“เจ้านายฮับ ผมมีเพื่อนได้กี่ตัว” ข้อบัญญัติควบคุมการเลี้ยงสัตว์ กทม. กับปัญหาสัตว์เลี้ยงล้นเมือง

เจ้านายฮับ ผมมีเพื่อนได้กี่ตัวกัน ช่วงนี้เทรนด์ Pet Parenting คนหันมาเลี้ยงสัตว์แทนลูกกันมากขึ้น ด้วยค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดที่น้อยกว่า รวมถึงสภาพสังคมไทยที่ไม่เอื้อกับการเลี้ยงมนุษย์สักคนขึ้นมา การมีหมาแมวตัวน้อยคอยชุบชูจิตใจในวันเหนื่อยล้า เป็นครอบครัวเดียวกัน และมีเพื่อนในวันเหงาๆ เจ้าสัตว์น้อยสี่ขา (หรืออาจจะน้อยกว่า) จึงเป็นทางเลือกของคนส่วนมากในยุคนี้ สัตว์ล้นบ้าน เจ้าสี่ขาล้นเมือง ทว่าในระหว่างการเลี้ยงดูที่คนให้ความสนใจกับสัตว์เลี้ยงกันมากขึ้น ปรากฏว่าเรากลับเห็นข่าวเกี่ยวกับจำนวนสัตว์เลี้ยงที่มากเกินขนาดพื้นที่ จนกลายเป็นเหตุรบกวนเพื่อนบ้านและบริเวณโดยรอบ หรือเมื่อมีจำนวนมากเกินกว่าที่บ้านหลังหนึ่งจะรับดูแลไหว ก็กลายเป็นว่าเจ้าของกลับทิ้งน้อง ปล่อยกลายเป็นสัตว์จรจัดเสียอย่างนั้น อย่างช่วงเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มีข่าวการร้องเรียนเพื่อนบ้านที่เลี้ยงแมวจำนวนมากถึง 50 ตัวในพื้นที่บ้าน ในหมู่บ้านย่านรามอินทรา ซึ่งเป็นเหตุให้ส่งกลิ่นรบกวนเพื่อนบ้านตลอดเวลา ร่วมกับความเป็นห่วงต่อสุขอนามัยและชีวิตความเป็นอยู่ของแมวเหล่านั้น จากการต้องอัดกันอยู่ในพื้นที่ขนาดไม่เหมาะสมกับปริมาณ ประกอบกับข้อมูลของอาสาสมัครสาธารณสุขของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 67 แห่งในกรุงเทพฯ พบว่า ปี 2567 กรุงเทพมหานครมีจำนวนสุนัขและแมวมากถึง 198,688 ตัว โดยแบ่งเป็นสุนัขที่มีเจ้าของ 53,991 ตัว จรจัด 8,945 ตัว รวม 62,936 ตัว และแมวที่มีเจ้าของ 115,827 ตัว จรจัด 19,925 ตัว รวม […]

เปลี่ยนพื้นที่ว่างใต้ BTS ให้เป็น ‘จุดนั่งรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์’ ลดปัญหาการแออัดบนบันไดและฟุตพาท

