Game 02 : Pokémon Trading Card Game

มีเรื่องหนึ่งที่ผมฝังใจมาตั้งแต่เด็กคือ ผมเห็นเครือญาติพี่ๆ น้องๆ ของฝั่งแม่ผมล้อมวงเล่นเกมผ่านเครื่อง Game Boy กัน ซึ่งเกมนั้นคือเกม Pokémon ตัวผมเองอยากเล่นมากๆ จนรวบรวมความกล้าเข้าไปขอพ่อซื้อตลับเกม แต่ปรากฏว่าพ่อผมปฏิเสธ เพราะกลัวผมจะติดโปเกมอนจนไม่เป็นอันเรียน สิ่งที่ได้กลับมาคือความผิดหวัง เมื่อผมเข้าสู่วัยทำงาน การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำก็เป็นหน้าที่ที่เราต้องดูแลตัวเองอย่างเต็มตัว ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับโปเกมอนจึงเป็นอีกหนึ่งหมุดหมายที่ผมซื้อด้วยเงินเก็บของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตา เกมภาคใหม่ๆ ซึ่งรวมถึง Trading Card Game ด้วย หากพูดถึงบริบทสังคมต่างก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ภาพของซุ้มหมากรุกเริ่มน้อยลง แต่ภาพของคนที่ไปห้างสรรพสินค้า ร้านการ์ด หรือสถานที่ต่างๆ ที่ใช้เวลานั่งได้นานๆ พร้อมกับพกสำรับการ์ดประจำตัวมาดวลกันเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ ครั้งนี้ผมเดินทางลัดเลาะเส้นรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มาที่ร้าน Nx Gallery ลาดพร้าว 78 เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับ Trading Card Game ที่เน้น Pokémon Trading Card Game กับ ‘พี่แอ๊ม-ภัทรพงศ์ สายตระกูล’ เจ้าของร้านการ์ด Nx Gallery หรือที่เรารู้จักในฐานะนายกสมาคมการ์ดเกมไทย และ […]

Game 01 : Board Game

สำหรับผม ปีนี้ผ่านไปไวจนตั้งตัวแทบไม่ทัน แต่ทุกๆ ช่วงเวลาสิ้นปี ผมมักจะนึกทบทวนอยู่เสมอว่า เราได้ใช้เวลาที่ผ่านไปอย่างมีคุณภาพแล้วหรือยัง และได้รับประสบการณ์อะไรบ้าง หากยังไม่ได้รับอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน ผมก็มักหาอะไรบางอย่างที่ยังไม่เคยทำมาลองทำในช่วงเวลานี้เสียเลย หนึ่งในนั้นคือการทำบันทึกรวบรวมกิจกรรมต่างๆ ที่ผมสนใจอย่างกิจกรรม Tabletop เพื่อตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ลองพบเจอสิ่งใหม่ๆ และอาจเป็นประโยชน์ในเชิงข้อมูลแก่เพื่อนๆ ที่อยากหาอะไรใหม่ๆ ให้ตัวเองทำหรือเปิดประสบการณ์สนุกๆ ในช่วงสิ้นปีนี้ เข้าเรื่องเลยแล้วกัน หากเราพูดถึงกิจกรรม Tabletop มันจะจำแนกประเภทได้หลากหลายมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Card Game, War Game, Dice Game แต่เชื่อได้เลยว่าสิ่งที่ทุกคนรู้จักกันดีและนึกถึงเป็นอันดับแรกคือ Board Game อย่างแน่นอน แล้วบอร์ดเกมคืออะไร ความสนุกอยู่ที่ตรงไหน คำถามเหล่านี้ผมเชื่อว่าคงไม่มีใครตอบได้ดีเท่ากับ ‘พี่วัฒน์-วัฒนชัย ตรีเดชา’ นายกสมาคมบอร์ดเกมประเทศไทย Round One ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างไม่เกรงใจ ผมนั่งอยู่ในร้านบอร์ดเกม DICE CUP จุฬาฯ ซอย 5 พร้อมกับพี่วัฒน์ ก่อนจะเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามว่าด้วยเส้นทางการเข้าสู่โลกบอร์ดเกมของคนตรงหน้า “เมื่อก่อนพี่ทำงานเป็นครีเอทีฟเบื้องหลังรายการทีวี มันจะไม่เหมือนกับที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ช่วงก่อนทีวีดิจิทัลจะมีเวลาว่างเยอะ เพื่อนๆ ก็เอาบอร์ดเกมมาเล่น พี่ก็ดูเพื่อนๆ […]

