“สวนลุมพินี” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “สวนลุม” เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2468 และถือเป็นสวนสาธารณะที่มีผู้มาใช้งานประมาณ 1-1.5 หมื่นคนต่อวัน
ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงเตรียมแผนที่จะปรับภูมิทัศน์และปรับปรุงทัศนียภาพต่างๆ ภายในสวน เพื่อให้ที่นี่กลายเป็นสวนสาธารณะระดับโลกที่สร้างสรรค์และทันสมัย เพื่อเฉลิมฉลองสวนลุมพินีครบรอบ 100 ปี ในปี 2568
โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งว่าการปรับปรุงจะเป็น 3 เฟส ซึ่งเฟสแรกจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน-ระบบสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จภายในปี 2564 ส่วนเฟส 2 จะเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ และเฟส 3 เป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ยังไม่เปิดใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
RELATED POSTS
‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ ให้พื้นที่สีเขียวในเมืองช่วยเยียวยาใจ ด้วยลายแทง 5 สวน 5 กิจกรรม จาก 5 วิทยากร
เรื่อง
Urban Creature
ถ้าอยากหาที่พักใจในเมืองใหญ่แต่ไม่รู้จะไปไหน เราขอชวนมา ‘Parkใจในสวน’ ด้วยกัน ก่อนหน้านี้นิตยสารสารคดีได้จัดกิจกรรม ‘Parkใจในสวน คู่มือแผนที่ Parkใจ’ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสธรรมชาติในพื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ในกรุงเทพฯ และล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาก็ได้มีการเปิดตัว ‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ โดยแจกแผนที่รูปแบบกระดาษให้กับผู้ที่มาร่วมกิจกรรม ใครที่พลาดกิจกรรมไปแต่อยากได้แผนที่ไว้ในครอบครองก็ไม่ต้องเสียดาย เพราะล่าสุดทางสารคดีได้อัปโหลดแผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน ฉบับออนไลน์ออกมาให้เราโหลดเก็บไว้ไปใช้งานฟรีๆ ผ่านแพลตฟอร์ม ‘ANSi by สารคดี’ ภายในเล่มประกอบด้วย 5 สวนสาธารณะต้นแบบจาก 5 วิทยากร ที่มาพร้อมกิจกรรมให้คอนเนกต์กับธรรมชาติภายในสวน เพื่อแนะนำสวนสาธารณะในมิติใหม่ๆ ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้ ได้แก่ – สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) จาก ‘มล-สิรามล ตันศิริ’ กระบวนกรด้านธรรมชาติ จากกลุ่ม Mycorling– สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จาก ‘ครูกุ้ง-ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์’ นักบันทึกธรรมชาติ เจ้าของเพจ บันทึกสีไม้byครูกุ้ง– สวนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสวนกรมประชาสัมพันธ์ จาก ‘บาส-ปรมินทร์ […]
ชาว Urban Creature และถิ่นที่อยู่ รวมสถานที่โปรดบ้านฉันย่านเธอ ที่อยากให้ทุกคนรู้จักและไปเยี่ยมเยียน
เรื่อง
Urban Creature
ร้านอาหารตามสั่งร้านโปรด พื้นที่สีเขียวที่ใกล้จะหายไป สวนสาธารณะที่แอบซ่อนตัวอยู่ใต้ทางด่วน ทั้งหมดนี้แม้ไม่ใช่สถานที่เก๋ๆ แลนด์มาร์กน่ามาเยือนที่จะพบเห็นได้ตามโซเชียลมีเดีย แต่กับคนที่อยู่อาศัยในย่านนั้นๆ พื้นที่เหล่านี้อาจเป็นที่พักใจและคอมฟอร์ตสเปซที่คอยให้ความอบอุ่น น่ารัก และทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงเรากับย่านที่อยู่อาศัย หลังจากแนะนำสถานที่น่าไปในคอลัมน์ Urban Guide มานาน Urban Creature ก็อยากชี้ชวนให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ที่อาจไม่สวย ไม่เก๋ ไม่มีคอนเซปต์ว้าวๆ เท่าคาเฟ่ ร้านรวง หรือสเปซเจ๋งๆ ทว่าล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อความทรงจำ และทำหน้าที่คล้ายเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนที่อยู่ในย่านนั้นๆ บ้าง เราเลยปัดฝุ่นนำคอลัมน์ Add to my List มารีโนเวต จากที่เคยแนะนำความชอบและสิ่งละอันพันละน้อยของแขกรับเชิญให้ผู้อ่านไปตามอ่านตามดูตามอิน ก็ขอเปลี่ยนมาเป็นการแนะนำสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของเขาให้ทุกคนไปตามรอยแทน หรือต่อให้ไม่สามารถเดินทางไปได้ อย่างน้อยความทรงจำ ความชอบ ความผูกพันของแต่ละคนที่มีให้ย่านที่อยู่และสถานที่นั้นๆ ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านอิ่มอกอิ่มใจ สำหรับการประเดิม เราขอชวนไปส่องสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของชาว Urban Creature กันก่อน หลังจากนี้จะเป็นย่านไหน สถานที่โปรดของใคร ไว้มารอดูไปด้วยกันน้า ชื่อ : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editorย่านที่อยู่ : ราชเทวีระยะเวลาอยู่อาศัย : […]
สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่
เรื่อง
จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์
นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]
mapmap parti แพลตฟอร์มสำรวจความเห็นและพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่สีเขียว ด้วยการปักหมุดหรือค้นหา ‘สวนสาธารณะใกล้ฉัน’
เรื่อง
Urban Creature
เคยไหม อยากไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะใกล้ๆ แต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนบ้าง หรือหลายครั้งเหตุผลอาจกลับกัน เพราะใกล้ๆ เรามีพื้นที่สีเขียวลับๆ ที่อยากป่าวประกาศให้คนรู้ แต่ไม่รู้จะบอกยังไง ‘mapmap parti’ คือแพลตฟอร์มที่ชวนทุกคนมาแชร์ประสบการณ์การใช้พื้นที่สาธารณะสีเขียว ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำรวจการใช้งาน ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อพื้นที่ เพื่อที่จะช่วยรวบรวมและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาสวนให้ดีและตรงใจผู้ใช้งานมากขึ้น ซึ่งเป็นผลงานจาก mapmap แพลตฟอร์มร่วมขับเคลื่อนกลไกข้อมูลเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจาก ‘สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)’ ขั้นตอนการใช้งานแพลตฟอร์มคือ เริ่มต้นด้วยการแชร์สวนสาธารณะที่เราใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการปักหมุดสวนที่หายไป หรือเลือกสวนจากพื้นที่ที่มีคนปักหมุดไว้ก่อนหน้า จากนั้นตอบคำถามสั้นๆ 4 หมวด เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน การใช้งานพื้นที่ ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาพื้นที่ ส่วนใครที่กังวลว่าแพลตฟอร์มจะเก็บข้อมูลครบจริงหรือเปล่า แล้วถ้าอยากชื่นชมบางพื้นที่ของสวนแล้วอยากให้มาปรับปรุงบางมุมล่ะ จะทำได้ไหม เราขอตอบเลยว่าทำได้ เพราะจากที่ลองเล่นมา สามารถปักหมุดได้ละเอียดสุดๆ อาจจะใช้เวลามากเสียหน่อยแต่รับรองว่าได้ผลตรงใจแน่นอน พอทำแบบสำรวจเสร็จ เพียงเท่านี้ mapmap parti ก็จะประมวลผลจนได้ออกมาเป็นน้อง mapmap ในคาแรกเตอร์ที่ตรงกับการใช้งานของเราในแต่ละสวน แถมยังมีบอกด้วยว่า เราจะเผาผลาญพลังงานได้มากน้อยแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์ถ้ามาใช้บริการสวนสาธารณะแห่งนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต สวนสีเขียวที่ทุกคนปักหมุดและเสนอคำแนะนำไปอาจถูกนำไปพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้นและตรงใจเราก็ได้ ยังไงลองเข้าไปเล่นกันดูที่ parti.mapmap.city/park