The Professional | ศึกษาศิลปะการออกแบบดอกไม้กับร้าน Flower in Hand by P.

หากพูดถึงร้านขายดอกไม้ เรามักจะนึกถึงอาชีพคนจัดดอกไม้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในแวดวงนี้มีอาชีพ ‘นักออกแบบดอกไม้’ ด้วย ‘แพร พานิชกุล’ คือนักออกแบบดอกไม้และเจ้าของร้านดอกไม้ Flower in Hand by P. ผู้เริ่มต้นอาชีพนี้จากความหลงใหลในดอกไม้ ก่อนเริ่มหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตของตัวเองมากขึ้น ทั้งในแง่ดีไซน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความหวังว่าธุรกิจของเธอจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความครีเอทีฟให้กับเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับคนและโลกได้อย่างเป็นมิตรไปพร้อมๆ กัน

Sak’54 ผู้ทำอาชีพช่างซ่อมกีตาร์มานานกว่า 20 ปี | The Professional

เขาว่ากันว่า อาชีพช่างซ่อมกีตาร์เปรียบเสมือนหลังบ้านของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินโด่งดังระดับไหน ย่อมต้องการช่างซ่อมเครื่องดนตรีคู่ใจที่เชื่อมือได้ด้วยกันทั้งนั้น หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน อาชีพช่างซ่อมกีตาร์อาจยังไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะย่านการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรีกระจุกตัวอยู่ภายในเวิ้งนครเกษมเพียงจุดเดียว ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ธุรกิจเครื่องดนตรีก็เริ่มกระจายตัวออกไปยังย่านอื่นๆ มากขึ้น Urban Creature ชวนไปทำความรู้จักและฟังเรื่องราวของ Sak’54 ช่างซ่อมกีตาร์ผู้ชำนาญการกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุคเวิ้งนครเกษมจนมาถึงยุคปัจจุบันที่เขาออกมาเปิดกิจการรับซ่อมกีตาร์เป็นของตัวเอง  นอกจากศาสตร์การซ่อมบำรุงกีตาร์ที่น่าสนใจแล้ว ที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างกับการเป็นหลังบ้านให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย ตามไปเปิดหลังบ้านของช่างศักดิ์พร้อมๆ กัน

Nympheart ผู้เปลี่ยนเถ้าถ่านแห่งความทรงจำให้เป็นงานคราฟต์ที่มีชิ้นเดียวในโลก | The Professional

Nympheart คือสตูดิโอแฮนด์คราฟต์อายุ 9 ปีที่เริ่มต้นทำเครื่องประดับด้วยการใช้วัสดุหลักเป็น ‘ไม้’ และ ‘Epoxy’ เรซินที่ใช้ราดปูพื้น ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เคยมีใครในเอเชียทำมาก่อน นอกจากความแปลกใหม่ โดดเด่นไม่ซ้ำใครของวัสดุและลวดลายโปรดักต์ที่ได้ขยายไปสู่ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว Nympheart ยังมีอีกเอกลักษณ์สำคัญคือ งานคราฟต์ที่ผนึกอัฐิของผู้เป็นที่รัก ซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่ระลึกความทรงจำถึงคนที่จากไป ในรูปแบบที่สวยงาม ร่วมสมัย และจับต้องง่าย เหมือนมีเขาเคียงข้างอยู่ตลอดเวลา Urban Creature ชวนไปเรียนรู้วิธีการสร้างงานศิลปะที่มีชิ้นเดียวในโลก ที่เริ่มต้นการออกแบบด้วยความเข้าใจ และมีส่วนประกอบหลักเป็นหลักฐานของความทรงจำกัน

7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’

