หนังสือเจ้าชายน้อยฉบับพ่อขุนราม - Urban Creature

“ถ้าเธอเคยมาตอนบ่ายสี่โมง ประมาณสักบ่ายสามโมง ฉันก็เริ่มเป็นสุขแล้ว…”

ต่อให้ไม่ใช่นักอ่านตัวยง หลายคนคงน่าจะเคยได้ยินชื่อวรรณกรรม ‘เจ้าชายน้อย (Le Petit Prince)’ มาบ้างเพราะนอกจากความโด่งดังในรูปแบบหนังสือแล้ว เจ้าชายน้อยยังปรากฏตัวในหนังสือภาพ การ์ตูน ภาพยนตร์ โปรดักต์ต่างๆ รวมไปถึง Pop Culture มากมาย เรียกได้ว่า ‘เจ้าชายน้อย’ เป็นผลงานเขียนชิ้นสำคัญที่ประสบความสำเร็จมากของโลก 

ปัจจุบันหนังสือ ‘เจ้าชายน้อย’ ยังได้รับการนำมาพูดถึงอยู่เสมอๆ ทั้งที่ผ่านเวลามาเกือบ 80 ปี มียอดขายกว่า 145 ล้านเล่มทั่วโลก ทั้งยังได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ เกือบ 400 ภาษา โดยไม่ใช่แค่ภาษาที่คนกลุ่มใหญ่ในโลกใช้เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาษาที่เหลือคนพูดแค่หลักพันหรือภาษาที่ไม่มีคนใช้แล้วก็ตาม

ในไทยเองนอกเหนือจากสำนวนภาษาไทยกลางที่เราอ่านกันแล้ว ยังมี ‘เจ้าชายน้อย’ สำนวนภาษาถิ่นอื่นๆ เช่น สำนวนภาษามลายู อักษรยาวี สำนวนภาษาคำเมือง-ล้านนา สำนวนภาษาลาว เป็นต้น

ล่าสุด ‘เจ้าชายน้อย’ ได้รับการหยิบยกมาแปลขึ้นใหม่ในชื่อ ‘ฃุนน้อย’ เป็นภาษาท้องถิ่นสุโขทัยและถ่ายถอดคำแปลด้วยอักษรลายสือไทย สมัยสุโขทัย ซึ่งในการแปลอาศัยต้นฉบับ ‘เจ้าชายน้อย’ ของ อริยา ไพฑูรย์ และ ‘ท้าวน้อย’ ฉบับภาษาลาวของ สีสะเหลียว สะแหวงสึกสา เทียบเคียงกับต้นฉบับภาษาฝรั่งเศส 

หนังสือ ‘ฃุนน้อย’ ฉบับนี้เป็นผลงานสืบเนื่องจากนิทรรศการ ‘เจ้าชายน้อย : หนังสือ ของสะสมและการสนทนาข้ามวัฒนธรรม’ ซึ่งจัดขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯ และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาใน พ.ศ. 2563 โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นสื่อกลางของการสนทนาข้ามวัฒนธรรม เพื่อช่วยเปิดประเด็นข้อถกเถียงและการศึกษาเกี่ยวกับการแปล-ภาษา-วัฒนธรรมท้องถิ่น และส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์และวัฒนธรรม 

นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางภาษาที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักเห็นลายสือไทยผ่านงานเขียนโบราณที่อยู่ในหนังสือเรียนเท่านั้น แต่โปรเจกต์นี้ได้หยิบเอาลายสือไทยมาใช้กับงานวรรณกรรมแปลที่ยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงการใช้งานตัวอักษรโบราณที่อยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทยจริงๆ

ใครที่อยากสัมผัสหนังสือเล่มจริง ‘ฃุนน้อย’ มีที่ห้องสมุดโรงเรียนในจังหวัดสุโขทัย และห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือจะโหลดอ่านออนไลน์ที่ https://tinyurl.com/yc8dsrom หรือฟังฉบับหนังสือเสียงได้ที่ https://youtu.be/NTQtOpBacX8 

Source :
พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ | https://tinyurl.com/y7b4zv2t 

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.