ใครๆ ก็เป็นฟันเฟืองในการสร้างรอยยิ้มได้ ชวนแชร์เรื่องราวที่ดีต่อใจให้คนทั่วไปได้รู้ กับโครงการ ‘เรื่องของเรา’ โดย UNDP

กว่าจะใช้ชีวิตผ่านพ้นไปในแต่ละวัน แน่นอนว่าย่อมต้องมีทั้งเรื่องดีและไม่ดีเกิดขึ้น หลายครั้งที่รู้สึกหมดหวังหรือท้อถอย ในโมงยามที่เหนื่อยล้านั้น เราอาจประสบกับเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นจากคนรอบตัวหรือคนไม่รู้จัก แล้วทำให้ตระหนักถึงคุณค่าอะไรบางอย่างจนอยากใช้ชีวิตต่อไปด้วยใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความหวัง ‘เรื่องของเรา’ คือโครงการของ UNDP Thailand ที่ชวนทุกคนมาขบคิดและขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกจากจุดเล็กๆ ในกิจวัตรประจำวันและอาชีพของเรา ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของประเทศไทย เพื่อเป็นฟันเฟืองในการสร้างรอยยิ้มและความสุขของตัวเราเองและผู้คนอีกมากมายที่รายรอบเราอยู่ วิธีการส่งพลังงานดีๆ เหล่านี้ทำได้ง่ายๆ แค่คุณมีเรื่องราวปฏิบัติการเล็กๆ ที่ดีต่อใจผู้คน ไม่ว่าจะเป็นของเพื่อน ญาติ พี่น้อง คนที่แอบชอบ คนรู้จัก หรือแม้แต่เรื่องของตัวเอง และอยากประกาศให้โลกรู้ จะเพื่อขอบคุณ ให้กำลังใจ หรือสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นก็ตาม เพียงแค่แชร์เรื่องราวเหล่านั้นลงใน Facebook, Instagram, Tiktok หรือ X (Twitter) ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นข้อความ คลิป หรือรูปภาพพร้อมคำบรรยาย ถึงความประทับใจของคุณในกิจวัตรหรือกิจกรรมของคนที่กล่าวถึง ระบุรายละเอียดและผลกระทบในแง่บวกกับสังคมที่เกิดขึ้น ไม่จำกัดรูปแบบ ลีลา ท่วงท่า และความยาว พร้อมใส่แฮชแท็ก #OurSDGs และเปิดโพสต์นั้นเป็นสาธารณะ เรื่องไหนถูกใจทีมงาน UNDP เจ้าของเรื่องจะได้รับสติกเกอร์เชิดชูใจ นำไปติดประกาศให้คนรู้ว่าเราสนและเราแคร์โลกใบนี้ แถมเรื่องราวเหล่านี้จะถูกนำมาเผยแพร่บนสื่อต่างๆ ของ […]

‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะรูปดอกไม้ในเฉิงตู ที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งนั่ง นอน และปีนเล่น

