สิงคโปร์ พลิกฟื้นสลัมสู่เมืองแนวตั้งและชุมชนทันสมัย สร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัด

จากชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกาะภูเก็ตเพียงเล็กน้อย ปัจจุบัน ‘สิงคโปร์’ กลายเป็นหนึ่งในประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยโอกาสและเม็ดเงินมหาศาลจากทั่วโลก แต่ถึงอย่างนั้น ทุกเมืองทุกพื้นที่ย่อมมีข้อจำกัดของตัวเอง ด้วยความที่เป็นเกาะขนาดเล็กและมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติ ทำให้ดินแดนแห่งเมอร์ไลออนกลายเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ติดอันดับหนึ่งในสามของโลกอยู่เสมอ แต่ด้วยความสามารถในการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สิงคโปร์ยังรองรับผู้คนจากทั่วโลกได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายการสร้างความมั่นคงทางที่อยู่อาศัยด้วย ‘HDB Flat’ หรือแฟลตรัฐบาลที่เพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในราคาที่จับต้องได้ และนอกจากโมเดลที่อยู่อาศัยแนวตั้งสำหรับชาวสิงคโปร์ อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงความท้าทายใน ‘แฟลตของประชาชน’ ที่ยังมีข้อจำกัดในกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นงานของรัฐบาลที่ต้องหาทางแก้ไขต่อไป จากชุมชนแออัดสู่ตึกอาคารชุดโดยรัฐ หลังจากหลุดพ้นการเป็นหนึ่งในอาณานิคมของประเทศอังกฤษในปี 1959 เกาะสิงคโปร์ต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจากผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งชาวจีน อินเดีย และมาเลเซีย ซึ่งทั้งหมดได้กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศในเวลาต่อมา ด้วยเหตุดังกล่าว ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในปี 1960 รัฐบาลสิงคโปร์นำโดยนายกรัฐมนตรี ‘ลี กวน ยู’ ได้เริ่มต้นวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยจัดตั้ง Housing & Development Board (HDB) หรือหน่วยการเคหะแห่งชาติสิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย โดยรัฐบาลได้กว้านซื้อที่ดินสลัมทั่วประเทศและเปลี่ยนเป็นพื้นที่สำหรับพัฒนาเมือง  ปัจจุบันประชากรในสิงคโปร์กว่า 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ใน HDB แฟลต ซึ่งเป็นตึกที่อยู่อาศัยแนวตั้งเพื่อป้องกันปัญหาความแออัด โดยที่รัฐเป็นผู้วางแผนทั้งหมด ผู้เช่าอาศัยจะได้รับสิทธิ์อยู่อาศัยเป็นเวลา […]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

‘GINLEE Studio’ แบรนด์แฟชั่นจากสิงคโปร์ที่ผลิตสินค้าไปพร้อมๆ กับลดขยะให้โลก

เมื่อพูดถึง ‘สิงคโปร์’ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงเมืองสีเขียวหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะนึกถึง ‘แฟชั่น’ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของสิงคโปร์ เพราะความจริงแล้วสิงคโปร์เองก็มีแบรนด์แฟชั่นโลคอลที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ‘GINLEE Studio’ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แถมยังเป็นแบรนด์ที่บุกเบิกให้วงการแฟชั่นในสิงคโปร์มีความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านการดำเนินงานและความร่วมมือจากลูกค้าของแบรนด์ Urban Creature มีโอกาสไปร่วมลองทำกระเป๋ากับ GINLEE Studio ที่สิงคโปร์ จึงอยากชวนให้ทุกคนได้ทำความรู้จักแบรนด์นี้กันมากขึ้น เผื่อว่ามีโอกาสจะได้แวะไปสัมผัสกับประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบใหม่ที่สิงคโปร์กัน GINLEE Studio แบรนด์แฟชั่นที่โฟกัสความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม GINLEE Studio ก่อตั้งโดย ‘Gin Lee’ แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวสิงคโปร์ และ ‘Tamir Niv’ นักออกแบบอุตสาหกรรมชาวอิสราเอล โดยธุรกิจนี้เริ่มต้นในปี 2011 ที่ประเทศอิสราเอล ก่อนจะย้ายมาเปิดธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ในปี 2020 Tamir บอกกับเราว่า ในฐานะผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น ทางแบรนด์เข้าใจดีว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นนั้นสร้างขยะมากแค่ไหน เช่นเดียวกับแบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ก่อนหน้านี้ GINLEE เองก็ผลิตสินค้าออกมาเป็นจำนวนมาก แต่จำนวนของคนซื้อนั้นกลับน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตออกมา ทำให้สินค้าเหล่านั้นต้องเปลี่ยนมูลค่าจากแฟชั่นกลายเป็นขยะ ทำให้แบรนด์ตระหนักถึงปริมาณขยะที่เกิดจากการผลิตสินค้ามากเกินไป จึงตัดสินใจลดการผลิตลงเหลือแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อควบคุมการผลิตให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม  โดย […]

