ฮังการีห่วง ‘Pink Education’ การศึกษาที่มีความเป็นผู้หญิงเกินไป อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ตอนนี้ในประเทศฮังการีกำลังให้ความสนใจกับรายงานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ ‘Pink Education’ และความเสี่ยงของระบบการศึกษาที่มีความ ‘เป็นผู้หญิงมากเกินไป’ จนอาจจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในประเทศและปัญหาสัดส่วนของประชาชน เพราะผู้หญิงที่มีการศึกษาจะไม่สามารถหาคู่สมรสที่อยู่ในระดับการศึกษาเดียวกันได้ ซึ่งจะเป็นผลให้อัตราการเกิดของคนในประเทศลดลง  สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของฮังการีได้เผยแพร่รายงานชิ้นนี้ออกมาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 แต่เพิ่งได้รับความสนใจหลังถูกพูดถึงในบทความของหนังสือพิมพ์ Népszava เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จนกลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่นักการเมืองและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิทธิมนุษยชน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ฮังการีมีผู้หญิงลงทะเบียนเข้ารับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมากกว่าผู้ชาย โดยตัวเลขของผู้หญิงเข้าศึกษาช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้อยู่ที่ 54.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่อัตราการลาออกจากการศึกษาของผู้ชายก็สูงขึ้นด้วย ส่วนจำนวนผู้หญิงในวิชาชีพครูนั้นก็มีมากถึง 82 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว รายงานอธิบายว่า ‘คุณลักษณะของผู้หญิง’ อย่างเรื่องของวุฒิภาวะทางอารมณ์และสังคมที่ได้รับการส่งเสริมในระบบการศึกษาของฮังการีนั้นจะทำให้ความเท่าเทียมทางเพศอ่อนแอลงมาก และยังมองว่าเศรษฐกิจของฮังการีอาจตกอยู่ในความเสี่ยงหาก ‘คุณลักษณะของผู้ชาย’ อย่างทักษะทางเทคนิค การแบกรับความเสี่ยง และการเป็นผู้ประกอบการนั้นถูกประเมินค่าต่ำลง  นอกจากนี้ รายงานยังมองว่าเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเด็กรุ่นใหม่ในการแก้ปัญหาที่ถูกมองว่าเป็นงานของผู้ชาย อย่างเช่นคอมพิวเตอร์ค้าง ก๊อกน้ำรั่ว หรือแม้แต่ปัญหาไม่มีคนประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่ซื้อมาใหม่ แม้ว่าความจริงแล้วบรรดาผู้หญิงเองก็สามารถแก้ปัญหาหรือทำงานเหล่านี้ได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ชายเสมอไป ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านอย่าง Endre Toth ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์รายงานชิ้นนี้บนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า การพูดถึงคุณสมบัติชายและหญิงเป็นความไร้สาระทางวิทยาศาสตร์ และถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องเปลี่ยนแนวคิดที่คร่ำครึนี้เสียที ฮังการีต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศในประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว หลังจาก Dunja Mijatović กรรมาธิการด้านสิทธิของ Council of Europe ได้กล่าวขณะเยือนฮังการีในปี […]

แคมเปญ Adidas ใช้ภาพเปลือยอกหลายรูปแบบใน #SupportIsEverything เพื่อส่งพลังให้ผู้หญิงมั่นใจ