เก้าอี้ในพื้นที่สาธารณะมักเป็นม้านั่งรูปแบบต่างๆ ทั้งมีพนักพิง ไม่มีพนักพิง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกออกแบบมาในลักษณะที่เป็นเก้าอี้แนวยาวที่ตอบโจทย์เรื่องการใช้งาน แต่อาจไม่ได้คำนึงถึงความสวยงามเท่าไรนัก แต่ที่บริเวณหน้าทางเข้าย่านการค้า ‘Luxezone Plaza’ ในเมืองเฉิงตู ประเทศจีน กลับมีดอกไม้ขนาดใหญ่ติดตั้งอยู่ เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จะเห็นว่าดอกไม้ดอกนั้นคือ ‘A Petal in the Urban Oasis’ ที่นั่งสาธารณะที่ให้ทั้งความสวยงามท่ามกลางต้นไม้รอบด้าน และยังสามารถใช้งานได้หลากหลาย ออกแบบโดยสตูดิโอในประเทศจีน ‘Epiphany Architects’ โครงสร้างที่นั่งดอกไม้นี้เป็นไม้ที่วางเรียงกันอย่างสวยงาม ส่วนตัวฐานของดอกไม้นั้นเป็นกระจกหกบานที่ออกแบบให้กลมกลืนกับกลีบดอกไม้ ทำให้ดูเหมือนว่าดอกไม้กำลังลอยตัวอยู่ในอากาศ และยังทำให้ไม้ด้านบนเล่นแสงและเงา เกิดเป็นเอฟเฟกต์ที่สวยงาม ไม่เพียงแต่ไม้และกระจกเท่านั้น แต่ด้านในยังติดตั้งกล่องไฟเพื่อสร้างแสงสว่างและเสริมความสวยงามให้กับดอกไม้ดอกนี้ในยามค่ำคืน โดยผู้คนสามารถพักผ่อน นั่ง นอน หรือจะเอนตัวบนกลีบดอกไม้ก็ได้ รวมถึงยังเป็นเครื่องเล่นให้เด็กๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่นี้ได้ปีนป่ายกันอย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน นอกจากการใช้งานอย่างรอบด้านและความสวยงามของพื้นที่แล้ว ที่นั่งดอกไม้นี้ยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่ผสมผสานกันระหว่างธุรกิจและธรรมชาติที่ช่วยสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ไม่เหมือนใครให้กับผู้คนที่มาใช้พื้นที่แห่งนี้ด้วย Sources :Designboom | tinyurl.com/547k4z8rEpiphany Architects | tinyurl.com/2p9nj3hj

Langezijds อาคารคณะ ITC จาก University of Twente สถานที่พบปะนักวิทย์ที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบยั่งยืน

คนในสายวิทยาศาสตร์อาจคุ้นเคยอยู่บ้างกับคณะ International Institute for Geo-Information Science and Earth Observation (ITC) ที่ตั้งอยู่ใน University of Twente (UT) มหาวิทยาลัยด้านเทคนิคที่ดีที่สุดในเนเธอร์แลนด์ ประจำปี 2021 แต่นอกจากความน่าสนใจเรื่ององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ในส่วนของสถาปัตยกรรมของคณะก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางคณะได้ปรับปรุงอาคารประจำคณะซึ่งเป็นอาคารเดิมที่สร้างขึ้นในปี 1972 อย่าง ‘Langezijds’ อาคารที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งในเนเธอร์แลนด์ที่เป็นแหล่งรวมนักศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และนักวิจัยทั่วโลก ให้กลายเป็นสถานที่พบปะที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้แบบยั่งยืน ด้วยผลงานการออกแบบร่วมกันของ 4 สตูดิโอออกแบบ ได้แก่ Civic Architects, VDNDP, Studio Groen+Schild และ DS Landscape Architects เพื่อทำให้อาคาร ยาว 220 เมตร ขนาด 13,605 ตารางเมตรแห่งนี้เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว อากาศบริสุทธิ์ และแสงธรรมชาติ มีการคงไว้ซึ่งโครงสร้างคอนกรีตและเหล็กเดิมที่มีร่องรอยการใช้งาน ส่วนเสาเดิมที่ตั้งราวกับซากปรักหักพังบริเวณห้องโถงกลางก็มีการใช้ไม้โอ๊กและพื้นไม้ไผ่ในการซ่อมแซม ให้ความรู้สึกอบอุ่นแก่ตัวอาคารและแสดงถึงจุดยืนเรื่องความยั่งยืน ในขณะที่ภายใต้โครงสร้างอาคารยังมีการออกแบบโถงกลางขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และรับประทานอาหารเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ […]