สัมผัส ‘สิงคโปร์’ มุมใหม่กับ ‘Made in Singapore’ เดินสำรวจย่านและสัมผัสธรรมชาติในพื้นที่เมือง

‘สิงคโปร์’ ประเทศขนาดเล็กที่อัดแน่นไปด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องเทคโนโลยี ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการสร้างธรรมชาติให้อยู่ร่วมกับชีวิตในเมืองได้อย่างสมดุล แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อพูดถึงสิงคโปร์และสถานที่ท่องเที่ยว หลายครั้งเราก็มักจะคิดถึงแต่จุดท่องเที่ยวแบบเดิมหรือแลนด์มาร์กที่ไม่ว่าไปกี่ครั้งก็ต้องแวะไปเยี่ยมชมทุกครั้ง แม้จะคลาสสิกแต่กลับทำให้การท่องเที่ยวนั้นไม่แปลกใหม่ขึ้นเลย เพราะเหตุนี้ แคมเปญ ‘Made in Singapore’ โดย ‘การท่องเที่ยวสิงคโปร์’ (Singapore Tourism Board : STB) จึงเกิดขึ้นเพื่อชวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาสัมผัสประสบการณ์ในสิงคโปร์ได้อย่างเต็มที่และต่างไปจากเดิม ผ่านจุดท่องเที่ยวธรรมชาติต่างๆ ที่แทรกตัวอยู่ในทุกที่ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่หลอมรวมอยู่ในเกาะแห่งนี้ ดังนั้นหากใครมีแพลนจะไปท่องเที่ยวสิงคโปร์เร็วๆ นี้ และยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง คอลัมน์ Urban Guide ขอแนะนำ ‘4 สถานที่’ และ ‘2 กิจกรรม’ ที่จะเปลี่ยนการเที่ยวสิงคโปร์แบบธรรมดาให้พิเศษมากกว่าเดิม รับรองว่าต่อให้เป็นการกลับไปเที่ยวซ้ำอีกครั้งก็จะไม่รู้สึกเบื่อหรือจำเจแน่นอน Jewel Changi สัมผัสธรรมชาติกลางศูนย์การค้าในสนามบิน ไปถึงสิงคโปร์ทั้งทีไม่ควรพลาดแลนด์มาร์กแห่งใหม่อย่าง ‘Jewel Changi’ ที่โดดเด่นด้วยลักษณะอาคารโดมกระจก มาพร้อม ‘น้ำตก’ ความสูงกว่า 40 เมตร รายล้อมด้วยสีเขียวของต้นไม้หลากหลายสายพันธุ์ จนแทบไม่เชื่อว่าธรรมชาติทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์การค้าภายในสนามบิน โดมขนาดใหญ่ที่เห็นประกอบด้วยกระจกกว่า 9,000 […]

‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งใหม่ในสิงคโปร์ เปิดพื้นที่ให้ใกล้ชิดกับนกในธรรมชาติกว่า 3,500 ตัว

เมื่อพูดถึงการศึกษาพันธุ์นกต่างๆ หรือการชมนกหายาก ภาพที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นการต้องเข้าไปในป่าลึก ซ่อนตัวตามพื้นที่เพื่อรอนกสักตัวบินมาให้เห็น แต่ปัจจุบันใครที่อยากสัมผัสเจ้าสัตว์ชนิดนี้แบบง่ายๆ แค่ตีตั๋วไปประเทศสิงคโปร์ก็สามารถใกล้ชิดและสัมผัสชีวิตนกเหล่านี้ตามธรรมชาติได้ที่ ‘สวนนก Bird Paradise’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์แห่งใหม่ สวนนก Bird Paradise เป็นหนึ่งในสวนนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 170,000 ตารางเมตรใน ‘เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่ามันได’ ให้ทั้งนักท่องเที่ยวและผู้คนที่ชื่นชอบนกได้มาสัมผัสวิถีชีวิตของสัตว์ชนิดนี้ตามธรรมชาติอย่างใกล้ชิดกว่า 3,500 ตัวจาก 400 สายพันธุ์ ทั้งจากแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย ภายในสวนนกมีทั้งหมด 10 โซน และกรงนกขนาดใหญ่จำนวน 8 กรงที่เชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกสบายในการเดินสำรวจและเรียนรู้วิถีชีวิตตามธรรมชาติของนกสายพันธุ์ต่างๆ อีกทั้งแต่ละกรงนั้นได้จำลองระบบชีวนิเวศจากทั่วโลกเอาไว้ ทั้งป่าฝนแอฟริกา พื้นที่ชุ่มน้ำในอเมริกาใต้ นาข้าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงป่ายูคาลิปตัสของออสเตรเลีย นอกจากนี้ สวนนกแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับพืช สัตว์ และระบบนิเวศในท้องถิ่นจากสื่อการเรียนรู้เชิงโต้ตอบภายในพื้นที่ได้อีกด้วย รวมถึงมีการให้อาหารนกที่จะมีนกสายพันธุ์ใหม่ๆ ให้ชมกันอย่างใกล้ชิด เช่น นกเอี้ยงกิ้งโครง นกเงือกแอฟริกัน และนกเงือก ที่โซน Heart of Africa, นกกระทุงที่โซน Kuok […]

SingaporeReimagine เที่ยวสิงคโปร์แนวใหม่ เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวยั่งยืน สุขภาพดี อาหารหลากหลายและสถานที่สุดสร้างสรรค์

ช่วงนี้กำลังมองหาประเทศที่เดินทางไปเที่ยวง่ายๆ กันอยู่ใช่ไหม ตอนนี้สิงคโปร์กลับมาเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ พร้อมเปิดตัวการท่องเที่ยวแคมเปญใหม่ SingaporeReimagine เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกอีกครั้ง ถ้ายังไม่รู้ว่าทริปสิงคโปร์รอบนี้ไปไหนดี ลองเลือกดูจากแคมเปญนี้กันได้เลย! SingaporeReimagine แคมเปญการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่เน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ ผ่าน 4 หัวใจหลักจากการท่องเที่ยวสิงคโปร์ ได้แก่ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สุขภาพดี ประสบการณ์อาหารที่หลากหลาย และสถานที่เที่ยวอันน่าตื่นตาตื่นใจ  1. ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainability) สิงคโปร์ชูการท่องเที่ยวให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นเมืองในธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว, อาหารการกิน, กิจกรรมช้อปปิง และรูปแบบการท่องเที่ยว ก็จะต้องสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างเมืองที่มีคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน  2. ด้านสุขภาพที่ดี (Wellness) สิงคโปร์ให้ความสำคัญต่อการมีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ จึงส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ช่วยผ่อนคลายหรือสร้างความสดชื่น พร้อมการฟื้นฟูสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นในขณะท่องเที่ยว ราวกับว่าได้มีโอกาส ‘ชาร์จแบตฯ ให้ชีวิต’ อีกครั้ง 3. ด้านประสบการณ์อาหารที่หลากหลาย (Food & Dining) สิงคโปร์คือแหล่งรวมความหลากหลายของอาหารตั้งแต่ระดับสตรีทฟู้ดไปจนถึงไฟน์ไดนิง และการหลอมรวมวัฒนธรรมอาหารจากหลากเชื้อหลายชาติที่ซ่อนเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของชาติสิงคโปร์อยู่ในทุกจาน  4. ด้านสถานที่ท่องเที่ยวอันน่าตื่นตาตื่นใจ (Novelty & Excitement) ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์สุดพิเศษที่จะเกิดขึ้นครั้งแรกในสิงคโปร์หรือมีเฉพาะที่สิงคโปร์เท่านั้น อาทิ SkyHelix Sentosa […]

พนักงานสิงคโปร์เกินครึ่ง ยอมรับว่ากำลังเบิร์นเอาต์ และงานไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดอีกต่อไป

รายงานฉบับใหม่จาก Employment Hero ผู้ให้บริการด้านทรัพยากรบุคคล ได้สอบถามพนักงานชาวสิงคโปร์ 1,005 คน เกี่ยวกับการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งคำตอบก็แสดงให้เห็นเลยว่า 62 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงานแดนลอดช่องกำลังประสบกับภาวะหมดไฟ งานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้ยังระบุว่า พนักงาน 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามี Work Life Balance แต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีนัก เรียกว่าสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานอยู่ในขั้นปริ่มๆ เท่านั้น ซึ่งหลักที่ทำให้เกิดอาการเบิร์นเอาต์ของผู้ทำการวิจัย มาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อการทำงานและกระทบกับสุขภาพจิตด้วย พนักงาน 43 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ส่งผลกระทบในทางลบต่ออาชีพการงาน ขณะที่ 68 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขาค่อนข้างเครียดเรื่องการเงิน และมีพนักงาน 65 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่าระดับความเครียดของพวกเขาในที่ทำงานสูงขึ้นมากจากผลกระทบของโควิด-19 อาการหมดไฟในการทำงานไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และส่งผลกระทบกับงานที่ทำโดยตรง ผลวิจัยบอกว่าพนักงาน 42 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าสภาวะหมดไฟทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และคนทำงานที่ปราศจาก Work Life Balance มีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟถึง 52 เปอร์เซ็นต์ และพนักงานที่ผลงานส่วนตัวไม่ดีและไม่มีเวลาสำหรับชีวิตมิติอื่น ก็จะสร้างวงจรของความเหนื่อยหน่ายและความเครียดที่หนักกว่าเดิมด้วย สถิติที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนายจ้างคือ 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานยอมรับว่า อาชีพของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกอีกต่อไป แต่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต […]

Bedok & Siglap เที่ยวชายฝั่งตะวันออกสิงคโปร์ ย่านรวมกิจกรรมและร้านอาหารนานาชาติ

เราเชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องเคยมาเที่ยวสิงคโปร์กันบ้างแล้ว ด้วยความที่ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่ที่ไม่ไกลจากบ้านเราเลย บินจากกรุงเทพฯ มาใช้เวลาสองชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง (ขับรถเผชิญกับรถติดใน กทม. บางทีอาจจะนานกว่านั้น) แต่เราก็แอบมั่นใจว่าคนจำนวนไม่มากในหมู่คนที่เคยมาเที่ยวสิงคโปร์แล้วจะเคยลองออกเดินทางนั่งรถไฟหรือรถเมล์ไปสำรวจจุดอื่นๆ นอกจากในย่านเมืองหลัก เช่น ถนน Orchard, Gardens by the Bay และ Marina Bay Sands  วันนี้เราขออาสาพาคุณไปเดินสัมผัสย่าน Bedok (เบด็อก) และ Siglap (ซิกแลป) ย่านพักอาศัยทางตะวันออกของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ห่างจากสวนชายฝั่งตะวันออก (East Coast Park) และสนามบิน Changi เพียงเล็กน้อย เรามั่นใจว่าหลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบลง คุณจะต้องรู้สึกอยากลองไปเยี่ยมดูสักครั้งบ้างล่ะ  เล่าประวัติของ Bedok และ Siglap ย่านเล็กๆ สองย่านนี้ให้ฟังกันสักเล็กน้อยก่อนที่เราจะเริ่มออกเดินทางกัน สองย่านที่ติดกันนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวชายฝั่งทะเลทางฝั่งตะวันออกของสิงคโปร์ โดยก่อนปี 1960 แหล่งรายได้หลักของชาวบ้านในสมัยนั้นก็คือมะพร้าว และการทำประมง ปัจจุบัน Bedok และ Siglap เป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาใหม่ในสิงคโปร์ ทำให้รอบบริเวณนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร และร้านค้าน่าสนใจมากมาย […]

