หลังจากที่เปิดให้บริการค้นหาสถานที่ตรวจ COVID-19 ใน Google Maps ไปเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ Apple ได้เริ่มให้บริการค้นหาสถานที่เข้ารับการฉีดวัคซีนในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาแล้ว
ผู้ใช้ Apple ในสหรัฐฯ สามารถค้นหาคำว่า ‘สถานที่ฉีดวัคซีน COVID-19’ ใน Apple Maps หรือถาม Siri ว่า ‘ฉันจะเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่ไหนบ้าง’ เพื่อค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีนที่ใกล้คุณมากที่สุดและทำการนัดเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนต่อไป Apple Maps จะแสดงเครื่องหมายดอกจันสีแดงเพื่อแสดงสถานที่ฉีดวัคซีนกว่า 20,000 แห่ง ที่พร้อมให้บริการทั่วสหรัฐอเมริกาและคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
นอกจากนั้น ยังให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น การจัดรายการพอดแคสต์สั้นๆ ให้ข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ COVID-19 และเป็นที่น่าสนใจว่าบริการค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีนนี้จะให้บริการในพื้นที่ประเทศไทยได้เมื่อไหร่ ต้องติดตามกัน
RELATED POSTS
ไทยเตรียมยกเลิกบังคับสวมหน้ากากอนามัย หลังพิจารณาโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น คาดกลาง มิ.ย. 65 เริ่มถอดเฉพาะพื้นที่นำร่อง
เรื่อง
Urban Creature
คนไทยเตรียมตัวปลดแมสก์! หลังจากที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทยอยยกเลิกกฎข้อบังคับการใส่หน้ากากอนามัยในที่สาธารณะกันเรื่อยๆ คนไทยได้แต่อิจฉาว่าเมื่อไรจะถึงคิวเราบ้างนะ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 พ.ค. ที่ผ่านมา ปลัด สธ. เผย กลาง มิ.ย.นี้ จะมีการยกเลิกบังคับสวมหน้ากากอนามัย (เฉพาะในพื้นที่นำร่อง) และยังคงบังคับให้ใส่ใน 3 กรณี คือ ผู้ป่วยหนัก สถานที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท และกิจกรรมที่คนร่วมเยอะ นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคนอกสถานที่ ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2565 ที่โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานสำคัญ รวมทั้งการเตรียมการของพื้นที่เพื่อรับการเปลี่ยนผ่านโรคโควิด-19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น โดยระบุว่า ปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่องและเร็วกว่าที่คาดการณ์ มั่นใจว่าจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นตามเวลาที่วางแผนไว้ หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จึงต้องมีการบริหารด้านสังคมร่วมด้วย โดยนำร่องกิจกรรมในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 อย่างปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจกับประชาชน ทั้งนี้ ประมาณกลางเดือนมิถุนายน จะนำร่องปรับคำแนะนำในบางพื้นที่ที่มีความพร้อม ให้สวมหน้ากากอนามัยใน 3 กรณี คือ 1. กลุ่มผู้ป่วยหรือกลุ่มเสี่ยง 608 2. อยู่ในสถานที่ปิด […]
เจ้านายอ้วนขึ้น! ผลสำรวจในอังกฤษและอเมริกาบอกตรงกัน แมว-หมาน้ำหนักขึ้นช่วงโควิด
เรื่อง
Urban Creature