PepsiCo ถูกรัฐนิวยอร์กยื่นฟ้องฐานสร้างมลพิษพลาสติกรายใหญ่ จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับรัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังพบว่ามีขยะพลาสติกและซองขนมที่ถูกพบในแม่น้ำบัฟฟาโลกว่า 1,916 ชิ้น ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้ชื่อ ‘PepsiCo’ แบรนด์ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ รัฐนิวยอร์กได้ยื่นฟ้องต่อบริษัทผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ PepsiCo ฐานสร้างมลพิษจากการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนมาก โดยอ้างว่าบริษัทจำเป็นต้องรับผิดชอบในการทำให้น้ำในเมืองเกิดการปนเปื้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อชาวเมืองและสัตว์น้ำ เพราะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งถือเป็นแหล่งกำเนิดไมโครพลาสติกขนาดเล็ก ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ กระตุ้นอัตราการเกิดมะเร็งให้สูงขึ้น ทั้งยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำดื่มของชาวนิวยอร์กหรือสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียง ทำให้ในเวลาต่อมา โฆษกของ PepsiCo ออกมาแถลงการณ์เน้นย้ำว่า ทาง PepsiCo มุ่งมั่นที่จะลดขยะพลาสติกในอุตสาหกรรม และให้ความสำคัญต่อการรีไซเคิลเพื่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอนาคต Sources : BBC NEWS | t.ly/nKKUwSky News | t.ly/cmqwT

รอชม ‘ดอยบอย’ ที่ได้ไปฉายในเกาหลีใต้ หนังไทยว่าด้วยชนกลุ่มน้อยที่ลี้ภัยมาในไทย สตรีมทั่วโลก 24 พ.ย. 66 ทาง Netflix

หาก ‘ดินไร้แดน (Soil without Land)’ คือภาพยนตร์สารคดีที่ว่าด้วยชาวไทใหญ่ผู้อยากมีชีวิตที่ดีแต่ต้องไปเข้ากองทัพในรัฐฉานเพื่อปลดแอกจากรัฐพม่า ‘ดอยบอย (Doi Boy)’ ก็คือเรื่องปรุงแต่งที่ยังคงมีกลิ่นอายความรู้สึกของชาวไทใหญ่ในดินไร้แดนนั้นอยู่ หากแต่คราวนี้ได้เสริมเติมแต่งเรื่องราวหรือความรู้สึกของชีวิตที่มากกว่าใครคนใดคนหนึ่งในประเทศแห่งนี้เพียงคนเดียว ‘นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ยังคงนำเรื่องราวของความเป็นชนกลุ่มน้อยที่คราวนี้ยิ่งทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ชาวไทใหญ่เท่านั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ แต่คือเราทุกคนที่อยู่ในชนชั้นใดของสังคมก็ตามด้วยเช่นกัน เพราะหากโครงสร้างทางการเมืองยังไม่ถูกแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เราในฐานะประชาชนของประเทศมีอำนาจมากพอที่จะเป็นเจ้าของอำนาจ หรืออย่างน้อยที่สุดในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่พึงมีสิทธิเสรีภาพ ผู้มีอำนาจในโครงสร้างนั้นก็จะยังคงกดขี่หรือคอยกัดกินหาผลประโยชน์จากเราไล่ลงมาเรื่อยๆ และพยายามทำให้โครงสร้างนี้ยังคงอยู่ต่อไป อย่างในเรื่องดอยบอย หากพื้นที่และโครงสร้างของรัฐพม่าโอบอุ้มชีวิตทุกชีวิตมากพอ ‘ศร’ เด็กหนุ่มไทใหญ่ที่ลี้ภัยเข้ามาทำงานค้าประเวณีในบาร์เกย์ที่เชียงใหม่ อาจไม่ต้องเข้าไปร่วมกับกองกำลังเพื่อต่อสู้กับรัฐพม่า หรือหากรัฐไทยเป็นประชาธิปไตยที่รองรับสิทธิมนุษยชนมากพอ เขาอาจได้สิทธิในการเป็นพลเมืองเฉกเช่นมนุษย์คนหนึ่ง หรือหากรัฐไทยมีมาตรการรองรับในช่วงโควิด-19 มากพอ เขาอาจไม่ต้องเข้าไปพัวพันกับสถานการณ์ทางการเมืองไทยจนกลายเป็นเพียงแค่หมากตัวหนึ่งที่รัฐใช้ผลประโยชน์จากเขา หรือหากรัฐไทยให้สิทธิเสรีภาพมากพอ สถานการณ์ของศรที่ต้องไปพบเจอกับนักกิจกรรมทางการเมืองอาจถูกเปลี่ยนไปเป็นสิ่งอื่น ปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ เราไม่อาจบอกได้เลยว่าทั้งหมดไม่ใช่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในรัฐไทย อาจกล่าวได้ว่า ดอยบอยคือภาพยนตร์ที่บันทึกปัญหาของรัฐไทยที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังบันทึกเรื่องราวของชาวไทใหญ่ให้พวกเขาได้มีตัวตนมากขึ้น ให้สังคมได้รับรู้ถึงปัญหาของชายแดนไทย-พม่าที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดมา มากกว่าประเด็นที่จะได้พบเจอในภาพยนตร์ สิ่งที่ดอยบอยกำลังแสดงออกมาคือหัวจิตหัวใจของมนุษย์ที่มีทั้งดี เลว เทา สุข เศร้า และปลง ชีวิตของตัวละครที่ไม่ได้มีเฉดสีขาวหรือดำแต่ล้วนเป็นสีเทาทั้งหมด ทุกคนมีความฝันหรือความหวังในชีวิตที่อยากจะมีความสุขหรืออย่างน้อยก็ปกติสุขที่สุดในขณะที่เรามีลมหายใจ แต่ความฝันเหล่านี้ก็คงเป็นไปได้ยากหากโครงสร้างของรัฐยังกดขี่พวกเราทุกคน ความรู้สึกนี้จึงหนักอึ้งเสียกว่าประเด็นในหนังที่แสดงออกมาเสียอีก ที่ผ่านมา ดอยบอยได้ไปฉาย World Premiere ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน ครั้งที่ 28 […]