Duxton & Keong Saik เดินเล่นร้านเก่าและร้านเก๋ ย่านประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์

ถ้าคุณถามผมเมื่อปีที่แล้วถึงสิงคโปร์ ผมคงส่ายหัวเบาๆ ก่อนตอบแบบไร้เยื่อใยว่าไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากเมอร์ไลออน ถนนออร์ชาร์ด เซ็นโตซา การ์เดนส์บายเดอะเบย์ แล้วก็…ข้าวมันไก่ – หารู้ไม่ว่าผมเองจะถูกโชคชะตาและสถานการณ์โควิดพัดพาชีวิตย้ายมาทำงานถึงประเทศนี้ – ประเทศที่ผมเคยบอกว่าไม่มีอะไรเลย คนสิงคโปร์ทำงานกันจริงจัง แต่ก็เที่ยวกันอย่างบ้าคลั่งเช่นเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่การเดินทางข้ามประเทศทำได้ยาก ผมถือโอกาสนี้สำรวจย่านต่างๆ ที่น่าสนใจและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ หนึ่งในนั้นคือย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) ครับ “โห แถวนั้นน่ะเหรอ มีแต่ร้านมิชลินเหอะ” – คำตอบจากเพื่อนเจ้าถิ่นเมื่อผมถามถึงย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) คำตอบนี้ไม่เกินจริงเลย หากคุณลองกดดูแผนที่ร้านอาหารในเว็บไซต์หลักของมิชลิน ไกด์ในสิงคโปร์ (https://guide.michelin.com/sg/en) จะพบร้านที่ถูกปักหมุดว่าได้ดาวมิชลินหรือไม่ก็บิบ กูร์มองด์ กระจุกตัวอยู่ในย่านนี้นับได้เกินสิบร้าน – ไม่น่าแปลกใจที่ย่านด้านตะวันตกของไชนาทาวน์แถบนี้จะถูกนิยามโดยคนสิงคโปร์ว่าเป็นย่านแห่งร้านอาหารสุดฮิป ที่แม้ชื่อของย่านนี้จะไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่รับประกันได้ว่าแอบซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด หากใครมีโอกาสมาสิงคโปร์อยากให้ลองแวะมาที่ Duxton และ Keong Saik ดูสักครั้ง เพราะถนนสายเล็กๆ ทั้ง 2 […]

สิงคโปร์ทดลองใช้ Lego ปลูกปะการัง ทำฟาร์มแนวตั้งเพื่อประหยัดพื้นที่

สิงคโปร์เป็นแหล่งรวมความหลากหลายของสายพันธุ์ปะการังกว่า 1 ใน 3 จาก 800 สายพันธุ์ทั่วโลก ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมากสำหรับประเทศเล็กๆ แต่ในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ปะการังในสิงคโปร์ลดจำนวนลงเรื่อยๆ เนื่องจากการถมที่ดินและการพัฒนาชายฝั่งที่ทำให้บ้านของปะการังถูกทำลาย นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) จึงได้คิดค้นวิธีในการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปะการัง ด้วยการทดลองใช้ตัวต่อเลโก้ (Lego) มาใช้เป็นบ้านในการอนุบาลปะการังขนาดเล็กหรือปะการังที่ถูกทำลาย ซึ่งเป็นการทดลองนำเลโก้มาใช้ในการอนุรักษ์ปะการังเป็นครั้งแรกของโลก  Jani Tanzil หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ของโครงการนี้ บอกว่า เลโก้เป็นวัสดุขนาดเล็กที่สามารถปรับแต่งได้ง่าย และยังมีปุ่มที่เหมาะกับการยึดเกาะของปะการัง หากมีปะการังชิ้นใหญ่ก็สามารถนำเลโก้มาต่อเพิ่มเพื่อให้ได้บ้านที่หลังใหญ่ขึ้น ไม่ต่างจากการต่อเลโก้เล่นในชีวิตประจำวัน ที่ถูกออกแบบมาให้ต่อได้หลากหลายรูปทรง โดยนักวิทยาศาสตร์จะดำน้ำเพื่อลงไปเก็บปะการังที่เสียหายออกจากแนวปะการังและตัดชิ้นส่วนออกมาเพาะใหม่บนตัวต่อเลโก้ และนำไปเพาะในอะควาเรียม จากชิ้นส่วนปะการังชิ้นเล็กๆ ก็สามารถเติบโตเป็นช่อใหญ่ได้  เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศเล็กๆ และมีพื้นที่จำกัด การจะหาพื้นที่ที่กว้างมากพอเพื่ออนุบาลปะการังเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประชากรส่วนใหญ่ก็ล้วนอยู่อาศัยในตึกสูง การใช้เลโก้ในโครงการนี้จึงช่วยประหยัดพื้นที่ได้มาก เพราะสามารถนำตัวต่อมาห้อยต่อกันเพื่อทำฟาร์มแนวตั้ง (​​Vertical Farming) ได้ ถึงแม้จะไม่ใช่ไอเดียที่ใหม่เท่าไหร่ แต่เมื่อนำมาปรับใช้กับการปลูกปะการังแล้วมันเวิร์กมากๆ เพราะตัวต่อเลโก้กินพื้นที่น้อยและสามารถต่อร้อยกับเชือกให้ยาวขึ้นไปได้เรื่อยๆ และประหยัดพื้นที่ในอะควาเรียมที่พวกเขาใช้เป็นที่ทดลองไปได้เยอะ ซึ่งในขณะนี้กำลังทำการทดลองกันอยู่ที่ St. John’s Island National Marine […]

บราวนี่อึแมวจากสิงคโปร์ ไอเดียแกล้งกันวันฮาโลวีน

คุณก็รู้ว่าเดือนตุลาคมของทุกปีคือเดือนปล่อยผี ซึ่งนอกจากทั่วโลกจะเต็มไปด้วยบรรยากาศของธีมสยองขวัญแบบฉบับเทศกาลฮาโลวีน แต่อีกด้านหนึ่งยังมีความหอมหวานของขนมต่างๆ ที่ผู้คนหยิบยื่นให้แก่กัน ตามธรรมเนียมแล้วจะมีเด็กๆ หลายคนตั้งตารอการได้รับขนมหวานเต็มถัง และในฐานะผู้ใหญ่ หลายๆ คนต้องเป็นคนแจกขนมต่างๆ ให้เหล่าเด็กๆ แต่โจทย์ของ Nasty Cookie จะทำให้การมอบขนมให้แก่กันสนุกและขบขันขึ้นยิ่งกว่าเดิม เพราะ Nasty Cookie ร้านคุกกี้ที่มีอยู่หลายสาขาในประเทศสิงคโปร์ได้เปิดตัวบราวนี่ตัวล่าสุดที่ชื่อ Cat Poop Brownies ซึ่งเป็นขนมที่มีรูปลักษณ์เหมือนขี้แมว ใช่ เหมือนมากๆ จนเราก็ตกใจ ซึ่งความหัวใสนี้มาจากความตั้งใจดีไซน์ให้การมอบของหวานในฮาโลวีนปีนี้แปลกใหม่ สนุกล้ำขนาดที่มีคำเชิญชวนจากทางร้านว่า “ฮาโลวีนนี้ขอเชิญคุณมากินอึ” ตรงกับที่ Mothership สำนักข่าวในสิงคโปร์รายงานว่าร้านคุกกี้แห่งนี้ได้ส่งข่าวประชาสัมพันธ์การเปิดตัวสินค้าดังกล่าวมาทางอีเมลด้วยข้อความเดียวกัน สำหรับลูกค้าที่สนใจจะซื้อบราวนี่ Cat Poop ต้องจ่ายเงินจำนวน 5 ดอลลาร์สิงคโปร์ (คิดเป็นเงินไทยจำนวน 120 กว่าบาท) โดยคุณจะได้รับกล่องขนมบรรจุบราวนี่อึน้องแมวที่เสิร์ฟมาบน ‘ทรายแมว’ ซึ่งทำจากเศษผง สตรูเซล อันประกอบไปด้วยส่วนผสมของแป้ง เนย และน้ำตาล เรียกได้ว่าดีเทลหน้าตาของมันเต็มไปด้วยความใส่ใจในรายละเอียดจนมีความสมจริงอย่างไร้ที่ติ ชนิดที่ว่าถ้าคนที่ได้รับเป็นของขวัญไม่ขำหรือร้องหยีก็ให้มันรู้ไป ถ้าอยากจะลิ้มลองขนมอึชนิดนี้ เจ้าบราวนี่ขี้แมวของ Nasty Cookie จะวางจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และในร้านค้าตั้งแต่วันที่ 16 […]

ที่ปิดแผลจากเปลือกทุเรียน กลิ่นไม่แรง สมานแผลไว

เมื่อความหลงใหลในทุเรียนของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมากล้น นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์หัวใสเลยหยิบเอาความคลั่งไคล้นี้มาหวดเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ  เรื่องมีอยู่ว่า เหล่านักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง สิงคโปร์ (NTU) ได้แปลงร่างเจ้าเปลือกทุเรียนให้เป็นแผ่นเจลต้านเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นการนำส่วนเปลือกที่เรากินไม่ได้มาใช้ประโยชน์  กระบวนการสุดเจ๋งนี้ใช้การสกัดผงเซลลูโลสออกจากส่วนแกลบทุเรียนด้วยกรรมวิธี Free-Drying Process จากนั้นผงเซลลูโลสจะผสานเข้ากับสารกลีเซอรอล (ผลพลอยได้จากวิธีการรีไซเคิลรูปแบบหนึ่งที่มาจากอุตสาหกรรมไบโอดีเซลและสบู่) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นซอฟต์เจลที่ปรับให้เป็นที่ปิดแผลสุดมหัศจรรย์ได้ จากนั้นก็นำแผ่นเจลดังกล่าวไปเก็บรักษาด้วยสารประกอบจากยีสต์ขนมปัง เพื่อเตรียมการให้พร้อมสำหรับการใช้ปฐมพยาบาล ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาบริเวณบาดเจ็บให้เย็นและชุ่มชื้น แถมช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น แม้คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเราๆ จะชื่นชอบผลไม้ชนิดนี้มากๆ แต่พวกเราก็ไม่ค่อยได้นึกถึงการใช้สอยเปลือกทุเรียน ก็ใครจะไปคิดล่ะว่ามันเป็นมากกว่าอาหารได้ “ในสิงคโปร์ เราบริโภคทุเรียนประมาณ 12 ล้านลูกต่อปี นอกจากเนื้อผลไม้แล้ว เราไม่ได้นำแกลบและเมล็ดของมันมาใช้มากนัก เลยทำให้มันเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม” William Chen ศาสตราจารย์และผู้อำนวยการด้านโปรแกรมวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกล่าว เฉินยังยืนยันแบบปังๆ ด้วยว่าเทคโนโลยีของทีมใช้ได้กับเศษอาหารอินทรีย์รูปแบบอื่นๆ ได้ อาทิ ธัญพืชและถั่วเหลือง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์มากๆ ต่อการแก้ไขปัญหาเศษอาหารของประเทศ และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เจ้าปลาสเตอร์ทุเรียนนั้น ไม่มีกลิ่นและย่อยสลายได้ง่าย พร้อมทั้งยังได้รับการพิสูจน์ว่าใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าวัสดุแบบเดิมๆ ซึ่งมักใช้สารประกอบโลหะที่มีราคาแพงกว่า อย่างเงินหรือทองแดง  นับตั้งแต่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ต้นแบบมา ทีมงานก็ได้เจรจากับพันธมิตรในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการเพิ่มยอดการผลิตเจลปิดแผล ถ้าทุกอย่างราบรื่นดี เฉินกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ อาจไปถึงร้านค้าภายในเวลาเพียงสองปีเท่านั้น แค่นี้ก็มั่นใจได้เลยว่าราคาขายปลีกของที่ปิดแผลชนิดนี้จะแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน Source : […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.