตาม ซึ่งเป็นแนวคิดของ ‘แอล-นวพรรษ เอื้อพัทธยากร’ ผู้ทำหนังสือภาพประกอบแนวสืบสวนคดีฆาตกรรมเกี่ยวกับพิษสัตว์ทะเล ‘Criminal of the Sea’ ผลงานวิทยานิพนธ์ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร น้อยคนรู้จักพิษสัตว์ทะเล จุดตั้งต้นทำหนังสือเกี่ยวกับพิษสัตว์ทะเล เริ่มมาจากแอลสังเกตเห็นว่า ความสัมพันธ์ของคนและสัตว์เป็นสิ่งใกล้ตัว ส่วนใหญ่คนรับรู้อันตรายของสัตว์บก เช่น แมงป่อง […]

Limitation of Truth – ข้อจำกัดของความจริง

Limitation of Truth (ข้อจำกัดของความจริง) คือผลงานที่อิงครัตตั้งคำถามถึงความจริงของภาพถ่ายที่มักถูกนำไปใช้เป็นหลักฐานยืนยันความจริง

ชีวิตที่ไม่ง่ายของคนทำละครไทยในอเมริกา สู่ Thai Theatre Showcase โชว์เคสที่เปิดให้พวกเขาได้โชว์ของ

บิ๊ก-รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง คือคนทำละครเวทีไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกามาตั้งแต่ปี 2557 รักษ์ศักดิ์เป็นคนนครศรีธรรมราช ชอบเล่นละครเวทีมาตั้งแต่มัธยมฯ หลังเรียนจบปริญญาตรีสาขาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอบินลัดฟ้าไปปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความฝันที่อเมริกาเพราะเห็นโอกาสเติบโตที่มากกว่า  ที่นั่น รักษ์ศักดิ์ได้พบรัก แต่งงาน และได้เรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารจัดการศิลปะ ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในเมืองที่รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์ของบรอดเวย์และละครเวทีอย่างนิวยอร์ก เริ่มทำงานจากตำแหน่ง Arts Administrator อย่างที่เรียนมา จนตอนนี้กลายเป็น Asistant Director of Grantmaking Programs หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายโปรแกรมทุนของ Theatre Communications Group องค์กรที่ตามหาและแจกจ่ายทุนให้คนละครเวทีในดินแดนแห่งเสรีภาพได้สานฝันในการทำละครของตัวเอง ช่วงปี 2561 รักษ์ศักดิ์และเพื่อนในแวดวงได้ก่อตั้ง Thai Theatre Foundation หรือ TTF เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย และในวันที่ 23 – 24 กรกฎาคมนี้ TTF จะจัดโชว์เคสครั้งแรกของพวกเขา ความพิเศษของงานนี้คือการรวบรวมศิลปินละครเวทีไทยในสหรัฐอเมริกามาโชว์ของ ซึ่งมีทั้งตัวท็อปและหน้าใหม่ในวงการที่คนไทยอาจไม่คุ้นชื่อ แต่คนดูชาวอเมริกันคุ้นชินกับพวกเขาเป็นอย่างดี และนี่เป็นครั้งแรกที่ศิลปินไทยเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการเปล่งเสียง โชว์ความเป็นไทยของตัวเอง แบบที่ไม่เคยได้แสดงที่ไหน เช้าวันแดดร่มวันหนึ่งที่ไทย เราต่อสายหารักษ์ศักดิ์ในอีกซีกโลกหนึ่งที่ท้องฟ้ากำลังระบายสีครึ้ม เพื่อพูดคุยกันถึงโชว์เคสครั้งสำคัญ […]

“ดนตรีอยู่ที่ไหนก็ได้” – ‘ลภ เวลาเย็น’ ผู้จัดงานดนตรีที่อยากชวนทุกคนไปฟังเพลงกันซักแดด

ดนตรีมีหลากหลายแนวเพลง รูปแบบการเล่นดนตรีก็แตกต่าง การแสดงดนตรีย่อมไม่เหมือนกัน ในร้านเหล้า ผับ บาร์ คาเฟ่เป็นแบบหนึ่ง บนเวทีคอนเสิร์ต ในพื้นที่สาธารณะเป็นอีกแบบหนึ่ง ในงานตลาดนัดหรือเทศกาลดนตรีก็อีกแบบหนึ่ง ต่างรสนิยมและความสุนทรีย์ เป็นปัจเจก ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกแบบไหน ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ในประเทศไทยมีทางเลือกในการฟังเพลง ดูดนตรีกันสักกี่รูปแบบ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้สองสามปีที่ผ่านมารูปแบบการจัดงานดนตรีต้องปรับเปลี่ยน ลดขนาด เว้นระยะห่าง ไม่แออัด ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้นึกถึง ‘ซักแดด’  ซักแดดคืองานดนตรีที่ใช้พื้นที่ในจังหวัดราชบุรีเป็นที่จัดงาน บริหารโดยทีมผู้จัดงานชื่อ ‘เวลาเย็น (Velayen)’ โดยมี ลภ-วัลลภ แก้วพ่วง เป็นหัวหน้าแก๊ง เขาเล่าว่า ซักแดดเกิดขึ้นมาพร้อมการปรับตัวในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่หลังโรคระบาดมาเยือน เวลาเย็นกับการชวนไปซักแดด ก่อนจะไปฟังเรื่องของซักแดด เราอยากพาไปรู้จักกับหัวหน้าแก๊งเวลาเย็นกันก่อนสักนิด ลภเป็นคนบางแพ จังหวัดราชบุรี เรียนประถมฯ ต่อมัธยมฯ แถวบ้านได้ปีเดียว ก็เปลี่ยนมาต่อเทคนิคฯ ช่างไฟ ที่โพธาราม กระทั่งปี 2546 เขาก็เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่เทคนิคกรุงเทพฯ จนเรียนจบออกมาใช้วิชาช่างไฟสร้างตัวอยู่ในเมืองหลวงราว 15 ปี ก่อนเปิดบริษัทรับเหมาเป็นของตัวเอง และตัดสินใจวางแผนกลับไปอยู่บ้านอีกครั้ง ปี […]

