ชวนดูเตียงรักษ์โลกในโอลิมปิก 2024 เตียงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนอนหลับสบาย

อีกไม่นาน งานโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ในกรุงปารีส ก็จะปะทุตัวขึ้นแล้ว ความพิเศษของโอลิมปิกครั้งนี้คือการมุ่งเป้าเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ลง 50 เปอร์เซ็นต์จากการจัดงานครั้งก่อนๆ เพราะฉะนั้นเราเลยเห็นกลยุทธ์มากมายที่ผู้จัดงานงัดมาเพื่อให้ถึงเส้นชัยอันแสนทะเยอทะยาน และความยั่งยืนก็เริ่มต้นตั้งแต่เตียงนอนของนักกีฬา เตียงนอนนี้เป็นเตียงจากบริษัทเครื่องนอนญี่ปุ่น ‘Airweave’ ซึ่งเคยทำเตียงมาให้ก่อนแล้วในงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว เตียงนอนกว่า 16,000 หลัง ประกอบด้วยเฟรมเตียงนอนกระดาษแข็ง พร้อมด้วยผ้าปูเตียงและฟูกที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล ฟูกใช้เส้นใยพิเศษชื่อ airfiber® ที่นำไปล้างทำความสะอาดได้โดยไม่เสียสภาพการใช้งาน หลังมหกรรมกีฬาปิดฉากลง เฟรมกระดาษแข็งจะถูกนำไปรีไซเคิลต่อ ส่วนผ้าปูและฟูกจะถูกส่งต่อไปยังองค์กรต่างๆ ทั่วฝรั่งเศส ไม่ได้มีดีแค่ความรักษ์โลก Airweave ยังคิดดีเทลของฟูกมาเป็นอย่างดีเพื่อให้นักกีฬาหลับเต็มตื่น แต่ละเตียงจะมีฟูกสามบล็อก และแต่ละด้านของบล็อกฟูกจะมีความนุ่มแข็งต่างกัน นักกีฬาสามารถสลับสับเปลี่ยนฟูก พลิกด้าน เพื่อให้ได้ที่นอนอุดมคติของตัวเอง ทาง Airweave ยังมีนวัตกรรมให้นักกีฬาป้อนข้อมูลน้ำหนัก เพศ อายุ และข้อมูลร่างกาย เพื่อให้ได้ฟูกที่เข้ากับตัวเองอีกด้วย ส่วนเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าเตียงออกแบบมาไม่ให้นักกีฬามีเซ็กซ์ เพราะรับน้ำหนักคนได้เพียงคนเดียว ต้องขอบอกว่าเป็นเฟกนิวส์ เพราะ ‘Motokuni Takaoka’ ผู้ก่อตั้ง Airweave ออกมาโต้ในตอนเปิดตัวเตียงเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 ว่าเตียงนี้แข็งแรงพอที่จะรองรับ ‘คนหลายคนบนเตียงได้’ […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม

Chosen Family เพลงส่งท้ายโอลิมปิกที่บรรเลงให้โลกรู้ว่า ‘ความหลากหลายของมนุษย์’ งดงาม

‘Wayband’ GPS ระบบสั่นที่ช่วยให้คนตาบอดทั้งเดินและวิ่งได้ด้วยตัวเอง

เรื่องราวของการกีฬาอยู่ในสปอตไลต์มาหลายสัปดาห์ตั้งแต่คบเพลิงโอลิมปิกถูกจุดขึ้น ณ กรุงโตเกียว และอีกไม่นาน ‘พาราลิมปิก’ มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับที่สองของมวลมนุษยชาติจะเริ่มต้นขึ้น บรรดานักกีฬากว่า 4,000 ชีวิต จะหอบหุ้มความฝันและการฝึกฝนออกมาแสดงให้โลกเห็น  แม้จะไม่ได้เป็นพาร์ตเนอร์อย่างเป็นทางการของพาราลิมปิก และเป็นเพียง สตาร์ทอัปเล็กๆ ในนิวยอร์กแต่เราคิดว่าเรื่องราวของ WearWorks เหมาะที่จะหยิบยกมาเล่าในช่วงนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่คือสายรัดข้อมือที่ชื่อว่า Wayband เป็น GPS นำทางที่ทำงานโดยระบบสั่น แจ้งเตือนด้วยการสั่นเมื่อผู้สวมใส่ออกนอกเส้นทางหรือถึงทางเลี้ยว Simon Wheatcroft นักวิ่งผู้พิการทางสายตา บอกว่า เป็นเรื่องยากสำหรับคนตาบอดที่จะก้าวเท้าไปบนทางที่ไม่รู้จัก แต่สายรัดข้อมือเส้นนี้สามารถพาวิ่งจนจบมาราธอน หรือเดินเล่นในเมืองที่พลุกพล่านโดยไม่ต้องอาศัยคนช่วยบอกทาง แต่ใช้การนำทางโดยการสั่น ที่จะทำให้คุณไม่หลงทิศ หรือไม่เดินไปชนกับอะไรหรือใครแน่นอน ‘ก้าว’ ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ยังไม่ต้องพูดถึงขีดความสามารถในการแข่งขันด้านกีฬา คนพิการทางสายตามีข้อจำกัดเยอะมากสำหรับการฝึกซ้อม นักกีฬาบางรายใช้ไม้เท้าในการนำทาง ใช้สุนัขในการนำทาง หรือมีบัดดี้เป็นคู่คอยผูกคู่มือวิ่งไปด้วยกัน หนึ่งในผู้พิการทางสายตาที่พิชิตมาราธอนมาแล้วบอกกับ BBC ว่า เขาเคยวิ่งคู่กับอาสาสมัครซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากแต่สิ่งที่หายไปคือความเป็นอิสระ  แม้วิธีการข้างต้นจะช่วยให้จบการแข่งขันหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมนัก ไม้เท้าที่ใช้ในการนำทางสามารถตรวจจับรอยแตกหรือพื้นที่ไม่สม่ำเสมอบนทางเท้าได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือเป็นเครื่องมือนำทางที่ไม่เหมาะสำหรับการเปิดเส้นทางใหม่ หรือการใช้สุนัขนำทางก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (คนพิการทางสายตาในบางประเทศสามารถยื่นขอได้ฟรี) แม้จะมีหลายตัวช่วยที่ทำให้คนตาบอดสามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือ ความยุ่งยากหรือความไม่สบายตัวในการใช้งานจริง ทำให้ […]

