ออกไปมองฟ้ากว้างยามค่ำคืน มีเรื่องเครียดอะไรก็ปล่อยให้ลอยไปกับดวงดาวและท้องฟ้าตอนมืดมิด

เวลาเครียดๆ ทุกคนทำอะไรกัน เล่นเกม? ฟังเพลง? หรือจะลองออกจากห้องไปหยุดยืนมองผืนฟ้ายามค่ำคืนบ้างดี เรารู้กันอยู่แล้วว่า พื้นที่สีเขียว พื้นที่โล่งกว้าง หรือแม้แต่ท้องฟ้าแจ่มใสนั้นช่วยให้สภาพจิตใจของเราดีขึ้น แต่ไม่ใช่แค่ท้องฟ้าสดใสในช่วงกลางวันเท่านั้นที่ส่งผลดีต่อจิตใจของเรา เพราะที่จริงแล้วท้องฟ้าในช่วงกลางคืนเองก็มีส่วนช่วยฟื้นฟูให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โฟกัสที่ดวงดาวแทนความเครียดที่มี มีการศึกษาหนึ่งในปี 2564 ที่เผยแพร่ใน Journal of Destination Marketing & Management พบว่า การดูดาวเป็นกิจกรรมที่ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แถมยังมีส่วนช่วยฝึกสมาธิ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพจิตในการจดจ่อกับช่วงเวลาปัจจุบัน เพราะความคิดและความสนใจในเวลานั้นจะมุ่งไปยังดวงดาว ทำให้เราดื่มด่ำกับภาพตรงหน้าอย่างเต็มที่ สนใจความสวยงามและความกว้างใหญ่ไพศาลของท้องฟ้า มากกว่าใช้เวลาไปกับการวิตกกังวลหรือสนใจกับสิ่งที่คิดวนเวียนอยู่ในจิตใจ ไม่ใช่แค่เพิ่มความสงบทางจิตใจเท่านั้น แต่การดูดาวยังเป็นวิธีการที่ช่วยให้ออกห่างแสงจากจอ และไปสัมผัสกับแสงจากธรรมชาติแทน ช่วยให้ร่างกายผลิตเมลาโทนินเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีด้วย ท้องฟ้าไม่มีดาวก็ใช้วิธี Skychology แทน จะให้ไปมองดวงดาว แต่ปัญหาใหญ่ของคนเมืองนอกเหนือจากการไม่มีเวลามองฟ้าแล้ว พอเข้าสู่ช่วงกลางคืน มลภาวะทางแสงในเมืองยังรบกวนจนทำให้การดูดาวกลายเป็นเรื่องยาก ถึงอย่างนั้น การจะลดความเครียดไม่จำเป็นต้องดูดาวอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีแนวคิด Skychology ที่จะช่วยให้จิตใจสงบได้เหมือนกัน Skychology เป็นแนวคิดและสาขาวิชาที่สร้างขึ้นโดย Paul Conway นักจิตวิทยาที่ทำการศึกษาว่า การมองขึ้นไปบนท้องฟ้าสามารถเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิตของเรา และยังเป็นการทำสมาธิในทางหนึ่ง เพราะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ ลดความเครียดและความวิตกกังวลได้ […]

‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน

เคยไหม เวลาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ บ้านบางหลังจะแขวนป้ายหรือไวนิลไว้หน้าบ้านทำนองว่า ‘ห้ามฉี่’ ถึงจะดูเป็นเรื่องตลก แต่ปัญหาเหล่านี้กลับสร้างความกวนใจให้เจ้าของบ้านมากๆ รวมถึงคนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็ต้องคอยรับผลกระทบจากมลภาวะทางกลิ่นไปด้วย การติดป้ายอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนและเอกชน ส่วนพื้นที่สาธารณะกลับไม่ค่อยเห็นการห้ามในลักษณะนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ก็เป็นพื้นที่คอยรองรับปริมาณฉี่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ พื้นทางเท้า หรือต้นไม้ ยิ่งเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนที่อับสายตาผู้คน ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย กลิ่นฉี่ทำลายทั้งบรรยากาศและโครงสร้างต่างๆ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้อยู่อาศัย แต่ในหลายๆ พื้นที่ที่เดินเท้าได้กลับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นฉี่หมักหมม ส่งกลิ่นโชยออกมาให้ต้องรีบจ้ำอ้าวหนี และหากบริเวณไหนที่มีกลิ่นอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งดึงดูดให้คนมาฉี่เพิ่ม กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับของเสียไปโดยปริยาย ส่งผลให้หลายๆ เส้นทางไม่น่าใช้งาน มากไปกว่าเรื่องของกลิ่นฉุน หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ฉี่ยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่โดยรอบ และเป็นการทำลายทรัพย์สินทั้งของสาธารณะและส่วนตัว เพราะในฉี่ของมนุษย์มียูเรียซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่ทำลายทั้งคอนกรีต เหล็ก และโลหะ หากปล่อยให้เกิดการสะสมของฉี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เสียหาย เหตุผลของคนเลือกฉี่ข้างทาง นอกเหนือจากความมักง่ายของคนแล้ว เป็นไปได้ว่าด้วยจำนวนห้องน้ำสาธารณะที่มีค่อนข้างน้อยและหายากในหลายๆ พื้นที่ จึงทำให้คนเลือกปลดปล่อยของเหลวส่งกลิ่นตามพื้นที่ข้างทางมากกว่า หรือต่อให้เป็นห้องน้ำกึ่งสาธารณะที่เรามองว่ามีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในเมือง เช่น ในห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเปิด-ปิด ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นกะ หรือทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ […]

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

Nordhavn Copenhagen เมืองห้านาทีที่สนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แค่เปิดประตูบ้านก็เจอพื้นที่สีเขียวรอให้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ เด็กๆ เดินออกไปไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงโรงเรียน หรือเหล่าผู้ใหญ่ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็ถึงที่ทำงานแล้ว ประโยคเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกยูโทเปีย แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงกับผู้อาศัยอยู่ที่ ‘Nordhavn’ เขตหนึ่งในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ในอดีต Nordhavn เคยเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเขตเมืองที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย แม้ว่า ณ ตอนนี้การพัฒนาเมืองยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ Nordhavn ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นเมืองแบบใหม่ที่แทบจะเป็นเมืองในฝัน จนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดและทะเยอทะยานที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียเลยทีเดียว เข้าถึงความสะดวกในเวลาเพียง 5 นาที เราอาจจะคุ้นชินกับโมเดลเมือง 15 นาทีในหลายๆ ประเทศที่ต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งระยะ 15 นาทีนั้นใครเห็นก็คิดว่าเป็นเวลาที่รวดเร็วแล้ว แต่ที่ Nordhavn ขอทะเยอทะยานกว่า รวดเร็วกว่า ด้วยการทำตัวเองให้เป็นเมืองที่เดินเท้าถึงทุกที่ในเวลาแค่ 5 นาที ฟังดูเป็นเรื่องยากใช่ไหม แต่การออกแบบเมือง Nordhavn นั้นสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายของคนในเมืองมากกว่าที่เราคิด นอกจากไม่ต้องพึ่งพาการใช้รถยนต์เป็นหลักแล้ว เมืองยังเน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นบริการพื้นฐานอย่างโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงาน ขนส่งสาธารณะ สวนสาธารณะ หรือร้านค้า ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ […]

ตามไปดูโปรเจกต์ Street Wise ที่ใช้งานสร้างสรรค์สร้างสีสันและภาพจำใหม่ๆ ให้ย่านปากคลองตลาดและบางลำพู

‘ปากคลองตลาด’ เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งค้าขายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ลองนึกภาพพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนขวักไขว่ ทางเดินเฉอะแฉะจากการพรมน้ำดอกไม้ให้สดใส กลีบดอกไม้ที่เคยสวยงามร่วงโรยลงบนถนน จะว่ามีชีวิตชีวาก็ใช่ แต่จะบอกว่าดูวุ่นวายด้วยก็ได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าวันหนึ่งปากคลองตลาดจะกลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน ส่วนหนึ่งของการที่ปากคลองตลาดได้ชื่อว่าเป็นย่านสร้างสรรค์นั้นมาจากการทำงานของ ‘หน่อง-รศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์’ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาพื้นที่และชุมชนหลายแห่ง อาจารย์หน่องไม่ได้มองแค่การพัฒนาพื้นที่อย่างเดียว แต่ยังนำความสร้างสรรค์ เปิดรับไอเดียใหม่ๆ และดึงจุดเด่นของบริบทพื้นที่มาทำให้พื้นที่ตรงนั้นเกิดความน่าสนใจมากขึ้นด้วย และในปีนี้อาจารย์หน่องก็ไม่ได้สร้างสีสันให้ย่านปากคลองตลาดแห่งเดียว แต่เธอยังกลับไปยังย่านเก่าที่เคยทำงานด้วยอย่าง ‘บางลำพู’ พร้อมกับการนำสิ่งที่น่าสนใจของย่านมาผนวกรวมเข้ากับความสร้างสรรค์ เพื่อส่งต่อความน่าสนใจของทั้งสองย่านสู่ผู้คนผ่านงาน Bangkok Design Week 2025 ในโมงยามที่เทศกาลงานสร้างสรรค์ประจำปีของกรุงเทพฯ กำลังดำเนินอยู่นี้เอง คอลัมน์ Art Attack ชวนอาจารย์หน่องมาคุยกันถึงโปรเจกต์ ‘Bangkok Flower Market Festival @Pak Khlong Talat’ และ ‘Bang Lamphu Festival @New World Shopping Mall’ ที่ได้รับทุน ‘Connections Through Culture’ ประจำปี 2024 […]

‘Sakamoto Days’ ช่วยซาคาโมโตะออกแบบร้านชำแห่งใหม่ในไทย ให้กลมกลืนกับพื้นที่และเฟรนด์ลีกับลูกค้าทุกคน

ถึงจะวางมือจากการรับจ้างฆ่าและผันตัวเป็นเจ้าของร้านขายของชำไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าในแต่ละวันของ ‘ซาคาโมโตะ ทาโร่’ ในการ์ตูนเรื่อง Sakamoto Days จะไม่ได้ขายของอย่างสงบสุขเลยสักครั้ง เพราะมีแขกไม่ได้รับเชิญเข้ามาเยี่ยมเยียนและสร้างความปวดหัวให้กับร้านทุกวัน และถ้าจะต้องเปิดร้านขายของไป เตรียมต่อสู้กับเหล่านักฆ่าที่หมายจะเอาค่าหัวไป ร้านชำแห่งนี้คงเจ๊งกะบ๊งแน่ๆ เพื่อความสงบสุข ครอบครัวซาคาโมโตะและเหล่าพนักงานอาจต้องโยกย้ายไปอยู่ทำเลใหม่ หลบหนีพวกนักฆ่า คอลัมน์ Urban Isekai ขอชวนซาคาโมโตะซังมาตั้งรกรากที่ไทย และช่วยออกแบบร้านชำแห่งใหม่ให้กลมกลืนกับพื้นที่ แถมได้ช่วยเหลือผู้คนตามที่ให้สัญญากับภรรยาด้วย เลือกทำเลในชุมชนให้อยู่ใกล้ผู้คนมากที่สุด ก่อนจะตั้งร้านก็ต้องเลือกทำเลที่บริการได้อย่างทั่วถึงก่อน เราจึงแนะนำซาคาโมโตะให้เลือกเปิดสาขาใหม่ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล วัด เพื่อเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ผู้คนจะนึกถึงเวลาซื้อของ และเพื่อความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการสาธารณะ (เกิดมีการต่อสู้ขึ้นมาอีกจะได้มีสถานที่รองรับ) รวมไปถึงเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ให้คนในชุมชน หรือเหล่านักฆ่าที่ผันตัวมาเป็นครอบครัวพนักงานร้านชำซาคาโมโตะได้มาพบปะกัน ต้องการสินค้าอะไร ซาคาโมโตะหาได้ทุกอย่าง  เป็นแหล่งขายสินค้าในชุมชนทั้งทีก็ต้องพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ไม่ว่าใครต้องการอะไร ซาคาโมโตะจะหามาให้ทุกอย่าง ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ หากเป็นสินค้าที่ไม่มีอยู่ในสต๊อก ก็แค่แจ้งความต้องการทิ้งไว้ ถ้าได้สินค้าชิ้นนั้นมาแล้วทางร้านจะรีบแจ้งให้ลูกค้ากลับมารับสินค้าที่สั่งไว้ทันที แต่ขอเตือนเอาไว้ก่อนว่า อย่าคิดจะสั่งสินค้าที่หามาไม่ได้จริงๆ เพราะเหล่าลูกน้องนักฆ่าของซาคาโมโตะพร้อมจะสั่งสอนอยู่ตลอดเวลานะ! อาหารรองท้อง พร้อมดื่ม พร้อมทาน ไม่ใช่แค่ของใช้หรือของสดเท่านั้นที่มีให้ แต่ร้านแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ฝากท้องให้คนในชุมชนด้วย กับเมนูง่ายๆ กินได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ […]

