‘reBAG’ ขอพลาสติกยืดคืนกลับมารีไซเคิลกับแคมเปญจากไปรษณีย์ไทย X TPBI หย่อนฟรี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขา

สำหรับใครที่เป็นนักช้อปออนไลน์ คงคุ้นเคยกับการรีไซเคิลกล่องพัสดุ แต่สำหรับซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกอื่นๆ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าพวกมันก็รีไซเคิลได้เช่นกัน เพื่อสานต่อโครงการ Green Hub ที่ก่อนหน้านี้ประสบความสำเร็จมาแล้วกับแคมเปญ reBOX ที่ช่วยรีไซเคิลกล่อง ซอง และกระดาษไม่ใช้แล้วให้กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากกว่า 137,000 กิโลกรัมในปี 2566 ‘บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด’ จึงร่วมมือกับ ‘บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน)’ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบวงจร ทำแคมเปญ ‘reBAG’ ขึ้น จุดประสงค์คือการชวนทุกคนเก็บรวบรวมซองพลาสติกไปรษณีย์ บับเบิล ถุง และฟิล์มพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วส่งคืนกลับมารีไซเคิล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปริมาณขยะฝังกลบ ลดโอกาสเกิดปัญหาขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และสามารถวนถุงใบใหม่กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวม แค่รวบรวมแล้วนำไปหย่อนหรือดรอปที่ ‘กล่องรับของโครงการ reBAG’ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 50 สาขาทั่วประเทศฟรี ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง) ดูประเภทถุงและฟิล์มพลาสติกที่รับรีไซเคิลและสาขาที่ตั้งของกล่องรับของโครงการ reBAG เพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Won

5 โรคฮิตที่คนเมืองเป็นกันไม่หาย คุณอาจไม่รู้ว่ามันเกี่ยวข้องกับ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’

ความจริงที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าหลายๆ โรคที่คุณป่วยอยู่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’ สิ่งสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อน ระบบต่างๆ ในร่างกาย เพราะอวัยวะต่างๆ นั้นต่างต้องพึ่งพาจุลินทรีย์ในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบขับถ่าย ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทและสมอง ระบบทางเดินหายใจ หรือแม้แต่การผลิตวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ ซึ่งภูมิต้านทานของคนเรามีมากถึง 70% ในลำไส้ หมายความว่า ถ้าจุลินทรีย์ในลำไส้เราไม่สมดุล ก็อาจจะส่งผลต่อโรคมากมายที่จะเกิดขึ้นมาตามมา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตยุคปัจจุบัน ลองมาดูว่าจุลินทรีย์ในลำไส้นั้น มีผลกับอาการเจ็บป่วยอะไรบ้างที่คนเมืองยุคนี้เป็นกัน ถ้าคุณพยายามกินผักทั้งสวนแล้วก็ยังไม่ถ่าย หรือกินอะไรผิดสำแดงนิดหน่อยก็ท้องเสีย อาการแบบนี้เราเรียกว่า โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome; IBS) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร มักจะมีอาการท้องผูก, ท้องเสีย หรือเป็นทั้งสองอย่าง สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับสภาวะไม่สมดุลของประชากรจุลินทรีย์ในลำไส้ ชื่อจุลินทรีย์ Methanogens ซึ่งสามารถสร้างก๊าซมีเทนได้ โดยผู้ป่วยจะมีจุลินทรีย์จำพวก Methanogens ในปริมาณมาก จะผลิตแก๊สมีเทนออกมามาก ทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน จึงทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง มีก๊าซเกินในกระเพาะและลำไส้ โดยการเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ จะช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างกรดไขมันที่จะช่วยลดการอักเสบของลำไส้ลงได้ ภูมิแพ้อากาศ จามบ่อยเป็นว่าเล่น แม้จะดูแลทำความสะอาดห้องใช้เครื่องฟอกอากาศก็แล้ว แต่อาการที่ว่าก็ยังไม่หายไปสักที สาเหตุนั้นเกี่ยวข้องกับจุลินทรีย์ในลำไส้เหมือนกัน เพราะคนที่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล มีโอกาสที่เซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จะสูญเสียความสามารถในการควบคุมการผ่านเข้าออกของสารอาหาร บรรดาสารพิษ สารก่อภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรคจึงสามารถเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยไม่ผ่านการกรอง ซึ่งเรียกว่า “ภาวะลำไส้รั่ว” หรือ “Leaky […]

