ร่วมฉลอง Pride Month กับเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชันพิเศษ มอบรายได้ให้องค์กรเพื่อ LGBTQIA+

ใครอยากร่วมสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ เราขอชวนทุกคนสั่งซื้อเสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน ‘Pride Month (Limited Edition)’ ที่ออกแบบโดย ศรัณยา ตั้งวรเชษฐ์ พัฒนามาจากข้อความที่สกรีนอยู่บนเสื้อยืดของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ต้นฉบับออกแบบโดย ศุภวิชญ์ ถิตตยานุรักษ์  เสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษนี้ผลิตโดย ‘Better Bangkok’ หรือ ‘ชมรมกรุงเทพฯ น่าอยู่กว่าเดิม’ กลุ่มคนที่รวมตัวกันภายใต้เป้าหมายขับเคลื่อนและผลักดันประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับ ‘คน’ และ ‘เมือง’ เพื่อร่วมมือกันทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน ทีมงาน Better Bangkok จะมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายเสื้อยืดรุ่น Pride Month ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานเรื่องความหลากหลายทางเพศ โดยเสื้อยืดล็อตแรกจะพร้อมจัดส่งรอบแรกในวันที่ 10 มิถุนายน 2565 และจะพร้อมจัดส่งรอบถัดไปในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 เสื้อยืด ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คอลเลกชัน Pride Month มีจำหน่ายไซซ์ S […]

เพราะโลกนี้มีหลายเฉดสี! ชัชชาติสนับสนุนให้ข้าราชการ กทม. แต่งกายตามเพศวิถี ขอแค่ทำงานดีก็พอ

1 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมงาน ‘Samyan Mitr Pride 100% Love เพราะความรักมีหลากหลาย’ ที่ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองให้กับ ‘เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ชัชชาติให้สัมภาษณ์ภายในงานว่า การตระหนักรู้ถึงความหลากหลายทางเพศคือเรื่องสำคัญ ในอดีตสังคมอาจไม่ค่อยยอมรับเรื่องนี้ แต่ปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนไปแล้ว การยอมรับความหลากหลายทางเพศจะทำให้คนในสังคมมีความเข้าใจกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างเรื่องอื่นๆ มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ ชัชชาติยังพูดถึงการยอมรับให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครแต่งกายตามเพศวิถี โดยย้ำว่าความชอบส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ ขอให้บริการประชาชนได้เต็มที่ ทำงานให้ดี ไม่บกพร่องก็พอ เพราะเรื่องการแต่งกายเป็นแค่ส่วนประกอบเท่านั้น โดย กทม. จะต้องทบทวนกฎระเบียบปัจจุบันอีกครั้งว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ซึ่งชัชชาติมองว่าการแต่งกายตามเพศวิถีคือเรื่องสำคัญที่ควรได้รับการสนับสนุน มากไปกว่านั้น ชัชชาติยังพูดถึงการส่งเสริมความต้องการของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น บริการด้านสาธารณสุข บริการด้านจิตวิทยา ความปลอดภัย และห้องน้ำสาธารณะ รวมไปถึงการให้ความรู้ในโรงเรียน การจัดงาน และการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ กทม. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สังคมเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ชัชชาติระบุว่า “ทั่วโลกยอมรับเรื่องความหลากหลายกันแล้ว ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว โลกไม่ใช่ศูนย์กับหนึ่ง ไม่ใช่มีแค่ขาวกับดำ ผมคิดว่ามันมีสเปกตรัม […]

IKEA เปิดตัวเสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษ โอบรับความหลากหลายของคนในสังคม จำหน่ายถึง 14 มิ.ย. 65 ที่หน้าร้านเท่านั้น

เดือนมิถุนายนของทุกปีจะเป็น ‘เดือนแห่งความเท่าเทียมทางเพศ’ หรือ ‘Pride Month’ ที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ร่วมกันแสดงออกถึงสิทธิและความเท่าเทียม และเฉลิมฉลองให้กับความหลากหลายทางเพศ สำหรับปีนี้ เราอยากชวนทุกคนโอบรับและรณรงค์ความแตกต่างของคนในสังคมไปกับ ‘Make the World Everyone’s Home’ เสื้อยืดคอลเลกชันพิเศษจาก IKEA ดีไซน์ด้วยสัญลักษณ์สีรุ้ง พร้อมสกรีนคำว่า Make the World Everyone’s Home ราคาตัวละ 299 บาท รายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายจะมอบให้ ‘สมาคมฟ้าสีรุ้ง’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตรถคลินิกเคลื่อนที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพและให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการสร้างคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เสื้อยืดรุ่นนี้มีให้เลือกทั้งหมด 3 ไซซ์ ได้แก่ S, M, L มีจำหน่ายที่ สโตร์อิเกีย 3 สาขาเท่านั้น ได้แก่ – อิเกีย บางนา | t.ly/apgE – อิเกีย บางใหญ่ | t.ly/KTUL […]

โหลดฟรี! Welcoming the Rainbow คู่มือที่ช่วยให้ชาวพุทธรู้จักและเข้าใจความหลากหลาย

ขณะนี้ทั่วโลกเคลื่อนไหวและรณรงค์เกี่ยวกับ ‘กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ’ หรือ ‘LGBTQIA+’ อย่างกว้างขวางและหลากหลาย รวมไปถึงมีมูฟเมนต์จากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะศาสนาที่เริ่มเปิดกว้างและเปิดรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น  ‘Welcoming the Rainbow’ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘ยินดีที่มีรุ้ง’ คือคู่มือภาษาอังกฤษที่ส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ LGBTQIA+ ให้กับชาวพุทธ ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธที่เข้าวัดทำบุญ รวมไปถึงคนที่อยู่ในองค์กรและศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆ เพื่อเปิดรับความหลากหลายของชุมชนชาวสีรุ้งมากขึ้น  คู่มือเล่มนี้มาพร้อมแนวทางด้านทัศนคติและการปฏิบัติให้แก่ชาวพุทธเพื่อทำให้กลุ่ม LGBTQIA+ รู้สึกปลอดภัยและเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธอย่างแท้จริง เนื้อหาครอบคลุมสาระที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเพศหลากหลายอย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ เช่น ความหมายและคำนิยามของอักษรย่อ LGBTQIA+ ความหมายของ ‘รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation)’ เช่น ‘เลสเบียน’ ‘เกย์’ ‘เควียร์’ และ ‘ไบเซ็กชวล’ ไปจนถึงวิธีหลีกเลี่ยงคำพูด คำถาม หรือแม้แต่การเล่าเรื่องตลกที่อาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเหมารวม และอคติทางเพศ ซึ่งจะทำให้ชาว LGBTQIA+ รู้สึกถูกโจมตีและละเมิดทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ คู่มือเล่มนี้ยังสอดแทรกด้วยภาพประกอบสีสันสดใสสวยงาม เช่นภาพการ์ตูนพระสงฆ์ และกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ สีผิว เชื้อชาติ และอายุ รวมไปถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาแต่ละบท เช่น ธงสีรุ้งและป้ายห้องน้ำสำหรับทุกเพศ […]

ผู้จัดซีรีส์ ‘แฮร์รี่ พอตเตอร์’ เตรียมหา นักแสดงข้ามเพศรับบทแม่ของแฮร์รี่ เพื่อความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติ

‘แฮร์รี่ พอตเตอร์ (Harry Potter)’ ภาพยนตร์ในดวงใจของใครหลายคนกำลังจะถูกแปลงเป็น ‘ซีรีส์’ ซึ่งแฮร์รี่ พอตเตอร์เวอร์ชันใหม่เตรียมจะสร้างให้ตัวละครต่างๆ มีความหลากหลายมากขึ้น ผ่านนักแสดงที่มีความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติ Megan Mckelli ผู้สร้างโปรเจกต์ซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้กล่าวใน TikTok ของเธอว่า “พวกเราต้องการสะท้อนให้เห็นเรื่องความหลากหลายของฐานแฟนคลับในตัวละครที่เป็นที่รักเหล่านี้ ผ่านตัวละครผิวสี เรื่องราวของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ และตัวละครที่มีความเชื่อต่างกัน” แผนการสร้างแฮร์รี่ พอตเตอร์ เวอร์ชันใหม่เกิดขึ้น หลังจาก เจ. เค. โรว์ลิง นักเขียนนิยายชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง เพราะเธอไม่ยอมรับบุคคลที่แปลงเพศเป็นผู้หญิง ว่าเป็น ‘ผู้หญิง’ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นของนักเขียนชื่อดังทำให้หลายฝ่าย รวมไปถึงแฟนคลับและทีมนักแสดงจากภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ มองว่าเธอ ‘เหยียดเพศ’ เหล่าผู้อำนวยการสร้างซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ เปิดเผยว่า พวกเขากำลังเตรียมเปิดรับนักแสดงมาสวมบทบาทในซีรีส์แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งตัวละครในเรื่องนี้จะได้รับการถ่ายทอดโดยนักแสดงที่เป็น ‘คนข้ามเพศ’ (Transgender) หรือ ‘คนที่ไม่เห็นว่าเพศของตัวเองต้องจำกัดอยู่เฉพาะกับเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น’ (Non-binary) ทั้งนี้ ทางผู้จัดยังไม่ได้เจาะจงว่า พวกเขาต้องการให้ใครมารับบทเป็น ลิลี่ […]

ได้เวลาเดบิวต์! Sesame Street เปิดตัว ‘จียอง’ หุ่นเชิดสัญชาติเอเชียน-อเมริกันตัวแรก ส่งเสริมความหลากหลายทางเชื้อชาติ

Sesame Street หนึ่งในทีวีโชว์ขวัญใจเด็กๆ ทั่วโลก ได้เปิดตัวหุ่นเชิดสัญชาติเอเชียน-อเมริกันตัวแรกในประวัติศาสตร์ของรายการ เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนความหลากหลายทางเชื้อชาติ น้องใหม่ของ Sesame Street มีชื่อว่า ‘จียอง’ (Ji-Young) เด็กหญิงวัย 7 ขวบ สัญชาติเกาหลี-อเมริกัน ที่ปรากฏตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการในตอนพิเศษ See Us Coming Together: A Sesame Street Special ในวันขอบคุณพระเจ้า เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2021 ผู้เชิดหุ่นจียองก็คือ แคทลีน คิม (Kathleen Kim) นักร้องโอเปราชื่อดังที่มีสัญชาติเกาหลี-อเมริกันเช่นเดียวกัน จียองเปิดตัวในชุดเสื้อยืดสีส้ม ทับด้วยแจ็กเก็ตแขนกุด พร้อมทรงผมบ๊อบสั้น โดยเธอเล่ากลางรายการว่าสิ่งที่ชอบทำที่สุดก็คือ การเล่นกีตาร์ไฟฟ้าและสเก็ตบอร์ด  ด้านแคทลีนอธิบายว่า จียองเป็นตัวละครที่พร้อมลุยและมีความมั่นใจ ซึ่งแตกต่างจากตัวเธอสมัยเด็กอย่างมาก นี่จึงเป็นการลบภาพจำเดิมๆ ที่มีต่อเด็กผู้หญิงเอเชีย ที่มักถูกมองว่าเรียบร้อย ขี้อาย และไม่กล้าทำตามความฝัน จียองคือผลงานของ Creative and Production for Sesame […]

