มาแชร์บุญ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ซื้อของต่ำกว่าราคาและได้เงินทอนเป็นบุญ | วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2

ชาวพุทธโดยส่วนใหญ่ล้วนเคยถวายสังฆทาน แต่เราเคยตั้งคำถามกันหรือไม่ว่าถวายแล้วสังฆทานนั้นไปไหนต่อ จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยไปดูงานบางที่ เขากล่าวว่า “สังฆทานวางกองกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ของบางอย่างใช้ไม่ทันก็เสีย” หากใช้ไม่ได้ เก็บไว้ไม่เป็นระบบ บุญที่เราจะได้จะเป็นบุญได้อย่างไร ในเมื่อบุญนั้นกลายเป็นของเสียไปหมด ในวันที่โลกต่างพูดถึงกระแส Waste Management กันมากขึ้น ที่วัดชลประทานฯ ก็มีการจัดการไม่ให้ของต่างๆ เสียเปล่า โดยใช้ระบบสังฆะ และหนึ่งในผลพลอยได้จากระบบนี้คือร้านที่มีชื่อว่า ‘มาแชร์บุญ’ มาแชร์บุญ คือร้านของชำในวัด แต่ไม่ได้ขายเพื่อมุ่งกำไร ทุกบาททุกสตางค์คือการหยอดลงตู้ค่าน้ำค่าไฟของวัด และราคาที่ขายก็เกินจริง ไม่ใช่แพงเกินจริง แต่ถูกเกินจริงเพราะตั้งราคาต่ำกว่าทุน ของที่ได้มาก็เป็นของที่เหลือจากระบบสังฆะ สิ่งเหล่านี้ทำงานเป็นระบบกันอย่างไร แล้วของจะไม่เสียเปล่าจริงหรือ หาคำตอบได้ใน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP2 มาแชร์บุญ Superstore #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #มาแชร์บุญ

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

Virtual Bootcamp รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’

รู้กฎหมาย ก่อน ‘ทำหนัง’ โดย ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการที่ iLaw และ ณฐพล บุญประกอบ ผู้กำกับภาพยนตร์ ‘เอหิปัสสิโก’ ดำเนินการสนทนาโดย อาทิตยา บุญยรัตน์ จาก HER Interview Panel Discussion นี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการ NIA Creative Contest 2021 โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับ Urban Creature เปิดเวทีให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนร่วมออกแบบอนาคตผ่านไอเดียการผลิตวีดิทัศน์สะท้อนภาพอนาคตและนวัตกรรม ไอเดียที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกขัดเกลาจากวิทยากรผู้อยู่เบื้องหลังวงการภาพยนตร์และคนทำงานสร้างสรรค์ โดยทางโครงการได้จัดกิจกรรมอบรมให้กับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในระหว่างวันที่ 13 – 15 สิงหาคม 2564 ก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนไอเดียเป็นหนังสั้น ทางโครงการร่วมกับสำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เตรียมพร้อมให้ผู้ร่วมโครงการ เพื่อความเข้าใจกฎหมายและลิขสิทธิ์การผลิตวีดิทัศน์ ผ่านผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งจากฟากฝั่งกฎหมายและจากคนทำหนัง โอกาสนี้ ชวนทุกคนไปร่วมพูดคุยกับ ‘เป๋า-ยิ่งชีพ อัชฌานนท์’ ผู้จัดการที่ iLaw ซึ่งเป็นหนึ่งคนที่ทำงานด้านกฎหมายและทำงานคาบเกี่ยวกับงานคอนเทนต์ออนไลน์และเป็นคนกฎหมายที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของสังคม และ […]

