เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สาหัสสำหรับพิพิธภัณฑ์ทั่วทุกมุมโลก เพราะตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด วงการพิพิธภัณฑ์ก็ซบเซาไปมาก
เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมากในปีที่ผ่านมา นอกจากนิทรรศการที่วางแผนไว้จะถูกเลื่อนไปแล้ว จำนวนผู้คนที่แวะเวียนมาชื่นชมศิลปะยังลดลงเหลือเพียงแค่ 1 ใน 4 ของปีก่อนหรือประมาณ 675,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้เปิดทำการมา
แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคประชาชนที่โหยหาประสบการณ์การรับชมงานศิลปะนี้เอง ทำให้พิพิธภัณฑ์เยียวยาประชาชนและวงการศิลปะด้วยการอัปโหลดผลงานในครอบครองกว่า 700,000 ชิ้น ให้ประชาชนเข้าชมออนไลน์ฟรี แบบ HD ผ่านแคมเปญ #Rijksmuseumfromhome
นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังให้บริการ Virtual Tour หรือระบบนำทัวร์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ให้ทุกคนได้รับชมผลงานระดับโลกได้อย่างใกล้ชิดทั้งภาพและเสียงราวกับเดินอยู่แต่ละห้องของพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเอง
เข้าไปเยี่ยมชมคลังผลงานศิลปะดีๆ ได้ที่ www.rijksmuseum.nl/en/
RELATED POSTS
‘Holy Water’ สระว่ายน้ำสาธารณะในโบสถ์เก่า ที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลายกิจกรรม
เรื่อง
Urban Creature
ปกติแล้วสถานที่ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ใช้งาน หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็มักถูกปล่อยทิ้งร้างจนเสียหาย หรือถ้าอยู่ในพื้นที่ชุมชนก็อาจมีการรีโนเวตเพื่อทำธุรกิจใหม่ๆ แต่ถ้าหากเป็นสถานที่เก่าแก่ทางศาสนา มีประวัติศาสตร์และองค์ประกอบที่สวยงาม จะเปลี่ยนให้เป็นอะไรได้บ้าง โบสถ์ St. Francis of Assisi ใน Heerlen ประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างขึ้นในปี 1923 และเคยเป็นพื้นที่พบปะทางสังคม ทว่ากลับถูกปล่อยทิ้งให้ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้งานมานานกว่าสองปีแล้ว สตูดิโอระดับโลกสัญชาติดัตช์ ‘MVRDV’ และ ‘Zecc Architecten’ จึงร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงให้โบสถ์เก่าแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง Winy Maas ผู้ร่วมก่อตั้ง MVRDV มองว่า โบสถ์ที่ว่างและไม่ได้ใช้งานแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เขาอยากสร้างสรรค์อาคารทางศาสนาเหล่านี้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์ และพักผ่อนหย่อนใจ เกิดเป็นไอเดียของสระว่ายน้ำ ‘Holy Water’ ขึ้นมา ภายในอาคารแห่งนี้ประกอบด้วยสระว่ายน้ำซึ่งเป็นพื้นที่หลัก โดยความท้าทายในพื้นที่นี้คือ การให้ความร้อนแก่พื้นที่สระว่ายน้ำอย่างเพียงพอ และต้องระวังเรื่องความชื้นของสระว่ายน้ำที่จะทำปฏิกิริยากับวัสดุเก่าของโบสถ์ ดังนั้นการออกแบบจึงออกมาในลักษณะของผนังกระจกรอบสระว่ายน้ํา หลังคาของโบสถ์หุ้มฉนวนจากภายนอกเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนมากเกินไป ในขณะที่ยังคงมองเห็นอิฐเดิมจากด้านใน การออกแบบลักษณะนี้จะช่วยประหยัดพลังงานภายในอาคาร รวมถึงยังช่วยรักษาองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์ของโบสถ์เอาไว้มากที่สุดด้วย เช่นเดียวกับม้านั่งเก่าที่นำกลับมาใช้งานสำหรับคนที่เข้ามาว่ายน้ำ มีที่นั่งด้านนอกบริเวณทางเดินที่มองเข้ามาเห็นสระว่ายน้ำได้ และโต๊ะร้านกาแฟซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งภายในโบสถ์แห่งนี้ นอกจากสระและร้านกาแฟแล้ว พื้นของสระว่ายน้ำแห่งนี้ยังปรับขึ้น-ลงได้ เพื่อให้โบสถ์ใช้พื้นที่ได้หลากหลายมากขึ้น […]
War & Women’s Human Rights Museum สถานที่บอกเล่าเรื่องราวที่สตรีเกาหลีใต้ต้องเผชิญในสงครามญี่ปุ่น-เกาหลี
เรื่อง
Urban Creature
แม้สงครามระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีจะจบลงนานแล้ว แต่ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต้องเผชิญในเวลานั้นยังคงอยู่ และรอคอยคำขอโทษมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day หรือ IWD) ที่ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี Urban Creature ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘War & Women’s Human Rights Museum’ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี ในประเทศเกาหลีใต้ War & Women’s Human Rights Museum อาจไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ที่คุ้นหูนักท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดมาแล้วกว่า 13 ปี ตั้งแต่ปี 2012 โดยปรับปรุงจากบ้านที่มีอยู่เดิมบนเชิงเขาซองมี ในเขตมาโปของกรุงโซล บนพื้นที่ทั้งหมด 308 ตารางเมตร ที่แบ่งออกเป็นสองชั้นบนดินและหนึ่งชั้นใต้ดิน พิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบมาในรูปแบบของกำแพงอิฐสีเทาดำ มีประตูที่เล็กกว่าประตูบ้านขนาดปกติเพียงบานเดียวเป็นทางเข้า-ออก อีกทั้งยังไม่มีป้ายบอกทางขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆ มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินไปในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เชิงบรรยาย ที่จะมีไกด์ร่วมเดินกับผู้เยี่ยมชมคอยบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกพิพิธภัณฑ์ไปแต่ละส่วน โดยที่ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถรู้ล่วงหน้าผ่านป้ายได้ว่าพวกเขาจะต้องเจอเข้ากับอะไรเป็นลำดับถัดไป เพื่อนำเสนอถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่หญิงชราต้องเผชิญเมื่อพวกเธอถูกพาตัวไปในสงครามในฐานะสตรีบำเรอกาม การออกแบบภายใน War & Women’s Human […]