Violet Valley ร้านหนังสือที่โอบกอดหัวใจ LGBTQ+

ไม่ว่าใครจะถูกกีดกันความหลากหลายทางเพศจากที่ไหน แต่ถ้ามาที่ Violet Valley ร้านหนังสือทางเลือกสุดน่ารัก คุณจะได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นเป็นของแถมทันที ก็จริงอยู่ ร้านหนังสือมีอยู่หลายแห่งบนโลกใบนี้ แต่สำหรับ Jaime Harker นั้น Violet Valley คือร้านหนังสือที่เธอตั้งใจเปิดขึ้นมาเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับกลุ่มเฟมินิสต์ ร้านหนังสือขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ใน Water Valley รัฐมิสซิสซิปปี ชุมชนเล็กๆ ซึ่งมีประชากรเพียง 3,323 คน ช่วงปี 2017 Harker เป็นศาสตราจารย์ด้านภาษาที่ University of Mississippi เธอนิยามตัวเองเป็นเลสเบี้ยน และเพิ่งเขียนงานเรื่อง The Lesbian South เสร็จสมบูรณ์ ตอนนั้น Harker เห็นว่ามีผู้หญิงหลายคนเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ Women In Print ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษที่ 70 โดยเฉพาะกลุ่มเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และกลุ่มเพศหลากหลาย ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการตีพิมพ์ผลงาน ดังนั้นคอมมูนิตี้สตรีนิยมจึงก่อตั้งสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือแม้แต่จัดการกระบวนการพิมพ์เอง เพื่อให้แน่ใจว่าคนอย่าง Dorothy Allison นักเขียนเลสเบี้ยน, […]

How old am I? หนังสือเด็กที่รวบรวมคนอายุ 1 – 100 ปีจากทั่วโลก เพื่อสื่อสารเรื่องความหลากหลายของมนุษย์

หนังสือเด็กยุคนี้ควรมีเนื้อหาแบบไหน ถึงจะทำให้เด็กคนหนึ่งเติบโตเป็นพลเมืองโลกได้? ‘How old am I?’ คือหนังสือสำหรับเด็กอายุ 4 – 8 ปีที่เนื้อหาดูไม่เด็กเลยสักนิด และเปิดโลกความหลากหลายให้กับเด็กได้ดีมากๆ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ JR ช่างภาพและนักกิจกรรมชาวปารีส ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานภาพขาวดำขนาดใหญ่ที่พรินต์ไปแปะอยู่บนสถานที่สำคัญทั่วโลก และ Julie Pugeat ผู้จัดการสตูดิโอของ JR ซึ่งเป็นคุณแม่ลูก 2 และเคยมีผลงานร่วมกับ JR มาแล้วในหนังสือเด็กเล่มแรกชื่อ ‘Wrinkles’  สำหรับเด็กๆ แนวคิดเรื่องอายุเป็นเรื่องที่นามธรรมมากๆ ลองนึกย้อนกลับไปถึงตัวเองในวัยนั้นดูก็ได้ว่าเราเข้าใจคำว่า ‘อายุ’ กันมากแค่ไหน เราแทบจะไม่รู้เลยว่าคนที่มีอายุเท่านี้มีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีตัวอย่างจากญาติหรือคนในครอบครัว และแทบจะไม่รู้เลยว่าคนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา เขามีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร JR และ Julie จึงทำหนังสือสำหรับเด็กที่รวบรวมภาพถ่ายและเรื่องราวจากผู้คนอายุ 1 – 100 ปี 100 คนจากทั่วโลกขึ้นมา และจัดเรียงตามอายุเพื่อให้เด็กๆ ได้เห็นภาพการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้จะเป็นคำถามสั้นๆ ที่ผู้จัดทำชวนทั้ง 100 คนมาแบ่งปันประสบการณ์ ความปรารถนา ความทรงจำ […]

“1 แผ่นกระดาษ 1 ด้ามปากกา 1 ความคิด”โปรเจกต์ภาพถ่ายเด็กลาดกระบังที่สะท้อนเสียงคนในสังคมอย่างไม่แบ่งแยก

‘กระดาษ 1 แผ่น ปากกา 1 ด้าม’ มีเพียงสองสิ่งก็บอกเล่าความคิดได้ คุยกับ ‘พิมพ์ – พิมพ์ณภัส อนันตศิริ’ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เจ้าของโปรเจกต์ภาพถ่ายที่สะท้อนความคิดของคนอย่างไม่แบ่งแยก

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.