เปลี่ยน Hogwarts ให้เป็น The World’s Best Magic School ด้วยการปรับกฎระเบียบให้ทันสมัยมากขึ้น

โลกเวทมนตร์ไม่เคยหายไปไหน ทุกอย่างยังคงดำเนินไปเหมือนทุกๆ วัน แต่โลกมักเกิลพัฒนาไปตลอดเวลา จนก้าวเข้าสู่ปี 2023 ที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความคิดของผู้คน เพราะฉะนั้นฮอกวอตส์เองก็ไม่ควรยึดติดกับกฎและข้อบังคับแบบเดิมๆ หนึ่งในปัญหาใหญ่ของเหล่าพ่อมดแม่มดในโลกเวทมนตร์คือ การปรับตัวให้เข้ากับมักเกิล โดยที่ยังต้องใช้ชีวิตตามระเบียบแบบแผนดั้งเดิมของเหล่าผู้วิเศษ เมื่อถึงเวลาต้องออกมาทำธุระในโลกมักเกิล ผู้วิเศษเหล่านี้จึงกลายเป็นคนล้าหลังกว่า 100 ปี คอลัมน์ Isekai ขออาสาไปสำรวจกฎระเบียบที่ล้าสมัยในโรงเรียนเวทมนตร์ศาสตร์อย่างฮอกวอตส์ และปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้ก้าวหน้าและทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับนักเรียนรุ่นใหม่ทั้งเลือดบริสุทธิ์ เลือดผสม รวมถึงมักเกิลที่ใช้เวทมนตร์ได้ จับรถเข็นสัมภาระไว้ให้แน่น ตั้งสมาธิ วิ่งตรงไปที่ผนังชานชาลา 9¾ แล้วเดินทางไปแก้กฎระเบียบ เพื่อทำให้ฮอกวอตส์เป็นโรงเรียนเวทมนตร์ที่ดีที่สุดกัน 🏠 Housing System เลือกบ้านได้เองและมีเกณฑ์การให้คะแนนบ้านที่ชัดเจน ‘ไม่เอาสลิธีริน ให้ไปอยู่กริฟฟินดอร์’  แต่ถ้าแฮร์รี่ในวัย 11 ปี อยากเป็นสมาชิกบ้านเรเวนคลอจะทำยังไง ถึงเวลาเกษียณอายุและปล่อยให้หมวกคัดสรรพักผ่อนบ้าง เพื่อให้เด็กปีหนึ่งได้เลือกบ้านที่อยากอยู่ด้วยตัวเอง และหากอยู่แล้วไม่พอใจก็มีสิทธิ์เปลี่ยนบ้าน เพื่อความสุขตลอดเจ็ดปีของเหล่านักเรียน รวมถึงการให้คะแนนของแต่ละบ้านก็จำเป็นต้องกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจนด้วย เพราะถ้ายังให้คะแนนเป็นรางวัลตอบแทนในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แบบที่ผ่านมา ก็จะทำให้เด็กทั้งสี่บ้านทะเลาะกันตลอดเวลาเพื่อแย่งเป็นบ้านดีเด่นในช่วงปลายปี (โดยเฉพาะบ้านเขียวและบ้านแดง) 🧥 Student Uniform ใส่ยูนิฟอร์มเฉพาะพิธีสำคัญ เราเชื่อว่านักเรียนทุกคนคงรู้อยู่แล้วว่าเพื่อนคนไหนอยู่บ้านไหน ดังนั้นน่าจะไม่จำเป็นต้องใส่ยูนิฟอร์มที่บ่งบอกสถาบันและบ้านที่สังกัดอยู่ตลอดเวลา ไหนจะเสื้อคลุมสีดำที่ใช้วัสดุเป็นผ้าหนาน้ำหนักเยอะ […]