ขนหัวลุกกับน้าผี ไปเรียนรู้เรื่องไทยๆ ในช่วงค่ำคืนส่งท้ายปีกับงาน ‘What’s Thai วัดไทย 2024’ วันที่ 20 – 22 ธ.ค. 67 ที่ Museum Siam
เรื่อง
Urban Creature
Night at the Museum กลับมาชวนให้ทุกคนได้ออกมาใช้ชีวิตและเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ในช่วงค่ำคืนกันอีกครั้ง โดยในปีนี้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 14 แล้ว และแน่นอนว่าก็ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกมากมายทั่วกรุงเทพฯ ที่เข้าร่วมเทศกาลนี้ และเชื้อเชิญให้ชาวเมืองได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมสถานที่ในตอนกลางคืนกัน เช่นเดียวกับที่ Museum Siam ที่ในปีนี้มาพร้อมกับตอน ‘What’s Thai วัดไทย 2024’ ที่จะพาไปเรียนรู้เรื่องราวความเป็นไทยผ่านความสนุกในแบบไท้ป์ไทย จากปกิณกะ ประวัติศาสตร์ งานรื่นเริงของวัดไทย สื่อสารความเป็นไทยที่สะท้อนอัตลักษณ์และวิถีชีวิตของคนไทยผ่านทุนทางวัฒนธรรมที่กลายมาเป็นอำนาจทางวัฒนธรรมทั่วโลก รวมไปถึงยังมี ‘Ghost Power ส่งผีไทย ไปผีโลก’ เรื่องของผีไทยที่จะทำให้ทุกคนได้ใกล้ชิดและตามติดเรื่องราวในแง่ของตำนาน การแบ่งปันประสบการณ์ และการเล่าเรื่องราวของผีที่เราเองอาจไม่เคยรู้มาก่อน พร้อมกิจกรรมชวนขนหัวลุกอื่นๆ อีกมากมายจัดแสดงขึ้นในห้องคลังความรู้อีกด้วย มากไปกว่านั้น ตลอดทั้งสามวันนี้จะมีกิจกรรมมากมายกว่าแค่เปิดห้องให้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นโชว์ต่างๆ ทอล์ก รวมไปถึงคอนเสิร์ต ที่ชวนให้มาสนุกกันฟรีๆ ตั้งแต่ 16.00 – 22.00 น. What’s Thai วัดไทย 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 – 22 ธันวาคม […]
‘ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ’ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เปิดนิทรรศการพิเศษ จัดแสดงสิ่งของน่ารู้จากคณะและหน่วยงานต่างๆ 2 ต.ค. – 27 ธ.ค. 67 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เรื่อง
Urban Creature
นอกจากเป็นสถานศึกษาแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีของเด็ดของดีอย่างเหล่าพิพิธภัณฑ์เจ๋งๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ภายในคณะต่างๆ แต่ด้วยข้อจำกัดของการเป็นสถานที่กึ่งปิดกึ่งเปิด ทำให้มิวเซียมเลิฟเวอร์หรือคนภายนอกไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสมิวเซียมเหล่านี้เท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ได้จัดนิทรรศการพิเศษ ‘ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ’ ซึ่งเป็นการรวบรวมของดีจากพิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ มาจัดแสดงร่วมกันเพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าชม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะและหน่วยงานหลายภาคส่วนภายในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น 1) สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม (พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน, พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์, เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, หอสมุดดนตรีไทย และหอศิลป์จามจุรี)2) คณะวิทยาศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ, พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา และพิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์)3) คณะทันตแพทยศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ และพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)4) ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งน่าน และพิพิธภัณฑ์ศิลป์-สินธรรมชาติ จ.สระบุรี)5) สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ (พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน)6) คณะเภสัชศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์สมุนไพร)7) คณะสัตวแพทยศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์)8) คณะอักษรศาสตร์ (พิพิธพัสดุ์ ไท-กะได)9) คณะแพทยศาสตร์ (หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ) โดยการจัดแสดงภายในนิทรรศการนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ […]