The Body Shop แบรนด์สกินแคร์สายกรีน ลมหายใจเฮือกสุดท้ายกับจิตวิญญาณที่ยืนหยัดเพื่อสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องประทินผิวหลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เห็นได้จากการรณรงค์งดใช้กลิตเตอร์ผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อลดการเกิดขยะไมโครพลาสติก หรือการยกเลิกการทารุณกรรมสัตว์จากการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องประทินผิวและเครื่องสำอาง แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า ที่ผ่านมามีแบรนด์เครื่องประทินผิวแบรนด์หนึ่งที่ยึดมั่นและมุ่งมั่นทำเพื่อสิ่งแวดล้อมมาก่อนกาล จนต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมทางธุรกิจ ล้มพับหน้าร้านในหลายประเทศทั่วโลกไป หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นตากับแบรนด์ผลิตภัณฑ์สกินแคร์ชื่อดังจากสหราชอาณาจักร The Body Shop ที่วางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศไทยและทั่วโลก แต่หลังจากที่บริษัทประกาศล้มละลายไปเมื่อต้นปี 2024 ทำให้ต้องปิดสาขากว่า 198 สาขาในสหราชอาณาจักร และปัจจุบันในประเทศไทยก็ไม่มีสาขาเหลืออยู่แล้ว จะหาซื้อได้ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น ในช่วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจความโปร่งใสเรื่องความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น Urban Creature ขอพาไปสำรวจที่มาที่ไปของแบรนด์ที่เป็นหนึ่งในโมเดลธุรกิจรักษ์โลกมาช้านาน และสิ่งที่พวกเขาพยายามขับเคลื่อนพร้อมกับการทำธุรกิจ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ขนาดนี้ล้มละลาย The Body Shop แบรนด์สกินแคร์ที่แคร์โลก ย้อนกลับไปเมื่อปี 1976 ร้าน The Body Shop แห่งแรกได้ถือกำเนิดขึ้นริมถนนเมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ โดย ‘แอนนิตา ร็อดดิก’ (Anita Roddick) ผู้ขับเคลื่อนวงการเครื่องสำอางในยุคนั้น แอนนิตามีแนวคิดที่อยากมอบทั้งความงามจากภายในสู่ภายนอก ไปพร้อมๆ กับให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพราะเธอเชื่อมั่นว่า การทำธุรกิจนั้นสามารถเป็นแรงผลักดันไปสู่สิ่งดีๆ ได้ ภายใต้อุดมการณ์ ‘การค้าปลีกอย่างมีจริยธรรม’ (Ethical Retailing) ว่าด้วยการสร้างแบรนด์ที่เป็นธรรม ยึดถือความซื่อสัตย์และซื่อตรงต่อลูกค้าในด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

11 ลาย 11 อัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าท้องถิ่น จากกางเกงช้าง สู่ ‘กางเกงลายประจำจังหวัด’

ในช่วงที่ผ่านมา ‘กางเกงช้าง’ กลายเป็นแฟชั่นยอดนิยมของคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนทำให้กางเกงช้างในรูปแบบผ้าสกรีนลาย สวมใส่สบาย กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และจากกระแสความนิยมในกางเกงช้างนี่เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหลายแห่ง เกิดไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้จังหวัดของตัวเองผ่าน ‘กางเกงประจำจังหวัด’ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบของกางเกงช้างเดิมมาเปลี่ยนลวดลายใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงของดีประจำถิ่นของตัวเองเข้าไป ว่าแต่กางเกงประจำจังหวัดที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้จะมีหน้าตาอย่างไร และมีของจังหวัดอะไรบ้าง Urban Creature ขออาสาพาทุกคนไปดู 11 ลายกางเกงประจำจังหวัดกัน กางเกงแมว (โคราช) ‘กางเกงแมว’ เป็นหนึ่งในผลงานจากผู้เข้าประกวดโครงการ KORAT Monogram ที่ต้องการผลักดัน Soft Power ภายในจังหวัด จนออกมาเป็นกางเกงลายโมโนแกรมที่รวมอัตลักษณ์เด่นๆ ของโคราช ทั้งสัตว์ประจำจังหวัดอย่าง ‘แมวสีสวาด’ หรือที่เรียกกันเล่นๆ ในพื้นที่ว่าแมวโคราช เจ้าเหมียวสีเทาเงางามที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก รวมถึงดอกสาธร ปราสาทหิน ผัดหมี่โคราช และประตูชุมพล สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อที่ : แมวโคราช กางเกงปล้าง (PLA.PLA TOO.TOO สมุทรสงคราม) ‘กางเกงปล้าง’ เกิดจากการรวมคำระหว่าง ‘กางเกงลายช้าง’ และ ‘กางเกงลายปลา’ เข้าด้วยกัน เป็นผลงานการออกแบบของ ‘ปาป้า-ทูทู่ สตูดิโอ’ […]

สำรวจบทเพลงอมตะตลอดกาล ‘The Moon Represents My Heart’ ผ่านเรื่องราวของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ พระจันทร์แทนใจที่ไม่เคยหายไป

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน (Lunar New Year) วันขึ้นปีใหม่จีนตามปฏิทินจันทรคติ หนึ่งในเทศกาลสำคัญของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากทั่วทุกมุมโลกออกมาร่วมกันเฉลิมฉลอง ถ้าไม่นับรวมเพลง ‘หมวยนี่คะ’ จาก China Dolls ศิลปินดูโอชาวไทย ที่มีเนื้อร้องติดหูจนคนต้องเผลอร้องตาม มั่นใจเลยว่าเพลงจีนที่หลายคนได้ยินในช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเพลง ‘The Moon Represents My Heart’ หรือ ‘พระจันทร์แทนใจฉัน’ เพลงนี้เป็นบทเพลงอมตะในตำนานของ ‘เติ้ง ลี่จวิน’ (邓丽筠) บุคคลผู้ได้รับสมญานามว่า ‘ราชินีแห่งเพลงเอเชีย’ นักร้องชาวไต้หวันที่มักมาพร้อมกับแนวเพลงป็อปแมนดาริน (Mandopop) ด้วยเทคนิคการใช้เสียงร้องที่แผ่วเบาแต่หวานปานน้ำผึ้ง เติ้ง ลี่จวิน ถือเป็นหนึ่งในศิลปินเอเชียที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากช่วงปี 1970 – 1990 และเป็นตำนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกับประเทศแถบเอเชีย จนบางเพลงของเธอถูกนำไปถ่ายทอดด้วยภาษาต่างประเทศถึง 7 ภาษา ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน แมนดาริน กวางตุ้ง ญี่ปุ่น อิตาลี อินโดนีเซีย หรืออังกฤษ และแม้ว่าบางบทเพลงจะไม่มีคำร้องภาษาไทย แต่เสียงของเธอก็เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยไม่ต่างกัน ขนาดผ่านมาเกือบ 30 ปี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.