‘Spice Balm’ ลิปบาล์มเครื่องเทศ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปากพร้อมกับรสชาติความเผ็ดร้อน

ปัญหาที่มาพร้อมกับอากาศหนาวทุกปีคือริมฝีปากที่แห้งแตกจากอุณหภูมิที่ลดลง ลิปบาล์มจึงกลายเป็นไอเทมสำคัญที่ต้องพกติดตัวเอาไว้ โดยคนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อลิปมันบำรุงปากจากกลิ่นที่ชอบและรสชาติที่ใช่เป็นหลัก ‘Tasty Bite’ แบรนด์อาหารอินเดียเปิดเผยข้อมูลว่า ผู้บริโภค 3 ใน 5 นั้นชื่นชอบอาหารรสเผ็ด และมีจำนวนมากถึง 63 เปอร์เซ็นต์ที่ชอบเครื่องปรุงที่มีรสชาติเผ็ดร้อน ทางแบรนด์จึงตอบสนองความชื่นชอบของผู้บริโภคเหล่านั้นด้วยการเปิดตัว ‘Spice Balm’ ลิปบาล์มที่จะเพิ่มความชุ่มชื้นบนริมฝีปากให้เต็มไปด้วยรสชาติเข้มข้นที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องแกงของแบรนด์นั่นเอง โดย Spice Balm มีให้เลือกถึง 3 รสชาติ คือ คอลเลกชัน Spice Balm นี้เป็นรุ่นลิมิเต็ดอิดิชันที่วางขายในราคาแท่งละ 4.99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 180 บาท ซึ่งตอนนี้ก็ได้ Sold Out ไปเรียบร้อยแล้ว Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/d5v66hkpPR Newswire | tinyurl.com/y6vefkdeTasty Bite | tinyurl.com/2sdzayzj

อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม Bangkok River Festival 2023 ชวนลอยกระทงใน ‘บ่อลอยกระทงรักษ์โลก’

