ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

‘mum’ โครงการเปลี่ยนขยะจากมหาสมุทรให้กลายเป็นอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์สำหรับชาวประมง

สาเหตุหนึ่งของ ‘ปัญหาขยะจากทะเล’ เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาปลาของชาวประมง ไม่ว่าจะเป็นอวน ทุ่น และเชือก ที่เมื่อใช้งานจนเสื่อมสภาพและไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้แล้ว สิ่งของเหล่านี้มักจะถูกทอดทิ้งจนกลายเป็นขยะจำนวนมากใต้ท้องทะเล ทาง ‘PAN- PROJECTS’ สตูดิโอออกแบบสถาปัตยกรรมในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จึงได้ร่วมมือกับ ‘REMARE’ บริษัทสตาร์ทอัปของญี่ปุ่นและชุมชนประมงท้องถิ่นในจังหวัดมิเอะ เพื่อริเริ่ม ‘mum’ โครงการอัปไซเคิลขยะในทะเลให้กลับมาใช้ได้ใหม่อีกครั้งแทนการปล่อยทิ้งเอาไว้หรือนำไปกำจัดทิ้งด้วยการเผา โดยทีมออกแบบเลือกเปลี่ยนขยะเหล่านั้นให้คืนชีพกลับมาเป็นอุปกรณ์ตกปลา ด้วยการนำไปบดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วสร้างอุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ นอกจากอุปกรณ์ตกปลาแล้ว โครงการนี้ยังนำขยะมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์เพื่อที่ชาวประมงจะได้นำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ อย่างเช่นใช้เป็นโต๊ะกินข้าวหรือจุดวางสิ่งของและปลาที่จับมาก็ได้ แรงบันดาลใจส่วนใหญ่ของการออกแบบขยะจากทะเลเหล่านี้มาจากวัฒนธรรมของญี่ปุ่นซึ่งเป็นจุดกำเนิดของโครงการ รวมถึงภูมิศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นเองที่ล้อมรอบไปด้วยทะเลกว้างใหญ่ โครงการ mum จึงอยากสร้างความตระหนักและเปลี่ยนมุมมองของผู้คนต่อพลาสติกในทะเลว่าขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนให้เป็นของขวัญจากทะเลที่มีประโยชน์ได้ Sources :Designboom | bit.ly/3J85SUR PAN- Projects | pan-projects.com

คิดซิๆ คาปูชิโน เอสเปรสโซ นาฬิกากากกาแฟเรือนแรกของโลก ทั้งหอมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ด้วยกลิ่นและรสสัมผัสน่าค้นหา ทั้งยังมอบพลังงานสดชื่นเต็มเปี่ยมให้มีชีวิตชีวา ‘กาแฟ’ จึงกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มที่ทั่วโลกนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เยอะแค่ไหนลองคิดดูว่าประเทศเยอรมนีมีกากกาแฟที่ถูกทิ้งมากกว่า 20 ล้านตันทุกปี  ตัวเลขดังกล่าวทำให้ ‘Lilienthal Berlin’ ผู้ผลิตนาฬิกาสัญชาติเยอรมัน ที่ให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ที่เน้นความยั่งยืนเป็นหลัก ร่วมกับ ‘Kaffeform’ บริษัทจากกรุงเบอร์ลินที่มีแนวคิดการออกแบบเศรษฐกิจที่เน้นการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ แทนการผลิตแบบใช้แล้วทิ้ง ได้คิดค้นนาฬิกาเรือนแรกของโลกที่ผลิตจากกากกาแฟรีไซเคิล โดยใช้ชื่อว่า ‘Coffee Watch’ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนส่งกากกาแฟที่นำมาสร้างตัวเรือนนั้น ผู้ผลิตจะมีคนปั่นจักรยานไปเก็บกากกาแฟตามร้านกาแฟทั่วกรุงเบอร์ลิน เพื่อนำมาสร้างตัวเรือนที่มีลวดลายหลายเฉดสีที่ไม่ซ้ำกัน โดย Coffee Watch ถูกออกแบบมาสิบกว่ารุ่น แถมแต่ละรุ่นยังแบ่งชื่อเรียกตามชื่อเมนูกาแฟ เช่น เอสเปรสโซ คาปูชิโน อเมริกาโน เป็นต้น  แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ทุกรุ่นคงไว้ซึ่งสีและกลิ่นของกาแฟ ให้ผู้สวมใส่ได้สัมผัสกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟอยู่เสมอ ในส่วนของสายข้อมือผลิตจากหนังธรรมชาติจากประเทศเยอรมนีที่ผ่านการฟอกด้วยสารสกัดจากพืช ไร้สารเคมี ระบายอากาศได้ดี ป้องกันสารก่อภูมิแพ้ ย่อยสลายได้ในเวลาอันรวดเร็วและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Coffee Watch คือสินค้าไลฟ์สไตล์ที่สวยงามและใช้งานได้จริง และเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างการนำขยะหรือสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า เพื่อการหมุนเวียนทรัพยากรที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา Source : Yanko Design | bit.ly/3tDdzcS

Hugely แบรนด์ที่เปลี่ยนสายดับเพลิงเก่า ให้เป็นกระเป๋าที่ทิ้งร่องรอยความถึกทนเอาไว้

ชวนสัมผัสเบื้องหลังกระเป๋าสุดอึด ถึก ทน Hugely ที่นักออกแบบหยิบสายดับเพลิงเก่ามาแปลงร่างจนน่าใช้

VINNA เครื่องประดับสุดยูนีคที่เกิดจาก “ขยะ” ต้นองุ่นในไร่ไวน์หลังบ้าน

แนวคิด Fast Fashion หรือการผลิตสินค้าแฟชั่นด้วยต้นทุนที่ถูกที่สุด ผลิตให้ได้ปริมาณมากที่สุด และเร่งขายให้รวดเร็วที่สุด โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนี้ มีกระแสต่อต้านมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมลพิษและทำลายโลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยทีเดียว

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.