House of Gems ร้านนักสะสมหินดึกดำบรรพ์ l Somebody Ordinary l EP.10

เพราะหินแต่ละชนิดมีคุณค่าและความงามที่ต่างกันไป บางชนิดเป็นเสมือนร่องรอยทางประวัติศาสตร์จากยุคโบราณ ขณะที่บางชนิดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องรางเพื่อมอบพลังบวกให้แก่ผู้ที่ได้สัมผัสหรือสวมใส่ เพราะหินมีความน่าสนใจในหลายมิติ คอลัมน์ Somebody Ordinary จึงอยากพาทุกคนไปพบกับ ‘House of Gems’ ร้านจำหน่ายหิน ฟอสซิล และอัญมณีเก่าแก่ของไทยที่เปิดดำเนินการมานานกว่า 50 ปี เพื่อทำความรู้จักอาชีพนักสะสมหินแบบเจาะลึก รวมไปถึงเรียนรู้ความแตกต่างและคุณค่าของหินแต่ละชนิด เราเชื่อว่าเรื่องราวของบ้านนักสะสมหินอย่าง House of Gems จะทำให้ทุกคนสนใจและหลงรักความน่าอัศจรรย์ของมวลของแข็งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น จนหลายคนต้องรีบหาเครื่องประดับหินสักชิ้นหนึ่งมาสวมใส่กันอย่างแน่นอน ป.ล. ปัจจุบันคนทั่วไปไม่สามารถขุดค้นหาหินดึกดำบรรพ์มาเป็นของตัวเอง เนื่องจากผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งทางร้านได้ค้นพบหินมาก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติ และเก็บเป็นวิทยาทานให้ความรู้แก่คนที่สนใจ #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #HouseofGems #เครื่องประดับหิน 

ร้านน้องท่าพระจันทร์ เซฟโซนของคนฟังเพลง l Somebody Ordinary

ทำไมร้านน้องท่าพระจันทร์ถึงเป็นที่รักของเหล่าศิลปินคนทำเพลงและคนธรรมดาอย่างเราๆ มานานกว่า 43 ปี วันนี้ Somebody Ordinary ขอพาทุกท่านเดินทางไปกับโลกของเสียงดนตรี ที่กาลเวลาไม่อาจพลากความสุขนี้ไปจากใจเราได้ ร้านน้องท่าพระจันทร์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หากคุณต้องการแผ่นเสียง ไม่ว่าจะเพลงแนวไหนร้านน้องก็หาให้คุณได้หมด ‘เพียงแค่คุณเปิดใจ’  และที่นี่ถึงแม้จะเป็นเพียงร้านเล็กๆ แต่พี่นก-อนุชา นาคน้อย ยังเปิดให้เป็นพื้นที่สำหรับเหล่าศิลปินน้องใหม่ในวงการได้มีสเปชในการแสดงดนตรีสด พบปะแฟนเพลงของตนเอง ความน่ารักของร้านน้องท่าพระจันทร์ ทำให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่แจ้งเกิดให้เหล่าศิลปินมากมาย และเราหวังว่าสักวันจะมีหน่วยงานรัฐเล็งเห็นถึงการสนับสนุนให้เกิดสเปซแบบนี้ขึ้นอีกหลายๆ แห่งในประเทศไทย ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะมีนักดนตรีชุมชนเกิดขึ้นมากมาย จากการที่พื้นที่ในการโชว์ของเฉกเช่นร้านน้องท่าพระจันทร์ก็ได้นะ

ฉลอง ‘นฤมิตไพรด์’ เรียกร้องเราทุกเพศควรเท่าเทียมหรือยัง? l Urban Soundcheck

LGBTQIA+ ก็เป็นคนเหมือนกัน พวกเราไม่ใช่ตัวตลกของสังคม Sex Work is Work การทำงานบริการทางเพศคืองาน ร่างกายเราเป็นของเรา สมรสเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน อายุเท่าไหร่ เชื้อชาติใด ทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีในการเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน แล้วเหตุใดทำไมยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ยังได้รับสิทธิไม่เท่าคนอื่น เนื่องใน Pride Month คอลัมน์ Urban Soundcheck จึงขอพาทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ผ่านเสียงของผู้คนที่เข้าร่วม Bangkok Pride Parade ‘นฤมิตไพรด์’ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา พวกเขาออกมาร่วมเดินขบวนเพราะอะไร ต้องการส่งเสียงเรียกร้องถึงความไม่เท่าเทียมใดในสังคม นี่อาจถึงเวลาที่ประเทศไทยจะเป็นเมืองสีรุ้งจริงๆ ได้เสียที #UrbanCreature #UrbanSoundcheck #PrideParade #Pride #PrideMonth #LGBTQ #สมรสเท่าเทียม #SexWorker 