ผู้หญิงต้องได้ใส่ชุดที่ตัวเองมั่นใจ! นักยิมนาสติกเยอรมันใส่ชุดเต็มตัวแข่งโอลิมปิกสนับสนุนทางเลือกเครื่องแต่งกาย

ฤดูกาลโอลิมปิกกลับมาอีกครั้งหลังจากถูกเลื่อนออกไปเพราะวิกฤตโควิด-19 และดูเหมือนว่าปีนี้จะมีเรื่องน่าสนใจนอกเหนือจากการแข่งขันกีฬา นักกีฬาจากหลายประเทศแสดงการเคลื่อนไหวทางสังคมที่หลากหลายโดยเฉพาะประเด็นเรื่องเครื่องแต่งกาย อย่างล่าสุดนี้ทีมนักยิมนาสติกหญิงจากเยอรมนีที่เลือกลงแข่งในชุดเต็มตัว แทนชุดยิมนาสติกรัดรูปและเว้าสูงอย่างที่เคยใส่กันมา ตามกฎแล้วชุดรัดรูปคือชุดมาตรฐานของกีฬายิมนาสติก ทั้งแบบแขนยาว แขนสั้น และไม่มีแขน ส่วนใหญ่เราจะเห็นนักกีฬาหญิงใส่ชุดรัดรูปขาเว้าสูงแบบบิกินี่ น้อยครั้งนักที่จะเห็นนักยิมนาสติกหญิงใส่ชุดรัดรูปขายาว-แขนยาวแบบเต็มตัว เพราะที่ผ่านมาชุดเต็มตัวถูกยกเว้นไว้สำหรับนักกีฬามีข้อกำหนดด้านศาสนา หรือมีประจำเดือนในขณะแข่งขันเท่านั้น แต่ในกรณีนี้ทางสหพันธ์ยิมนาสติกนานาชาติไม่มีปัญหา ขอแค่ชุดส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีเดียวกัน การเรียกร้องครั้งนี้ของทีมนักยิมนาสติกหญิงเยอรมันทำเพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงควรมีเสรีภาพในการเลือกสวมใส่ชุดที่พวกเธอมั่นใจในการแข่งขันได้ และต่อต้านการทำให้นักกีฬาหญิงเป็นวัตถุทางเพศผ่านเครื่องแต่งกายที่ล่อแหลม Sarah Voss หนึ่งในทีมชาติเยอรมนีกล่าวว่า “นักกีฬาทุกคนควรรู้สึกปลอดภัยขณะแข่งขัน และการตัดสินควรดูจากผลงานการแสดงของพวกเขา ไม่ใช่ดูจากรูปร่าง” และเธอยังกล่าวว่า “ในทีมชาติเยอรมนีถ้าใครรู้สึกปลอดภัยหรือชอบชุดยิมนาสติกเว้าสูงก็สามารถใส่ได้ หรือถ้าอยากใส่แบบขายาวก็ใส่ได้เหมือนกัน ในทีมเราไม่ได้มีการบังคับ ทุกคนมีสิทธิ์เลือกชุดที่อยากใส่ เธอเองก็ไม่ได้อยากใส่ชุดรัดรูปขายาวเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าวันนั้นเธออยากแสดงแบบไหนแค่นั้นเอง” นอกจากทีมชาติเยอรมนีแล้ว นักยิมนาสติกหญิงทีมชาตินอร์เวย์ยังชื่นชมการตัดสินใจครั้งนี้ และสนับสนุนเพื่อนนักกีฬาทีมเยอรมนีที่กล้าแสดงจุดยืนเรื่องสำคัญของนักกีฬาอีกด้วย  การเรียกร้องเรื่องเครื่องแต่งกายของนักกีฬาหญิงในการแข่งขันโอลิมปิกที่เป็นประเด็นก่อนหน้านี้คือกรณีของทีมนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงจากนอร์เวย์ที่ปฏิเสธการใส่ชุดบิกินี่เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกปรับจากสหพันธ์แฮนด์บอลแห่งยุโรป นักร้องอเมริกันชื่อดังอย่าง P!nk เสนอจะจ่ายค่าปรับให้เพื่อสนับสนุนการต่อต้านการทำให้นักกีฬาหญิงเป็นวัตถุทางเพศ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นเวทีที่นานาประเทศจะได้แสดงศักยภาพผ่านการแข่งขันกีฬา แต่ในปัจจุบันโอลิมปิกเป็นพื้นที่ที่ทำให้นักกีฬาได้ตั้งคำถามและสื่อสารสิ่งที่ตนต้องการไปสู่สายตาประชาคมโลกด้วยเช่นกัน Sources : BBC Sport | https://www.bbc.com/sport/av/gymnastics/56916789Reuters | https://tinyurl.com/2ea255ep

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.