Greatest of Green Living at Ratchapruek : ย่อโลกสีเขียวในแบบของคุณเอาไว้ใน “ย่านราชพฤกษ์”

เคยสงสัยกันไหมว่าเราใช้เวลากับการเดินทางไปเท่าไหร่? จากสถิติด้านการจราจรของ INRIX คนกรุงเทพฯ เสียเวลากับการติดอยู่บนถนนถึง 64.1 ชั่วโมงต่อปี เพราะยุคนี้เป็นยุคที่กรุงเทพฯ กำลังสุกงอมในความเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของออฟฟิศต่างๆ มากมายกระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมในเมืองหลวงแห่งนี้ แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราเลือกที่พักอาศัยในราคาที่คุ้มค่าในทำเลที่ครบครันทั้งการเดินทางเข้า-ออกเมืองได้อย่างสะดวกสบาย และแวดล้อมด้วยพื้นที่สีเขียว ซึ่งสถานที่นั้นอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเราเลย และที่แห่งนั้นก็คือ “ย่านราชพฤกษ์” นั่นเอง | มนต์เสน่ห์แห่งกรุงเทพฯ “ย่านราชพฤกษ์” หลายๆ คนอาจกำลังถึงนึกย่านหนึ่งที่อยู่ฝั่งธนบุรีซึ่งปัจจุบันราชพฤกษ์ได้กลายเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยที่อยู่อาศัย และสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้านมากมายทั้งการเดินทางที่รวดเร็ว และสามารถเลือกใช้ได้หลากหลายเส้นทาง รวมไปถึงสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในวันว่างที่ทำให้ราชพฤกษ์กลายเป็นมนต์เสน่ห์แห่งกรุงเทพฝั่งตะวันตกไปแล้ว หากย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ภาพที่เราคุ้นเคยของย่านนี้คือมีแม่น้ำเจ้าพระยามาขั้นกลางทำให้ “ย่านราชพฤกษ์” เป็นตัวเลือกที่หลายคนมองข้ามไป แต่เมื่อมีการคมนาคมที่ดียิ่งขึ้นมีการสร้างสะพานตากสินตัดเข้าสาทร และมี BTS สถานีฝั่งธนบุรีวิ่งต่อยอดมาจากสายสีลมก็ช่วยให้การเดินทางสะดวกสบายมากขึ้นทำให้ราชพฤกษ์กลายเป็นศูนย์รวมของที่อยู่อาศัยของคนทำงานในย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่ตัดสินใจเลือกให้เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวกันมากเป็นพิเศษ ทั้งยังเป็นแหล่งรวม Community Mall ที่ดีที่สุดของราชพฤกษ์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ | รวดเร็วด้วยจุดเชื่อมต่อการเดินทางที่หลากหลาย “ถนนราชพฤกษ์” คือถนนที่เชื่อมต่อทุกสายสำคัญของชาวกรุงเทพฯ แต่ด้วยความที่ถนนเส้นนี้เป็นเส้นทางระยะยาวเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธนจากโซนสาทรยาวไปจนถึงบรมราชนนี ซึ่งในการเดินทางจากถนนราชพฤกษ์วิ่งเข้าสู่สีลม สาทร ทุกวันนี้อาจจะใช้เวลาไม่ถึง 15 นาทีแล้วยังสามารถเชื่อมต่อทางด่วนศรีรัชเพียง 10 นาทีเท่านั้น และยังเชื่อมต่อกับเส้นหลักอีกหลายเส้นทาง “ถนนราชพฤกษ์” จึงถือเป็นจุดเชื่อมต่อสายหลักเลยก็ว่าได้ อาทิ ทางหลวงเส้น 345 ที่มีอยู่แล้วปลายทางไปย่านบางบัวทอง, ทางหลวงเส้น 346 […]