จากของฝากสู่เวทีมิสแกรนด์ ชุดผ้าปาเต๊ะ Yayee แบรนด์ที่ส่งต่อวัฒนธรรมภูเก็ตผ่านผืนผ้า

ในฐานะคนที่รักเสื้อผ้าแนวมินิมอลเป็นชีวิตจิตใจ มีไม่กี่ครั้งหรอกที่เราจะเห็นเสื้อผ้าสีสันสดใส เต็มไปด้วยลวดลาย แล้วจะรู้สึกใจเต้น ชุดผ้าปาเต๊ะ Yayee คือหนึ่งในนั้น เหมือนกับใครหลายคน-ครั้งแรกที่เราเห็นชุดผ้าสีสดใสแบรนด์ยาหยีคือในการประกวดมิสแกรนด์ไทยแลนด์ปีล่าสุด ที่โบกี้-เณอริสา ธนะ มิสแกรนด์จังหวัดปัตตานีใส่เข้ากอง และนั่นเปลี่ยนภาพจำเดิมๆ เกี่ยวกับชุดผ้าปาเต๊ะของเราไปทันที ไม่ใช่แค่การแมตช์สีที่ถูกใจทั้งคนรุ่นใหญ่และคนรุ่นใหม่ หรือการดีไซน์ลวดลายที่ทั้งละเอียดลออและสอดแทรกเรื่องราวชาวภูเก็ตลงไปพร้อมกัน แต่เรื่องราวเบื้องหลังการสร้างแบรนด์ยาหยีจากรุ่นแม่มาสู่รุ่นลูกก็น่าสนใจมาก พวกเขาทำให้ผ้าปาเต๊ะที่เคยเป็นของเก่าป็อปปูลาร์ได้อย่างไร ภูมิ-พงศ์พิวิชญ์ ทั่วไตรภพ ทายาทรุ่นสองของยาหยีรอเราอยู่พร้อมคำตอบ ปาเต๊ะ 101 ปาเต๊ะอาจเป็นคำที่คนไทยคุ้นหูมานาน และภาพที่หลายคนชินตาคือผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด รังสรรค์จากการปิดเทียน แต้ม ระบาย และย้อมสีให้สดใส แต่หากย้อนกลับไปดูในประวัติศาสตร์ อาจเห็นได้ว่าหลายประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นหรืออินเดีย มีศิลปะประเภทที่ใช้ปากกาเขียนเทียนทองเหลืองหรือเปลือกไม้ต่างๆ มาสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าเช่นกัน โดยอาจมีคำเรียกและแพตเทิร์นที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่นเดียวกับศักดิ์และสิทธิ์ของผ้าที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย  ปาเต๊ะเคยเป็นผ้าที่คนทั่วไปสวมใส่ และครั้งหนึ่งมันเคยเป็นผ้าพิเศษของสุลต่าน มีช่วงใหญ่ที่ห้ามวาดรูปสัตว์บนผ้าเพราะผูกโยงกับความเชื่อทางศาสนา กระทั่งยุคที่มาเลเซียและอินโดนีเซียทำการค้าขายร่วมกัน วัฒนธรรมผ้าปาเต๊ะได้เผยแพร่ไปยังเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเต็มไปด้วยคนจีนโพ้นทะเลที่ย้ายเข้ามาตั้งรกราก ทำให้เกิดวัฒนธรรม ‘เปอรานากัน’ ที่เปลี่ยนให้ปาเต๊ะกลายเป็นผ้าสีสันสดใสและเต็มไปด้วยลวดลายสัตว์มงคลอย่างหงส์ฟ้า ไก่ฟ้า มังกร หรือนกฟีนิกซ์  สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ เพื่อนบ้านของเราเรียกปาเต๊ะว่า บาติก (บา แปลว่า ศิลปะ ส่วนติกแปลว่า จุด […]

