Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

‘SMARTTERRA’ ตู้เลี้ยงต้นไม้อัจฉริยะ ความผ่อนคลายในเมืองไร้สวน

ท่ามกลางเมืองใหญ่ที่มีพื้นที่สีเขียวจำกัดมาก เราทุกคนล้วนต้องการสิ่งเยียวยาที่จะช่วยให้ชีวิตได้ผ่อนคลาย แต่การปลูกต้นไม้ในที่อยู่อาศัยกลับเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับคนเมืองที่อาจไม่มีเวลาดูแลเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ ‘SMARTTERRA’ จึงได้คิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีตู้เลี้ยงต้นไม้ที่จะมาช่วยเป็นอีกแรงเสริมที่คอยดูแลธรรมชาติที่คุณรักได้ทุกเวลา วันนี้ Urban Creature ขอพาไปคุยกับ ‘ฉัตรพัฒน์ จิรธันยพัต’ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฉลาด อินโนเวชั่น จํากัด ผู้สร้างนวัตกรรม ‘SMARTTERRA’ เจ้าของรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี 2021 ชวนไปฟังเบื้องลึกเบื้องหลังของตู้เลี้ยงต้นไม้นี้ว่ามีขั้นตอนการทำงานยังไง และเทคโนโลยีจากฉลาด อินโนเวชั่น มีความพิเศษอะไรอีกบ้าง อย่ารอช้า ตามมาเลย

จัดสวนขวดและตู้เลี้ยงไม้เยียวยาใจ ‘Curve Studio’ | THE PROFESSIONAL

“พอพื้นที่สีเขียวมันน้อยลง คนก็อยากได้พื้นที่สีเขียวเล็กๆ นี้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ควรจะมีพื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เขามีภาพจำดีๆ แล้วอยากจะถ่ายทอดเก็บไว้ดูในวันอื่นของเขาบ้าง” ‘เอิร์ท-พลานนท์ จันทร์เซียน’ จาก ‘Curve Studio’ นักจัดสวนขวดและตู้เลี้ยงต้นไม้ อดีตผู้ไม่ชอบการปลูกต้นไม้เพราะเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน แต่การลาออกจากงานที่ต้องทำด้วยความเครียดทำให้เขาได้ลองสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ชอบดูบ้าง เมื่อได้มาสัมผัสธรรมชาติจากการจัดสวนในขวดแก้ว กิจกรรมนี้ก็ช่วยปลดล็อกจากความเครียด จนเขาได้พบกับความสร้างสรรค์ การผ่อนคลาย และการเยียวยาจิตใจ THE PROFESSIONAL วันนี้พาทุกคนพักสายตาไปชมสิ่งน่าสนใจสีเขียวๆ ทำความรู้จักกับอาชีพ ‘นักจัดสวนขวด’

ไปปรับสมดุลร่างกาย บำรุงหัวใจ และเสริมสร้างจิตวิญญาณ ที่งาน ‘ข้างใน Festival’

‘ปัจจุบัน’ เป็นเรื่องยาก และเราถอยห่างจากช่วงเวลาตรงหน้าทุกขณะ เพราะมีสิ่งต่างๆ มากมายที่เข้ามากระทบจิตใจให้เรานึกย้อนกลับไปหาอดีต และกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ  นอกจากร่างกายที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี หัวจิตหัวใจก็เป็นเรื่องสลับซับซ้อนและต้องคอยเยียวยารักษา การหมั่นสำรวจข้างในอยู่เสมอคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตเกิดความสมดุล ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือกพาตัวเองลุกจากที่นอนในวันหยุดแสนน้อยนิด ออกไปใช้ชีวิตอยู่กับช่วงเวลาปัจจุบัน ในงาน ‘ข้างใน Festival’ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะช่วยทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นกับโลกข้างนอก ได้กลับมาสงบเงียบและมีชีวิตชีวามากขึ้น  ‘ข้างใน Festival’ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ‘Muchimore’ ชุมชนผู้คอยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงพาทุกคนกลับมาดูแลจิตใจ และเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาพักใจ พร้อมกับศาสตร์ต่างๆ มากมายที่ช่วยให้สติเกิดความมั่นคง และจิตวิญญาณได้กลับมาสว่างไสว  งานครั้งนี้ มัชฌิมอร์ได้ขยายพื้นที่จากข้างในอาคาร Awareness Space ออกไปสู่พื้นที่กว้างในสวนวนธรรม และรวบรวมเหล่ากิจกรรมฮีลจิตใจไว้อย่างครอบคลุมหลากหลาย คอลัมน์ Experimentrip อยากพาทุกคนออกเดินทางย้อนกลับไปข้างในอีกครั้ง เพื่อสำรวจสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและนำมันมาทบทวนเพื่อก้าวต่อไปในชีวิตปัจจุบัน  เราอยู่ที่ไหน เรามาทำอะไร แม้แดดต้นปีจะแรง แต่ปลายฤดูหนาวก็ยังทำให้ลมเย็นๆ พัดมาสัมผัสผิวอยู่บ้าง เมื่อเดินเข้าไปในสวนวนธรรม การถูกห้อมล้อมด้วยเสียงนกร้องกับพื้นที่สีเขียว ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากการเดินทางบนท้องถนนที่ผ่านมาไม่น้อย ผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างทยอยกันเข้ามาในสวนหนาตา ‘สนัด-ณัฐพงษ์ โสธรวัฒนา’ ผู้ก่อตั้ง Muchimore เริ่มต้นต้อนรับทุกคนด้วยคำถามที่ว่า “วันนี้เราอยู่ที่ไหน และวันนี้เรามาทำอะไร” เพื่อเน้นย้ำให้สติของทุกคนในเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาอยู่กับลมหายใจของปัจจุบัน และเมื่อการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งสงบนิ่ง […]