ให้ ‘หลับ’ เยียวยาใจ ไม่ว่าจะเจอเรื่องหนักหนาอะไรมา การนอนช่วยรักษาและฟื้นฟูอารมณ์ให้ดีขึ้นได้

แต่ละคนมีวิธีการจัดการความเครียดแตกต่างกันออกไป บางคนอาจกินเพื่อคลายเครียด บางคนอาจเลือกเล่นเกมให้ลืมความกดดันที่ต้องเจอ และบางคนอาจเลือกให้การนอนช่วยหยุดความวิตกกังวลนี้ แม้ปกติแล้วเวลาเครียดมากจะทำให้นอนหลับได้ยากขึ้น และอาจส่งผลให้ฝันร้ายจนนอนไม่เต็มอิ่ม แต่หากเราปล่อยให้ตัวเองเครียดแถมยังไม่ยอมนอน ก็จะทำให้ร่างกายเครียดทับถมมากขึ้นไปอีก แล้วตกลงว่าถ้ากำลังเครียดควรนอนหรือไม่ ‘Matthew Walker’ ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนเอาไว้ว่า การนอนหลับลึกจะช่วยลดความวิตกกังวลผ่านการจัดระเบียบในสมองใหม่ เรียกได้ว่าเป็นยาลดความวิตกกังวลตามธรรมชาติที่เราจะได้รับตลอดตราบใดที่นอนหลับทุกๆ คืน เพราะร่างกายของเราใช้เวลาตอนที่นอนหลับปรับสมดุลทางเคมีและชีวภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการลดฮอร์โมนความเครียดและลดระดับฮอร์โมนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ เช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรืออะดรีนาลิน ตามที่ ‘Laura DeCesaris’ แพทย์ด้านเวชศาสตร์สมรรถภาพและผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้พูดถึงการนอนหลับเอาไว้ เช่นเดียวกับที่ ‘Bill Fish’ ผู้ให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์การนอนหลับที่มองว่า ช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริงคือการนอนหลับ เพราะในขณะที่เรานอนหลับนั้น ร่างกายและสมองจะได้รับการฟื้นฟูจากการใช้งานมาตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการเติมพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกายซ่อมแซมร่างกายจากอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ผ่านการปล่อยฮอร์โมนให้เนื้อเยื่อใหม่เติบโต สร้างเม็ดเลือดขาวในเซลล์ ช่วยลดอาการเจ็บป่วยของเรา จัดการของเสียในสมอง และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองแทบจะไม่มีเรื่องเครียดที่กระทบจิตใจให้นึกถึงอีกด้วย การนอนจึงถือเป็นหนทางฟื้นฟูร่างกายที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะด้วยเรื่องของสุขภาพกายหรือสุขภาพใจ แต่อย่างไรก็ตาม การนอนหลับที่ว่านั้นไม่ควรเป็นการบังคับให้ตัวเองหลับ เพราะจะยิ่งเป็นการกระตุ้นความเครียด แต่ควรจะหากิจกรรมเบาๆ ทำ เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลงบรรเลง และที่สำคัญคือการงดอยู่กับหน้าจอก่อนนอน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการนอนที่มีคุณภาพ สภาพจิตใจที่บอบช้ำจะได้กลับมาสดใสเหมือนเดิม Sources : Baylor […]