หยุดด้อยค่า เสียงของแรงงาน l Urban Sound Check

‘ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร คุณคือคนทำงาน’ Urban Creature ขอพาคุณร่วมขบวนส่งพลังเนื่องในวันแรงงานสากลที่ผ่านมา แสดงพลังเสียงของคุณ หยุดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ สวัสดิการต่างๆที่แรงงานควรจะได้ ‘เพราะคนที่สำคัญที่สุดในองค์กร ในที่ทำงาน คือพวกเรา’ มีแค่เจ้าของ มีแค่นายทุน บริษัทไปต่อไม่ได้  ร่วมแสดงพลังของคุณไปพร้อมกับเราผ่าน Urban Soudcheck มนุษย์-สิทธิ-ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน? #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #วันแรงงานสากล #แรงงาน #รัฐสวัสดิการ #สวัสดิการ 

SoundCheck – Bangkok Street Noise เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ

เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ “ทำไมพื้นที่ที่ให้ความสุขทางเสียงดนตรี ถึงมีแต่ผับบาร์ หรือต้องไปคอนเสิร์ตฮอลล์” เมื่อเกิดคำถามว่าทำไม? Urban Soundcheck EP. นี้ อยากขอพาทุกคนมานั่งฟังดนตรีในสเปซที่ประชาชนทุกคนสามารถมีประสบการณ์ร่วมกัน กับกลุ่ม Bangkok Street Noise. จุดเริ่มต้นจากกลุ่มคนดนตรีกลุ่มเล็กๆ ที่อยากเล่นดนตรีนอกสถานที่ ได้เปลี่ยนพื้นที่เมืองธรรมดาๆ ที่โล่งและไม่มีคนใช้ในการจัดกิจกรรมดนตรี ทั้งใต้สะพานลอย ใต้ทางด่วน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรืออายุเท่าไร ก็สามารถมีสเปซและมีความสุขกับเสียงดนตรีร่วมกันได้ ก้าวเล็กๆ ของกลุ่ม Bangkok Street Noise ทำให้เมืองที่เราอยู่น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร และจะเป็นอย่างไร หากเมืองของเรามีสเปซแบบนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ติดตามได้จาก Urban Soundcheck นี้กัน! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #Soundcheck #Bangkok #street #song

พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ

“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต  ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ”  เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน

อ่านอนาคต พบปะนักเขียน ตามเก็บ NFT ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ

จะมีอะไรดีไปกว่าการซื้อหนังสือแล้วได้พูดคุยกับนักเขียนและคนทำสำนักพิมพ์ไปด้วย เพราะการได้รู้เบื้องหลังและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของหนังสือเล่มนั้น จะยิ่งทำให้การอ่านสนุกขึ้น! หลังจากต้องย้ายไปจัดงานแบบออนไลน์มากว่า 2 ปี ในที่สุดปีนี้งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติก็ได้กลับมาจัดในรูปแบบออนไซต์บนสถานที่แห่งใหม่ ใหญ่โตกว้างขวาง เดินทางสะดวกอย่างสถานีกลางบางซื่อ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 มาในธีม ‘อ่านอนาคต’ กับแนวคิดที่ว่า เมื่อเริ่มอ่าน อนาคตของเราก็เกิดขึ้น โดยไม่ได้จำกัดเฉพาะในแง่ของความรู้ แต่ยังรวมไปถึงแง่การออกเดินทาง สำรวจตัวเอง และเติมพลังใจ ความพิเศษของงานสัปดาห์หนังสือฯ ครั้งนี้ นอกจากกิจกรรมสนุกๆ อย่างนิทรรศการหนังสือ เสวนา เวิร์กช็อป รวมถึงกองทัพหนังสือที่เหล่าสำนักพิมพ์นำไปจำหน่ายให้ชาวนักอ่านอย่างจัดเต็มเหมือนครั้งก่อนๆ แล้ว ตัวงานยังย้ายมาจัดในสถานีรถไฟหลักแห่งใหม่ของไทย ทำให้บรรยากาศงานมีความแปลกใหม่กว่าทุกครั้ง แถมเดินทางง่าย ใครที่ยังไม่ได้ไปงานสัปดาห์หนังสือฯ หรือเป็นชาวบ้านไกลที่สั่งหนังสือออนไลน์แล้วสะดวกกว่า เราไปตะลุยเปิดแมปสำรวจจุดที่น่าสนใจในงานให้แล้ว ลง MRT สถานีกลางบางซื่อแล้วตามมาเลย คว้าแผนที่แล้วออกไปตะลุยงานหนังสือกัน ด้วยความที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดที่สถานีกลางบางซื่อ ทำให้ค่อนข้างสะดวกต่อการเดินทาง มาด้วยขนส่งสาธารณะอย่าง BTS, MRT หรือรถเมล์ก็ได้ หรือจะขับขี่รถส่วนตัวมาก็ไม่มีปัญหา ที่นี่มีพื้นที่รองรับรถกว่าพันคัน แถมยังไม่ต้องตรวจ ATK […]

