MRT สายสีน้ำเงินจ่อขึ้นค่าโดยสาร ตรึงราคาเดิม 17 – 42 บาท ถึงสิ้นปี 65 ปรับขึ้น 1 บาท เริ่ม ม.ค. 66

ช่วงนี้ค่าใช้จ่ายทุกอย่างปรับตัวขึ้นพร้อมกันอย่างถ้วนหน้า แม้แต่ 1 บาท แต่หากเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องใช้จ่ายทุกวันก็กระทบกับชีวิตประจำวันแล้ว ล่าสุด MRT สายสีน้ำเงินยังยืนยันจะตรึงราคาเดิมไว้ที่ 17 – 42 บาท ต่อไปจนถึงสิ้นปี 65 และอาจจะปรับราคาขึ้นอีกครั้งในปี 66  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการประชุม เรื่องมาตรการเกี่ยวกับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ในฐานะผู้รับสัมปทาน  ล่าสุด ยืนยันจะคงอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ในราคาเดิม เริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 42 บาท (ก่อนหน้านี้ปรับจาก 16 บาท ขึ้นเป็น 17 บาทแล้วเมื่อ 1 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา) พร้อมส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 50 […]

Traffic Parks พื้นที่เด็กเล่นและเรียนรู้กฎจราจร ในสวนสาธารณะญี่ปุ่น

วินัยจราจรไม่ใช่เรื่องของคนใช้รถเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ ‘ทุกคน’ ในสังคมที่ต้องเรียนรู้กฎระเบียบร่วมกันเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน แต่การจะทำให้ทุกคนเข้าใจกฎเดียวกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ยังต้องมีการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการปฏิบัติอื่นๆ อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงด้วย  ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องกฎระเบียบที่เคร่งครัดในการทำใบขับขี่ และมีบทลงโทษค่อนข้างหนักสำหรับคนที่ทำผิดกฎจราจร แต่นอกเหนือจากการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ที่ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการปลูกฝังเรื่องกฎจราจรให้กับเด็กๆ ตั้งแต่วัยอนุบาลเป็นต้นไป เพื่อให้เด็กในวันนี้เติบโตไปเป็นพลเมืองที่เคารพกฎจราจรได้ในวันหน้า เหตุที่ต้องปลูกฝังเรื่องกฎจราจรตั้งแต่เด็กเป็นเพราะว่าใน ค.ศ. 1960 มีรายงานจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในญี่ปุ่นในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ใน ค.ศ. 1970 มีรายงานการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุทางรถยนต์ประมาณ 17,000 ราย และจากจำนวนทั้งหมดเหล่านี้ พบว่าผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จึงทำให้รัฐบาลต้องหันกลับมาหาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของเด็กๆ  กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่นจึงได้เพิ่มเรื่องกฎจราจรเข้าไปในหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้ความรู้ในการใช้ถนนตั้งแต่เด็กๆ และจัดตั้ง ‘Traffic Parks’ ที่เพียงแค่เปลี่ยนสวนสาธารณะใกล้ชุมชนที่อยู่อาศัยหลายแห่งในญี่ปุ่นให้เป็นสวนจำลองการจราจรสำหรับเด็ก เพื่อให้ได้เรียนรู้กฎจราจรได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน และได้เรียนรู้ของจริงนอกห้องเรียน  สวนสาธารณะ Traffic Parks ออกแบบมาเพื่อจำลองการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน มีทั้งสัญญาณไฟจราจร ป้ายสัญลักษณ์ที่ควรรู้ กฎระเบียบต่างๆ บนท้องถนน นอกจากนี้ยังมียานพาหนะให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จริงผ่านการเล่น เช่น รถยนต์ขนาดเล็กสำหรับเด็กและรถจักรยาน เพื่อช่วยปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เรียนรู้กฎขั้นพื้นฐานในการขับรถ ถ้าไม่ได้นำจักรยานมาเองจากที่บ้าน บางสวนก็มีจักรยานให้ยืมด้วย รวมถึงเด็กๆ จะได้รู้วิธีข้ามถนนที่ถูกต้อง […]