ผ่อบ้านเก่า แอ่วเมืองแป้ แลโบราณคดีชุมชน กับเมือง ‘แพร่’ ที่ไม่ได้มีแค่ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์

จุดหมายปลายทางของคนส่วนใหญ่ที่เดินทางไปท่องเที่ยวทางภาคเหนือ มักจะหยุดอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย หรือถัดออกมาหน่อยคงเป็นน่าน แต่สำหรับ ‘แพร่’ จังหวัดเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาทั้งสี่ทิศ อาจไม่ใช่ตัวเลือกแรกๆ ของใครหลายคน แต่ถ้าเป็นคนที่ชื่นชอบการเที่ยวชมธรรมชาติ สัมผัสวิถีชุมชน และสนใจเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี เชื่อเถอะว่าถ้าได้มาเยือนจังหวัดแพร่ด้วยตัวเองสักครั้งจะต้องติดใจ อยากกลับมาอีกแน่นอน เพราะที่นี่ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคเหนือที่มีภาคประชาสังคมที่แข็งแรง และพร้อมผลักดันเมืองที่เต็มไปด้วยมนตร์เสน่ห์แห่งนี้ให้ก้าวไปข้างหน้า คอลัมน์ Neighboroot ขออาสาพาไปทำความรู้จักกับแพร่ในแง่มุมต่างๆ ผ่าน 3 สถานที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ แหล่งโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,500 ปี ‘อาคารศูนย์การเรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน (บ้านเขียว)’ พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของชาวแพร่ที่ถูกบูรณะจนเสร็จสมบูรณ์ และ ‘กาดกองเก่า’ กาดแลงประจำวันเสาร์ที่กลายเป็นจุดนัดพบของคนในท้องถิ่น ว่าสถานที่เหล่านี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร และเพราะอะไรจึงไม่ควรพลาดหากได้ไปเยือน เปิด ‘บ้านนาตอง’ โบราณคดีชุมชน แหล่งเรียนรู้ท่ามกลางธรรมชาติ การเดินทางครั้งนี้เราตั้งต้นกันที่ตัวเมืองแพร่ เพื่อนัดเจอ ‘ลุงไกร-วุฒิไกร ผาทอง’ หนึ่งในสมาชิกข่ายลูกหลานเมืองแพร่ เครือข่ายภาคประชาสังคมของจังหวัดแพร่ ที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนที่มีความรักในท้องถิ่นเมืองแพร่ ผู้จะเป็นคนนำเราไปเรียนรู้เรื่องราวของเมืองแพร่ในแง่มุมประวัติศาสตร์ โดยมี ‘ชุมชนบ้านนาตอง’ เป็นจุดหมายแรกของเราในวันนี้ สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ ถัดออกไปจากตำบลช่อแฮ ที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ […]

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

ปูบนพื้น มุงหลังคา ใช้ในงานก่อสร้าง ตีความสังคมผ่านผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว ในนิทรรศการภาพถ่าย The Fabric of Society