Project ผลบุญ : คนกินได้รส ชาวสวนได้รับ สังคมได้รอด

“หัวเราะทั้งน้ำตา! ชาวสวนมังคุดใต้อ่วม ราคาตกต่ำเหลือโลละ 4 บาท”“ชาวสวนมังคุดลุกฮือจี้แก้ปัญหาราคาตกต่ำช้ำถูกกดราคาอย่างหนัก” สถานการณ์ COVID-19 ลากยาวมามากกว่า 1 ปี ผู้ประกอบการไทยต่างเข้าเนื้อ ทุนหาย กำไรหด เจ็บและเจ๊งกันเป็นแถบๆ เมื่อ ‘พลังของประชาชน’ คือความหวังเดียวที่จะช่วยกันเองให้รอด Urban Creature จึงพลิก ‘วิกฤต’ ให้เป็น ‘โอกาส’ ถือโอกาสบอกบุญ กับโปรเจกต์ ‘ผลบุญ’ ร้านผลไม้เฉพาะกิจของ Urban Creature ที่เปิดมาชวนผู้อ่านระดมทุน #อุดหนุน มังคุดเบตง กู้วิกฤตราคาผลผลิตตกแบบดิ่งลงเหว ขนส่งไม่ได้ขายไม่ออก ไป #ส่งต่อ ให้ผู้ต้องการเสบียงในพื้นที่จังหวัดยะลาได้อิ่มท้องในช่วงการระบาดของ COVID-19 อย่าง – กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองเบตง กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่เทศบาลและโรงพยาบาลสนาม– ชมรมมุสลิมสัมพันธ์เบตง เพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า กระจายต่อไปยังชุมชนที่ล็อกดาวน์และเด็กกำพร้าที่ชุมชนดูแล– ที่ว่าการอำเภอเบตง หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่ อสม. และชุมชนหมู่ 4 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง […]

EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

จากการศึกษาของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ประเมินออกมาว่าแรงดึงดูดต่อการลงทุนในไทยต่ำลง มีความเสี่ยงที่โลกจะไม่ได้สนใจไทยอย่างที่เคยเป็น หนึ่งในสาเหตุใหญ่ๆ นั้นก็คือ สินค้าส่งออกของไทยไม่มีการเติบโตในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง ต่างจากแนวโน้มของประเทศคู่แข่งและภูมิภาค การผลักดันให้เราก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญของโลกที่กำลังหมุนไปให้เราได้ปรับตัวกันคือ รถยนต์พลังงานสะอาด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ EV (Electric Vehicle) ในยุคที่เป้าหมายของโลกคือการลดคาร์บอนฯ ลงให้มากที่สุด รถ EV จึงเป็นคำตอบของหลายๆ คน แล้วกับคนไทยล่ะ ร่วมค้นหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรถ EV กับคนไทยว่าเราพร้อมกันแค่ไหนใน Green Link : EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

