ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กันยายน 2567

ต้องยอมรับว่า ผมไม่ใช่คนเดียวที่ชอบถ่ายรูปสิ่งของงานออกแบบไทยๆ ที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตามท้องถนน เพราะหลังจากที่ออกหนังสือ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ผมก็ได้พบปะผู้คนมากมายที่ชอบถ่ายรูปคล้ายๆ กัน แถมมีภาพที่น่าตื่นเต้นมากกว่าผมเสียอีก จนมีคนแซวว่า ใครๆ ก็เป็นคอลัมนิสต์ของคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอได้ ถ้าเป็นคนที่ชอบเดินเล่นและมีนิสัยช่างสังเกตพอ ซึ่งผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย เพราะไม่ได้ห่วงตำแหน่งอะไร (ฮา) อย่างไรก็ตาม ผมพบว่าถึงแม้จะถ่ายรูปคล้ายกัน แต่วิธีมองหรือคำอธิบายของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันออกไป บางคนมองเป็นไอเดีย บางคนมองเป็นงานครีเอทีฟ บางคนมองเป็นมีมตลกร้าย หรือบางคนมองเป็นปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่เรามีมุมมองที่หลากหลายในเรื่องเดียวกัน และผมมองว่าการบาลานซ์มุมมองต่างๆ เวลาพบเจอสิ่งของเรี่ยราดพวกนี้แหละคือหัวใจสำคัญ เพราะสิ่งของเหล่านี้ส่วนใหญ่มักสะท้อนปัญหาบางอย่างในสังคม ผมเลยอยากย้ำเพื่อนๆ ผู้อ่านตอนนี้อีกครั้งว่า คอลัมน์นี้มีความตั้งใจแบ่งปันมุมมองเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองว่า เหตุใดพวกเขาถึงต้องดีไซน์ของกันเองจนกลายเป็นคัลเจอร์ มากกว่าแค่รูปภาพสนุกๆ เฉยๆ และในฐานะคอลัมนิสต์ ผมจึงมีความรับผิดชอบที่ต้องคัดสรรภาพสิ่งของเหล่านี้จำนวนหนึ่งมาฝากให้ทุกท่านได้รับชมอีกครั้งในรอบนี้ เพราะไม่งั้นตำแหน่งนี้อาจโดนแย่งไปจริงๆ (ฮา) อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมเกริ่นไปตอนต้น หากใครมีภาพสิ่งของแนวๆ เดียวกันนี้ จะติด #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อแบ่งปันกันก็ได้ อยากรู้จริงๆ ว่าทุกคนมีมุมมองแบบไหนกันบ้าง หรือจะท้าชิงตำแหน่งกับผมก็ไม่ว่ากัน ศาล Pave หากใครพอมีความรู้เรื่องการตั้งศาลพระภูมิมาบ้าง เราจะพบว่าความหมายของศาลพระภูมิก็คือเจ้าที่ ‘ดิน’ ทำให้การตั้งศาลทั่วไปนั้นมักต้องอยู่บนแท่งเสา เพื่อจำลองลักษณะเหมือนอยู่บนต้นไม้ที่งอกจากดิน และพันผ้าสามสีเอาไว้ให้เป็นแบบเดียวกับต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่เราเห็นกันบ่อยๆ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive สิงหาคม 2567

‘น้อยแต่มาก เล็กแต่ยิ่งใหญ่ พระเจ้าอยู่ในรายละเอียด’ วลีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เหล่าคนทำงานออกแบบหรือทำงานสร้างสรรค์มักได้ยินกันจนชินหู ซึ่งการวัดกึ๋นในผลงานออกแบบใดๆ ในปัจจุบัน เรามักไปตามดูกันตรงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ปรากฏอยู่ในผลงานนี่แหละ อย่างไรก็ตาม ตัวผมเองไม่ค่อยอยากจำกัดคำเท่ๆ พวกนี้อยู่แค่ในวงการนักออกแบบหรือคนทำงานสร้างสรรค์เท่านั้น เพราะหลายครั้งผมก็เห็นผลงานออกแบบตามริมทางท้องถนนจากคนทั่วไปที่ไม่ได้เรียนออกแบบ ที่มีลักษณะน้อยแต่มากหรือมีรายละเอียดเล็กๆ ที่เห็นแล้วน่าทึ่งไม่แพ้นักออกแบบตัวจริงอยู่บ่อยๆ ไม่รู้ว่าใครเห็นด้วยกับผมไหมว่า เวลาจะลงรายละเอียดในงานออกแบบใดๆ เราในฐานะนักออกแบบมักพยายามทำให้มันดูแนบเนียนไปกับภาพใหญ่ แต่ในงานออกแบบเล็กๆ ตามริมทางท้องถนนนั้นกลับตรงกันข้าม เพราะมีความไม่แนบเนียนและโดดออกมาจากชิ้นงานให้เห็น แต่ถึงแม้มันจะสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย แต่หลายคนก็เลือกที่จะมองข้ามไปอยู่บ่อยครั้ง อาจเพราะสุดท้ายแล้ว เมื่อมองรวมๆ ภาพใหญ่กับทัศนียภาพของเมืองไทยต่างกลมกลืนกันไปอยู่ดีนั่นเอง แต่ไม่ต้องรู้สึกพลาดอะไรไป หากใครไม่ค่อยได้สังเกตเห็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ตามริมทาง ผมได้คัดสรรภาพของเหล่านี้มาให้เพื่อนๆ ได้รับชมอยู่แล้วเป็นประจำทุกเดือนในคอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้เราฝึกมองของรอบตัวให้ดีมากขึ้น เผื่อเวลาที่เราออกจากบ้านแล้วผ่านตามตรอกซอกซอย อาจจะได้ลองกวาดสายตามองไปตามแนวผนังตามจุดต่างๆ และพระเจ้า (แบบไทยๆ) ที่อยู่ในรายละเอียดอาจจะปรากฏตัวให้เห็นก็เป็นได้ Doll Stopper อะไรที่ดูผิดที่ผิดทาง หลายครั้งมันถูกคิดมาแล้วเป็นอย่างดี อย่างประตูรั้วเหล็กหน้าบ้านในรูปนี้ที่มีตุ๊กตาหมีตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งถูกมัดติดเอาไว้ เมื่อลองพิจารณาดูรวมๆ ก็พบว่า น้องตุ๊กตาหมีตัวนี้คือดีเทลซับแรงกระแทกของประตูรั้วเหล็กที่อาจเปิดไปชนกับกำแพงด้านข้าง กลายเป็น Doll ที่เป็น Door Stopper นั่นเอง FruitWork […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กรกฎาคม 2567

“เอ๊ะ” เป็นเคล็ดลับสำคัญในการมองหางานดีไซน์ที่น่าสนใจตามริมทางท้องถนน เพราะของเหล่านี้มักแฝงตัวอย่างแนบเนียนอยู่กับชีวิตประจำวันของพวกเรา หลายคนคุ้นชินจนแทบมองไม่เห็นการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเดินผ่านสิ่งของใดๆ แล้วรู้สึก ‘เอ๊ะ’ รู้สึก ‘แปลกๆ’ ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ลองเดินย้อนกลับไปดูและลองพิจารณาสำรวจมันอีกครั้ง ผมนึกถึงนิทรรศการ ‘Invisible Things (2019)’ ที่เคยจัดแสดงที่ TCDC โดยมีคุณ Philip Cornwel-Smith ผู้แต่งหนังสือ Very Thai (2004) เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ว่าด้วย 25 วัตถุเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนไทยที่เราคุ้นชินมากๆ จนมองข้ามไป เช่น กระป๋องแป้งตรางู กระติ๊บข้าวเหนียว ซองมาม่า ซึ่งของแต่ละอย่างนี้อาจดูไม่น่าสนใจอะไร แต่ลึกๆ แล้วกลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ยกตัวอย่าง มาม่า ที่เป็นดัชนีในการพยากรณ์เศรษฐกิจ เพราะยามเศรษฐกิจดี ยอดขายมาม่าจะลดลง แต่ยามเศรษฐกิจถดถอย ยอดขายมาม่าจะเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้นิทรรศการตั้งใจจะสื่อว่า ของบางอย่างที่อยู่ใกล้ตัวพวกเรามากๆ อาจกำลังสะท้อนสังคมได้มากกว่าเพียงรูปลักษณ์ที่เป็นอยู่ ผมเชื่อว่า หากเข้าใจวิธีมองสิ่งของแบบเดียวกับนิทรรศการ Invisible Things เราจะมีความสามารถในการรู้สึก ‘เอ๊ะ’ ที่มากขึ้น และมองหาความหมายของสิ่งของเรี่ยราดตามริมทางได้ดีขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความตั้งใจหรือเหตุผลใดๆ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive กุมภาพันธ์ 2567

ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินเลาะตามตรอกซอกซอยในเมืองอยู่บ่อยๆ อาจเพราะส่วนหนึ่งเป็นคนไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้การเดินทางในชีวิตประจำวันนั้นต้องพยายามหาทางเดินเชื่อมต่อขนส่งสาธารณะอย่างจำเป็น กลายเป็นว่าผมได้เริ่มปรับเปลี่ยนความจำเป็นนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการบวกให้เป็นงานอดิเรกไปด้วยในตัว จากการพยายามเดินส่องหาข้าวของแปลกๆ ระหว่างทางที่เดิน โดยเฉพาะงานดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ จากผู้คนริมทางที่มีความน่าสนใจและถ่ายรูปเก็บไว้ (ซึ่งผมมักจะเรียกสิ่งของเหล่านี้ว่าสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด) ส่วนหนึ่งผมถ่ายเก็บไว้เป็นไอเดียสำหรับใช้ทำงานดีไซน์ (ตัวผมเองเป็นสถาปนิก) เพราะข้าวของเหล่านี้หลายชิ้นมักมีผลลัพธ์จากการดีไซน์ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ และมักคอยท้าทายมุมมองชนชั้นกลางแบบเราๆ ได้อยู่เสมอ อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและวิธีการแก้ไขจริงๆ จากผู้คนตัวเล็กๆ ในพื้นที่สาธารณะของเมืองที่เต็มไปด้วยปัญหาสารพันแบบอินไซต์ แม้ว่าส่วนหนึ่งนั้นไม่ได้ถูกต้องตามหลักกฎระเบียบริมทาง และรอได้รับการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดจากส่วนกลาง ที่ไม่ใช่แค่จัดระเบียบและจบๆ กันไป คงเป็นการดีที่ผมจะขอมาร่วมแบ่งปันเหล่าภาพถ่ายจากงานอดิเรกนี้กับทาง Urban Creature เป็นคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ที่ว่าถ้าผมไปเจองานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้ที่ไหน ก็จะหยิบรูปส่วนหนึ่งมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ รับชมทุกเดือน (หากเป็นไปได้) นอกจากความตื่นตาตื่นใจไปกับงานดีไซน์ข้างทางเหล่านี้แล้ว ผมหวังว่าจะช่วยทำให้พวกเราได้เรียนรู้และได้ทำความเข้าใจความเป็นไปของผู้คนในเมืองมากยิ่งขึ้น Seat ผมเจอเก้าอี้พลาสติกจำนวนหนึ่งที่ขาหลังหายไป แล้วถูกนำมาวางคร่อมไปกับขอบกระบะต้นไม้ริมถนนตรงนั้นแทน ที่ซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง ใกล้ตลาดกองสลากฯ แถวถนนราชดำเนิน จากที่สังเกตและทำความเข้าใจคือ ตรงนั้นเป็นแผงตลาดขายสลากฯ ที่มีคนเดินผ่านไปมาเยอะ แล้วหากวางเก้าอี้ลงบนถนนไปเลยอาจจะสร้างความเกะกะได้ กลายเป็นว่าการตัดขาเก้าอี้และวางคร่อมแบบรูปนี้ เป็นการช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนถนนนั่นเอง เก้าอี้พลาสติกของเหล่าพี่วินฯ มักมีอาการพังหรือขาหักอยู่บ่อยๆ และเราจะเห็นวิธีหาทำซ่อมแซมของเหล่าพี่วินฯ ให้มันกลับมาใช้งานได้เสมอๆ อย่างเก้าอี้วินฯ ที่ขาหลังหักตัวนี้แถวสวนจตุจักร ถ้ามองไวๆ อาจจะงงว่ามันยังลอยตั้งอยู่ได้ยังไง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.