เคยสังเกตตัวเองมั้ย เวลาเจอผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว แล้วสมองจะนึกโยงไปถึงอะไรก่อน ไซต์ก่อสร้าง หลังคาชั่วคราวของคนไร้บ้าน หรือเครื่องมือคลุมของของร้านรวงริมถนน ฯลฯ ที่เป็นแบบนั้นเพราะไม่ว่าจะเป็นของเล็กน้อยหรือใหญ่โต ล้วนมีบริบทการใช้งานและชนชั้นผูกอยู่ด้วยเสมอ เหมือนที่ Barry Macdonald ช่างภาพอิสระชาวอังกฤษ มีมุมมองต่อเจ้าผืนผ้าใบนี้ในหลากหลายมิติ นำมาสู่นิทรรศการภาพถ่าย ‘The Fabric of Society’ หรือ ‘ผืนผ้าของสังคม’ ที่จะจัดแสดงระหว่างวันที่ 21 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30 – 19.00 น. ณ Front Lobby ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าผ้าใบมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานอันหลากหลาย ตั้งแต่ความคงทน ราคาย่อมเยา เข้าถึงง่าย ทำให้เราเชื่อมโยงกับผ้าใบนี้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนใช้งานโดยตรงก็ตาม เนื่องจากยังไงเราก็ต้องเคยเดินผ่านเห็นมันบ้างอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้ในงานก่อสร้าง การขนส่ง หรือการนำมาดัดแปลงสร้างสรรค์​ให้เป็นของดีไซน์แบบไทยๆ แบบที่จะอยู่ในคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอของ Urban Creature เช่น […]

พบความล้ำหน้าของระบบไฟทั่วโลกในงาน Lighting Fair Autumn และ Outdoor & Tech Light Expo วันที่ 27 ต.ค. – 1 พ.ย. ที่เกาะฮ่องกง

แสงไฟและความสว่าง ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ด้วยเทรนด์ต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายคอยอัปเดตนวัตกรรมใหม่ๆ และนำเสนอความล้ำหน้าเหล่านี้ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสว่างหลากหลายรูปแบบ ใครที่สนใจและอินเรื่องนี้เป็นพิเศษ เราจะบอกว่าทุกการอัปเดตเรื่องเทรนด์และเทคโนโลยีระบบไฟจะอยู่ในมหกรรม ‘Hong Kong International Lighting Fair (Autumn Edition)’ และ ‘Hong Kong International Outdoor and Tech Light Expo’ ที่จัดขึ้นโดย Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) ในธีม ‘Light and Life’ ทั้งสองงานนี้จัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันด้านแสงสว่าง ที่แสดงให้เห็นถึงเทรนด์ใหม่ๆ และความทันสมัยในการออกแบบกับการใช้งานแสงสว่างต่างๆ โดยในปีนี้จะมีผู้แสดงสินค้ามากกว่า 3,000 รายจากทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นตลาดด้านแสงสว่างชั้นนำของโลกเลยทีเดียว นอกจากการแสดงสินค้าแล้ว ภายในงานยังมี ‘Innovative Lighting Design Forum’ และ ‘Connected Lighting Forum’ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจะมีนักออกแบบชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมแสงสว่างมาร่วมแบ่งปันเทรนด์ตลาดและการใช้งานจากหลากหลายภูมิภาคและอุตสาหกรรม พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ มากมาย […]

Tesla เปิดตัว ‘Giga Train’ รถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ให้บริการโดยสารฟรีในเยอรมนี