#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

Animal on Street ส่องสัตว์ในเมือง

ทุกๆ เช้าที่เราตื่นขึ้นมาดำรงชีวิตในเมืองใหญ่ ท่ามกลางความวุ่นวาย ภาพของท้องถนนที่การจราจรติดขัด หรือแม้กระทั่งมลภาวะทางอากาศ ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เราเกิดความห่อเหี่ยวใจไม่ใช่น้อย  บ่อยครั้งที่มีโอกาสเดินสำรวจเมืองในพื้นที่ต่างๆ เราสังเกตว่า นอกจากผู้คนแล้ว ก็ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในพื้นที่อยู่อาศัยของเราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นหมา แมว หรือนก การมองดูพฤติกรรมและความน่ารักของสัตว์เหล่านั้น ช่วยทำให้ความเครียดของเราลดลง และเติมพลังให้มีแรงทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น ประหนึ่งเป็นกำลังใจของคนที่รักสัตว์ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ตามไปส่องเบื้องหลัง ‘วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ’ โครงการรับบริจาคชุดชั้นใน ที่จะนำไปกำจัดให้ถูกวิธีแบบฟรีๆ

ปกติแล้วเราจัดการกับชุดชั้นในที่ไม่ใส่แล้วอย่างไรกันบ้าง เพราะชุดชั้นในเหล่านี้อาจยากที่จะนำไปรีไซเคิลใหม่ ดังนั้นหากสภาพยังดีอยู่ บางคนคงเลือกส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ แต่ถ้ามันเยินจนใช้งานไม่ได้แล้ว ก็แค่แยกใส่ถุงเอาไว้ แล้วทิ้งขยะเพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะต่อไป แต่มันจะง่ายอย่างนั้นเชียวหรือ เพราะหลังจากนั้นเราแทบไม่รู้เลยว่า อดีตชุดชั้นในตัวโปรดของเราจะไปอยู่ในกระบวนการไหน และโดยส่วนใหญ่แล้วของใช้ในหมวดหมู่เสื้อผ้ามักจะถูกนำไปฝังกลบ ซึ่งนอกจากจะไม่ได้เป็นการกำจัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขยะให้โลกอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อช่วยลดขยะและลดการสร้างมลพิษให้โลก ‘Wacoal’ แบรนด์ชุดชั้นในของไทยได้มองหาวิธีการแก้ปัญหาส่วนนี้ ด้วยการร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกำจัดชุดชั้นในไปพร้อมๆ ลดโลกร้อนกับโครงการ ‘วาโก้บราเดย์ บราเก่าเราขอ’ ที่เปิดรับชุดชั้นในที่ไม่ใช้แล้วมาเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกต้อง ลดมลพิษ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คอลัมน์ Sgreen จึงขอพาไปพูดคุยกับทางวาโก้ถึงโครงการนี้ และการร่วมมือกับ ‘ไปรษณีย์ไทย’ ในการอำนวยความสะดวกให้ทุกคนโบกมือลาชุดชั้นในเก่าของตัวเองอย่างสบายใจและสบายโลก วาโก้ขออาสากำจัดบราเก่า ‘นงลักษณ์ เตชะบุญเอนก’ กรรมการบริหารสายงานสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) เริ่มต้นเล่าให้เราฟังว่า ชุดชั้นในแต่ละตัวนั้นประกอบไปด้วยหลากหลายวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นฟองน้ำ ผ้าที่มีทั้งเส้นใยหลายชนิด ลวด ตะขอโลหะทั้งหลาย และการทิ้งขยะประเภทนี้มักใช้วิธีการฝังกลบ ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 400 ปีกว่าจะย่อยสลาย ทางวาโก้เองคำนึงถึงปลายทางหลังจากที่ลูกค้าซื้อสินค้าไปแล้วว่า ชุดชั้นในเหล่านั้นจะต้องกลายเป็นขยะในท้ายที่สุด ดังนั้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางในการลดขยะบนโลกลง ในปี 2555 วาโก้จึงมองหาวิธีการกำจัดขยะเหล่านี้ให้เร็วขึ้น พร้อมกับเปิดตัวโครงการ วาโก้บราเดย์ […]

ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’

ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]

‘Qualy’ แบรนด์ไทยที่เพิ่มมูลค่าให้ขยะพลาสติก ด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่แบรนด์แบรนด์หนึ่งจะสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมผ่านชิ้นงานได้แบบที่คนเห็นแล้วร้อง ‘อ๋อ!’ แต่สำหรับแบรนด์ ‘Qualy’ ไม่ว่าจะจิ้มผลงานชิ้นไหนขึ้นมาก็ต้องคุ้นหูหรือคุ้นตาทั้งนั้น ตั้งแต่ พระสติ, บอร์ดเกม Waste War, รูบิก Tactile Cube หรือปากกาวาดรูปจากไหมพรมในชื่อ เล่นเส้น เพราะไม่ว่าจะเป็นดีไซน์ที่สวยงาม ฟังก์ชันการใช้งานสุดว้าว หรือวัสดุรีไซเคิลรักษ์โลก จะส่วนไหน Qualy ก็ไปสุดทุกทาง จนกวาดรางวัลจากเวทีดีไซน์กลับบ้านแบบไม่หวาดไม่ไหว คอลัมน์ Sgreen ชวนไปคุยกับ ‘ใจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ Design Director และ Founder ถึงแนวคิดและความตั้งใจของแบรนด์ที่ทำให้ Qualy ยืนหยัดครองตลาด พร้อมสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมผ่านผลงานได้ยาวนานกว่า 20 ปี เล่าเรื่องผ่านดีไซน์จนค่อยๆ เติบโตในตลาดไทย “ในช่วงแรกๆ ของการทำ Qualy เราเน้นไปที่การใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับตอนนั้นมีปัญหาโลกร้อน เลยเล่าเรื่องพวกนี้ผ่านดีไซน์ของเรา ก่อนจะต่อยอดมาใช้วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้สื่อสารเรื่องนี้ออกไปดียิ่งขึ้น” ธีรชัยเล่าถึงความตั้งใจช่วงแรกของแบรนด์ อีกปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการทำแบรนด์โปรดักต์ดีไซน์นี้คือ Qualy เป็นธุรกิจที่เขาต่อยอดออกมาจากธุรกิจครอบครัวที่ก่อนหน้านี้เปิดเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกแบบ Original Equipment Manufacturer (OEM) […]

เดินเท้าย่ำสวน นั่งเรือดูงานศิลป์ เรื่องราวในพื้นที่สีเขียวและครีเอทีฟริม ‘คลองบางมด’

แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ ที่น่าสนใจและมาทำความรู้จักให้มากกว่าเดิม แยกเข้าซอยจากถนนพระราม 2 อันจอแจมาไม่ไกล บรรยากาศรอบข้างเปลี่ยนไปจากสีเทาของทางด่วนที่กำลังก่อสร้าง เป็นสีเขียวครึ้มของต้นไม้ตัดกับสีฟ้าที่ทาเป็นฉากหลัง บนถนนขนาดสองเลนที่คดโค้งไปมาคล้ายกับต่างจังหวัด มีเพียงป้ายบอกทางของกรุงเทพมหานครเตือนอยู่เป็นระยะๆ ว่ารถกำลังวิ่งอยู่ในเมืองหลวง ปลายทางของเราวันนี้คือ ‘บางมด’ บางมด เป็นส่วนหนึ่งของเขตทุ่งครุ ชายแดนทางใต้ของกรุงเทพฯ และเกือบปลายน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนออกสู่อ่าวไทย อาจเพราะระยะทางไกลจากเมือง ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ในย่านนี้มีสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวเหลืออยู่มาก ภาพจำของบางมดจึงเป็นจุดหมายสำหรับคนกรุงในการมาท่องเที่ยว สัมผัสธรรมชาติ หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างการปั่นจักรยาน เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์โดยไม่ต้องเดินทางไกล วันนี้ระหว่างสวนในย่านบางมดมีสถานที่และกิจกรรมต่างๆ มากมายแฝงตัวอยู่เป็นจุดๆ โดยเฉพาะตลอดริมคลองบางมด เส้นทางน้ำสำคัญของชาวย่าน ที่เป็นหนึ่งในย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ จากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านตลอดสองฝั่งคลอง เป็นอีกย่านในกรุงเทพฯ […]

