บ้านในไทย ทำไมต้องล้อมรั้ว

สเต็ปการสร้างบ้านในเกมเดอะซิมส์ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนใหญ่คงจะเริ่มจากการสร้างตัวบ้าน ตกแต่งภายใน ตกแต่งบริเวณภายนอก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการล้อมรั้วบ้านอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากความเคยชินของคนไทย เพราะในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่บ้านในต่างจังหวัด ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มักมีรั้วล้อมรอบบ้านด้วยกันทั้งนั้น แต่พอดูหนังและซีรีส์จากฝั่งตะวันตกกลับพบว่า บ้านที่ปรากฏอยู่บนจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีรั้วบ้านเป็นกิจจะลักษณะชัดเจนเหมือนกับบ้านในประเทศไทย หรือบางหลังอาจจะมีแค่รั้วเตี้ยๆ จนเกิดความสงสัยว่ารั้วลักษณะนั้นจะสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง การมีรั้วบ้านสำคัญกับการอยู่อาศัยในประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน ทำไมบ้านในต่างประเทศแทบจะไม่มีรั้วบ้านให้เห็นกันเลย และหากจะสร้างรั้วบ้านด้วยตัวเองนั้นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอะไรบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปหาคำตอบเกี่ยวกับรั้วบ้านกัน ทำไมบ้านในไทยต้องมีรั้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรั้วประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะรั้วปูน รั้วเหล็ก หรือรั้วไม้ทำมือ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า รั้วบ้านนี้จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับบ้านสักหลัง อาจเป็นเพราะว่าบ้านคือสถานที่ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้เราได้มากที่สุด หลายคนจึงต้องการความสบายใจในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องระแวดระวังภัยมากนัก แม้ว่ารั้วบ้านจะไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมาย แต่การมีรั้วล้อมรอบตัวบ้านจะช่วยเพิ่มทั้งความสวยงามให้กับตัวบ้าน เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของคนภายนอกที่อาจสอดส่องเข้ามา รวมถึงยังเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้นจากผู้บุกรุกได้อีกด้วย ถ้ารั้วบ้านช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน แล้วทำไมบ้านในต่างประเทศถึงไม่ค่อยมีรั้วกั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านในสหรัฐอเมริกาที่เห็นกันตามหนังหรือซีรีส์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีรั้วบ้านกำหนดขอบเขต สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องของวัฒนธรรมที่หลายคนมองว่า ถ้าเพื่อนบ้านเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกันอยู่แล้ว รั้วบ้านก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเท่าไรนัก และการสร้างรั้วก็อาจจะเป็นการไปเบียดเบียนพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ด้วย อีกเหตุผลคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำรั้วเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูง ผู้คนจึงไม่นิยมสร้างรั้ว รวมไปถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิดและปลอดภัยมากพออยู่แล้ว การสร้างรั้วเพื่อป้องกันภัยก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันสักเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะไม่มีรั้วเลย เพราะยังมีบางครอบครัวที่สร้างรั้วขนาดไม่สูงมากเพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงออกไปจากบริเวณบ้าน โดยส่วนใหญ่รั้วพวกนี้จะไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบ้านที่มาพร้อมรั้วสูงเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันอันตรายจากปัจจัยภายนอก […]

Household คนไทยและถิ่นที่อยู่

‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่  – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]

ที่พักชั่วคราวของผู้ลี้ภัยและคนไร้บ้าน Maawa X บ้านกระดาษแข็งพับง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก และรีไซเคิลได้

ที่พักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญกับชีวิต หากใครไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง การมีเต็นท์สักหลังที่สามารถใช้หลับนอนและพกพาไปไหนก็ได้ก็คงจะเพียงพอ แต่เต็นท์ก็อาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก อาจทำให้เคลื่อนย้ายลำบาก รวมไปถึงขั้นตอนการประกอบที่ยุ่งยากจนอาจทำให้เสียเวลา ‘Maawa’ บริษัทสตาร์ทอัปจากสหราชอาณาจักร จึงได้ออกแบบและผลิต ‘Maawa X’ บ้านป็อปอัปที่สามารถพับเก็บใส่กระเป๋าเดินทางและพกพาไปได้ทุกที่ด้วยน้ำหนักเพียง 13.6 กิโลกรัม สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน สถานการณ์ผู้ลี้ภัย หรือแม้แต่ค่ายของกลุ่มคนไร้บ้านที่ต้องการที่อยู่อาศัยที่แข็งแรง  ตัวบ้านกระดาษสามารถกางออกและใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมในการช่วยประกอบ เมื่อกางออกมาแล้ว บ้านจะมีขนาดใหญ่มากพอที่จะให้ผู้ใหญ่เข้าไปนอนได้ 1 – 2 คน ส่วนวัสดุทำขึ้นจากกระดาษแข็งที่กันน้ำได้ ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเต็นท์ เพราะย่อยสลายทางชีวภาพหรือนำไปรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ บ้านกระดาษยังรองรับพลังงานแสงอาทิตย์ ภายในบ้านจึงมีแผงควบคุมอัจฉริยะที่ควบคุมพื้นที่ต่างๆ ของบ้าน และช่วยให้องค์กรต่างๆ ติดตามการใช้งานในสถานที่ของผู้ลี้ภัยได้ด้วย  ปัจจุบัน Maawa X ยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการจดสิทธิบัตร โดย Maawa ตั้งเป้าไว้ว่า บ้านป็อปอัปนี้จะเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวสำหรับบรรดาผู้ลี้ภัยและกลุ่มคนไร้บ้านในพื้นที่ต่างๆ ได้ Sources :DesignTAXI | bit.ly/3LPcWYhMaawa | maawa.coYanko Design | bit.ly/42BEMx5