การพักผ่อนหย่อนใจของหลายคนในช่วงโควิด-19 อาจเป็นการดูคลิปวิดีโอเจ้าเหมียว เจ้าหมา หรือแม้แต่การมีเพื่อนสี่ขาอยู่ข้างกายอาจจะช่วยให้ไม่รู้สึกเปลี่ยวเหงา หรือช่วยเยียวยาจิตใจหลายคนได้เลย แน่นอนว่ามนุษย์อย่างเราๆ ต่างก็ได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจจากโควิด-19 แต่ไม่ใช่แค่พวกเราเท่านั้น สัตว์เลี้ยงสี่ขาคู่กายหลายๆ คนก็อาจจะได้รับผลกระทบด้วยเหมือนกัน! ผลสำรวจจากองค์กรที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงทั้งในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกาฉายให้เห็นข้อมูลตรงกันว่า พบแนวโน้มสำคัญว่าสัตว์เลี้ยงทั้งสุนัขและแมวมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมา ผลสำรวจของโรงพยาบาลสัตว์แบนฟิลด์ (Banfield Pet Hospital) ของสหรัฐอเมริกา ในปี 2020 ปีแรกของโควิด-19 ที่เกิดการล็อกดาวน์แทบทุกประเทศในโลกนั้นพบว่า แมวกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และสุนัขเกือบ 35 เปอร์เซ็นต์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และองค์กรอาสาด้านสัตว์เลี้ยงในประเทศอังกฤษที่ชื่อ PDSA ได้ออกรายงานประจำปี 2021 และเปิดเผยผลสำรวจจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงว่า เจ้าของสุนัขกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ในอังกฤษเห็นว่าเจ้าสี่ขาของตนมีน้ำหนักมากขึ้น และเจ้าของแมวกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ก็ให้ข้อมูลในทางเดียวกัน จริงอยู่ว่าเมื่อมองภายนอกสัตว์เลี้ยงที่อ้วนตุ้บป่องอาจจะดูน่ารักน่ากอด แต่จากน้ำหนักที่มากนั้นอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ นั่นคือโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคอ้วน กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง จนถึงอายุขัยที่สั้นกว่าสัตว์เลี้ยงที่น้ำหนักตัวพอดี แน่นอนว่าปัญหาสัตว์เลี้ยงน้ำหนักเกินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมานั้นพบแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ปรากฏการณ์นี้อาจหาเหตุผลจากมุมมองเชิงจิตวิทยาสัตว์ที่ว่า สัตว์เลี้ยงนั้นรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกของเจ้าของ ถ้าพวกเรารู้สึกอย่างไร พวกเขาก็รับรู้ไปด้วย หรือหากทาสหมา ทาสแมวต้องเก็บตัวอยู่ในพื้นที่จำกัดเพราะล็อกดาวน์หรือต้องกักตัว เจ้านายก็อาจจะเกิดความเครียดสะสมจนนำไปสู่ ‘การกินอาหารเพราะความเครียด […]
‘Deleted Scenes in SEA’ หนังสั้นจากบทละครที่ถูกเซนเซอร์ในเทศกาลหนังออนไลน์ FTP 2022
เรื่อง
Urban Creature
‘ห้องเรียนประวัติศาสตร์’, ‘INSURGENCY (ลุกฮือต่อสู้)’ , ‘Suksesi (ผู้สืบทอด)’ ทั้ง 3 คำนี้คือชื่อตอนจากบทละครของประเทศไทย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียที่ถูกตัดออกจากการแสดงจริงเพราะการเซนเซอร์จากรัฐและตัวศิลปินเอง และนี่คือที่มาของภาพยนตร์ความยาว 47 นาที ในชื่อ ‘Deleted Scenes in SEA’ บทละครที่ถูกตัดออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยฝีมือกำกับของธนพล อัควทัญญู และ อีรฟานูดิน กอซาลี (Irfanuddien Ghozali) ภาพยนตร์นำบทละครทั้งสามเรื่องมาเล่าใหม่ ผ่านวิธีการอ่านบทละคร บันทึกการแสดง เทคนิคแสง-เสียง หรือแม้แต่การประชุมผ่านซูม และเสริมด้วยแง่มุมทางศิลปะการละคร การเปรียบเปรยในเนื้อหา แม้แต่เสียดสีสภาพสังคม ตลอด 47 นาที ภาพยนตร์จะพาเราไปทำความรู้จักกับบทละคร รวมถึงดูว่าส่วนที่ถูกแบนนั้นเนื้อหาเป็นแบบไหน แล้วทำไมถึงถูกกดดัน คณะผู้เขียนและนักแสดงในเวลานั้นถูกคุกคามจากทางภาครัฐอย่างไรบ้าง กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่ชื่อ ‘The Segal Center Film Festival on Theatre and Performance’ (FTP) ซึ่งเป็นเทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์ที่รวมผลงานของศิลปิน นักการละครกว่า […]
คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’
เรื่อง
แอน เดือนเพ็ญ
2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]