จากบ้านเก่าอายุกว่า 150 ปี สู่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่มีหุ้นส่วนกว่า 500 ชีวิต

โรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นการตกแต่งและการบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีก แต่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่จังหวัดจันทบุรี ขอเลือกคิดต่างออกไป เพราะนอกจากทำเลจะโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศดีๆ อยู่ติดริมแม่น้ำ มีห้องพักที่สะดวกสบายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เข้าพักได้ศึกษาและทำความรู้จักจันทบุรี รวมถึงพื้นที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรให้มากขึ้นอีกด้วย มากไปกว่านั้น ลูกค้าเองยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาชุมชนผ่านการเข้าพักได้อีก ที่พักในจันทบุรีแห่งนี้แตกต่างจากที่พักอื่นๆ อย่างไร คอลัมน์ Urban Guide จะขอพาไปสำรวจกันถึงเมืองจันท์ บ้านพักประวัติศาสตร์ที่เก็บเรื่องราวของเมืองเอาไว้ที่ล็อบบี้โรงแรม หากมองผ่านๆ โรงแรมแห่งนี้อาจดูเหมือนบ้านเก่าทั่วไปในชุมชน แค่อาจจะดูใหญ่โตกว่าบ้านหลังอื่นเล็กน้อย แต่หากสังเกตให้ดี ล็อบบี้โรงแรมแห่งนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมๆ ที่เชิญชวนให้เราก้าวเท้าเข้าไปดูว่าสิ่งที่จัดแสดงอยู่นั้นมีอะไรบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เราได้เห็นผ่านสิ่งของต่างๆ ล้วนแล้วแต่บรรจุความเป็นมาของจังหวัด และการดำเนินชีวิตของผู้คนสมัยก่อนในแถบนี้ ด้วยความที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นย่านเก่าแก่ของจังหวัด รวมถึงเคยเป็นเมืองท่าค้าขายในสมัยก่อน จึงมีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และสามารถรวบรวมมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชม “หลวงราชไมตรีเป็นคนแรกที่บุกเบิกเรื่องของการทำสวนยางพารา เนื่องจากท่านเคยไปเรียนหนังสืออยู่ที่ปีนัง แล้วพอกลับมาอยู่ที่บ้าน ท่านเห็นว่าสภาพอากาศของที่จันทบุรีไม่ได้ต่างอะไรกับมาเลเซียเลย ท่านก็เลยสั่งพันธุ์ยางเข้ามาทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ และกลายเป็นอาชีพเสริมของคนจันท์ เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก แล้วนอกจากทำสวนยาง ท่านก็เป็นพ่อค้าพลอยด้วย” ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เล่าให้เราฟังถึง ‘หลวงราชไมตรี’ ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ และสร้างคุณูปการให้กับชาวจันทบุรีเป็นอย่างมาก ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้มีเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนในชุมชนตั้งใจเก็บรักษาความสวยงามนี้เอาไว้ จนกลายมาเป็น […]