เอาชีวิตรอดยังไงให้ไม่เบิร์นเอาต์จนกลายเป็นซอมบี้ l Soundcheck

เสียเวลาเดินทางวันละ 3 ชั่วโมงการแข่งขันในที่ทำงานแบบเดือดๆความซ้ำซากจำเจที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุให้คุณหมดแรงจูงใจในการใช้ชีวิต จนกลายเป็นซอมบี้ที่ลุกจากเตียงออกไปเรียนและทำงานไปวันๆ ไร้ซึ่งวิญญาณ Soundcheck พาทุกคนไปสำรวจความคิดเห็นของชาวเมือง และทำหน้าที่รับฝากข้อสงสัยทางใจ เพื่อนำไปปรึกษานักจิตบำบัดให้ เผื่อคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีปฏิบัติให้คุณไม่กลายเป็น ‘ซอมบี้’ ในเมืองใหญ่ Bangkok Zombie Town คือซีรีส์คอนเทนต์ประจำเดือนตุลาคม 2565 จาก Urban Creature ที่ต้องการให้คนเมืองเห็นปัญหาเมืองผ่านข้อมูล ผู้คน และแง่มุมใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้อยู่อาศัย เพื่อทำความเข้าใจ เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง และไม่โทษว่าเป็นความผิดพลาดของตัวเองเพียงอย่างเดียว

‘เจ๊จู หมั่งหมิง’ อาชีพในตำนานสมัยซูสีไทเฮา | THE PROFESSIONAL

“หมั่งหมิงอยู่ในตำนาน ไม่มีหาย มันจะไปทุกยุคทุกสมัย เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮาแล้ว กล้าเอาหัวเป็นประกันเลย ไม่มีสูญหายแน่นอน” ‘หมั่งหมิง’ คือการใช้เส้นด้ายกำจัดขนบนใบหน้าแบบจีนโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยพระนางซูสีไทเฮา ทั้งยังเป็นศาสตร์เสริมความงามและเสริมดวงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ‘เจ๊จู-พรธิรัตน์ วัฒนกิตติกาญจน์’ ได้เรียนรู้วิชาการทำหมั่งหมิงตั้งแต่สมัยเด็กจากคุณแม่ จึงฝึกฝนจนนำมาทำเป็นอาชีพและเปิดสอนศิลปะการถอนขนมากว่า 20 ปี โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะช่วยสานต่ออาชีพนี้ให้คงอยู่ตลอดไป

อย่าเพิ่งร้องกรี๊ด! แหล่งโปรตีนทดแทนที่เกิดขึ้นจริงแล้ว l Urban เจอนี่ เจอ อาหารจากแมลง

รู้หรือไม่ว่า มนุษย์เรากำลังเจอวิกฤตเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดเทรนด์การผลิตโปรดักต์ต่างๆ ที่มีการทดแทนสารอาหารจากวัตถุดิบอื่นๆ รวมไปถึงแมลงที่ให้โปรตีนสูง แต่นอกเหนือจากแมลงทอดตามรถด่วนที่เห็นจนชินตาแล้ว แมลงเอามาทำอะไรได้อีกมากมายจนคุณคาดไม่ถึง ถึงขนาดได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘อาหารแห่งโลกอนาคต’ ว่าแต่ปัจจุบันอาหารจากแมลงพัฒนามาถึงจุดไหนแล้ว Urban เจอนี่ พาทุกคนมาเรียนรู้และอัปเดตหัวข้อนี้กันที่ Exofood Thailand แล็บสัญชาติไทยที่ศึกษาวิจัยแมลงเพื่อผลลัพธ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมแมลงกับการเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ไปจนถึงการใช้กำจัดศัตรูพืช แล็บแห่งนี้ก่อตั้งโดย ‘บูม-อธิวัชร พงษ์ศรัทธาสิน’ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยเริ่มจากความชื่นชอบเลี้ยงสัตว์แปลก (Exotic Pet) อย่าง Bearded Dragon หรือกิ้งก่าทะเลทราย ที่ชอบกินแมลงเป็นอาหาร จนนำมาสู่การตั้งคำถามว่า แมลงที่นำมาให้สัตว์กินนั้นสะอาดมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมี ‘กล้า-อวิรุทธ์ ถวัลย์ศักดิ์วุฒิ’ นักวิชาการด้านกีฏวิทยา คอยดูแลเรื่องเทคนิคการเลี้ยงและการพัฒนาอีกด้วย

เข้าใจ ‘ประวัติศาสตร์’ ในยุคสมัยใหม่ กับ ‘นิธิ เอียวศรีวงศ์’ | Somebody Ordinary EP.13

