ชาวเยอรมันแห่ตุนกลิตเตอร์ หลังสหภาพยุโรปประกาศแบนเพื่อลดไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

ความสวยงามบางประเภทก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลิตเตอร์ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในเครื่องสำอาง เครื่องประดับ หรือเครื่องแต่งตัว เพราะกลิตเตอร์นั้นคือไมโครพลาสติกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย แถมด้วยขนาดที่เล็กมากยังทำให้พลาสติกชนิดนี้ไหลลงแม่น้ำและมหาสมุทรอย่างง่ายดาย จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชใต้น้ำ สหภาพยุโรปจึงเตรียมสั่งห้ามขายกลิตเตอร์และไมโครบีดส์ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า การห้ามใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นวิธีการหยุดการปล่อยไมโครพลาสติกประมาณครึ่งล้านตันสู่สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิตเตอร์จะถูกแบนจากร้านค้าตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์นี้ เมื่อมีคำสั่งห้ามจำหน่ายเกิดขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อกลิตเตอร์ในเยอรมนีเพิ่มขึ้นสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยคนดังอย่าง ‘Sam Dylan’ จากรายการ ‘Big Brother’ เรียลลิตี้ของเยอรมนี ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มยอดขายกลิตเตอร์และทุกอย่างที่ทำจากกลิตเตอร์ โดยเขาให้สัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ว่า เขากำลังช้อปปิงกลิตเตอร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ได้มามากกว่า 82 ซองเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่กลิตเตอร์ที่มีประกายระยิบระยับเท่านั้น แต่การแบนในครั้งนี้ยังรวมไปถึงพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรที่ไม่ละลายน้ำและไม่สามารถย่อยสลายได้อีกด้วย  Source :The Guardian | tinyurl.com/2axfyjpf

คริสต์มาสนี้มีแต่รอยยิ้ม เบอร์ลินขายบัตรโดยสารกินได้ผสมกัญชง ช่วยให้คนผ่อนคลายและยิ้มได้ช่วงเทศกาล

คริสต์มาสคือเทศกาลแสนอบอุ่นที่คนทั่วโลกรอคอย ขณะเดียวกันก็เป็นเทศกาลแสนวุ่นวายในหลายประเทศยุโรป ผู้คนมักวิ่งวุ่นซื้อของขวัญจนนาทีสุดท้าย ทำให้หลายคนรู้สึกเหนื่อยล้าและหัวเสียไปตามๆ กัน  เพราะเหตุนี้ Berliner Verkehrsbetriebe (BVG) บริษัทขนส่งมวลชนในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี จึงปิ๊งไอเดียผลิตบัตรโดยสารกินได้ผสมกัญชง เพราะอยากให้ผู้คนฉลองคริสต์มาสแบบไม่เครียด และช่วยให้บรรยากาศโกลาหลผ่อนคลายลง บัตรรุ่นนี้สามารถกินได้ทั้งใบ เพราะมีส่วนผสมมาจากกระดาษกินได้ และโรยด้วยน้ำมันกัญชง (Hemp Oil) ไม่เกินสามหยด โดยน้ำมันกัญชงมีสรรพคุณช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และยังช่วยรักษาอาการวิงเวียนและปวดศีรษะได้ด้วย ทาง BVG อธิบาย “วิธีนี้จะทำให้คุณสามารถเดินทางรอบเบอร์ลินได้ทั้งวันโดยไร้ความกังวล และคุณยังสามารถกลืนความเครียดช่วงคริสต์มาสไปพร้อมๆ กับตั๋วของคุณได้” ทั้งนี้ ทางบริษัทชี้แจงว่า น้ำมันผลิตจากเมล็ดกัญชงที่ปลอดภัยและเป็นมังสวิรัติ 100% สามารถกินได้เช่นเดียวกับน้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันเมล็ดฟักทอง และน้ำมันมะกอก อีกทั้งยังไม่มีสารเสพติด เช่น แคนนาบิไดออล (CBD) และ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ที่พบได้ใน ‘ต้นกัญชา’ บัตรประเภทนี้จึงไม่อันตรายและถูกกฎหมายแน่นอน (กัญชงและกัญชาคือพืชตระกูลเดียวกัน แต่คนละสายพันธุ์) BVG จำหน่ายบัตรโดยสารกินได้ผสมกัญชงระหว่างวันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2021 […]