Fine Robusta ลบภาพจำ 3 in 1 ในโรบัสตา และมีความพิเศษในแบบที่อาราบิกาทำไม่ได้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกที่พลิกโฉมหน้าการใช้ชีวิตของผู้คนไปโดยสิ้นเชิง ผลิตภัณฑ์หลากชนิดเช่นสิ่งทอได้เครื่องจักรเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากจนเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น รวมถึงเครื่องจักรไอน้ำที่ทำให้เกิดโรงงานใหม่ขึ้นจำนวนมาก  แต่สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมของกาแฟโรบัสตาในยุคนี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงการผลิตในปริมาณมหาศาล ในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่มนานาชนิด แต่หันมาโฟกัสที่รสชาติและคุณภาพเหมือนที่รุ่นพี่อย่างอาราบิกากรุยทางเอาไว้ Urban Creature ชวนสองผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟอย่าง เคเลบ จอร์แดน นักพัฒนากาแฟเมืองน่านที่ปลูกปั้นกาแฟมณีพฤกษ์จนติดระดับประเทศ และ กรณ์ สงวนแก้ว Head Roaster & Green Buyer จาก Roots ร้านกาแฟที่เอาจริงเอาจังในสิ่งที่ตัวเองทำและให้ความสำคัญเกษตรกร มาคุยกันถึงการเติบโตของโรบัสตาที่กำลังเฉิดฉายนอกแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการมาอยู่ในคาเฟ่ที่เน้นกาแฟคุณภาพดี หรือโรงคั่วชั้นนำที่เริ่มปล่อยโรบัสตาเบลนด์ใหม่สู่ตลาดเป็นระยะ ห้าปีมานี้กาแฟไทยโดยเฉพาะอาราบิกาเติบโตอย่างก้าวกระโดด และโรบัสตากำลังจะตามไป และอาจมีสิทธิ์ก้าวไปไกลกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องเผชิญกับคู่แข่งมหาโหดจากทั่วโลก และไทยก็มีความพร้อมทั้งด้านภูมิประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่พร้อมผลักดันแต่ปัจจัยสำคัญอาจจะอยู่ที่ผู้บริโภค ดูคล้ายกันแต่เป็นคนละอย่าง ถึงภาพจำและความนิยมจะสู้ไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเปิดที่ทำให้คอคาเฟอีนรู้จักกาแฟนั้นมาจากโรบัสตาซะเป็นส่วนใหญ่ Head Roaster ของ Roots บอกว่า ดื่มกาแฟผงครั้งแรกก็เป็นโรบัสตา กาแฟ 3 in 1 ก็เป็นโรบัสตา โตขึ้นมากินกาแฟกระป๋องก็โรบัสตา กระทั่งกินเค้กรสกาแฟก็เป็นโรบัสตาอีกเหมือนกัน  “เรามีโรงงานใหญ่ที่รับซื้อเมล็ดกาแฟอยู่ภาคใต้ พอถูกปลูกเพื่อขายเข้าไปในสเกลใหญ่ระดับอุตสาหกรรมก็เลยไม่ได้ใช้ความดูแลมากขนาดนั้น และคนที่ปฏิเสธโรบัสตาก็มีจริง พอมาถึงจุดหนึ่งเราไม่ได้กินกาแฟที่แปรรูปเป็นผงหรือเป็นน้ำอีกแล้ว แต่ดื่มกาแฟที่ชงจากเมล็ดซึ่งส่วนมากจะเป็นอาราบิกา เราเริ่มเข้าใจกาแฟและให้ความสำคัญกับรสชาติมากขึ้น […]

หยุดนะ! ป่าล้อมไว้หมดแล้ว สิงคโปร์ยกเขตอนุรักษ์ป่าและพันธุ์สัตว์ มาเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง

ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกหาทางแก้ปัญหาโควิดกันอย่างตึงมือ สิงคโปร์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ปล่อยให้มือว่าง นอกจากรับมือกับสถานการณ์โควิดแล้ว สิงคโปร์ยังประกาศเริ่มโปรเจกต์มากมายที่ช่วยฟื้นฟูภูมิทัศน์เมืองให้เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อให้กลายเป็นเมืองในธรรมชาติ (City in nature) ภายในปี 2030 โปรเจกต์ที่เป็นไฮไลต์เลยคือ ‘Mandai’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ที่เชื่อมหลายแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไว้ด้วยกัน ทั้งสวนสัตว์สิงคโปร์ ไนต์ซาฟารี ริเวอร์ซาฟารี จนถึงสวนที่ออกแบบภายใต้แนวคิดอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอย่าง ‘สวนนก’ ที่ออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของนกกว่า 400 สายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์หายากที่โบยบินอย่างอิสระให้นักท่องเที่ยวได้เชยชม และ ‘สวนสัตว์ป่าฝน’ ที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในแห่งเดียว ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิดและศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูสัตว์ที่บาดเจ็บอีกด้วย ถนน Orchard แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังก็ตกแต่งด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ให้ความร่มเย็นตลอดสายที่เชื่อมไปยังสวนพฤกษศาสตร์และสวนสาธารณะอื่นๆ และอีกโปรเจกต์หนึ่งคือ ‘Jurong Lake Garden’ ที่ถือเป็นโอเอซิสใจกลางเมือง ประกอบไปด้วย 4 โซนใหญ่ๆ ― Lakeside Garden, Chinese Garden, Japanese Garden และ Garden Promenade แต่ละโซนมีจุดเด่นต่างกันไปอย่าง Youth Park ที่มีสนามสเก็ตและสนามจักรยาน อุโมงค์ป่าไผ่ที่ฉ่ำเย็นด้วยไอจากน้ำตก จุดชมโคมพระจันทร์ยามค่ำคืนที่ Moon Lantern Terrace […]