KOHLER วิวัฒนาการของการอาบน้ำแบบเหนือชั้น ที่ให้ตัวเราเป็นดั่งศิลปิน

เรื่องราวในประวัติศาสตร์เป็นส่วนสำคัญให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา เพียงเกร็ดเล็กน้อยในชีวิตประจำวันของคนยุคก่อน กินข้าว เดินเล่น นอน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่พ้นแม้กระทั่งการ ‘อาบน้ำ’ ที่ในอดีตมีเรื่องราวน่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นยุโรปช่วงต้นศตวรรษที่ 16 ผู้คนเชื่อกันว่าการอาบน้ำในโรงอาบน้ำที่เหมือนอ่างขนาดใหญ่เป็นอันตราย เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค หรือการอาบน้ำเป็นเพียงพิธีกรรมทางศาสนาที่นานๆ ครั้งถึงจะอาบ เราจึงได้รับรู้เกร็ดเล็กน้อยชวนหยีของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา (Isabella I of Castile) ได้ทรงยอมรับว่าตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์สรงน้ำเพียงแค่สองครั้งเท่านั้น หรือพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (Louis XIV) กษัตริย์ที่ได้ฉายาว่า พระวรกายเหม็นที่สุดในโลก ทุกเช้าจะใช้น้ำหอมครึ่งขวดเพื่อปกปิดกลิ่นพระวรกาย เรื่องราวทั้งหมดนี้ จึงเกิดการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่จะมาแก้ปัญหาในส่วนต่างๆ และเปลี่ยนแปลงบริบทการอาบน้ำ ซึ่ง ‘ฝักบัว’ ก็เป็นนวัตกรรมในเรื่องราวสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ Urban Creature จับมือกับ KOHLER อยากพาทุกคนเข้าสู่ห้องเรียนสังคม ย้อนอ่านต้นกำเนิดของฝักบัวกันสักเล็กน้อย และจนปัจจุบัน KOHLER พัฒนาคอลเลกชันใหม่ ชุดฝักบัวอาบน้ำ & วาล์วคอนโทรล รุ่น ‘Statement & Anthem […]

Clothes and Memories รำลึกความทรงจำผ่านเสื้อผ้าของแม่ที่จากไป

ย้อนกลับไปในสมัยเด็ก ตอนที่แม่พาไปสวนสาธารณะ เราเดินเล่นเลาะไปตามริมทาง สัมผัสแสงแดดอุ่นๆ และสูดกลิ่นดิน ความทรงจำนี้กลับมาอีกครั้งตอนเห็นรูปภาพในอัลบั้มภาพถ่ายที่พ่อถ่ายภาพแม่ไว้ในช่วงยุค 80 พร้อมๆ กับที่เจอเสื้อผ้าเก่าเก็บของแม่

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง Yala Stories ที่อยากขับเคลื่อนยะลาด้วยงานสร้างสรรค์

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับ Yala Stories ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กที่มิตรสหายคนทำงานสร้างสรรค์แชร์กัน ซึ่งโพสต์นั้นว่าด้วยการนำภาพของตัวอักษรบนป้ายร้านรวง ย่านสายกลาง จังหวัดยะลา มาเรียงกันเป็นคำว่า ‘ยะลา สตอรี่’  แน่นอนว่าความสวยเก๋ต้องไม่รองใคร เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่ยังมีการวาดโปสเตอร์ภาพยนตร์ด้วยมืออยู่ ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าสุนทรียะในศิลปะการออกแบบป้ายต้องหรอยแรงอยู่แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ตัวอักษรหรือฟอนต์ (Font) เหล่านี้ล้วนมีประวัติศาสตร์ของเมืองซุกซ่อนอยู่ ซึ่ง ‘Yala Stories’ ก็ได้พาเราไปทัวร์ชมฟอนต์เหล่านี้ผ่านหน้าจอไปด้วย หลังจากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองยะลาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ย่านสายกลาง ซึ่ง ‘Yala Stories’ เป็นชื่อของนิทรรศการนี้นั่นเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาที่มีการจัดงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีครบหมดตั้งแต่นิทรรศการบอกเล่าเมืองยะลา งานศิลปะ วงเสวนา ฉายหนังสั้น การแสดงสด คอนเสิร์ต งานคราฟต์ แฟชั่น ไปจนถึงอาหารกับกาแฟ  ด้วยความชอบใจและดีใจที่เห็นจังหวัดอื่นๆ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวในแวดวงงานสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากขึ้น ทำให้เราติดต่อขอพูดคุยกับกลุ่มคนผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Yala Stories’ และได้พบกับ ‘บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์’ หัวหอกของโปรเจกต์นี้ […]

1 14 15 16 17 18 32

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.