“เราเชื่อว่า หน้าอกของผู้หญิงทุกรูปทรงและทุกไซส์ ควรได้รับการซัปพอร์ตและได้รับความสบาย นี่คือเหตุผลที่สปอร์ตบรารุ่นใหม่ของเรามีจำนวน 43 สไตล์ เพื่อที่ทุกคนจะได้ค้นหาสิ่งที่ใช่ให้ตัวเอง” เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แบรนด์ Sport Wear ชื่อดังอย่าง Adidas ทวีตเมสเสจนี้พร้อมกับภาพหน้าอก 25 รูปแบบ ซึ่งมีอยู่หลากหลายรูปร่าง หลายขนาด และหลายโทนสีผิว โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเน้นย้ำว่า ร่างกายของมนุษย์ควรได้รับการปรับให้เป็นมาตรฐานในทุกรูปแบบ ภาพหน้าอกและเมสเสจเหล่านี้คือ แคมเปญที่แบรนด์ทำเพื่อ Empower ให้ผู้หญิงทุกคนมั่นใจในเรือนร่างของตัวเอง ซึ่งปล่อยออกมาพร้อมกับคอลเลกชันสปอร์ตบราชุดใหม่ล่าสุด  Adidas เชื่อมโยงคอลเลกชันนี้ควบคู่กับแฮชแท็ก#SupportIsEverything ซึ่งเมื่อปล่อยออกมาก็ไวรัลในทันที  โพสต์ใน Instagram ก็ได้รับความสนใจล้นหลาม ในขณะที่โพสต์ใน Twitter มียอดไลก์กว่าสามหมื่น และหนึ่งหมื่นโควตทวีต ซึ่งโดยส่วนใหญ่ ผู้คนจะมาร่วมเฉลิมฉลองและซัปพอร์ตแคมเปญ ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งแสดงความเห็นว่า นี่เป็นเรื่องสำคัญ ทำได้ดีมาก Adidas! ในขณะที่ผู้ใช้อีกคนเสริมว่า ในฐานะพ่อของลูกสาวที่เล่นกีฬาสองคน เด็กผู้หญิงจำนวนมากเลิกเล่นกีฬา เพราะไม่สามารถหาชุดที่ใส่สบายและเหมาะสมได้ Adidas ได้ตอบกลับความคิดเห็นต่างๆ ด้วยว่า สิ่งสำคัญก็คือ ต้องทำให้ร่างกายมนุษย์เป็นเรื่องปกติ และช่วยกันสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นถัดไปรู้สึกมั่นใจและไม่อาย เราต้องการให้คนรุ่นหลังมั่นใจในร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมภาพนี้จึงมีความสำคัญต่อการแชร์สู่สังคม แต่ก็ไม่ใช่ว่า […]

ชวนปิดทองฝังลูก ‘เฟมนิมิตร (Femnimitr)’ เว็บไซต์รวมความรู้เรื่องเพศที่จะบอกเล่าว่าเรื่องเพศมีแง่มุมกว่าที่เห็น

ในโลกปัจจุบัน เรื่อง ‘เพศ’ นับว่าเป็นหนึ่งในประเด็นที่คนหยิบมาพูดถึงมากที่สุด อย่างประเทศไทยเองนอกจากมูฟเมนต์ในมิติการเมืองที่เห็นได้จากแคมเปญ การรณรงค์ และม็อบแล้ว คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยก็มักถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องเพศกันอย่างแพร่หลาย  ทว่าขณะเดียวกันการถกเถียงเหล่านี้หลายครั้งก็เป็นการนำเรื่องเก่ามารีรันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ข้อมูลใดที่เคยอธิบายไปแล้วต้องมีคนออกมาอธิบายอีก เพราะขาดแหล่งเก็บและรวบรวมข้อมูลเรื่องเพศอย่างเป็นระบบในที่เดียว เพราะเหตุนี้จึงมีกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเรื่องเพศทำเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า ‘เฟมนิมิตร คอลเลคทีฟ’ (theread.co/femnimitr) ขึ้น จุดประสงค์คือต้องการปิดช่องว่างของข้อมูลและความรู้เรื่องเพศ ด้วยการรวบรวมข้อมูลสถิติทางเพศที่กระจัดกระจาย จัดการข้อมูล และทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นระบบ มากไปกว่าชื่อเว็บไซต์ที่เล่นกับคำว่า ‘เฟมินิสต์-เฟมนิมิตร’ ที่ชวนให้อมยิ้มเพราะคนชอบเรียกสลับกันอยู่บ่อยๆ ความครีเอทีฟยังปรากฏให้เราเห็นในกราฟิกและลูกเล่นต่างๆ ตั้งแต่หน้าเว็บไซต์ที่ประกอบด้วยส่วน Gender Knowledge Hub, Invisible Violence และ Soon ที่คอนเทนต์จะตามมาในอนาคต หลังจากไปทัวร์จักรวาลว่าด้วยเรื่องเพศของเฟมนิมิตรมา เราพบว่า Gender Knowledge Hub เป็นส่วนที่ดีและตอบโจทย์คนต้องการศึกษาด้านนี้มากๆ เพราะมีข้อมูลและความรู้เรื่องเพศทั้งแบบพื้นฐานอย่างหัวข้อเพศหลากหลาย คำศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ ไปจนถึงหัวข้อเพศกับมิติทางสังคมต่างๆ ไม่ว่าจะสิทธิในที่อยู่อาศัย สุขภาพและสิทธิร่างกาย อำนาจทางการเมือง ทุนนิยม เชื้อชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีกลุ่มข้อมูลอย่างรายชื่อหนังสือเกี่ยวกับเพศ เหล่าสื่อไทยที่สื่อสารเรื่องเฟมินิสต์ เพื่อเป็นการแนะนำแหล่งความรู้ต่อยอดสำหรับผู้ที่สนใจด้วย ส่วนเซกชัน Invisible Violence ก็ดีไม่แพ้กัน […]

Violet Valley ร้านหนังสือที่โอบกอดหัวใจ LGBTQ+

ไม่ว่าใครจะถูกกีดกันความหลากหลายทางเพศจากที่ไหน แต่ถ้ามาที่ Violet Valley ร้านหนังสือทางเลือกสุดน่ารัก คุณจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นของแถมทันที ก็จริงอยู่ ร้านหนังสือมีอยู่หลายแห่งบนโลกใบนี้ แต่สำหรับ Jaime Harker นั้น Violet Valley คือร้านหนังสือที่เธอตั้งใจเปิดขึ้นมาเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับกลุ่มเฟมินิสต์ ร้านหนังสือขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Water Valley รัฐมิสซิสซิปปี ชุมชนเล็กๆ ซึ่งมีประชากรเพียง 3,323 คน ช่วงปี 2017 Harker เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาที่ University of Mississippi เธอนิยามตัวเองเป็นเลสเบี้ยน และเพิ่งเขียนงานเรื่อง The Lesbian South เสร็จสมบูรณ์ ตอนนั้น Harker เห็นว่ามีผู้หญิงหลายคนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ Women In Print ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 70 โดยเฉพาะกลุ่มเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และกลุ่มเพศหลากหลาย ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการตีพิมพ์ผลงาน ดังนั้นคอมมูนิตี้สตรีนิยมจึงก่อตั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือแม้แต่จัดการกระบวนการพิมพ์เอง เพื่อให้แน่ใจว่าคนอย่าง Dorothy Allison นักเขียนเลสเบี้ยน, […]

5 หนังสะท้อนชีวิตผู้หญิงในศตวรรษที่ 19

“เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลําบาก” “มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน” สำนวนสุดล้าหลังที่กล่าวโทษเพศกำเนิดเพียงแค่เกิดมาเป็นหญิง ค่านิยมที่ตีกรอบความเป็นสตรีเพศและบรรทัดฐานที่ขีดเส้นขึ้นโดยชาย

เปิดบันทึก 5 เรื่องราวของ Frida Kahlo ศิลปินหญิงเม็กซิกันผู้มอบแรงบันดาลใจ

‘วันสตรีสากล’ มีจุดเริ่มต้นครั้งแรกในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 เมื่อกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เดินขบวนเรียกร้องขอความเป็นธรรม

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.