SpokeDark TV เส้นทางแสบสันของสื่อประชาธิปไตย ที่อยู่ได้เพราะ “สปอนเซอร์เราคือคุณผู้ชม”

“เราอาจไม่ได้ไปต่อ”  พิธีกรในชุดพ่อหมอสีขาวใส่สร้อยประคำบอกกับผู้ชมผ่านรายการ ‘เจาะข่าวตื้น’ (ชื่อเต็มเดิมคือ ‘เจาะข่าวตื้น ดูถูกสติปัญญา’) ทางช่อง SpokeDark TV ที่เดินทางมาถึงตอนที่ 287  ความพังพินาศของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา และสึนามิเศรษฐกิจถล่มซัดอีกครั้งในปี 2563 นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นธุรกิจน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว สำหรับ SpokeDark TV ทางรอดเดียวที่เหลืออยู่คือแรงสนับสนุนจากผู้ชมของช่อง ที่พอการันตีได้ด้วยยอดรับชมแต่ละคลิปไม่ต่ำกว่าหลักแสน  ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2021 เป็นต้นมาคือภารกิจที่ช่องต้องหาผู้ชมมาสนับสนุนรายเดือนภายใน 45 วันเป็นจำนวน 15,000 คน เพื่อให้เพียงพอกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท จากเดิมยอดคนสนับสนุนอยู่ที่หลักพัน ขึ้นมาจนถึงหลักหมื่น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าวางใจ นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในเส้นทางสื่อออนไลน์กว่า 15 ปีที่เปิดรับรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมรายการครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ภูมิทัศน์ของสื่อออนไลน์มีจำนวนนับได้ พวกเขาเริ่มทำรายการทีวีออนไลน์ในชื่อ ‘iHereTV’ จนมาเป็น ‘SpokeDark TV’  ในวันที่ทุกคนต่างลุกขึ้นมาเป็นสื่อ ผ่านการผลิตคอนเทนต์รวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ประกอบกับสำนักข่าวออนไลน์ที่เกิดใหม่มากมาย ท่ามกลางมรสุมรุมเร้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งคดีความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีที่ผู้จัดรายการต้องแบกรับ แต่สื่อออนไลน์อย่าง SpokeDark TV ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ […]

Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?

คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ .  เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย!  . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive  #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

ส่องทางม้าลายในกรุงเทพฯ l Urban Eyes

ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนไทยประสบอุบัติเหตุจากการเดินบนท้องถนนถึง 2,500-2,900 รายต่อปี กว่า 1 ใน 3 เป็นพื้นที่ กทม. เฉลี่ย 900 รายต่อปี ตัวเลขดังกล่าวมาจากการบันทึกไว้เป็นสถิติยังมีอีกหลายปัญหาที่อยู่นอกเหนือจากสถิติ ทั้งภาพที่เราเห็นกันบ่อยครั้ง เช่นเวลาจะข้ามทางม้าลายแต่กลับต้องหลบให้รถที่มาเร็วไปก่อน หรือทางม้าลายตรงทางแยกที่เต็มไปด้วยรถจอดทับ หรือแม้แต่ข่าวน่าเศร้าที่เราต่างรู้กันดี Urban Eyes ในตอนนี้เราจึงอยากจะถ่ายทอดภาพที่เราเห็นเหล่านั้นออกมา เพื่อสะท้อนปัญหาที่เราทุกคน ผู้ใช้เท้าย่างเดินบนท้องถนนกำลังเผชิญ #UrbanCreature #UrbanEye #ทางม้าลาย #กรุงเทพ

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.