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่ดีงามซึ่งพวกเราทุกคนสามารถอนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมได้  งาน ‘Bangkok River Festival 2023 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย’ ด้วยแนวคิด “ลำนำ วันเพ็ญ” ที่จัดขึ้นในวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน ก็เป็นอีกหนึ่งงานที่ต้องการอนุรักษ์ประเพณีไทยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย “บ่อลอยกระทงรักษ์โลก” พร้อมกิจกรรมมากมายใน 10 จุดท่าน้ำสำคัญของกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาก่อนที่จะถึงวันงานจริง Urban Creature ขอพาไปสำรวจงาน Bangkok River Festival 2023 ว่ามีไฮไลต์อะไรบ้าง เพื่อเป็นการวอร์มอัปให้ทุกคนเตรียมตัวไปสนุกกับประเพณีไทยที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไฮไลต์ของงาน Bangkok River Festival 2023 ในปีนี้คือ ‘บ่อลอยกระทงรักษ์โลก’ ที่นอกจากจะเป็นการรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยแล้ว ยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การลอยกระทงในระบบปิดนี้นับเป็นวิธีหนึ่งในการช่วยลดจำนวนขยะจากกระทงในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เพราะถึงแม้ว่ากระทงจะทำจากวัสดุธรรมชาติก็ตาม แต่หากมีจำนวนที่มากเกินไปก็อาจทำให้แหล่งน้ำเกิดความสกปรกหรือเน่าเสีย นอกจากนี้ กระทงทุกใบที่จำหน่ายเพื่อลอยในบ่อลอยกระทงรักษ์โลกล้วนทำขึ้นจากวัสดุธรรมชาติทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อจบงานในแต่ละวัน กระทงเหล่านี้ก็จะถูกจัดเก็บและส่งต่อให้ทางกรุงเทพมหานครนำไปรีไซเคิลเป็นปุ๋ย โดยกระทงหนึ่งใบนั้นสามารถนำไปผลิตปุ๋ยเพื่อปลูกต้นไม้ได้หนึ่งต้น ส่วนกระทงประทีปที่ทำจากเทียนไขนั้นสามารถนำกลับมาหลอมเป็นเทียนที่ใช้ในโบสถ์ได้ ปีนี้ใครที่อยากลอยกระทงตามประเพณีแต่ไม่อยากทำลายสิ่งแวดล้อม บ่อลอยกระทงรักษ์โลกนี้จะตั้งอยู่ใน 7 จุดทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่ มากไปกว่ากิจกรรมลอยกระทงเพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยแล้ว […]

สีไหนมาแรง โลกจะเปลี่ยนแปลงไปยังไง เจาะเทรนด์โลก 2024 ก่อนใครกับอีบุ๊กส์จาก ‘คิด’ Creative Thailand.

หนึ่งสิ่งในช่วงท้ายปีที่เป็นเหมือนอินโทรคอยบอกว่าเรากำลังจะเข้าสู่ปีใหม่อย่างเป็นทางการ คือการอัปเดตข่าวสารว่าในปีหน้าจะมีเทรนด์ไหนมาแรงแซงทางโค้งกับเขาบ้าง เพื่อเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงก่อนใคร ครั้งนี้ ‘คิด’ Creative Thailand ในฐานะสื่อสร้างสรรค์ที่มีบทบาทในการรวบรวมองค์ความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ก็ได้ออกอีบุ๊กส์อัปเดตเทรนด์มาในธีม ‘Trend 2024: REMADE ANEW’ อีบุ๊กส์เล่มนี้ทำหน้าที่เสมือนกุญแจเปิดประตูสู่ความสำเร็จผ่านเนื้อหาที่นำเสนอ ซึ่งเกิดจากกระบวนการทำวิจัยและรวบรวมองค์ความรู้จากหลากหลายสำนักเทรนด์ทั่วโลก เหมาะสำหรับทุกสาขาอาชีพที่ต้องการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบัน โดย Trend 2024: REMADE ANEW ได้รวบรวมบทวิเคราะห์เจาะลึก เกาะติดแนวโน้มและความเคลื่อนไหวในภาคธุรกิจสร้างสรรค์ที่จะเกิดขึ้น นำเสนอผ่าน 4 มิติสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน (Population), สังคมและวัฒนธรรม (Social & Culture), นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Technology) และนิเวศและสิ่งแวดล้อม (Environment) มาไว้ให้แล้ว อีกทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับ ‘Color of the Year 2024’ ที่สะท้อนให้เห็นแนวโน้มของโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ‘Consumer Profile 2024’ เจาะลึกพฤติกรรมของผู้บริโภค ‘Generation of 2024’ […]