คริสต์มาสนี้มีแต่รอยยิ้ม เบอร์ลินขายบัตรโดยสารกินได้ผสมกัญชง ช่วยให้คนผ่อนคลายและยิ้มได้ช่วงเทศกาล

คริสต์มาสคือเทศกาลแสนอบอุ่นที่คนทั่วโลกรอคอย ขณะเดียวกันก็เป็นเทศกาลแสนวุ่นวายในหลายประเทศยุโรป ผู้คนมักวิ่งวุ่นซื้อของขวัญจนนาทีสุดท้าย ทำให้หลายคนรู้สึกเหนื่อยล้าและหัวเสียไปตามๆ กัน  เพราะเหตุนี้ Berliner Verkehrsbetriebe (BVG) บริษัทขนส่งมวลชนในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จึงปิ๊งไอเดียผลิตบัตรโดยสารกินได้ผสมกัญชง เพราะอยากให้ผู้คนฉลองคริสต์มาสแบบไม่เครียด และช่วยให้บรรยากาศโกลาหลผ่อนคลายลง บัตรรุ่นนี้สามารถกินได้ทั้งใบ เพราะมีส่วนผสมมาจากกระดาษกินได้ และโรยด้วยน้ำมันกัญชง (Hemp Oil) ไม่เกินสามหยด โดยน้ำมันกัญชงมีสรรพคุณช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และยังช่วยรักษาอาการวิงเวียนและปวดศีรษะได้ด้วย ทาง BVG อธิบาย “วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถเดินทางรอบเบอร์ลินได้ทั้งวันโดยไร้ความกังวล และคุณยังสามารถกลืนความเครียดช่วงคริสต์มาสไปพร้อมๆ กับตั๋วของคุณได้” ทั้งนี้ ทางบริษัทชี้แจงว่า น้ำมันผลิตจากเมล็ดกัญชงที่ปลอดภัยและเป็นมังสวิรัติ 100% สามารถกินได้เช่นเดียวกับน้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดฟักทอง และน้ำมันมะกอก อีกทั้งยังไม่มีสารเสพติด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) และ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ที่พบได้ใน ‘ต้นกัญชา’ บัตรประเภทนี้จึงไม่อันตรายและถูกกฎหมายแน่นอน (กัญชงและกัญชาคือพืชตระกูลเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์) BVG จำหน่ายบัตรโดยสารกินได้ผสมกัญชงระหว่างวันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2021 […]

Smart Card : บัตรร่วมขนส่ง ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ที่ไทยไม่มี (สักที)

หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ ‘สมาร์ตการ์ด’ หรือ ‘บัตรร่วม’ สำหรับระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว ผู้คนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส และเรือ ได้เพียงแค่มีบัตรใบเดียว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น  แต่การใช้งานสมาร์ตการ์ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ขนส่งมวลชนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศได้ขยายขอบเขตบริการเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้จ่ายค่าเดินทางแล้ว บัตรใบเดียวกันยังสามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงจ่ายค่าจอดรถ ค่ายา และค่าบิลต่างๆ ได้ด้วย และประเทศต่างๆ ยังมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สมาร์ตการ์ดในต่างแดนยังล้ำหน้าไปอีกขั้น เพราะในหลายประเทศอย่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตการ์ดเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ผู้คนสามารถชำระค่าบริการโดยใช้สมาร์ตโฟนแทนบัตรจริงๆ ได้เลย ไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยากและล้นกระเป๋าอีกต่อไป แต่สำหรับประเทศไทย เคยนับไหมว่าแต่ละวันคุณใช้บัตรกี่ใบและใช้ไปกับอะไรบ้าง? กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดตัวบัตรร่วมอย่าง ‘บัตรแมงมุม’ มาตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันปี 2021 บัตรใบนี้ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวไทยต้องรอบัตรร่วมในฝันกันต่อไป Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าสมาร์ตการ์ดในแต่ละประเทศเขาขยายขอบเขตการบริการไปถึงไหน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง 01 | Suica ญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่น แต่ละภูมิภาคใช้สมาร์ตการ์ดแตกต่างกัน […]