The Cement City : Mocambique Modern

จากมุมมองการถ่ายภาพแบบ “Cement City” เป็นวิธีเรียก “เขตเมือง” ในประเทศโมซัมบิก เขตนี้บ่งบอกถึงลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ถาวร และแยกตัวออกจากชุมชนแออัดของคนพื้นถิ่นโดยเด็ดขาดซึ่งอาคารต่างๆ ถูกสร้างไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าอาณานิคมเพื่ออยู่อาศัยและปกครองในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองท่าสำคัญแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแนวความคิดจากโลกยุคเก่าสู่โลกยุคใหม่ แต่ความทันสมัยคือสิ่งที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เมื่อทุกสิ่งดำเนินไปความล้ำสมัยของสถาปัตยกรรมจะค่อยๆ ผสานรวมกับกาลเวลาที่คืบคลานมาอย่างช้าๆ และแล้วความจีรังของสถาปัตยกรรมก็ถูกปลดปล่อยออกมา Urban Creature จึงพามาตามติดแนวคิดของของ “เบียร์ – วีระพล สิงห์น้อย” ผ่านมุมมองของช่างภาพสถาปัตย์ | มุมมองสถาปัตยกรรมในเมืองไทยของพี่เบียร์เป็นแบบไหน สถาปัตยกรรมในเมืองไทยถ้าเรื่องการพัฒนา ความเจริญ เราก็ถือว่าโอเคเลยเรียกได้ว่าภูมิภาคนี้เราก็ไม่แพ้ใครแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่ตอนนี้คือ สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นซึ่งจริงๆ แล้วในศัพท์คำว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ความเป็นโมเดิร์นของมันอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปเท่าไหร่ ถ้าโมเดิร์นแบบสมัยใหม่ปัจจุบันนี้เราขอเรียกว่า “ Contemporary” ดีกว่า แต่ถ้าเป็นคำว่า “Modern” ก็คือช่วงสมัยประมาณ 50 – 60 ปีที่แล้ว ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2483 – 2503 ซึ่งคำว่ายุคสมัยใหม่เป็นช่วงแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป ฝั่งเลอกอร์บูซีเยซึ่งเราสนใจสถาปัตยกรรมยุคนี้ | ทำไมถึงชอบสถาปัตยกรรมยุค “โมเดิร์น” คือเรามีความประทับใจเรื่องรูปทรงอยู่แล้วพอเราศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ยิ่งหลงรักสถานที่ต่างๆ มากขึ้นซึ่งที่แรกที่ประทับใจเลยคือ […]

Nha-mas-tay India : นมัสเต! จ่ะนายจ๋า

เดินทอดน่องท่องอินเดียพร้อมเรียนรู้วัฒนธรรมที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนาน หลายคนคงคุ้นเคยกันดีกับแหล่งค้าผ้าชื่อดัง “ย่านพาหุรัด” ที่เมื่อก้าวเดินเข้ามาในย่านนี้จะได้เห็นสิ่งหนึ่งที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์ของ “Little India” เลยก็คือ บรรยาการของผู้คนที่เปลี่ยนไป ร้านขายของแปลกตาเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในประเทศอินเดียเลยทีเดียว

Beyond The Air We Breathe by SangSom

พักผ่อนสมองผ่อนคลายอารมณ์ไปเสพงานศิลป์กับนิทรรศการภาพถ่ายจากช่างภาพระดับโลกกว่า 80 ชีวิตที่มาจัดแสดงในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อว่า “Beyond the Air We Breathe : Addressing Climate Change” จากการร่วมมือของสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิลูซี่ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ภายในงานมีแนวคิดหวังให้เกิดการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย และผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกผ่านผลงานภาพถ่ายของช่างภาพระดับโลกที่สะท้อนให้ผู้ชมได้ตื่นตัวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงใกล้ตัวที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการปล่อยมลพิษโดยฝีมือมนุษย์เราเอง เมื่อก้าวเท้าเข้ามาภายในงานซึ่งแสดงภาพถ่ายที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดกับโลกจากฝีมือมนุษย์ภายใต้ชื่องานว่า “Beyond the Air We Breathe : Addressing climate change” บรรยากาศในงานมีทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเข้ามาชมผลงานกันอย่างไม่ขาดสายโดยมีพื้นที่ให้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเป็นกันเอง นิทรรศการครั้งนี้คัดสรรผลงานภาพถ่ายจากช่างภาพระดับโลกจำนวนกว่า 80 ท่านที่มาร่วมถ่ายทอดผลงานภาพถ่ายโดยสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมของโลกที่กำลังร้องบอกถึงความเจ็บปวดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พิธีการเปิดนิทรรศการในวันแรกเปิดโอกาสให้สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าชมได้พร้อมกันเลย ผศ. ปวิตร มหาสารินันทน์ ผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมาร่วมเปิดงาน และพูดคุยกับผู้เข้าชมงานโดยผลงานภาพถ่ายด้านหลังเป็นของศิลปิน “Steve McCurry” โดยไฮไลท์ของงานมีช่างภาพมือรางวัล “Sebastian Copeland” ผู้เป็นทั้งนักสำรวจขั้วโลก นักเขียน นักพูด และนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม และยังเป็น 1 ใน 25 ผู้ชายนักผจญภัยระดับโลกในปี 2017 […]

URBAN EYES : A Little Big Moments With “Louis Sketcher”

เปิดบทสัมภาษณ์ Louis Sketcher หรือคุณหลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา คนวาดเมืองผ่านสองตา และสองมือกับเครื่องเขียนมากมายที่สะบัดปลายพู่กันผ่านสีน้ำลงสู่ผลงานการสเก็ตช์ภาพ จากความแน่วแน่ในสิ่งที่รักเขาจึงผันตัวจากสถาปนิกสู่ ‘นักวาดภาพ Urban Sketch’ สั่งสมประสบการณ์จนกลายเป็นนิทรรศการภาพวาดลายเส้นและสีน้ำที่ถ่ายทอดบรรยากาศของย่านเก่าเมืองกรุง และชุมชนที่มีเอกลักษณ์ บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมุมมองของผู้ชายตัวเล็กๆ ที่หลงใหลในสถาปัตยกรรมแสงสลัวกับเงามืดและจังหวะชีวิตในชุมชนที่เต็มไปด้วยเสน่ห์กับบรรยากาศอ้อยอิ่งของการเดินเล่นสำรวจเมือง

Good Job Great Home : เติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์แบบ

นอกจากการมีอาชีพที่ใฝ่ฝันและมั่นคงแล้ว หลายคนเลือกที่จะให้รางวัลตัวเองด้วยการมีบ้านสักหลัง ซึ่งสิ่งสำคัญที่ไม่ควรหลงลืมคือ “ความปลอดภัย” ในพื้นที่แห่งความสุขที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ดังนั้นการมีเวลาพักผ่อนที่บ้านอย่างอิ่มกายสบายใจจึงเป็นเรื่องที่คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกอาชีพโหยหา ถึงแม้ว่าเวลาในการทำงานของแต่ละอาชีพจะแตกต่างกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นอาชีพไหน ทำงานที่ใด ก็จะรู้สึกปลอดภัยหายห่วงได้เสมอ ด้วย “Sansiri Security System” ระบบรักษาความปลอดภัยจากแสนสิริ ที่จะช่วยดูแลให้คุณคลายกังวล และอุ่นใจในทุกๆ วันที่ก้าวเท้าออกไปใช้ชีวิต Good Mood Good Life | ใช้ชีวิตสบายใจไร้กังวล ปัจจุบันโลกกำลังหมุนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คนส่วนใหญ่มักมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบและใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากกว่าอยู่ในบ้าน ดังนั้น “บ้าน” จึงไม่ได้เป็นแค่ที่พักอาศัย แต่ยังเป็นแหล่งรวมความรัก ความอบอุ่น และเป็นจุดศูนย์รวมความสุขของสมาชิกในครอบครัว เสมือนขุมพลังสำหรับคนที่ต้องเดินทางไกลบ้านได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเลือกที่พักอาศัยนั้น นอกจากทำเลที่ดี การเดินทางที่สะดวกแล้ว “ความปลอดภัย” ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์แบบในการใช้ชีวิต ซึ่งแต่ละอาชีพจะมีช่วงเวลาการทำงานที่แตกต่างกันไป หลายคนอาจเกิดความกังวลใจกับสิ่งที่ไม่คาดคิด ดังนั้นอย่าลืมมาตรฐานความปลอดภัยนอกจากพักแล้วสบายใจจะออกเที่ยวไหนก็ไม่ต้องกังวล บางวันกลับดึกบ้านก็ดันลึกในซอยเปลี่ยว บางทีกลับเช้า หรือบางทีเลิกเร็ว ก็ดันเจอรถติดกลับดึกเหมือนเดิม ดังนั้นความปลอดภัยในที่พักอาศัยจึงเป็นเป็นเรื่องสำคัญ “Sansiri Security System” จึงพร้อมตอบโจทย์ความปลอดภัยในทุกรูปแบบและทุกอาชีพในทุก Lifestyle รูปแบบการอยู่อาศัยที่แตกต่าง Work […]

คุณชุม ช่างภาพรอยเตอร์ TP.02

URBAN PEOPLE : The Professional 02.“ผมเชื่อว่าถ้าเราชอบจริงในสิ่งที่ทำ สักวันมันจะสำเร็จ” ’อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา (ชุม)’ ช่างภาพประจำสำนักข่าวรอยเตอร์ประเทศไทย เมื่อความชื่นชอบในการถ่ายภาพทำให้เขาผันตัวจากวิศวกรคอมพิวเตอร์กลายมาเป็นช่างภาพข่าวมืออาชีพที่มากความรู้และประสบการณ์.มาสัมผัสเคล็ดลับการทำงาน และกล้องคู่ใจที่ติดตัวได้ตลอดเวลา กับกิจกรรมเวิร์กชอปการถ่ายภาพจาก SONY RX โดยคุณชุม ที่มาพร้อมแนวคิดมุมมองการเป็นช่างภาพแบบมืออาชีพที่ใครๆ ก็เป็นได้กับกล้อง Sony RX ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ที่ https://www.sony.co.th/…/alphaunive…/rx/

OAT-CHAIYASITH

URBAN PEOPLE : OAT-CHAIYASITH .เก็บโมเมนต์สำคัญไว้บนภาพถ่าย สไตล์ “โอ๊ต ชัยสิทธิ์” ช่างภาพเวดดิ้ง ที่กดชัตเตอร์ด้วยความรู้สึก พร้อมมารู้จักเขาในมุมมองที่เรายังไม่เคยเห็น กับการฉีกกรอบเดิมๆ ผ่านโฟโต้เซ็ท Trans Project ที่บอกเล่าความหลากหลายทางเพศ

Green Corner Of Ratchathewi

เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปธรรมชาติก็ถูกกลืนกินด้วยความทันสมัยพื้นที่สีเขียวกลายเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต่างโหยหา แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากห้องก็สามารถสัมผัสกับธรรมชาติภายในที่อยู่อาศัย

De LAPIS Charan 81 : จงเลือกใช้ชีวิตบนเหตุผลของคุณ

ความหมายของการใช้ชีวิตคืออะไร? บางคนอาจหมายถึงความสำเร็จในเป้าหมายที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หรือการได้รับค่าตอบแทนสูงๆ แต่สำหรับบางคนอาจเป็นเพียงแค่การได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับคนที่คุณรักในพื้นที่ส่วนตัว ‘บางพลัด’ จึงเป็นอีกหนึ่งย่านที่ตอบคำถามของการใช้ชีวิตที่ยังคงเสน่ห์ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในแบบฉบับคนฝั่งธนฯ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

Life of Huatakhe : วิถีชีวิตริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้”

