Green2Get แอปฯ รวมวิธีจัดการขยะ ที่อัปเดตร้านรับซื้อของเก่าและจุดบริจาคใกล้ตัว ตอบทุกปัญหา ‘แยกขยะแล้วไปไหน?’

สำหรับคนที่เพิ่งจะเริ่มแยกขยะเองที่บ้านคงเข้าใจดีว่า ยิ่งแยกละเอียดเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องหาที่ทิ้งให้ถูกที่ด้วย เพราะถังขยะที่มีในแต่ละพื้นที่ แทบไม่มีที่ไหนมีจุดแยกขยะแบบละเอียดให้เราได้ทิ้งอย่างสบายใจ และนำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายๆ เลย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการจัดการขยะของทุกคน เราจึงอยากแนะนำให้ดาวน์โหลดแอปฯ Green2Get แอปฯ ตัวช่วยที่รวมข้อมูลทุกอย่างของการแยกขยะไว้ที่เดียว แอปฯ นี้พัฒนาโดยเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป ทำให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับคำแนะนำในการแยกขยะอย่างถูกต้องแน่นอน  แอปฯ Green2Get เริ่มต้นพัฒนามาตั้งแต่ปี 2018 และได้มีการพัฒนามาตลอด เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น แอปฯ นี้ไม่ได้มีไว้แค่ค้นหาวิธีการแยกขยะเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวกลางในการเชื่อม ‘ผู้รับซื้อ’ และ ‘ผู้ขาย’ ให้มาเจอกันได้อีกด้วย แอปฯ นี้ทำอะไรได้บ้าง1. ค้นหาวิธีการแยกขยะหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีชนิดแยกย่อยละเอียดลงไปอีก เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ แก้ว ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก และอื่นๆ ถ้าอยากรู้ว่าวัสดุไหนทิ้งอย่างไรก็แค่เสิร์ชคีย์เวิร์ดที่ช่องค้นหาได้เลย 2. เมื่อกดเข้าไปดูขยะแต่ละประเภทแล้ว จะมีราคารับซื้อ และร้านที่รับวัสดุรีไซเคิลชนิดนี้บอกไว้ด้วย นอกจากจะทิ้งถูกที่แล้วยังขายได้เงินอีกด้วย  3. เปิดให้นักแยกขยะตัวยงทั้งหลายมาแชร์วิธีจัดการขยะในแอปฯ ได้ด้วย เพียงแค่สแกนบาร์โค้ดสินค้าชิ้นนั้นก็สามารถบันทึกวิธีจัดการขยะได้เลย หรือถ้าเรามีขยะในมือแต่ไม่รู้จะจัดการยังไง ก็สามารถสแกนบาร์โค้ดเพื่อค้นหาในแอปฯ ได้เลย  4. ค้นหาผู้รับใกล้ฉันได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านรับซื้อ […]

‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]

แยกขยะเป็นจะเห็นค่า คุ้ยเรื่องขยะกับ ‘ชูเกียรติ’ ผู้เปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ยธรรมชาติ

‘ชูเกียรติ โกแมน’ คือหนึ่งในทีมงานสวนผักคนเมือง ที่เห็นความสำคัญของการแยกขยะ และเห็นค่าของขยะอาหาร จนหยิบมาทำเป็นปุ๋ยหมักธรรมชาติ พร้อมคิดค้นระบบกล่องปุ๋ยหมักที่ทำได้ทุกบ้าน เราชวนพี่ชูเกียรติมาร่วมพูดคุยถึงการจัดการขยะอาหาร ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ความสำคัญของการแยกขยะ ตลอดจนช่วยไขความกระจ่างว่า ทำไมประเทศไทยถึงยังก้าวสู่สังคม Zero Waste ไม่ได้เสียที

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.