เสียงจากคนรุ่นใหม่สู่สังคมที่ยั่งยืน เสวนาชี้ปัญหาช้างๆ ในสังคมไทย ภายใต้โครงการ SDG Localization

เพราะประเทศไทยยังมีปัญหาและความท้าทายอย่างรอบด้าน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาภายใต้กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) UNDP Thailand จึงจัดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ ‘ช้างทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด เสียงจากคนรุ่นใหม่สู่สังคมที่ยั่งยืน’ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 บริเวณชั้น 3 ตึกสามย่านมิตรทาวน์ ภายในงานมีการจัดแสดงภาพถ่ายของเยาวชนผู้ชนะการแข่งขันเรียงความภาพถ่ายในหัวข้อเดียวกัน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความท้าทายสังคมไทยที่รู้ว่ามีอยู่ แต่กลับไม่แก้ไขอย่างตรงจุด ผู้ร่วมเสวนาครั้งนี้มาจาก 4 วงการ ได้แก่ ‘เชอร์รี่ เข็มอัปสร’ นักแสดงและนักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมและธุรกิจเพื่อสังคม ‘ดร.เพชร มโนปวิตร’ นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ‘ศุภณัฐ มีนชัยนนท์’ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และ ‘นันทกร วรกา’ เยาวชนผู้ชนะการแข่งขันเรียงความภาพถ่ายในหัวข้อ ‘ช้างทั้งตัว ใบบัวปิดไม่มิด’ เพื่อร่วมตีแผ่ประเด็นสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนต่อด้วยความหวัง โดยประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาแต่ละคนให้ความสำคัญ มีดังนี้ ดร.เพชร มโนปวิตร กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดของการพัฒนาที่ยั่งยืนคือการประเมินตัวชี้วัดในการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของประเทศที่เหมาะสม […]

Skatepark Under Fabiani Bridge ลานสเกตใต้สะพาน ประเทศสโลวีเนีย แก้ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรม แหล่งมั่วสุมยาเสพติด

ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรมในเขตเมืองที่ถูกทิ้งร้างจากการไม่ได้ใช้งานและตกสำรวจ จนกลายเป็นแหล่งรวมยาเสพติดและอาชญากรรม คือหนึ่งในปัญหาที่หลายเมืองต้องเผชิญ ไม่เว้นแม้กระทั่งเมืองลูบลิยานา ประเทศสโลวีเนีย ที่หลังจากสร้างสะพาน Fabiani เพื่อความสะดวกสบายในการสัญจร แต่กลับทำให้บริเวณด้านล่างถูกทิ้งร้าง ไม่มีการควบคุมเฝ้าระวัง นำไปสู่การใช้งานที่ไม่พึงประสงค์ตามมา เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ เมืองลูบลิยานาจึงตั้งงบประมาณโครงการฟื้นฟูพื้นที่และจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านกีฬาใหม่สำหรับเมือง เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ใต้สะพานที่ทิ้งร้างให้กลายเป็นลานสเกตสาธารณะสำหรับคนในชุมชน โดยมี ‘Scapelab’ รับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ ลานสเกตเกิดขึ้นภายในระหว่างเสา 4 ต้นของสะพาน ประกอบด้วยทางลาดขนาดเล็กครึ่งวงกลมที่เป็นเหมือนลานประลองลวดลายของนักสเกต มีไฟส่องสว่างเพื่อให้ใช้สนามในช่วงเย็นได้ รวมไปถึงมีการสร้างรั้วและประตูเพื่อเสริมความปลอดภัยและป้องกันการมั่วสุมเหมือนในอดีต ปัจจุบัน Skatepark Under Fabiani Bridge ได้รับความนิยมอย่างมาก จนสนามใต้สะพานแห่งนี้เปิดทำการมาแล้วกว่า 5 ปี ตั้งแต่ปี 2018 และมีการขยับขยายเวลาเปิดให้บริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากมีผู้คนใช้งานตลอดเวลา กลายเป็นหนึ่งโครงการแก้ปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรมที่ได้ผลดีที่สุดในประเทศสโลวีเนีย Sources : ArchDaily | t.ly/m3OlHLjubljana | t.ly/8p8SPScapelab | scapelab.com/en/skatepark 

