ใส่ใจสิ่งแวดล้อมกับ PlasticFree แพลตฟอร์มรวบรวมข้อมูลวัสดุ สำหรับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน

นับวันกระแสความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเริ่มตระหนักถึงผลกระทบต่อการใช้พลาสติกและวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ทำให้เหล่านักออกแบบหันมาศึกษาข้อมูลว่ามีวัสดุประเภทใดบ้างที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลาสติกได้ แพลตฟอร์ม PlasticFree สร้างขึ้นโดยองค์กร A Plastic Planet (APP) และพัฒนาโดยนักออกแบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุ นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำทางธุรกิจกว่า 40 คน ในการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวัสดุบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดการใช้พลาสติกที่อันตรายและทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีเป้าหมายในการเป็นแหล่งข้อมูลให้นักสร้างสรรค์และนักออกแบบทั่วโลกได้ใช้ประโยชน์ในการออกแบบชิ้นงานหรือโปรดักต์ เนื่องจากคนทำงานส่วนนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ให้เป็นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง หน้าที่หลักของแพลตฟอร์มนี้คือการให้ความรู้ คำแนะนำ และเคล็ดลับที่เหมาะสมในการผสมผสานวัสดุที่ยั่งยืนสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์แก่นักออกแบบ โดยประกอบด้วยกรณีศึกษากว่า 100 กรณีทั่วโลกที่ให้รายละเอียดและประโยชน์ของวัสดุแต่ละชนิดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นไม้ไผ่ ตะไคร่น้ำ สาหร่าย หรือแม้แต่อะลูมิเนียมก็ตาม ทั้งยังมีการนำเสนอข่าวสารและโปรเจกต์ออกแบบต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในด้านความยั่งยืนด้วย นักออกแบบคนไหนที่กำลังมองหาแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติและมีความยั่งยืน เพื่อนำมาปรับใช้ในการออกแบบของตัวเอง สมัครสมาชิกแพลตฟอร์มในราคา 250 ปอนด์หรือประมาณ 10,000 บาทต่อปีได้ที่ plasticfree.com  Sources : DesignTAXI | bit.ly/3XvsVgo  DieLine | bit.ly/3CSQGqU

loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองที่ทำให้การซื้อ-ขายเป็นเรื่องง่ายและได้ช่วยโลก

หากใครที่ติดตามกระแสสังคมอยู่แล้วคงทราบว่าในช่วง 1 – 2 ปีมานี้ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแวดวงแฟชั่นมักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นหัวข้อถกเถียงกันถึงการสร้างค่านิยมบริโภคนิยม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งจากขยะสิ่งทอไปจนถึงคาร์บอนฟุตพรินต์ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าใหม่แต่ละชิ้น  นอกจากคนทำงานเพื่อสังคม แอ็กทิวิสต์ และคนมีชื่อเสียงที่ออกมาเรียกร้องเรื่องนี้แล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็ตื่นตัวกับปัญหานี้ เกิดเป็นบทสนทนาการพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงฮาวทูการลดการใช้แบรนด์ฟาสต์แฟชั่น (Fast Fashion) การใส่เสื้อผ้ายังไงให้ยั่งยืน และชี้แหล่งแลกเปลี่ยนกับซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสอง เพื่อหาทางดูแลรักษาโลกไปพร้อมๆ กับการสนุกกับการแต่งตัว ถ้าเป็นในต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเสื้อผ้ามือสองคงไม่ใช่เรื่องยากอะไร หลายประเทศเองมีแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งต่อเสื้อผ้าและของมือสองให้คนได้เลือกใช้งาน จนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แต่สำหรับบ้านเรา ดูเหมือนว่ายังมีตัวเลือกไม่มากนัก แหล่งซื้อขายที่มีก็ไม่ค่อยตอบโจทย์ผู้ใช้งานที่เป็นคนรุ่นใหม่เท่าไหร่ ไหนจะความยุ่งยากของการซื้อ-ขายที่มีรายละเอียดยิบย่อย ไม่ว่าจะเป็นคนขายถ่ายภาพเสื้อผ้าไม่ดี ระบุรายละเอียดไม่ครบ ซื้อมาแล้วใส่ไม่ได้ ไปจนถึงไม่กล้าซื้อเพราะไม่รู้ว่าเจ้าของก่อนหน้าเป็นใคร เป็นเสื้อผ้าคนตายหรือเปล่าก็ไม่รู้ ฯลฯ ทำเอาบางคนถอนหายใจล้มเลิกการซื้อเสื้อผ้ามือสองไปซะก่อน ทั้งๆ ที่ก็อยากลดการซื้อเสื้อผ้าใหม่เช่นกัน หรือสุดท้ายแล้วซื้อมาก็กลายเป็นขยะในตู้เสื้อผ้าเพราะวัดไซซ์ผิด แทนที่จะได้ใช้เสื้อผ้ามือสองวนไป แต่กลับต้องทิ้งไว้เพราะได้ของไม่ตรงปก เพราะประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน เราจึงอยากแนะนำทุกคนให้รู้จักกับ loopers แพลตฟอร์มส่งต่อเสื้อผ้ามือสองหน้าตาดูดีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ความพิเศษของแพลตฟอร์มนี้คือ การทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการ รวบรวม และส่งต่อเสื้อผ้าใช้แล้ว โดยที่ตัวผู้ซื้อ-ผู้ขายแทบไม่ต้องทำอะไรเลย แถมตัวเว็บไซต์เองก็ใช้งานง่ายเหมือนเว็บไซต์ขายเสื้อผ้ามือหนึ่งทั่วไปที่บอกรายละเอียดยิบย่อยอย่างชัดเจน แตกต่างจากปกติที่ร้านเสื้อผ้ามือสองเน้นการซื้อมาขายไป ไม่ถ่ายรูปหรือระบุรายละเอียดชัดเจนขนาดนี้ สอดคล้องกับสโลแกน ‘เราจะทำให้การส่งต่อเสื้อผ้าเป็นเรื่องง่าย ดีต่อใจ และดีต่อโลก’ ด้วยเหตุนี้ […]

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.