ออกไปท่องอวกาศ สำรวจจักรวาลกับ Space Journey Bangkok นิทรรศการอวกาศระดับโลกที่ลงจอดครั้งแรกในเอเชีย วันนี้ – 16 เม.ย. 68 ที่ไบเทคบุรี

‘นักบินอวกาศ’ น่าจะเคยเป็นความฝันวัยเด็กของพวกเราหลายคน แต่ต้องยอมรับว่า พอโตขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะรู้ได้เองว่ามันเป็นความฝันที่อยู่แสนไกลไปหลายปีแสง ด้วยขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูล และการสัมผัสเทคโนโลยีอวกาศที่ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ ‘Space Journey’ คือนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่จะช่วยเติมเชื้อเพลิงความฝันในการทำงานด้านอวกาศให้ดูเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป ด้วยความตั้งใจของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ที่อยากยกอวกาศมาให้เด็กไทยเข้าถึงได้ง่ายๆ จึงติดต่อนิทรรศการระดับโลกนี้มาจัดแสดงที่ประเทศไทยด้วย นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ไม่ได้เป็นแค่ครั้งแรกของบ้านเรา แต่ยังหมายรวมถึงครั้งแรกในทวีปเอเชีย ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะได้เดินทางมาสัมผัสการสำรวจอวกาศกันอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568 ที่ไบเทคบุรี คอลัมน์ Events จะพาไปแหวกว่ายสำรวจอวกาศบางส่วนของนิทรรศการ Space Journey Bangkok กันว่า ทำไมนิทรรศการนี้ถึงเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่เราไม่อยากให้ทุกคนพลาด หลังจากเดินทางไปจัดแสดงมาหลายประเทศ ก็ถึงเวลาที่นิทรรศการ Space Journey มาลงจอดที่ประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในฝั่งประเทศเอเชียที่นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ได้มาจัดแสดง Space Journey บอกเล่าตั้งแต่ต้นกำเนิดของการศึกษา สำรวจ และการเดินทางในอวกาศ จนถึงการพัฒนาด้านอวกาศในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดแสดงวัตถุจริงหลายร้อยชิ้นจากสหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นๆ ซึ่งบางชิ้นส่วนเป็นชิ้นงานที่เคยใช้จริงในอวกาศ […]

วิธีแยกขยะง่ายๆ ไม่มีถังแยกสีก็ทิ้งได้แบบไม่ต้องเทรวม

หลังจากที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการ ‘ไม่เทรวม’ เพื่อรณรงค์การแยกขยะเมื่อปีที่แล้ว นโยบายถัดไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยจัดการขยะคือ การขึ้นค่าธรรมเนียมเก็บขยะจากบ้านที่ไม่คัดแยกขยะ โดยบ้านที่เข้าร่วมการคัดแยกขยะจะเสียค่าใช้จ่าย 20 บาทต่อเดือน ส่วนบ้านที่ไม่คัดแยกขยะนั้นจะเสียค่าใช้จ่าย 60 บาทต่อเดือน หวังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ครัวเรือนหันมาใส่ใจกับการแยกขยะมากขึ้น การแยกขยะนั้นไม่เพียงช่วยลดภาระการกำจัดขยะของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เรายังเรียนรู้กันมาตลอดว่าการแยกขยะเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดโลกร้อนได้ และด้วยความเคยชินที่ทิ้งขยะลงถังเดียวมาตลอดอย่างยาวนาน อาจทำให้การแยกขยะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะลองทำ แน่นอนว่าภาพของการแยกขยะนั้นมักมาพร้อมกับถังขยะชนิดต่างๆ ที่แบ่งแยกด้วยสีสัน ช่วยให้จำง่าย แต่หลายๆ บ้านคงไม่ได้มีถังขยะสำหรับแยกขยะแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ทำให้เกิดความสับสนว่า หากมีถังขยะแค่ใบเดียวแล้วจะแยกขยะได้อย่างไร Urban Creature เลยจะมาบอกวิธีการแยกขยะที่ทำได้ง่ายๆ โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ 1) การแยกขยะระดับเริ่มต้น เป็นการแยกขยะที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน เพียงแค่แยกขยะออกเป็นสองประเภทก่อนทิ้งลงถัง วิธีนี้จะสะดวกกับผู้เริ่มต้นแยกขยะ คนที่มีเวลาน้อย หรือพื้นที่บ้านน้อย แบ่งออกเป็น 🍪 ขยะอินทรีย์ ขยะประเภทเศษอาหารจากการทำอาหารหรือกินเหลือ โดยเทน้ำทิ้งให้เหลือแต่เศษอาหาร และแยกถุงเอาไว้ อาจใช้เป็นถุงสีใสให้มองเห็นได้ง่ายว่าเป็นขยะประเภทไหน ขยะประเภทนี้ควรทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมความสกปรกและกลิ่นเหม็นภายในบ้าน 🧃ขยะทั่วไป  ขยะแห้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ซองขนม รวมถึงขยะพลาสติก ซึ่งพลาสติกบางประเภท เช่น ถุงพลาสติกหรือกล่องที่ใส่อาหาร ควรล้างให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อเลี่ยงไม่ให้เศษอาหารปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนขยะแห้งเหล่านี้หมักหมมความสกปรกเอาไว้ […]