ฝนตก แดดออก รอรถไฟฟ้าก็ว่าเหนื่อยแล้ว หลายคนยังต้องลงมาท้อกับการเข้าแถวรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ จนเกิดเป็นความแออัดบนทางเท้าที่บางครั้งก็ยาวไปถึงตีนบันได BTS อีกต่อ เพราะการเดินทางด้วยรถไฟฟ้ายังคงมีเพียงบนถนนเส้นหลัก ในขณะที่บ้านของเราหลายคนตั้งอยู่ในซอกซอยที่ขนส่งสาธารณะไปไม่ถึง การเชื่อมต่อด้วยมอเตอร์ไซค์หรือแท็กซี่จึงกลายเป็นชอยส์ที่ดีที่สุด อีกทั้งบางทีพื้นที่ทางเท้าใต้บีทีเอสยังกลายเป็นจุดจอดวินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ทั้งที่มีป้ายกำกับไว้ชัดเจนว่าห้ามจอด หรือซ้ำร้ายบางแห่งก็ถูกปล่อยว่างไว้เฉยๆ โดยไม่ได้ใช้งาน จนกลายเป็นจุดบอดที่สร้างความน่ากลัวให้กับคนที่ผ่านไปมาวันนี้คอลัมน์ Urban Sketch ขอหยิบเอาปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขด้วยการออกแบบจุดรอแท็กซี่และวินมอเตอร์ไซค์ใต้บันไดบีทีเอสซะเลย เผื่อจะช่วยลดปัญหาความแออัดในการยืนรอ รวมถึงป้องกันปัญหาการใช้พื้นที่ผิดวิธีอีกด้วย 1) ไร้กังวลฝนตกฟ้าร้อง ด้วยส่วนหลังคาต่อขยาย ฝนจะตก ฟ้าจะถล่มก็ไม่ต้องกลัว เพราะเราได้ขยายหลังคาบีทีเอสออกทั้งสองด้าน เพื่อให้การเดินทางไร้รอยต่อ สามารถเชื่อมการเดินทางจากบันไดบีทีเอส สร้างเส้นทางเดินยาวไปยังจุดนั่งรอได้สบายๆ  2) รอได้สะดวก ด้วยที่นั่งใต้บันไดทางลงรถไฟฟ้า ที่ว่างโล่งๆ ใต้บันไดบีทีเอสบางครั้งอาจถูกนำไปใช้ผิดวิธี ทั้งกลายเป็นจุดจอดมอเตอร์ไซค์ พื้นที่ขายของ หรือปล่อยว่างไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร เราขอปรับเป็นม้านั่งยาวๆ ให้ผู้ที่ต้องการเดินทางต่อเนื่องจากบีทีเอส หรือใครก็ตามที่ต้องการรอรถแท็กซี่และมอเตอร์ไซค์ได้มีที่นั่งกัน ไม่ต้องกลัวเมื่อยหรือขวางเส้นทางเดินเท้าของผู้ที่สัญจรผ่านไปมา 3) ปลอดภัย สบายใจ ด้วยไฟสว่างและ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยความมืดยามค่ำคืนผสมกับเงาใต้บันไดบีทีเอส ที่อาจทำให้พื้นที่นี้กลายเป็นพื้นที่มืดๆ น่ากลัว แต่ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะเราจะติดตั้งหลอดไฟและกล้องวงจรปิดตลอด 24 […]

‘Nifty Elderly’ แบรนด์ของเล่นที่ขอเปลี่ยนเรื่องเล่นๆ ให้เป็นการเรียนรู้ของผู้สูงวัย

อาจจะจริงอย่างที่เขาว่ากันว่า พอแก่ตัวลงก็เหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ทั้งความช้า ความงอแง หรือความคิดอะไรหลายๆ อย่างที่อาจทำให้หวนคิดถึงเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ถึงแม้หลายสิ่งหลายอย่างของเด็กกับผู้สูงวัยจะคล้ายกัน แต่สำหรับพัฒนาการหรือระบบการเรียนรู้นั้นกลับไม่ใช่ เพราะระหว่างเด็กและผู้สูงวัยมีรูปแบบความคิดและพัฒนาการที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน วันนี้คอลัมน์ Re-desire ได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องพัฒนาการและการคงไว้ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุผ่าน ‘Nifty Elderly’ ของเล่นของแต่งบ้านสำหรับผู้สูงอายุ แบรนด์ที่ขอเข้ามาใส่ใจความเป็นไปและสุขภาวะของผู้สูงอายุให้ละเอียดขึ้น หลายคนอาจเคยเห็นแบรนด์นี้ผ่านตามาจากงาน Creative Economy Agency (CEA) เพราะเจ้า Nifty Elderly ได้รับรางวัลความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ ประจำปี 2567 ประเภทพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม (Creative Social Impact Awards) ในหมวด Creative Well-Being Award โดย ‘สมฤทัย เลิศเทวศิริ’ เจ้าของแบรนด์ และ ‘รศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ’ ผู้ออกแบบ ได้เล่าถึงแรงบันดาลใจในการสร้าง Nifty Elderly ให้เราฟังอย่างอบอุ่น “ตอนนี้สังคมโลกกำลังอยู่ในสังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดน้อยลงมาก ส่วนผู้สูงอายุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมกับความเสื่อมถอยในสมรรถนะ เพราะกระบวนการเรียนรู้ของผู้สูงอายุกับเด็กต่างกัน” เปรียบเทียบกระบวนการเรียนรู้ที่แตกต่างกันง่ายๆ เป็นภาพของระฆังคว่ำหรือ […]

#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.