สภาองค์กรของผู้บริโภคชวนประชาชนร่วมกันลงชื่อทวงคืนตั๋วเดือนจาก BTS

ทุกวันนี้คุณจ่ายค่า BTS เดือนละกี่บาท?และหลังจากที่ BTS ยกเลิกตั๋วรายเดือนคุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่? หากคุณคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ประกาศยกเลิกตั๋วเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน ทุกประเภท โดยให้เหตุผลว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารเปลี่ยนไปจากเดิม และผู้โดยสารไม่สามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้เหมือนเมื่อก่อน  สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) จึงชวนผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจาก ‘การยกเลิกตั๋วเดือน BTS’ ร่วมทำแบบสำรวจ เพื่อรวบรวมจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายบัตรโดยสารรายเดือนของ BTS ครั้งนี้ เนื่องจาก สอบ. มองว่าการกระทำดังกล่าวคือการเอาเปรียบผู้บริโภคที่ไม่มีอำนาจต่อรอง เมื่อผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกอื่น พวกเขาก็ต้องจำใจยอมใช้บริการที่แพงต่อไป และนโยบายนี้ยังส่งผลกระทบให้ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าเดินทางเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นการตัดโอกาสในการเข้าถึงระบบคมนาคมของประชาชนด้วย สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงเปิดให้ร่วมลงชื่อเรียกร้องเพื่อยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามากำกับดูแลปัญหาเรื่องราคารถไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ร่วมกันลงชื่อและทำแบบสำรวจได้ที่นี่ t.ly/9l2MW  *แบบสำรวจนี้จะต้องลงชื่อเข้าใช้ผ่าน Gmail เพื่อกรอกแบบฟอร์ม Source : สภาองค์กรของผู้บริโภค | t.ly/7pMK

กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว

ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน

วิ่งวนที่ ‘วงเวียน’ การจราจรบนท้องถนนที่ปลอดภัยที่สุด

หากลองนึกภาพท้องถนนเมืองไทย เราอาจพบเห็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจราจรหลายรูปแบบ คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้ เลยพาไปทำความรู้จัก ‘วงเวียน’ ซึ่งในอดีตใช้สำหรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจร แต่ปัจจุบันถูกปรับมาเป็นสี่แยกที่เห็นกันอย่างแพร่หลาย ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1790 นั่นคือยุคแรกที่แนวคิดการสัญจรรถเป็นวงกลมถือกำเนิด โดย ‘Pierre L’Enfant’ สถาปนิกพ่วงตำแหน่งวิศวกร เขาเริ่มจากการสร้างต้นแบบในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา จนในปี 1905 ก็ได้ฟื้นฟูรูปแบบและพัฒนาจนกลายเป็นสี่แยกวงกลมแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า ‘Columbus Circle’ ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่า ณ มหานครนิวยอร์ก ก่อนจะถูกเรียกว่า ‘วงเวียน’ เต็มรูปแบบอย่างทุกวันนี้ หลักการพื้นฐานของวงเวียนคือการช่วยให้การจราจรที่อยู่ภายในหมุนเวียนได้อย่างลื่นไหล โดยไม่ต้องใช้สัญญาณไฟจราจร ซึ่งในวงเวียนอาจมีเลนภายในด้วย ยกตัวอย่างการใช้งานที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าระบบการจราจรที่นั่นส่วนใหญ่ แม้แต่จุดเปลี่ยนเส้นทางเล็กๆ ในเมือง มักจะใช้วงเวียนมากกว่าการใช้สัญญาณไฟจราจร หรือประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างจีน ก็มีสถานที่ชื่อดังอย่าง ‘วงเวียนหมิงจู่ (Mingzhu)’ ซึ่งกลายเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ครบวงจรมากกว่าการให้รถยนต์สัญจรไปมา แต่ยังสามารถเดินบนสกายวอร์กเชื่อมไปยังศูนย์การค้าหรือตึกต่างๆ ของย่านการค้าใจกลางเมืองโดยไม่ต้องข้ามถนน ข้อมูลทางสถิติจากการประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพความปลอดภัยของวงเวียนและการควบคุมทางแยกแบบดั้งเดิม โดยสถาบันวิศวกรการขนส่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า วงเวียนที่ถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์จะปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่และคนเดินถนนมากกว่าสัญลักษณ์ในการจราจรรูปแบบอื่นๆ เพราะอัตราการเร่งรถจะลดลงเหลือ 25 – 40 กม. เท่านั้น […]