Ghost Public Space ถ้ามีพื้นที่สาธารณะให้ผีทำกิจกรรม คนก็ไม่ต้องกลัวผีออกมาหลอกอีกต่อไป

พื้นที่สาธารณะของผีจะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ คนที่ตายไปแล้วก็น่าจะอยากได้พื้นที่ทำกิจกรรมของตัวเองด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีพื้นที่รองรับความต้องการนี้ การออกไปเดินเล่นข้างนอกตอนกลางคืนและปรากฏตัวให้คนเห็นจนกลายเป็นการหลอกหลอน ก็คงกลายเป็นเรื่องเดียวที่เหล่าผีสามารถทำได้ในยามว่าง สำหรับฮาโลวีนปีนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จะขอมาเอาใจประชากรในปรโลก ด้วยการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับผีที่คนเองก็ใช้งานได้ โดยเปลี่ยนสุสานที่นานๆ ครั้งจะมีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนตามโอกาส ให้กลายเป็นพื้นที่เพื่อผีบ้าง 1) Public Housing : เปิดบ้านพักให้ผีทุกตัวไม่ต้องเป็นวิญญาณเร่ร่อน แม้ว่าจะเป็นสุสาน แต่ผีทุกตัวที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่ว่าจะมีที่อยู่ทั้งหมด บางตัวอาจเป็นผีไม่มีญาติ ทำให้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หากมีลูกหลานของใครบางคนเผาตึกหรือคอนโดฯ กระดาษไปให้ อากงอาม่าก็นำไปเปิดเป็นที่พักให้กับผีเร่ร่อนอาศัยร่วมชายคา ช่วยเหลือกันแม้ในยามที่ไม่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยให้เหล่าผีได้มีความสุขดีในโลกหลังความตาย หรืออาจจะเปิดให้ผีตัวอื่นๆ เช่า สร้าง Passive Income ในอนาคตต่อไป ลูกหลานจะได้ไม่ต้องเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ทุกวันไหว้ 2) Community Space : พื้นที่สร้างสังคม ให้ทั้งคนและผีมีปฏิสัมพันธ์กัน ปกติแล้วพื้นที่ในสุสานมักเป็นลานกว้างๆ ให้ญาติๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนหลุมศพของคนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น เราเลยขอเพิ่มศาลาหลบแดด เพื่อให้คนทั่วไปและคนที่เข้ามาเยี่ยมหลุมศพได้นั่งพักหลบร้อน รวมตัว พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ที่มาเจอกันที่นี่ ส่วนตอนกลางคืน เหล่าผีก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะ พูดคุย ทำความรู้จักกับผีใหม่ๆ เพื่อสร้างสังคมแบบผีๆ […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.