ปากคลอง Pop-Up ครั้งแรกของ Bangkok Design Week ที่มีตัวเอกเป็นตลาดดอกไม้

“อยากให้พระเอกของงานคือร้านดอกไม้ในตลาด ส่วนผลงานเป็นเพียงพระรองที่จะทำให้การเดินตลาดรู้สึกสนุกขึ้น”  เพราะต้องการให้ปากคลองตลาดกลับมาคึกคักเหมือนในอดีต หลังจากเกิดวิกฤตโรคระบาดจนตลาดดอกไม้ซบเซา ทำให้ ‘หน่อง-ผศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์’ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมมือกับทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ก้าวขึ้นเป็นแม่งานประจำย่านปากคลองตลาดเป็นครั้งแรกกับงาน ‘ปากคลอง Pop-Up’ กิจกรรมหนึ่งใน Bangkok Design Week 2023 ของปีนี้ ในธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ ภายในงานประกอบไปด้วยโปรเจกต์และกิจกรรมจากนักสร้างสรรค์และคนในพื้นที่ที่กระจายครอบคลุมทั่วทั้งย่านปากคลองตลาด แบบที่เดินเชื่อมกันได้ตั้งแต่ลง MRT สนามไชย ผ่านยอดพิมาน ริเวอร์วอล์ค ไปยังอาคารไปรษณียาคาร ก่อนจะวนกลับมาทางถนนจักรเพชร ในระยะทางเพียง 2 กิโลเมตร  ‘ปากคลอง Pop-Up’ จัดแสดงวันนี้ – 12 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น. โดยประมาณ และจะมีบางกิจกรรมที่เปิดเฉพาะช่วงเย็น Urban Creature เลยขอนำเส้นทางนิทรรศการจากคำแนะนำของอาจารย์หน่องมาฝากทุกคน จะได้ไม่พลาดจุดน่าสนใจภายในงานกัน […]

The Professional | ศึกษาศิลปะการออกแบบดอกไม้กับร้าน Flower in Hand by P.

หากพูดถึงร้านขายดอกไม้ เรามักจะนึกถึงอาชีพคนจัดดอกไม้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในแวดวงนี้มีอาชีพ ‘นักออกแบบดอกไม้’ ด้วย ‘แพร พานิชกุล’ คือนักออกแบบดอกไม้และเจ้าของร้านดอกไม้ Flower in Hand by P. ผู้เริ่มต้นอาชีพนี้จากความหลงใหลในดอกไม้ ก่อนเริ่มหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตของตัวเองมากขึ้น ทั้งในแง่ดีไซน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความหวังว่าธุรกิจของเธอจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความครีเอทีฟให้กับเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับคนและโลกได้อย่างเป็นมิตรไปพร้อมๆ กัน

ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

Thai Lebenspartner บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักอย่างเดียว แต่เกิดจากความต้องการที่ขาดไป

ลมหนาวหวนคืนมาในทุกๆ สิ้นปี ถนนถูกปกคลุมไปด้วยความเงียบสงัด ท้องฟ้าเป็นสีควันบุหรี่รอวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพลัดถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกหนีวิถีชีวิตเดิมที่ย่ำแย่ การออกเดินทางเพื่อแสวงโชค การไปศึกษาต่อในสถาบันต่างแดน และอื่นๆ อีกมากมายที่รวมถึงเรื่องของชีวิตคู่ด้วย ผมเดินทางมายัง Koblenz เมืองที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี เพื่อพูดคุยกับ ‘พิมพ์พัฒน์ มาตรังศรี เมนด์ลิ่ง’ หรือพี่พิมพ์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาคู่ Thai Lebenspartner (คู่ชีวิตไทย-เยอรมัน) ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว  ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการทำงานและเหตุผลต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงเหตุผลที่ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีที่พี่พิมพ์เปิดโอกาสให้ผมได้ทำความรู้จักกับเรื่องราวของธุรกิจนี้ ผ่านบทสนทนากับพี่พิมพ์ เกือบสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนพลัดถิ่นฐาน เราทำมาหลายอย่างมาก เริ่มทำงานจริงๆ ตั้งแต่อายุสิบเจ็ด เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เริ่มต้นจากการเป็นสาวโรงงานที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ เราทำได้แค่สามปีก็ลาออก เนื่องจากเราเป็นคนชอบพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ตอนนั้นเราอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ด้วยความที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปลงคอร์สเรียนภาษา เราเลยตัดสินใจเข้าไปทำตำแหน่งประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียนสอนภาษาแทน ตรงนี้เองที่ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มและได้ถูกชักชวนให้ไปทำงานในสายงานนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นโฮมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่และเป็นที่นิยมในสังคมมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานทั้งประเทศก็เจอกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง บริษัทที่เราทำอยู่ก็ได้รับผลกระทบมาก แต่เจ้านายเขาไม่อยากเลย์ออฟพนักงาน เลยเลือกปรับโครงสร้างบริษัทจากเดิมที่มีเพียงแค่การนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมาเป็นบริการ One Stop Service คือรับทำงานเอกสาร ไม่ว่าจะพิมพ์งาน […]