รถเมล์ไทยหลังโควิด-19

แม้เครื่องบินจะหยุดชะงักเมื่อโรคระบาดมา แต่เชื่อว่าคนไทยเองยังจำเป็นต้องเดินทางอยู่ ดังนั้นรถสาธารณะอย่าง ‘รถเมล์’ ยังคงขายดีอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่ผู้ใช้บริการจะคำนึงเป็นอันดับแรกคงหนีไม่พ้นความสะอาด และความปลอดภัย เราเลยลองจินตการดีไซน์รถเมล์ไทยหลังโควิด-19 มาให้ดูกัน แล้วเพื่อนๆ ล่ะ อยากให้รถเมล์ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบไหนกันบ้าง

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่เชื่อมทุกย่านเข้าด้วยกัน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่กำลังจะเปิดทดลองขึ้นฟรี 5 สถานี จะมีอะไรบ้างและไปทำความรู้จักกับสายสีน้ำเงินให้สนิทขึ้นกันเลย

เรื่องเล่ารายวิน 12 “ตีห้าครึ่งถึงสามทุ่ม”

“เช้าตื่นก็ต้องรีบไปปากซอย ต้องคอยว่าใครจะมาเรียกใช้ ถึงสายก็คงต้องคอยต่อไป เมื่อไรจะรวยกับเขาสักทีหนอ….!” เพลงนี้ที่คุณเสกร้องไว้มันช่างตรงกับชีวิตวินมอไซค์เสียจริงเชียวที่ต้องตื่นแต่เช้ามานั่งคอยคนเรียก มองคนเดินผ่านไปผ่านมาแล้วหวังในใจลึกๆว่าเค้าจะเรียกให้เราขี่ไปส่ง… ผมมีเพื่อนอยู่คนนึงชื่อโอเล่ใส่เสื้อเบอร์ 65 โอเล่มันเล่าว่า ทุกคืนประมาณตีสามมันต้องตื่นไปรับลูกค้าประจำของมันเพื่อไปส่งยังจุดหมายแล้วจะเข้าบ้านไปนอน ต่ออีกนิด พอตีห้าก็ออกมาวิ่งวินฯต่อยาวไปจนสามทุ่มกว่าๆเลย! ต้องบอกว่าผมนี่ยอมรับหัวจิตหัวใจของความมานะในการตื่นนอนเพื่อเงินของโอเล่มันเหลือเกิน ซึ่งถ้าเคสนี้เปลี่ยนมาเป็นตัวผม ต้องบอกเลยว่า “ไม่ไหวล่ะครับ” ตื่นตั้งแต่ตีสามแบบนี้ แต่กระนั้น ความพยายามและจุดมุ่งหมายของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน ก็แล้วแต่คนล่ะนะครับว่าจะเลือกทำแบบไหน การรอคอยไม่ใช่เรื่องสนุกเลยนะครับ วินฯในกรุงเทพฯบางครั้งบางทีที่ผมสังเกตเห็นก็คือแทบจะไม่ต้องรอผู้โดยสารเลยเพราะคนเยอะมาก สลับกันกลายเป็นผู้โดยสารที่ต้องต่อแถวยืนรอวินฯเพราะในช่วงเวลาเร่งด่วน