Elroy Air สตาร์ทอัปโดรนที่จะส่งของให้ถึงที่ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก

อนาคตของการขนส่งทางอากาศขยับมาใกล้มากขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ Jeff Bezos แห่ง Amazon ประกาศเปิดตัว Amazon Prime Air บริษัทขนส่งเชิงพาณิชย์ที่เน้นขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาด้วยความรวดเร็วโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บริษัทอื่นเช่น FedEx หรือ DHL ก็เริ่มทดสอบการขนส่งสินค้าของตัวเองด้วยโดรนเช่นกันก่อนจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อ องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) อนุมัติให้อากาศยานอัตโนมัติของ Flirtey ขนส่งในเขตเมืองในปี 2016  ภาพยนตร์ และนวนิยายไซไฟหลายเรื่องคือฉากแห่งอนาคตที่บรรดานักประดิษฐ์กำลังวิ่งตาม วันนี้ภาพฝันนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ Elroy Air คือผู้สร้างยานพาหนะทางอากาศหรือโดรน ที่อาศัยการขึ้นลงแบบแนวตั้ง รับน้ำหนักสินค้าได้มาก บินได้ไกล และมีภารกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งของจากที่ใดที่หนึ่งไปยังจุดหมาย แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและเป็นประชาธิปไตย (Democratizing access to rapid logistics)  ย้อนกลับไปที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2019 Elroy Air บริษัทผู้พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบการบินเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก กับโดรนที่มีน้ำหนักถึง 550 กิโลกรัม ในการบินขึ้นไปสูง 10 ฟุต เป็นเวลากว่า […]

ทางออกวิกฤตเตียงล้นกรุงเทพฯ โครงการ ‘Back Home’ พาคนติดโควิดกลับบ้านเกิด

ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นทุกวันสวนทางกับจำนวนเตียงว่างรองรับผู้ป่วยในกรุงเทพฯ คนที่จะมาช่วยบรรเทาปัญหาในครั้งนี้ก็คงไม่พ้น ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ นักข่าวขวัญใจชาวไทยอีกเหมือนเคย ที่ร่วมมือกับหลายฝ่ายเริ่มโครงการ ‘Back Home’ ประสานหาพาหนะพาผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิด ไอเดียนี้ริเริ่มจาก ‘ศ. นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า’ อายุรแพทย์ระบบประสาท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม หอพักหญิงที่ 26 จังหวัดขอนแก่น ที่อยากให้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยโควิดที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด แต่อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดซึ่งยังพอรองรับผู้ป่วยได้ โดยเห็นว่าการให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิดเป็นประโยชน์ต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยเอง และเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ด้วย โครงการนี้ได้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งรายการ ‘เรื่องเล่าเช้านี้’ เพจ ‘เราต้องรอด’ เพจ ‘หมอแล็บแพนด้า’ และอีกหลายองค์กรที่ช่วยประสานหาเตียงและพาหนะที่ได้มาตรฐานในการขนย้ายผู้ป่วยข้ามจังหวัด  ผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายได้ต้องอยู่เฉพาะในกลุ่มสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อนเท่านั้น และต้องได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นจากแพทย์ก่อนเคลื่อนย้าย โดยเริ่มจากติดต่อมายังเจ้าหน้าที่ของ ‘Back Home’ ก่อนถึงจะมีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพื่อประเมินอาการ และติดต่อไปยังโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามในจังหวัดปลายทางเพื่อจัดหาเตียง ทั้งนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการนำตัวผู้ป่วยออกจากกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่สีแดง และการกักตัว 14 วันเมื่อเข้าถึงพื้นที่ปลายทาง โครงการ ‘Back Home’ จึงต้องประสานกับทางกรุงเทพฯ และภาครัฐต่อไปเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายสูงสุด ผู้ป่วยโควิดที่ต้องการเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาสามารถติดต่อโครงการนี้ที่  Line : @backhome หรือโทร […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

1 7 8 9 10 11 25

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.