วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

ฟินแลนด์ประสบปัญหาวัยรุ่นไร้บ้านและโคเคนเฟื่องฟู

จากรายงานล่าสุดของสำนักข่าว STT ในฟินแลนด์ คนหนุ่มสาวในประเทศกำลังเผชิญหน้ากับภาวะไร้บ้านกันมากขึ้น เพราะเมื่อปีที่แล้วมีคนไร้บ้านอายุต่ำกว่า 25 ปี ที่บันทึกไว้ได้ถึง 850 คน คิดเป็นจำนวน 1 ใน 5 ของประชากรไร้บ้านทั้งหมดของประเทศ ซึ่งอ้างอิงตามรายงานของศูนย์การเงินและการพัฒนาที่อยู่อาศัยของฟินแลนด์ (ARA) และเพราะไม่ค่อยมีรายงานตัวเลขเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้มากเท่าไหร่ จึงทำให้ข้อมูลนี้น่าตกใจ Helsinki Times รายงานว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์กันว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงมากกว่านี้ เนื่องจากเยาวชนไร้บ้านมักถูกผลักออกไปจากสถิติที่แท้จริง ตัวเลขจึงไม่ได้สะท้อนภาวะของคนหนุ่มสาวที่ลงทะเบียนว่าพวกเขาอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ในขณะที่ความเป็นจริงเยาวชนหลายคนกำลังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตามท้องถนนในยามค่ำคืน โดยส่วนมากแล้ว สถานการณ์ทางการเงินที่ย่ำแย่มักจะเป็นสาเหตุหลักสำคัญที่ทำให้เยาวชนในฟินแลนด์ต้องไร้บ้าน โดยเฉพาะวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ปัญหาทางการเงินที่หลายๆ ครอบครัวมีอยู่แล้วกลับย่ำแย่ลงไปอีก และปัญหาไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะกรมศุลกากรของฟินแลนด์ (Tulli) เผยว่าประเทศกำลังประสบปัญหา ‘โคเคนบูม’ โดย MTV Uutiset รายงานว่าผู้ชายประมาณ 1 ใน 10 คน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 34 ปี ต่างเคยได้ทดลองใช้และเสพโคเคนมาแล้ว เมื่อประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตเพราะยาเสพติด Hannu Sinkkonen ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลศุลกากร เผยกับ MTV […]

FYI

คุยกับน้องฝึกงาน: เลือก ‘งานที่ฝัน’ หรือ ‘งานที่ทำให้อยู่รอด’

ชวนน้องฝึกงานรุ่นที่ 4 ของ Urban Creature ทั้ง 3 คนมาล้อมวงคุยถึงความกดดันต่างๆ ที่ต้องแบกไว้บนบ่า และเส้นทางการทำงานในวันข้างหน้าที่เรียกว่าเปรียบได้กับถนนซึ่งโรยด้วยเสี้ยนหนาม

เมื่อเยาวชนถิ่นใต้คิดโปรเจกต์สร้างสันติภาพชายแดนใต้ด้วย ‘ขนมอาซูรอ’

คุยกับ ‘Local Chef’s to Peace Project’ แชมป์จากการแข่งขันโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 ที่หยิบรสอร่อยของอาหารถิ่น มาสร้างสันติภาพในภาคใต้ เปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นความสงบ

“ใช้เวลายื่นขอสัญชาตินานถึง 8 ปี” เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่ ‘สร้างสื่อเพื่อขอสัญชาติให้คนไร้สัญชาติ’

เยาวชนไร้สัญชาติจากเชียงใหม่รวมตัวกันสร้างสรรค์ ‘สื่อเพื่อการขอสัญชาติ’ เพื่อให้ความรู้ด้านการขอสัญชาติ ผ่านการประกวดโครงการ Youth Co:Lab Thailand 2019 และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสองได้ในที่สุด

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.