‘Rio House’ อะพาร์ตเมนต์ที่ตกแต่งไม่สมบูรณ์ในเมืองมาดริด ทางเลือกของคนอยากมีบ้านในงบจำกัด

ปัญหาบ้านและที่พักราคาแพงดูจะเป็นวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก อย่างในกรุงมาดริด ประเทศสเปน ก็มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของบ้านที่ค่อนข้างสูง เกินกว่าที่คนส่วนใหญ่จะเอื้อมถึง  เพราะเหตุนี้ ทาง ‘HANGHAR’ สตูดิโอท้องถิ่นในมาดริดจึงแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยด้วยโครงการ ‘Rio House’ อะพาร์ตเมนต์ราคาย่อมเยาที่การตกแต่งภายในยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยให้ผู้พักอาศัยปรับปรุงที่พักได้ด้วยงบประมาณที่จำกัดและประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง โดยโครงการตั้งอยู่ในย่าน Carabanchel ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีประชาชนจำนวนมากย้ายเข้ามาอยู่ ตัวอะพาร์ตเมนต์ของ Rio House จะเปรียบเป็นเหมือนผืนผ้าใบเปล่า ด้วยการตกแต่งจากวัสดุที่เรียบง่าย ดูมินิมอล ทั้งการจัดระเบียบผ่านคานเหล็กและเสารูปตัวแอล ซึ่งเป็นตัวแบ่งชั้นระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ใช้งานอื่นๆ  ผนังหุ้มด้วยอะลูมิเนียมดิบและยังมาพร้อมอุปกรณ์ทางเทคนิคทั้งท่อประปา สายไฟ และที่เก็บของสำหรับทั้งห้องครัวและห้องน้ำเพื่อประหยัดพื้นที่การใช้งาน ส่วนพื้นห้องใช้สารอีพอกซีเรซินสะท้อนแสงที่ตัดกับเพดานฉาบปูน และใช้กระเบื้องเซรามิกทนทานกันน้ำปูบริเวณพื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำ โดยการตกแต่งแบบเรียบโล่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ผู้เข้าพักอาศัยสามารถต่อเติมตามงบในภายหลังได้ เพื่อช่วยให้ผู้อยู่อาศัยไม่รู้สึกจำเจเพราะหันไปทางไหนก็เจอแต่สีเทาและสีขาว ภายในห้องจึงยกระดับพื้นด้วยหินอ่อนสีแดงจากท้องถิ่นที่ช่วยปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้ดูน่าเบื่ออีกด้วย Source : Designboom | bit.ly/3IgXvWW 

“ผมตื่นเต้นเมื่อเจอบ้านร้าง” เตอร์ ศิริวัฒน์ นักชุบชีวิตบ้านเก่าที่คนทั้ง Pantip รู้จัก

ชวนรู้จัก เตอร์-ศิริวัฒน์ นักลงทุนผู้ตกหลุมรักการรีโนเวตบ้านร้าง จนคนรักบ้านต้อง Follow ไว้

‘รู้จักตัวเองให้ดี’ เพื่อตอบเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน

ชวนมาทำความรู้จักตัวเองให้มากขึ้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างเป้าหมายในชีวิตให้มีความหมาย ผ่านการค้นหาตัวเองด้วย 3 วิธีง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทำได้จากสิ่งรอบตัว ที่หลังอ่านบทความนี้ไป อาจจะช่วยปลุกเเรงบันดาลใจให้คุณเข้าใจตัวเอง หรือวางแพลนที่อยากทำในสิ่งที่ชอบให้เกิดขึ้นสักที !

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.