Tempelhof สวนสาธารณะเบอร์ลินจากสนามบินสมัยสงครามโลก

พื้นที่สาธารณะในเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นั้นมีมากมาย ทั้งสวนสาธารณะ ทางจักรยาน ไปจนถึงสเปซคนเดิน เพื่อรองรับประชากรเกือบ 4 ล้านคนให้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยหนึ่งในพื้นที่ซึ่งนำมาเปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองคือ สถานที่รกร้าง เราเลยชวนทุกคนมาสำรวจพื้นที่สาธารณะในเมืองเบอร์ลิน ที่ถือกำเนิดขึ้นจากการคืนชีวิตให้พื้นที่รกร้างมีลมหายใจอีกครั้ง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวเบอร์ลิน Tempelhof สวนบนสนามบินร้าง เท็มเพลโฮฟ (Tempelhof) คือชื่อของสนามบินที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตเท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์ค ทางใต้กลางของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งในอดีตนั้นยิ่งใหญ่ในฐานะสนามบินหลักของเมืองเบอร์ลิน มีอาคารผู้โดยสารที่เคยใหญ่ที่สุดในยุโรป รวมถึงเป็นสนามบินแรกของเยอรมนีซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยเครื่องบินขึ้นไปถ่ายภาพทางอากาศ และปล่อยบอลลูนที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ไม่เพียงเท่านั้น ความที่สุดของสนามบินเท็มเพลโฮฟคือสองพี่น้องตระกูลไรต์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก เคยมา Take Off เครื่องบินที่นี่และทำสถิติใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับวงการการบินในเยอรมนี มากไปจนถึงเคยเป็นส่วนหนึ่งของการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา สนามบินเท็มเพลโฮฟปิดตัวลงเมื่อ ค.ศ. 2008 และได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะมีทางทอดยาว และกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่เปิดที่มีขนาดใหญ่มากของโลก ซึ่งชาวเบอร์ลินถูกใจกับสิ่งนี้ไม่น้อย และมักออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่สวนสาธารณะเท็มเพลโฮฟ ไม่ว่าจะเป็นเล่นสเก็ต เล่นว่าว ขี่จักรยาน และยังมีสวนกว้างใหญ่สองข้างทางให้ชาวเมืองได้มานั่งปิกนิกรับแดด […]

‘แยก-ทิ้ง-เก็บ’ สไตล์เยอรมัน จนได้แชมป์โลกรีไซเคิลขยะ

เวลาเจอขยะ 1 ชิ้น คุณทำอย่างไร หยิบไปทิ้งเลย หรือยืนคิดสักประเดี๋ยวว่าเจ้าขยะชิ้นนี้ควรจัดการอย่างไร สำหรับชาวเยอรมนีคงเป็นอย่างหลัง พวกเขาจะประมวลผลการจัดการเหล่าขยะอย่างตั้งใจ จะเริ่มคิด วิเคราะห์ ไปจนถึงแยกชิ้นส่วนขยะ ให้สมกับตำแหน่งอันดับหนึ่งของโลกด้าน ‘การรีไซเคิลขยะชุมชน’ ในปี 2017 ซึ่งรีไซเคิลได้ถึง 56.1% (จัดอันดับโดย Eunomia บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอิสระในสหราชอาณาจักร) เราเองในฐานะที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเยอรมนีเลยมีเรื่องราวการแยกขยะแบบฉบับเยอรมนีมาฝากกัน เริ่มตั้งแต่นโยบายรัฐในการจัดการ การแยก การลดปริมาณขยะ ไปจนถึงโครงการต่างๆ จากภาคเอกชนที่สนับสนุนการลดขยะในเมือง | ฉันแยกและทิ้งแบบมีระบบ นโยบายการทิ้งขยะในครัวเรือนของประเทศเยอรมนีมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างกันไปตามแต่ละเมือง ซึ่งขึ้นกับรัฐอีกทีว่ามีรูปแบบการกำจัดขยะอย่างไร แต่โดยรวมแล้วการแยกขยะในครัวเรือนแบ่งได้ตามนี้ 1.ขวดน้ำ กระป๋อง ขวดแก้วที่มีค่ามัดจำขวด – นำไปคืนเพื่อรับเงินตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ (ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละที่จะรับคืนขวดแบบไหนด้วยนะ) นอกจากนี้อาจวางไว้ข้างถังขยะ ให้ผู้คนที่หาเงินจากการเก็บขวดคืนมารับไป 2.ขยะรีไซเคิล เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติก ขวดแก้วสีต่างๆ อะลูมิเนียม – เหล่านี้จะมีรายละเอียดเฉพาะของแต่ละเมือง เช่น มิวนิกจะตั้งคอนเทนเนอร์รอบเมืองให้คนทิ้งขยะรีไซเคิลที่ล้างมาเรียบร้อยแล้ว  3.เสื้อผ้าและรองเท้า – บริจาคได้ตามตู้รับบริจาครอบเมืองต่างๆ มีหลายองค์กรที่เปิดรับ เช่น สภากาชาดเยอรมนี ซึ่งรับบริจาคเพื่อนำไปขายมือสองต่อให้กลุ่มคนรายได้น้อย […]

‘รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์’ ต้นแบบเชื่อมระบบการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้