นโยบายรักษ์โลกแบบ ‘Patagonia’ ของ ‘อีวอง ชูนาร์ด’ มหาเศรษฐีผู้ไม่อยากเป็นนักธุรกิจ 

จากเด็กที่ได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติในวัย 14 ปี เติบโตมาเป็นนักปีนเขาที่ยืมเงินพ่อแม่สามหมื่นกว่าบาทมาสร้างหมุดปีนเขาใช้เองและแบ่งขายเพื่อนฝูง จนในปี 1970 เขากลายเป็นเจ้าของบริษัทขายอุปกรณ์ปีนเขาเจ้าใหญ่ในอเมริกา แต่เมื่อพบว่าหมุดเหล็กที่เขาสร้างขึ้นส่งผลกระทบต่อภูเขา เขาจึงตัดสินใจเลิกขายและใช้เวลาสองปีค้นคว้าออกแบบหมุดปีนเขาที่ใช้เกี่ยวกับร่องหินโดยไม่เจาะเข้าไปให้ภูเขาได้รับผลกระทบใดๆ  มาถึงปี 1973 ชายคนนั้นมองหาเสื้อผ้าสำหรับใส่ปีนเขาซึ่งมีคุณภาพอย่างที่ต้องการไม่เจอ จนได้พบ Fitz Roy หุบเขาแห่งหนึ่งใน Patagonia ประเทศอาร์เจนตินา เขาจึงได้เห็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์เสื้อผ้าปีนเขาที่อยากใส่  ผ่านเวลามา 50 ปี ‘อีวอง ชูนาร์ด’ (Yvon Chouinard) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง ‘Patagonia’ (พาทาโกเนีย) แบรนด์เสื้อผ้าเอาต์ดอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ครองใจคนทั้งโลก มีรายได้มากมายจนกลายเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่ง และใช้ชีวิตการทำงานเป็นนักธุรกิจที่เจ้าตัวไม่ได้อยากเป็น เดินหน้าสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีหัวใจหลักคือ ‘ความยั่งยืน (Sustainability)’ ตลอดมา นโยบายธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ชูนาร์ดพูดอยู่เสมอว่า เขาไม่เคยคิดอยากเป็นนักธุรกิจ แต่ถ้าต้องเป็นนักธุรกิจ ก็จะเป็นนักธุรกิจแบบที่เขาอยากเป็น และนี่คือตัวอย่างบางส่วนของนโยบายของนักปีนเขาที่ต้องมาทำธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตพาทาโกเนียมีโรงงานที่ใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ รวมถึงมีอาคารสำนักงานที่ประหยัดพลังงาน และอาคารสีเขียวที่ผ่านการประเมินคะแนนวัดระดับอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design)  สินค้าของพาทาโกเนียใช้วัตถุดิบหลักเป็นผ้าฝ้าย […]

KIDS’ VIEW นิทรรศการภาพถ่ายฟิล์มครั้งแรกจากมุมมองเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้

ปัตตานีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความสร้างสรรค์เป็นพลังช่วยเคลื่อนเมืองให้พ้นจากมุมมองและภาพจำเกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทุกวันนี้เราได้เห็นศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของพื้นที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองที่ดีของจังหวัดทางใต้แห่งนี้  สำหรับชาวเมืองหลวงที่ยังไม่มีโอกาสไปปัตตานี เราอยากชวนไปงานอีเวนต์ของคนจากปัตตานีที่จัดแสดงอยู่ในกรุงเทพฯ ชื่อว่า ‘KIDS’ VIEW’ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายผ่านมุมมองทางสายตาของน้องๆ นักเรียนชั้น ม.ปลาย ทั้งหมด 19 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ‘มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา’ (Nusantara Patani) พวกเขาได้ถ่ายทอดมุมมองผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพถ่ายกว่า 70 ภาพ เพื่อให้ผู้คนนอกพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนรายละเอียดวิถีชีวิต ความนึกคิด และสิ่งที่เด็กกำพร้าในสามจังหวัดชายแดนใต้มองเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น  ความน่าสนใจของภาพถ่ายในงานนี้คือ ‘การใช้กล้องฟิล์มครั้งแรก’ ของน้องๆ  “เอากล้องทอยให้น้องไปคนละตัวและให้ฟิล์มกันไปคนละม้วน” อำพรรณี สะเตาะ อาจารย์จากสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายชาวปัตตานี จากวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกเล่าถึงการดำเนินงานของนิทรรศการ KIDS’ VIEW ให้ฟัง  อาจารย์ใช้เวลาพูดคุยกับเด็กๆ รวมถึงจัดเวิร์กช็อปการใช้กล้องฟิล์ม 101 เล่าความรู้เบื้องต้นการถ่ายภาพให้กับน้องๆ เป็นเวลา 10 กว่าวัน จากนั้นก็ปล่อยให้เหล่าช่างภาพมือใหม่ลงสนามตามหาสิ่งที่อยากถ่าย โดยไร้ซึ่งคอนเซปต์ ไม่มีการตีกรอบทางความคิดใดๆ  หลังจากที่อาจารย์นำฟิล์มครั้งแรกของน้องๆ ไปล้างและอัดรูปแล้ว ภาพทั้งหลายที่ได้มาล้วนมีเอกลักษณ์และมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะจะถ่ายอะไรก็ได้ ทั้งในชุมชน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.