‘Giga Train’ คือรถไฟที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100 เปอร์เซ็นต์ขบวนแรกจากบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ‘Tesla’ ที่ออกตัวแล่นอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมาในประเทศเยอรมนี รถไฟขบวนนี้เปิดให้บริการตั้งแต่สถานี Erkner ทางทิศตะวันออกของเบอร์ลิน ในรัฐบรันเดนบูร์ก (Brandenburg) ไปจนถึงสถานี Tesla Süd ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ของ Tesla ในเมือง Grünheide ด้วยระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร แม้ Giga Train จะเป็นรถไฟสายที่มุ่งหน้าสู่โรงงานของ Tesla แต่รถไฟขบวนนี้ไม่ได้สงวนไว้สำหรับพนักงานของ Tesla เท่านั้น เพราะเปิดให้บริการฟรีแก่ประชาชนทุกคนที่ต้องการโดยสารผ่านเส้นทางดังกล่าว ภายในรถไฟประกอบด้วยที่นั่งจำนวน 120 ที่นั่ง รองรับผู้โดยสารได้มากถึง 500 คน พร้อมพื้นที่จอดจักรยาน สำหรับใครที่ใช้จักรยานเป็นพาหนะในการเดินทางต่อ นอกจากนี้ การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ Siemens Mobility Mireo B ใน Giga Train ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถไฟดีเซลแบบเดิม เนื่องจากสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 50 ตันต่อสัปดาห์เมื่อเทียบกับรถไฟขบวนอื่นๆ อีกทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมันและค่าบำรุงรักษาอีกด้วย […]

The Hub ศูนย์รวมความบันเทิงสีสันสดใสในอียิปต์ พื้นที่สาธารณะที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิต

พื้นที่สาธารณะลักษณะวงกลมหลากหลายสีสันบน Marassi จุดหมายปลายทางริมชายฝั่งทางเหนือของประเทศอียิปต์ คือสถานที่ที่ดึงดูดให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านอย่างมีชีวิตชีวา ซึ่ง ‘The Hub’ คือชื่อเรียกของสถานที่แห่งนั้น The Hub ถูกตั้งเป้าให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านความบันเทิงที่ล้ำสมัย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร จากการออกแบบของ ‘100architects’ สตูดิโอออกแบบที่มักดึงเอาสีสันสดใสมาใช้ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะ เช่นเดียวกับ The Hub ที่ถูกสร้างสรรค์โดยดึงเอาสีสัน แสงไฟ และการใช้ไดนามิก มาออกแบบด้วยแนวคิด Big Bang ที่จะดึงดูดสายตาผู้เยี่ยมชมให้เดินเข้าสู่พื้นที่วงกลมเล็กใหญ่ที่ถูกจัดวางไว้เป็นโซนหลักทั้งหมด 3 โซน ได้แก่ โซนอเนกประสงค์สำหรับจัดงาน โซนสนามเด็กเล่น และ Kids Town สีสันที่ว่ายังมาพร้อมกับกิจกรรมกลางแจ้งมากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์กลางแจ้ง ลู่โกคาร์ต ลานโรลเลอร์สเกต สนามกีฬา เกมตู้อาเขต และพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามความต้องการ ตั้งแต่จัดคอนเสิร์ต ตลาดนัด หรือเวิร์กช็อปศิลปะ ที่ออกแบบมารองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่เป็นเด็กและวัยรุ่นเป็นหลัก ทั้งหมดนี้ก็เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สร้างพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งสังสรรค์ และเปิดโอกาสให้กับการแสดงออกของเยาวชน ในขณะที่ยังอยู่ภายใต้การออกแบบที่ผสมผสานระหว่างความสวยงามและความมีชีวิตชีวาได้อย่างลงตัว Sources : 100architects | 100architects.com/project/the-hubDesignboom | […]

‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ จากแหล่งกระจายเครื่องเทศสู่แหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอาหาร

นอกจากพลอยและผลไม้ที่เป็นของขึ้นชื่อจังหวัด ‘จันทบุรี’ แล้ว ‘อาหาร’ ก็เป็นอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งตัววัตถุดิบและการปรุง จนทำให้หลายคนติดใจในรสชาติ อยากแวะกลับมาอีกครั้ง มีหลายแหล่งไม่น้อยที่เชื่อว่าจุดเริ่มต้นอาหารของชาวจันทบุรีมาจาก ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์พื้นที่และประวัติศาสตร์อาหาร โดยในอดีตเคยเป็นแหล่งซื้อขายและกระจายเครื่องเทศที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่รุ่มรวย ทำให้สร้างสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายได้ ซึ่งในปัจจุบันชุมชนก็ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจันทบุรี คอลัมน์ Neighboroot ครั้งนี้ขอพาไปเดินท่องชุมชนริมน้ำจันทบูร โดยมี ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เป็นคนนำทางไปชมวิถีชีวิตในชุมชนริมน้ำจันทบูร พร้อมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในพื้นที่นี้ให้ฟัง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ชุมชนเก่าแก่ แหล่งกระจายเครื่องเทศของจันทบุรี จันทบุรีอาจเป็นจังหวัดที่ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวมากเท่าไรนัก แต่เพราะว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง จึงมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนตัวอยู่ รอให้เราเข้าไปค้นหา โดยเรื่องราวเหล่านั้นเริ่มต้นพร้อมกับชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 300 ปีอย่าง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ที่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่ใช่แค่อยู่มานาน แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่างในจันทบุรี “ถนนที่เรากำลังเดินอยู่นี้เป็นถนนเส้นแรกของจังหวัด เมื่อก่อนชื่อถนนเลียบนที จนมาถึงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาล” พี่หมูพาเราเดินชมชุมชนริมน้ำตลอดระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พร้อมเล่าถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ กับการเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นทำเลที่เหมาะสม สะดวกสบายต่อการเดินทาง เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมของคนสมัยก่อน ทำให้มีทั้งคนไทย คนจีน […]

‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง

แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]

การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat

‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้

เปิดรับสมัครศิลปินร่วมแต้มสีสัน เติมความสดใสให้คลองโอ่งอ่างใน ‘โอ่งอ่าง Water & Colour Open Wall’ ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 18 ก.ย. 67

จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่บริเวณ ‘คลองโอ่งอ่าง’ ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด และในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งก็มักมีความน่าสนใจ รวมไปถึงสีสันเฉพาะตัวที่ส่งผลให้พื้นที่มีชีวิตชีวาแตกต่างกันออกไป ในปีนี้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ และ ‘each.’ เอเจนซีศิลปะและศูนย์รวมศิลปิน ได้ร่วมมือกันเปิดโอกาสให้ศิลปินรุ่นใหม่ได้แสดงฝีมือ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในโครงการ ‘โอ่งอ่าง Water & Colour Open Wall’ หวังให้กำแพงนี้กลายเป็นเอกลักษณ์ใหม่ของชุมชน เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพื้นที่กิจกรรมบนพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่างต่อไปอย่างยั่งยืน การแสดงผลงานนี้มาพร้อมกับโจทย์ ‘โอ่งอ่าง Water & Colour สีสันใหม่ริมคลองโอ่งอ่าง’ ที่ศิลปินสามารถสร้างสรรค์ไอเดียในการถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ จากประสบการณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชุมชนริมคลองบนกำแพงริมคลองโอ่งอ่าง และตีความใหม่ในมุมมองของตัวเองได้อย่างอิสระ โดยในผลงานนี้ต้องประกอบด้วย – เรื่องราวของสายน้ำ : ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของวิถีชีวิตริมคลองโอ่งอ่างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน – เรื่องราวของสีสันใหม่ : เอกลักษณ์ของคลองโอ่งอ่าง ซึ่งเป็นเหมือนสีสันที่เติมแต่งให้พื้นที่นี้โดดเด่นยิ่งขึ้น การประกวดผลงานในครั้งนี้ สามารถส่งผลงานได้ทั้งรูปแบบเดี่ยวและรูปแบบทีมจำนวนไม่เกิน 5 คน โดยผู้สมัครและสมาชิกในทีมต้องมีอายุไม่เกิน 27 ปี และต้องไม่ใช้ AI ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้พื้นที่ในการแสดงผลงานที่คลองโอ่งอ่าง รวมถึงประสบการณ์ในการออกแบบและเพนต์กำแพงริมคลองโอ่งอ่าง, […]

1 2 3 4 169

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.