คงไม่ผิดนักหากบอกว่า ‘ประวัติศาสตร์’ คือหนึ่งในวิชาความรู้ที่นับว่าถูกยุคสมัยเขย่าให้สั่นสะเทือน และเปลี่ยนแปลงมากที่สุดในรอบไม่กี่ปีมานี้ของไทย ในวันที่คนรุ่นใหม่พากันเบือนหน้าหนีจากเนื้อหาอดีตในตำรา ไปเสาะหาศึกษาอ่านประวัติศาสตร์กระแสรอง จนหนังสือประเภทนี้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ‘ประวัติศาสตร์’ ยังทำหน้าที่และมีบทบาทใดต่อการสร้างชาติในปัจจุบันบ้าง Urban Creature ขอพาทุกคนไปสนทนากับ ‘อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์’ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ถึงความสำคัญและการเปลี่ยนแปลงของเรื่องเล่าที่ส่งต่อกันมาเหล่านี้ ในแง่มุมที่นอกเหนือไปจากการทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นนำ เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนสยบยอมต่อผู้มีอำนาจขีดเขียนประวัติศาสตร์

เบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของ BTS Depot เป็นยังไงมาดูกัน! l Urban เจอนี่ เจอ BTS

‘สถานีต่อไป สถานีปลายทาง หมอชิต’ เราเชื่อว่าคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเป็นประจำ น่าจะคุ้นชินกับประโยคนี้ดี แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหลังจากสถานีนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งสถานี ที่ทำหน้าที่เป็นเบื้องหลังดูแลรักษารถไฟฟ้า BTS ในทุกๆ วันให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ Urban เจอนี่ เอพิโสดนี้ขออาสาพาทุกคนไปทัวร์ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หรืออีกชื่อหนึ่งคือ BTS Depot ว่าภายหลังจากรถไฟฟ้า BTS หยุดพักให้บริการในแต่ละวันนั้นได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งพูดคุยถึงวิสัยทัศน์และเรื่องราวการทำงานจากผู้บริหารและหัวหน้าช่าง

Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional

เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ

กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional

รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง  แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้  Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”

ฟังเสียงของคนทำหนังรุ่นใหม่ l Sound Check

“สายอาชีพอื่นเขามีหลายลู่ทาง แต่ในสายงานภาพยนตร์ ต้องให้เราไปเป็นฟรีแลนซ์อย่างเดียวถึงจะมีอนาคต?” นี่คือเสียงสะท้อนจากกลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ที่ต้องเจอกับปัญหาที่คนดูอาจคิดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานด้วยระบบอาวุโส ค่าตัวที่น้อยน่าใจหาย หรือแม้แต่นายทุนที่อยากได้หนังระดับล้านแต่จ่ายระดับร้อย และไม่ง่ายเลยที่พวกเขาจะมีอาชีพและได้ทำงานตามแพสชันของตัวเองตั้งแต่ก้าวออกจากรั้วมหา’ลัย หากไม่มีคอนเนกชันหรือคนรู้จักคอยหยิบยื่นโอกาสให้ เบื้องหน้าวงการหนังอาจเต็มไปด้วยความสนุกและดูฮาๆ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าคนเบื้องหลังต่างโอดครวญร้องฮือๆ กันอยู่ไม่น้อย Soundcheck ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนเข้าใจเส้นทางอาชีพในวงการหนังไทยมากขึ้น ผ่านบทสัมภาษณ์ของกลุ่มคนทำหนังรุ่นใหม่ อุปสรรคของเด็กฟิล์มคืออะไร โอกาสในอุตสาหกรรมนี้มีมากน้อยขนาดไหน และเรื่องหลังกล้องแบบไหนที่อยากให้คนดูเข้าใจ ไปฟังคำบอกเล่าของพวกเขาพร้อมกัน .ส่วนใครที่อยากดูผลงานของคนทำหนังรุ่นใหม่ เราขอชวนไปดู ‘Voices of the New Gen 2022’ หรือ ‘เสียง (ไม่) เงียบ 2022’ ภาพยนตร์สั้น 4 เรื่องที่สะท้อนปัญหาการเมืองและสังคมผ่านมุมมองของคนรุ่นใหม่ กำหนดฉายวันที่ 25 สิงหาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์ รับชมตัวอย่างได้ที่ https://bit.ly/3R7gdS4

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.