‘ยังธน’ กลุ่มคนวัย Young ที่รวมพลังพัฒนาฝั่งธนฯ ด้วยความสนุก ตั้งแต่จัดเตะบอลไปจนถึงสร้างเกมที่ทำให้คนอยากมาตามรอย

การพัฒนาเมือง ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนยิ่งใหญ่ การเสกโครงสร้างพื้นฐานสุดอลังการ การขุดลอกคูคลอง เอาสายไฟลงใต้ดิน ปรับระดับพื้นทางเดินให้เรียบเกลี้ยง การวางวิสัยทัศน์เมือง ตั้งเป้าหมายมุ่งไปข้างหน้าอีกหลายสิบปี แต่จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาเมืองด้วยการจัดงานเตะบอลหรือการสร้างเกมขึ้นมาสักอัน ฟังดูแปลก เหนือความคาดหมาย แต่นี่คือสิ่งที่ ‘ยังธน’ ทำมาแล้วจริงๆ ยังธน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี บ้างก็เกิดและเติบโตในพื้นที่นี้จนเรียกธนบุรีว่าบ้าน แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน บางคนเป็นสถาปนิก บางคนเป็นอาจารย์ แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม แทนที่การพัฒนาเมืองจะเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง ยังธนแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนธรรมดาก็สามารถรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ และมี ‘ความสนุก’ เป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาเมืองได้เหมือนกัน ในตึกแถวสีเทาปูนเปลือยริมถนนอิสรภาพ เราได้เจอกับ ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ สี่สมาชิกกลุ่มยังธนที่รอคอยต้อนรับด้วยความยินดี หลังจัดแจงห้องและเก้าอี้ให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมกับการสัมภาษณ์ ทั้งหมดก็นั่งประจำที่ แล้วบอกเล่าถึงความฝันของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเขาที่อยากเห็นเมืองที่ดี การขับเคลื่อนย่านธนบุรีเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงจุดเริ่มต้นของคำว่า ‘ยังธน’ ที่เริ่มต้นในห้องสี่เหลี่ยมสีเทาที่เรานั่งพูดคุยกันอยู่ห้องนี้ กลุ่ม […]

‘AriAround’ แพลตฟอร์มเพื่อชาวอารีย์ ที่เชื่อว่าการเชื่อมโยงระหว่างกันจะทำให้ย่านและพื้นที่รอบๆ ดีขึ้นได้

เมื่อลองพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า ‘ย่านอารีย์’ ผลลัพธ์บนหน้าจอย่อมปรากฏรีวิวคาเฟ่และร้านอาหารขึ้นเต็มไปหมด จึงไม่น่าแปลกใจที่ย่านนี้จะเป็นจุดหมายเบอร์หนึ่งของเหล่าคนชิกๆ แต่นอกจากจะเป็นย่านคนเก๋แล้ว อารีย์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายประการที่คนในย่านเองยังไม่รู้ด้วยเช่นกัน ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ คือชาวอารีย์ที่อยากให้ความน่าสนใจเหล่านั้นในย่านได้รับการค้นพบ และให้ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ทั้งผู้อยู่อาศัย มาทำงาน หรือมาท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาย่าน ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้คนได้เชื่อมโยงกัน โดยเธอได้ร่วมมือกับเพื่อนๆ สร้าง ‘AriAround’ แพลตฟอร์มสื่อกลางสำหรับเชื่อมคนย่านอารีย์ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงคนกับชุมชน เป็นสื่อในการให้ข้อมูลของย่านในเชิงลึก ทั้งมิติประวัติศาสตร์ หรือกิจกรรมที่ทำให้คนได้มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงกับย่านอย่างลึกซึ้ง รวมไปถึงมิติสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตที่คนในย่านอยากเห็น เพราะคนในย่านมีความสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ และคนนอกย่านก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ย่านได้เติบโต คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองจึงอยากชวนทุกคนจับรถไฟฟ้าลงสถานีอารีย์ ตามไปพูดคุยกับ AriAround ถึงการทำงานของแพลตฟอร์มที่ยกให้คนเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาและสร้างย่านให้น่าอยู่ โดยมี AriAround เป็นตัวกลางในการเชื่อมคนในชุมชนให้เข้าถึงกันและกันได้ง่ายขึ้น เพราะชื่นชอบจึงอยากทำให้ย่านอารีย์ดีกว่าเดิม ปกติแล้วหากจะมีการพัฒนาพื้นที่ใดสักพื้นที่หนึ่ง เรามักคิดว่าคนที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคงต้องเป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่เกิด แต่กับ ‘AriAround’ ไม่ใช่แบบนั้น เพราะความจริงแล้วอรุณีเองไม่ใช่คนในพื้นที่แต่ดั้งเดิม เพียงแต่เธอมีความสนใจในย่านอารีย์ และเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่น่าจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ “AriAround มีความเป็นมาจากการที่เราชอบย่านนี้ และเราก็อยากทำอะไรบางอย่างกับย่านนี้” อรุณีบอกกับเรา ส่วนความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงย่านของเธอนั้นเกิดจากการที่ได้เดินทางไปใช้ชีวิตต่างประเทศในระยะหนึ่ง ทำให้ได้เห็นการทำงานร่วมกันของชุมชน และการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จนเธอรู้สึกว่าอยากจะเห็นมูฟเมนต์เหล่านั้นเกิดขึ้นที่ประเทศไทยบ้าง  ประกอบกับงาน Bangkok Design Week […]

‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนที่อยากให้คนเห็นย่านหัวลำโพงในมุมใหม่ๆ ด้วยการ Reconnect คนในและคนนอกเข้าด้วยกัน

ภาพของย่าน ‘หัวลำโพง’ ในความทรงจำของหลายๆ คนอาจหยุดอยู่แค่ที่ ‘สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ ยิ่งเมื่อมีการย้ายเส้นทาง​​การเดินรถไฟบางส่วนไปที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) ภาพจำเกี่ยวกับย่านหัวลำโพงจึงเลือนรางตามไปด้วย แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การเข้ามาของกลุ่ม ‘RTUS-Bangkok ริทัศน์บางกอก’ ทำให้เราเห็นย่านหัวลำโพงในมุมมอง มิติ รวมถึงสถานที่ใหม่ๆ มากขึ้น ผ่านการบอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของคนในชุมชน พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ที่ร่วมมือกันระหว่างเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และชาวบ้านในชุมชนเอง ตามคอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองไปพูดคุยกับ ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ แก๊งเพื่อนที่ร่วมกันทำกิจกรรมในย่านหัวลำโพงในนามของริทัศน์บางกอกกันว่า หัวลำโพงในมุมมองของพวกเขาและคนในย่านเป็นอย่างไร และในฐานะคนรุ่นใหม่ต่างถิ่นที่เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ พวกเขาทำอย่างไรถึงเชื่อมคนในและคนนอกย่านเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างลงตัว รวมตัวคนรุ่นใหม่ที่อยากลบภาพจำหัวลำโพงแบบเดิมๆ “ตอนแรกชาวบ้านเขาไม่เข้าใจว่าเรามาทำอะไร ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับพื้นที่ แล้วเขาได้อะไร ทำให้มีการปิดกั้นเล็กน้อย แต่ตอนนี้เวลาเราไปลงพื้นที่ เขาจะต้อนรับแบบเอาน้ำไหม จะจัดกิจกรรมอะไรอีกไหม” คำบอกเล่าจากปกรณ์วิศว์ในวันที่ริทัศน์บางกอกทำงานในพื้นที่ชุมชนย่านหัวลำโพงมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปี ทำให้เราเห็นภาพความเปลี่ยนแปลงและการโอบรับของผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี แม้ว่าทั้ง 3 คนจะไม่มีใครเกิดและเติบโตในย่านหัวลำโพงมาก่อนเลยก็ตาม จุดเริ่มต้นของริทัศน์บางกอกไม่ได้เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ในชุมชนเพื่อสื่อสารความเป็นตัวตนสู่สายตาคนภายนอกเหมือนอย่างย่านอื่นๆ แต่เป็นการรวมกลุ่มกันของเด็กวัยรุ่นที่มีความสนใจเรื่องเมืองคล้ายๆ […]

‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก

หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]

1 2 3 9

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.