ใครๆก็อยากจะใช้บริการวินมอไซค์ที่มีความคล่องตัวสูงด้วยกันทั้งนั้น…. แต่วินฯต่างจังหวัดอย่างผมมันไม่ใช่แบบนั้นน่ะสิครับ บางครั้งบางทีนั่งรอกันเป็นชั่วโมงสองชั่วโมงก็มีกว่าจะได้ออกแต่ละคัน นั่งโขกหมากรุกกันจนตูดด้านแล้วยังไม่มีผู้โดยสารมาโบกมือเรียกเลย! ที่พอจะคล่องบ้างก็แค่ช่วงเช้ากันเย็นนิดๆหน่อยๆเท่านั้นช่วงกลางวันนี่เรียกได้ว่า หลับรอกันได้เลยทีเดียว บางคนทนรอไม่ไหว จับกลุ่มพากันไปแทงสนุ๊กเดิมพัน กินเงินกันเองอีก ไอ้คนได้ก็ยิ้มไปสิ ส่วนคนที่เสียนี่บอกเลย หน้าซีดเป็นไก่ต้มก็มิปาน! ครั้งนึงผมเคยนั่งรอผู้โดยสารมาประมาณชั่วโมงกว่าๆ จนมีน้องผู้หญิงคนนึงเดินมาเรียกให้ไปส่งบ้านส่วนราคาค่าโดยสารอยู่ที่ 15 บาท ผมก็สตาร์ทรถออกทันที แต่แล้ว..!! เรื่องที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น พอผมออกจากวินมาได้นิดเดียวเท่านั้น มีมอไซค์ขับสวนมา น้องผู้หญิงที่ซ้อนท้ายผมอยู่มันก็เรียกแล้วบอกให้ผมจอดพร้อมพูดกับผมว่า “พี่ๆ หนูขอโทษนะคะ พอดีแฟนหนูมารับพอดี” แล้วน้องมันก็ลงจากรถผมไปโดดขึ้นรถแฟนมันแล้วก็ขี่ไปเลย ทิ้งผมไว้กับความงงงวยและซวยสุดๆ เพราะออกคิวมาแล้วแถมไม่ได้ตังค์ กลับไปถึงวินฯก็ต้องต่อคิวใหม่ รอมาชั่วโมงกว่าเงินกลายเป็นศูนย์บาท โอ้มายก็อดดดด!! เวลาว่างๆผมมักจะชวนเพื่อนวินฯคุยเล่นถามอะไรไปเรื่อย มีอยู่คนนึงชื่อตาจบใส่เบอร์ 20 แกเป็นคนตัวเล็กนิดเดียว พรรคพวกที่วินฯจึงเรียกแกว่าตาเตี้ย! วันนั้นตอนประมาณสามทุ่มผมถามแกว่า “น้า วันนี้ได้กี่ตังค์แล้วเนี่ย?” แกตอบว่า “ไม่รู้สิประมาณ 500 มั้ง” “อ้าวแล้วนี่ออกจากบ้านมาตั้งแต่กี่โมงอะ?” ผมถามต่อ… “ตีห้าครึ่ง!” แล้วแกก็ขอตัวกลับบ้านเพราะถึงเวลาที่จะต้องพักผ่อนแล้ว…. นั่นล่ะครับ เงิน 500 บาทแลกกับกี่ชั่วโมงล่ะตั้งแต่เช้ามืดยันมืดค่ำ เป็นเงินที่แลกมาด้วยความอดทนในการรอคอยแท้ๆเลยทีเดียว เงินมันมีพลังมากมายนะครับ ดลบันดาลได้ทุกสิ่งอย่าง เมื่อมีเงินแล้วก็สามารถหาซื้อความสุขได้ ฉะนั้น อดทนกันนะครับทุกคน….