หลายคนอาจเคยโหยหาธรรมชาติอยากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพราะชีวิตในเมืองเราอยู่กับความเร่งรีบและความเครียดที่สะสมลองใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อเพิ่มความสุขให้มากขึ้นกับพื้นที่ที่ยังคงอนุรักษ์เสน่ห์ของวิถีชีวิตคนริมน้ำ “ชุมชนหัวตะเข้” ภาพบ้านเรือนแถวไม้โย้เย้ริมคลองหลังคาสังกะสีผุเก่าหากจะบอกว่าเป็นความสวยงามก็คงไม่ใช่แต่ถ้าบอกว่าเป็น ‘เสน่ห์’ น่าจะเหมาะกว่า เพราะความเก่าแก่ใช่ว่าจะหมายถึงความทรุดโทรมผุพังเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการผ่านร้อนผ่านหนาวและผ่านเรื่องราวมากมายที่หากมองข้ามความผุพังทรุดโทรมเข้าไปให้ลึกก็จะเห็นเสน่ห์ในความเก่านั้น | คน + น้ำ = ชีวิต ชุมชนหัวตะเข้ หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ ชุมชนหลวงพรต-ท่านเลี่ยม ที่หลายคนอาจสงสัยว่า “ที่นี่คือที่ไหนต่างจังหวัดหรือเปล่า ?” แต่ชุมชนนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานครนี่เองซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนริมน้ำ ‘คลองประเวศบุรีรมย์’ อายุกว่า 100 ปี ที่ยังคงวิถีชีวิตริมน้ำไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ซึ่งประวัติการขุดคลองนี้มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยการขุดในครั้งนี้เพื่อเป็นการเชื่อมต่อการคมนาคมทางน้ำจากคลองพระโขนงไปยังปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แต่ระหว่างที่ขุดคลองนั้นมีการขุดค้นพบหัวจระเข้ใหญ่อยู่กลางสี่แยกซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ‘สี่แยกคลองหัวตะเข้’ และหัวจระเข้ที่ขุดได้มานั้นชาวบ้านสมัยนั้นเชื่อว่าเป็นจระเข้ศักดิ์สิทธิ์จึงได้นำหัวจระเข้ขึ้นมาบูชาโดยคนสมัยก่อนจะเรียก ‘จระเข้’ แบบสั้นๆว่าตะเข้จึงเพี้ยนมาเป็นคำว่า “หัวตะเข้” จึงกลายเป็นชื่อชุมชนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วิถีชีวิตของชาว ‘ชุมชนหัวตะเข้’ ทำให้ย้อนนึกไปถึงสมัยก่อนเราผูกพันกับคลองโดยเห็นได้จากการปลูกบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งคลองและอาศัย ‘น้ำ’ เพื่อความสะดวกในการทำมาหากินหาสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์พื้นบ้าน เช่น  “การยกยอ” หรือ “ทอดแห” การเดินทางไปมาหาสู่กันด้วยเรือเป็นหลักและที่เป็นเอกลักษณ์เลยคือการขายของบนเรือไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวเรือป๊อกๆ(ที่เรียกว่าป๊อกๆเพราะมาจากเสียงเคาะเรียกให้คนออกออกมาซื้อนั่นเอง) หรือเรือขายของชำของจิปาถะทุกอย่างที่มีมาให้เลือกตามใจชอบรวมไปถึงการเติบโตของสัตว์หายากที่อาศัยอยู่เฉพาะริมน้ำที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น ทั้งหมดนี้กลายเป็นสายใยที่สานความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ริมน้ำอย่างสงบและเรียบง่ายตลอดมา และอีกพื้นที่สำคัญที่ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตริมน้ำอย่างชัดเจนมากขึ้นนั่นคือ ‘ศาลาท่าน้ำ’ ซึ่งเป็นเหมือนพื้นที่อเนกประสงค์ของคนที่อยู่บ้านริมน้ำคล้ายกับชานของบ้านที่สมาชิกทุกคนในบ้านจะมารวมกันที่นี่เหมือนเป็นพื้นที่ต้อนรับเพื่อนบ้าน นั่งสังสรรค์กินข้าว ตกปลา สนทนา พักผ่อนนอนกลางวันบางคนก็นั่งอยู่ทั้งวันตั้งแต่เช้าจรดบ่ายทั้งการซื้อของกินของใช้จากพ่อค้าแม่ค้าที่พายเรือมาขายตลอดวัน […]

SEAC : พื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ ใจกลางกรุงเทพฯ

พื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่ ที่สามารถรองรับ “ความคิด” ขณะกำลังโลดแล่นได้ทุกมิติ ด้วยนวัตกรรมการออกแบบควบคู่กับเทคโนโลยีการดีไซน์อันทันสมัย เปิดตัวใจกลางกรุงเทพมหานคร SEAC อัดแน่นด้วยนวัตกรรมทางด้านการเรียนรู้ ตั้งแต่หลักสูตร รูปแบบการเรียนรู้ไปจนถึงห้องเรียน ห้องประชุม ห้องสัมมนาที่นำความทันสมัยของเทคโนโลยีมาเข้ามารองรับการใช้งานจริง เพื่อสร้างสรรค์พื้นที่ทางเลือกที่แตกต่าง พร้อมมอบประสบการณ์ใหม่อันทันสมัยบนพื้นที่กว่า 4,550 ตารางเมตรขนาด 3 ชั้น บนตึก FYI Center (ซึ่งออกแบบมาให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานตามมาตรฐาน LEED หรือ Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งภายใน 3 ชั้นสามารถเชื่อมต่อรับส่งสัญญาณภาพ และเสียงจากทุกพื้นที่ทั่วโลกอย่างไร้ขีดจำกัด ลงตัวด้วยการดีไซน์ที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Unfolding Paper การคลี่กระดาษ” Unfolding Paper | การพับกระดาษแบบโอริงามิสู่งานดีไซน์ โอริงามิคือ ศิลปะการพับกระดาษของญี่ปุ่นเน้นการเริ่มต้นจากกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัส พัฒนาตามยุคสมัยใหม่ขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดรูปแบบต่างๆ มากมายเสมือนเป็นนวัตกรรมบางอย่าง ซื่งรูปแบบการดีไซน์ศูนย์พัฒนาผู้นำและ ผู้บริหารระดับสูงที่ครบวงจรแห่งนี้เกิดจากแนวความคิด “Unfolding Paper การคลี่กระดาษ” จัดอยู่ในดีเทลเล็กๆในแต่ละชั้นที่บอกเล่าเรื่องราวว่า เมื่อคนเราต้องการคิดค้นไอเดียและนวัตกรรมใหม่ๆ […]

1 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.