The Pallet LOOP™ ลดขยะก่อสร้างด้วยการรียูสพาเลตไม้

แม้ว่าไม้จะเป็นวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่พาเลตไม้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในสหราชอาณาจักรมักจะถูกใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และถูกทิ้งเป็นขยะกว่า 18 ล้านชิ้นต่อปี ทั้งๆ ที่กว่าจะได้พาเลตไม้เหล่านี้ต้องตัดไม้ถึง 6,000 เฮกตาร์ หรือราว 37,500 ไร่ต่อปี เพื่อผลิตให้เพียงพอต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง  The Pallet LOOP™ จึงผุดไอเดียในการ ‘รียูส’ พาเลตไม้เหล่านี้เพื่อลดการสร้างขยะแบบใช้ครั้งเดียว และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากพาเลตไม้ที่ถูกทิ้งนอกจากจะใช้งานแค่ครั้งเดียวแล้ว ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพดีหรือชำรุดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากนำไปซ่อมแซมให้แข็งแรงก็สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกหลายครั้ง แทนที่จะถูกทิ้งเป็นขยะอย่างที่เป็นอยู่  แต่เดิมเมื่อขนส่งสินค้าเสร็จแล้วบริษัทก่อสร้างก็จะนำพาเลตไม้ไปกองรวมกันไว้ แต่สุดท้ายก็ไม่ถูกหยิบมาใช้ใหม่เพราะมีพาเลตไม้อันใหม่มาส่งทุกวัน The Pallet LOOP™ จึงคิดกระบวนการทำงานขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ ด้วยการ ‘Recover, Repair และ Reuse’ โดยจะนำพาเลตไม้ที่ใช้แล้วจากบริษัทก่อสร้างมาซ่อมแซม และปรับปรุงตามดีไซน์ต้นแบบของบริษัทเพื่อให้ได้พาเลตที่มีความแข็งแรง เหมาะกับการใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ด้วย ‘ระบบเช่า’ เมื่อใช้แล้วก็ส่งคืนให้บริษัทนำกลับมาใช้ใหม่ เกิดการหมุนเวียนพาเลตไม้ในอุตสาหกรรมโดยไม่ต้องซื้อใหม่ทุกครั้ง ช่วยให้บริษัทก่อสร้างมีวิธีการขนส่งวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อีกทั้งยังปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้มากกว่าเดิม นอกจากนี้ไม้ส่วนที่เหลือจากการผลิตพาเลตยังถูกส่งไปยังอุตสาหกรรมอื่นที่ต้องการไม้ได้เช่นกัน ซึ่ง The Pallet LOOP™ เพิ่งจะเปิดตัวเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 และมีแผนจะเริ่มงานภายในปี 2565 […]

โบสถ์ในเวลส์จัดงานรำลึกผู้เสียชีวิตโควิด-19 เพื่อส่งต่อความหวังหลังการระบาดใหญ่

5,015,400 คน คือตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลกตั้งแต่เริ่มระบาดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการเสียชีวิตอย่างกะทันหันทำให้หลายครอบครัวไม่มีเวลาที่จะบอกลาหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้เหมือนการเสียชีวิตด้วยสาเหตุอื่น และเป็นช่วงเวลาที่เศร้าโศกของผู้คนทั่วโลกที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักจากการระบาดใหญ่ครั้งนี้  โบสถ์ Saint Giles ประจำเขตแพริชในเมืองเร็กซ์แฮม ประเทศเวลส์ ซึ่งเป็นโบสถ์เก่าแก่ที่สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงได้จัด ‘Festival of Angels’ ตกแต่งโบสถ์ด้วยทูตสวรรค์ทำด้วยมือกว่า 6,000 องค์เพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ในเวลส์ ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2021 ไปจนถึงช่วงปีใหม่  Revd Dr Jason Bray บาทหลวงของโบสถ์ Saint Giles กล่าวว่า “สำหรับคริสเตียนหลายคน ทูตสวรรค์เป็นตัวแทนของความหวังและแสงสว่าง ตอนนี้คือช่วงเวลาที่เราโผล่ออกมาจากวันที่มืดมนที่สุดของการระบาดใหญ่ของโควิด-19 แล้ว Festival of Angels จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่เราควรจะส่งต่อและแบ่งปันความหวังของคริสเตียนให้กับโลก” การจัดแสดงทูตสวรรค์เหล่านี้ได้รับแรงบันดาลใจจากทูตสวรรค์ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 15 ที่แกะสลักไว้บนหลังคาไม้ของโบสถ์ ซึ่งทูตสวรรค์กว่า 6,000 องค์เหล่านี้เป็นตัวแทนของจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งหมด 6,150 คน ในเวลส์นับตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ จากรายงานล่าสุดของสาธารณสุขของเวลส์  ทูตสวรรค์เหล่านี้เป็นงานทำมือจากกระดาษ […]

UK Pavilion อาคารที่สร้างบทกวีด้วย AI และได้แรงบันดาลใจจาก Stephen Hawking

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคงได้เห็นพาวิลเลียนของ World Expo หรือ Expo 2020 Dubai  งานแสดงนวัตกรรมระดับโลกที่ต้องเลื่อนมาจัดแสดงในปี 2021 กันไปหลายประเทศแล้ว อีกหนึ่งประเทศที่เราอยากพาไปดูเบื้องหลังการออกแบบคือ UK Pavilion ของสหราชอาณาจักรที่สร้างบทกวีด้วย AI (Artificial Intelligence) และได้แรงบันดาลใจในการออกแบบจาก Stephen Hawking ปีนี้ UK Pavilion ออกแบบโดย Es Devlin ศิลปินและดีไซเนอร์ผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหราชอาณาจักรที่ได้ออกแบบพาวิลเลียน ตั้งแต่งานนี้จัดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1851 ซึ่งผลงานของเธอก็ได้เปิดตัวใน Expo 2020 ที่ดูไบเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2021 ที่ผ่านมาและจะจัดแสดงจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2022  พาวิลเลียนในปีนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากหนึ่งในโปรเจกต์สุดท้ายของ Stephen Hawking นักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ ที่มีชื่อว่า ‘Breakthrough Message’ โครงการที่มุ่งศึกษาจริยธรรมในการส่งข้อความไปยังห้วงอวกาศ ผ่านการออกแบบข้อความดิจิทัลที่สามารถสื่อสารจากโลกไปยังสิ่งมีชีวิตนอกโลกได้ จุดประสงค์ของโครงการนี้คือการสนับสนุนให้มนุษย์โลกคิดร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว และจุดประกายให้เกิดการถกเถียงกันในสังคมเกี่ยวกับจริยธรรมในการส่งข้อความออกไปนอกโลก ตัวอาคารทรงกรวยนี้จะเป็นนิทรรศการที่แสดงบทกวีอยู่ตลอดเวลา […]

ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.