เรื่องเล่ารายวิน 11 “จะเร็วหรือช้า มันก็ต่างกันไม่กี่บาท”

การขับขี่ยานพาหนะบนถนนเนี่ย นอกจากจะต้องระวังให้รอบด้านเพื่อความปลอดภัยของตัวเองแล้ว เรายังควรที่จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของเพื่อนร่วมทางด้วยนะครับ ยิ่งถ้าเป็นผู้ขับขี่รับจ้างสาธารณะอย่างวินฯมอไซค์ด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งต้องระวังให้มากขึ้นไปอีกสองเท่าตัวเลย เพราะถ้าประสบอุบัติเหตุขึ้นมา มันจะไม่ใช่แค่คุณที่เจ็บ แต่ผู้โดยสารที่ซ้อนท้ายคุณอยู่ก็เจ็บด้วย หรือเกิดโชคร้ายสุดๆคือเสียชีวิตขึ้นมาเนี่ย ก็ไม่รู้ว่าจะรับผิดชอบกันยังไงไหวเหมือนกันนะ ฉะนั้น ในเมื่อผู้โดยสารเค้ามอบความไว้วางใจให้เราดูแลชีวิตเค้าจนถึงที่หมายแล้ว เราควรตอบแทนน้ำใจเค้าโดยการไม่ประมาทและส่งเค้าให้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยด้วยนะ ช่วงเช้าของชาววินฯผมนั้น เกือบทุกคนจะไปกระจุกตัวกันอยู้ที่ปากประตูนึง ซึ่งเป็นลานจอดรถของบริษัทนึงอีกนั่นแหละ ตรงนี้ช่วงเช้าจะมีผู้โดยสารขึ้นวินฯไปหน้าโรงงานเยอะเพราะเค้าจำเป็นจะต้องเอารถมาจอดตรงนี้และบางทีขี้เกียจเดินก็ขึ้นวินกันไปในระยะใกล้ๆ ค่าตอบแทนก็แค่คนละ 10 บาท อาศัยวิ่งระยะใกล้ไปกลับแป๊ปเดียว แต่ด้วยความที่มีวินฯมอไซค์หลายสิบคันมาจอดรอกันอยู่ มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่บางครั้งอาจจะต้องมีการทำความเร็วกันเพื่อรีบกลับมาเอารอบเข้าคิวเพื่อรอรอบต่อไป ซึ่งบางคันก็เร่งจนเกินงาม!! จนเกินงามในที่นี้คือมันดูน่าหวาดเสียวและอันตรายเกินไปน่ะนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ขับแซงรถพ่วงหกล้อสิบล้อสิบแปดล้อในขณะที่มีผู้โดยสารซ้อนท้ายอยู่ คือในตอนเช้าเนี่ย อะไรๆมันก็จะไหลเข้ามาในสวนอุตสาหกรรมแห่งนี้ทั้งนั้นนะครับ โดยเฉพาะรถบรรทุกที่ต้องบรรทุกสิ่งของต่างๆเข้าออกอยู่ตลอดเวลา และการขับแซงรถใหญ่ประเภทนี้ในช่วงเวลาเร่งด่วนมันจึงดูไม่ค่อยเหมาะสมนักในสายตาของผมน่ะนะ บางครั้งผมออกตัวมาก่อนแล้วกำลังต่อท้ายรถพ่วงเพื่อรอจะเข้าโค้งไปหน้าโรงงานอยู่ มีอีกคันนึงตามมา เค้าแซงขวารถพ่วงไปเลยพร้อมบีบแตรลั่นตลอดทางเพื่อส่งเสียงให้รถชะลอให้จนไปแซงพ้นตรงก่อนจะเข้าโค้งแค่นิดเดียวซึ่งมันอันตรายมากๆ ผมสังเกตเห็นสีหน้าของผู้โดยสารสาวคนนั้นแล้วรับรู้ได้เลยว่าเธอเกร็งและเป็นกังวลเอามากๆ ไม่ชนไม่คว่ำมันก็ดีไป แต่อย่างที่รู้ๆกันนะครับว่าคำว่า”อุบัติเหตุ”เนี่ย มันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งถ้าทุกคนตระหนักตรงนี้ได้ ผมว่าจะลดปัญหาบนท้องถนนลงเยอะเลยแหละ ผมเคยถามพรรคพวกที่ชอบทำความเร็วแบบนี้นะครับ ว่าที่มาซอยเข้าออกโรงงานช่วงเช้าเนี่ย ได้เงินกี่บาท จำนวนเงินที่เค้าได้มากกว่าผมแค่ 20-30 บาทแค่นั้นเองนะ ตัวผมก็ขับเร็วในระดับหนึ่งไม่ได้ช้าจนอืดแต่ก็ไม่เร็วจนหวาดเสียว ไม่แซงทางโค้งและไม่ฉวัดเฉวียนใดๆ ผมจึงถูกแซงเอาบ่อยๆ แต่ก็นั่นแหละครับ 20-30 บาทแลกกับความปลอดภัยอันนี้ถือว่าคุ้มค่ามากๆ ผมมองไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องเร็วจนอันตรายขนาดนั้นเพื่อเงินเพียงไม่กี่บาทเลยนะ แต่ก็ไม่รู้ทำไมหลายๆคนจึงตั้งหัวความคิดของตัวเองไว้ว่าต้องเร็วและเร็วและเร็วด้วยก็ไม่รู้…. หรือบางทีตอนเย็นช่วง […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.