12 สถานที่พักผ่อนร่างกายและภายใน ฮีลตัวเองให้พร้อมลุยในวันต่อไป

ใกล้จบเดือนแรกของปี 2023 แล้ว ใครที่ตั้ง New Year’s Resolution เอาไว้ ทำสำเร็จกันไปกี่อย่างแล้วนะ ถ้ายังไม่ได้เริ่มหรือรู้สึกว่าอะไรหลายๆ อย่างดูไม่ค่อยเป็นใจให้ทำสิ่งที่ตั้งใจไว้ ลองเริ่มจากอะไรง่ายๆ อย่าง ‘การพักผ่อน’ ก่อนไหม  การพักผ่อนที่ว่าไม่ได้หมายถึงนอนหลับเท่านั้น แต่รวมถึงการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านที่ช่วยให้เรารู้สึกถึงการพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในอย่างเต็มอิ่ม ตามที่ ‘Dr.Saundra Dalton-Smith’ แพทย์และนักค้นคว้าเรื่องการพักผ่อนชื่อดังเคยเล่าไว้ว่า การพักผ่อนนั้นมีอยู่ 7 ประเภท ตั้งแต่การพักผ่อนร่างกายและจิตใจ การพักผ่อนผ่านประสาทสัมผัส ไปจนถึงการพักผ่อนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ คอลัมน์ Urban’s Pick ขอรวบรวม 12 สถานที่ทั่วกรุงเทพฯ ที่เหมาะแก่การใช้เวลาพักผ่อนทั้งร่างกายและภายในมาให้ทุกคนไว้ใช้เป็นตัวเลือกในการเยียวยารักษาตัวเองกัน 01 | Physical Healingพักผ่อนร่างกาย ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เราขอเริ่มหมวดหมู่แรกด้วยการพักผ่อนร่างกาย พูดอย่างนี้หลายคนคงคิดไปถึงฟิตเนสหรือการไปนวดคอบ่าไหล่แก้อาการ Office Syndrome แต่ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ ยังมีสถานที่สำหรับพักผ่อนร่างกายอีกหลายแบบที่รอให้เข้าไปสัมผัสอยู่ Yunomori Onsen & Spa ‘Yunomori Onsen & Spa’ คือออนเซ็นและสปา ที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมการแช่บ่อน้ำแร่ร้อนแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้ากับบริการสปาอันเลื่องชื่อของไทย […]

สิทธิประกันสังคมของคนวัยทำงาน จ่ายเงินไปแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง

คนทำงานส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘ประกันสังคม’ กันอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อย่างเราๆ ต้องจ่ายทุกเดือนเพื่อสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่พึงจะได้ ซึ่งสมาชิกที่มีรายได้อาจต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดถึง 750 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การจ่ายเงินในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่การรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปและสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปีเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคมยังครอบคลุมถึงกรณีอื่นๆ เช่น คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานด้วย วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากอาสาพาทุกคนไปไขข้อข้องใจว่า ‘ประกันสังคม’ ที่เราถูกหักเงินไปทุกๆ เดือนคืออะไร จ่ายไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง และในปี 2023 สิทธิประกันสังคมมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะได้วางแผนและเตรียมใช้สิทธิ์กันได้ทัน  ประกันสังคมคืออะไร ใครจำเป็นต้องจ่ายบ้าง ‘ประกันสังคม’ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง

หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้  ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]

เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด

เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า  พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย  คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก  ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]

Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

BRAVE SHOES แบรนด์สินค้าอัปไซเคิลที่เปลี่ยนเปลือกกล้วยและเศษมะนาวให้กลายเป็นรองเท้าทรงเก๋

สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อรองเท้าบ่อยๆ อย่างเรา โอกาสที่จะหยุดดูรองเท้าสักคู่ในช็อปอาจมีไม่มาก  แต่บ่ายวันนี้ รองเท้าคู่หนึ่งชวนให้เราเดินทางมาถึงช็อปเล็กๆ ในย่านพุทธมณฑล สาย 2 เพื่อมันโดยเฉพาะ คุณอาจสงสัยว่า แล้วคนไม่ค่อยซื้อรองเท้าอย่างเราทำไปทำไม เฉลยให้ฟังว่าเพราะรองเท้าคู่นี้ไม่ใช่รองเท้าธรรมดา แต่เป็นรองเท้าหนังสังเคราะห์ที่ทำจากผักผลไม้เหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งเปลือกกล้วย เศษมะนาว และลูกมะพร้าว BRAVE SHOES คือชื่อแบรนด์รองเท้าที่เรากำลังพูดถึง เหมือนกับชื่อแบรนด์ นอกจากความกล้าที่จะใช้วัสดุซึ่งไม่เคยเห็นดีไซเนอร์ไทยคนไหนใช้มาก่อน ‘ตะวัน-กฤดิพัชร เจริญชัยปิยกุล’ และ ‘มาย-มาย การุณงามพรรณ’ สองผู้ก่อตั้งแบรนด์ยังใส่ความกล้าลงไปในแทบทุกองค์ประกอบ ไล่ไปตั้งแต่ดีไซน์รองเท้าสุดเก๋ไก๋ที่เหมือนหลุดออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง การผลิตแบบสล็อตเล็กๆ ไม่มีซีซัน ไม่ขายตลาดแมส ไปจนถึงการตั้งราคาที่สูงเมื่อเทียบกับรองเท้าแฟชั่นแบรนด์อื่น ไม่ใช่เพราะอยากให้แบรนด์มีรายได้เยอะๆ แต่อยากให้ทุกคนในสายพานการผลิตได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งคู่เอาความกล้านี้มาจากไหน ตะวันและมายพร้อมตอบคำถามเราแล้ว แบรนด์แฟชั่นยั่งยืนของเพื่อนสนิท BRAVE SHOES เปิดตัวแบรนด์ครั้งแรกบน Instagram ในเดือนธันวาคม 2564 แต่ความเป็นเพื่อนของตะวันกับมายเริ่มต้นมาเนิ่นนานก่อนหน้านั้น เรียนมัธยมฯ ที่เดียวกัน มหาวิทยาลัยก็อยู่คณะใกล้กัน ตะวันเรียนจบด้านแฟชั่นดีไซน์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนมายจบสถาปัตย์ ต่างคนต่างแยกย้ายไปใช้ชีวิตของตัวเองหลังสำเร็จการศึกษา มายผู้สนใจเรื่องความยั่งยืนเป็นทุนเดิมเปิดสตาร์ทอัปทำเทคโนโลยีที่แปลงวัสดุใช้แล้วในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ส่วนตะวันบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่อิตาลี และมีโอกาสได้ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ดีไซเนอร์ที่เมืองโคเปนเฮเกน […]

1 2 3 4 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.