‘Hair Room TOARU’ ร้านเสริมสวยในชนบทเมืองไซตามะ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งทำผมกลางธรรมชาติ

ร้านทำผมทั่วไปที่เราไปใช้บริการกันนั้นมักเป็นร้านที่แบ่งสัดส่วนและตกแต่งด้วยอุปกรณ์ทำผมหลากหลายชนิด แต่หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวที่ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น อาจมีโอกาสได้เจอกับ ‘Hair Room TOARU’ ร้านทำผมที่สตูดิโอสถาปนิก ‘Ateliers Takahito Sekiguchi’ ปรับปรุงให้ออกมาสวยงามสะดุดตา แตกต่างจากร้านทำผมอื่นๆ ที่เคยเห็นกันมาก่อนหน้านี้ Hair Room TOARU ตั้งอยู่ริมถนนในพื้นที่ชนบทของไซตามะ และบริเวณโดยรอบของร้านนั้นล้อมรอบไปด้วยการจราจรและสภาพแวดล้อมป่าเขา การจัดเรียงข้าวของต่างๆ จึงอยู่ในลักษณะที่เหลื่อมกัน ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์ไม้ ผนัง คอนกรีตเสริมเหล็ก และกระจกบานใหญ่ ทำให้มีช่องเปิดขนาดใหญ่เพื่อสร้างความเชื่อมโยงให้กับตัวร้านและธรรมชาติด้านนอก โดยทีม Ateliers Takahito Sekiguchi เลือกใช้ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก (RC) เพื่อป้องกันเหตุไฟไหม้ และใช้หลังคา CLT ที่ทำจากไม้ในท้องถิ่น ที่นอกจากช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้น้อยลง ซึ่งหลังคานี้มีการออกแบบให้ระบายอากาศตามธรรมชาติ และรับแสงเพื่อช่วยให้ภายในร้านสว่างแบบทางอ้อมอีกด้วย Sources :Ateliers Takahito Sekiguchi | takahitosekiguchi.comDesignboom | tinyurl.com/3vjrvwbf

‘บางจาก’ ชวนร่วมสัมมนา ‘Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13’ พลังงานสะอาดตอบโจทย์เดินทางอย่างยั่งยืน 23 พ.ย. 66 ที่ M Tower สำนักงานใหญ่

โลกยังต้องการการเปลี่ยนผ่านของพลังงานไปสู่พลังงานสะอาด แต่พลังงานสะอาดยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทันที เรายังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล แต่จะทำอย่างไรให้เชื้อเพลิงฟอสซิลอยู่กับเรา กับโลก ได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในภาคขนส่ง ทั้งเครื่องบิน รถ เรือ  เชื้อเพลิงที่จะมาช่วยให้การเดินทางและขนส่งยั่งยืนยิ่งขึ้น ตอบโจทย์การใช้พลังงานควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกเพื่อโลก คืออะไร พบกับคำตอบได้ในงานสัมมนา ‘Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13’ ในชื่อ Regenerative Fuels: Sustainable Mobility วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น. ที่ห้องประชุมใบไม้ ชั้น 8 อาคาร M Tower สำนักงานใหญ่ บริษัท บางจากฯ ใครที่สนใจเข้าร่วมสัมมนา ลงทะเบียนได้ทาง : tinyurl.com/ymu3tkr2

1 11 12 13 14 15 156

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.