คาร์ลส์รูห์ คือเมืองในประเทศเยอรมนีที่สถานีรถไฟหลักไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง  ทำให้คนใช้งานน้อยจนเกือบเจ๊ง เกือบเจ๊ง แต่ไม่เจ๊งจริง เพราะคาร์ลส์รูห์คิดแผนพัฒนากู้รถไฟให้ใช้รางร่วมกับรถรางในเมืองได้ในชื่อ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ (Karlsruhe Model) นอกจากเชื่อมการเดินทางอย่างใส่ใจผู้ใช้ การเกิดขึ้นของ ‘คาร์ลส์รูห์โมเดล’ ยังลดภาวะรถติด เพิ่มมูลค่าที่ดิน และเพิ่มการจ้างงาน คาร์ลส์รูห์ เป็นเมืองขนาดกลางทางตะวันตกของประเทศเยอรมนี ไม่ไกลจากชายแดนประเทศฝรั่งเศสมากนัก เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม เพราะเป็นที่ตั้งของหนึ่งในมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศ และยังมีบริษัทมากมายตั้งอยู่ในเมืองนี้ แต่ที่เราจะเล่าให้ฟังคือ รถราง-รถไฟคาร์ลส์รูห์ (Tram-train Karlsuhe) ที่เป็นความสำเร็จของเมืองในการแก้ไขปัญหาขนส่งสาธารณะ จนกลายเป็นต้นแบบให้อีกหลายเมืองในยุโรปในชื่อ คาร์ลส์รูห์โมเดล (Karlsruhe Model) ปรับให้รถไฟวิ่งบนทางรถราง เรื่องราวเริ่มต้นราวๆ ปี ค.ศ. 1950 ผู้ให้บริการรถไฟรายหนึ่งในเมืองประสบปัญหาขาดทุนย่อยยับ โดยสาเหตุหนึ่งคือสถานีรถไฟหลักของเมืองไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง แต่อยู่ห่างออกไปถึง 2 กิโลเมตร ทำให้มีผู้โดยสารน้อย เพราะผู้คนที่เดินทางมาจากนอกเมืองต้องไปเปลี่ยนเป็นรถรางและบัสที่วิ่งในเมืองเพื่อไปยังจุดหมายปลายทาง บริษัทเห็นว่าการวิ่งต่อตามทางรถรางเข้าเมืองเป็นทางออกเดียวที่จะทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น จึงปรับทั้งระบบไฟฟ้าและความกว้างของรางรถไฟตามทางรถรางเพื่อให้สามารถใช้ร่วมกันได้ รวมรถรางและรถไฟ หลังจากนั้นไม่นานบริษัทที่ดูแลรถรางและรถไฟก็ทำงานร่วมกันภายใต้ชื่อ ‘KVV’ (Karlsruhe Transport Association) เพื่อความสะดวกในการต่อรถของประชาชน แต่ก็ยังขยายเส้นทางของทั้งรถไฟและรถรางแยกกันเรื่อยมา จนในปี ค.ศ. 1992 […]

เมื่อวันอาทิตย์เวียนมา ถึงเวลา ‘เดินเขา’ กิจกรรมยอดฮิตของชาวเยอรมัน

ในวันอาทิตย์ที่ทุกอย่างปิดทำการในประเทศเยอรมนี การเดินเขาเป็นกิจกรรมกลางแจ้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถึงขั้นมีสมาคมที่ดูแลเส้นทางต่างๆ และกระท่อมตามหุบเขาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 19 เลยทีเดียว

‘มิวนิก’ เมืองที่เป็นมิตรกับคนเดิน นักปั่น และมีพื้นที่สาธารณะดีจนคนอยากใช้ชีวิตนอกบ้าน

วิธีการจัดการระบบขนส่งสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะของเมื่อมิวนิค ประเทศเยอรมนี ที่ทำได้ดีและเป็นมิตรกับคนเมืองจนชาวมิวนิคกว่า 66% ออกมาใช้รถสาธารณะ เดินเท้า และปั่นจักรยาน รวมทั้งนั่งเล่นที่สวนกลางเมืองกันอย่างสุขใจ

เครื่องบินกองทัพเยอรมัน 6 ห้อง ICU 38 เตียงผู้ป่วย พร้อมรับมือ COVID-19 ที่อิตาลี

หากดูจากภายนอกเครื่องบิน Airbus A310 ลำนี้ อาจไม่ต่างจากเครื่องบินทั่วไป แต่เครื่องบินของหน่วยการแพทย์ของกองทัพอากาศ Luftwaffe ในเยอรมนี เป็นเครื่องบินลำเลียงแบบเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ (MRTT) ที่ใช้สำหรับการส่งผู้บาดเจ็บในสงครามหรือผู้ป่วยเร่งด่วน (MedEvac)

‘Soft Power’ เกมรุกที่บุกความคิดคนแบบซอฟท์ ๆ

‘Soft Power’ แนวคิดที่ทุกประเทศใช้ดึงดูดความสนใจให้ผู้คนคล้อยตาม จนสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทุกประเทศใช้ผลักดันบ้านเมืองของตัวเองให้ดีขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.