‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์จากบ้านญี่ปุ่น 80 ปี ที่ช่วยเพิ่มการท่องเที่ยวและลดจำนวนบ้านร้างในประเทศ

บ้านที่ถูกทิ้งร้างเป็นปัญหาใหญ่ของหลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น ทำให้รัฐบาลต้องมองหาวิธีแก้ไขเพื่อลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของบ้านร้างในประเทศ ซึ่งในเมืองโยบุโกะ จังหวัดซากะ ก็มีบ้านญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมอายุกว่า 80 ปีถูกทิ้งร้างเอาไว้เหมือนกัน สถาปนิกจาก ‘CASE-REAL’ จึงได้ออกแบบและเปลี่ยนบ้านเก่าให้กลายเป็น ‘Whale Brewing’ โรงผลิตคราฟต์เบียร์แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของเมือง โดยเมืองโยบุโกะนั้นเป็นที่รู้จักในเรื่องการล่าวาฬในสมัยเอโดะ และมีชื่อเสียงในเรื่องการตกหมึก แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน จำนวนประชากรในย่านนี้ก็ลดน้อยลงเนื่องจากการโยกย้ายถิ่นฐาน ทำให้มีบ้านถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก จึงเกิดเป็นไอเดียในการนำบ้านว่างหลังนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามากขึ้น และหวังว่าจะช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าเดิม บ้านที่ CASE-REAL เลือกนั้นตั้งอยู่ริมถนนโยบุโกะ ถนนที่เต็มไปด้วยอาหารทะเลท้องถิ่นและมีแผงขายสินค้าตั้งอยู่ทุกเช้า และแม้ว่าบ้านหลังนี้จะทรุดโทรมและมีปัญหาด้านโครงสร้างอยู่บ้าง แต่ CASE-REAL ได้สำรวจและเลือกจุดแข็งของบ้านมาปรับปรุงให้เป็นโครงสร้างและฟังก์ชันที่เหมาะสมกับการทำโรงเบียร์ โดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ ภายในอาคารประกอบไปด้วยพื้นที่ผลิตเบียร์ในห้องโถงแบบเปิด ส่วนด้านหน้าเป็นกระจกทั้งสองชั้นเพื่อให้ด้านในมองเห็นถนนด้านนอก ส่วนด้านนอกก็สามารถมองเข้ามาเห็นบรรยากาศในโรงเบียร์ที่ประกอบด้วยโครงไม้เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงนำสเตนเลสมาใช้สำหรับองค์ประกอบต่างๆ เช่น เคาน์เตอร์และที่จับ เพื่อสะท้อนถึงอุปกรณ์ในการต้มเบียร์ด้วย Sources :CASE-REAL | tinyurl.com/wymyf2f6Designboom | tinyurl.com/4dekx5d4

เพิ่มลิสต์เตรียมเที่ยวญี่ปุ่น! DIG THE LINE DOORS ร้านคราฟต์เบียร์สไตล์มินิมอลแห่งใหม่ในโตเกียว ที่อยากคอนเนกผู้คนด้วยเครื่องดื่มและดีไซน์สุดโมเดิร์น

ญี่ปุ่นกำลังจะเปิดประเทศทั้งที สายคราฟต์เบียร์และชาวมินิมอลต้องไม่พลาดไปแวะร้านคราฟต์เบียร์แห่งใหม่ในโตเกียวอย่าง ‘DIG THE LINE DOORS’ ซึ่งเป็นบาร์เหล้า (Taproom) สไตล์มินิมอลยอดนิยมจากเกียวโตที่ดำเนินการโดยผู้นำเข้าคราฟต์เบียร์จากยุโรป ซึ่งล่าสุดได้ขยับขยายมาเปิดสาขาแรกในเมืองหลวงแล้ว  DIG THE LINE DOORS เป็นร้านที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องใต้ดินในฮาราจูกุ ย่านที่วัฒนธรรมของโตเกียวและประเทศอื่นๆ ของโลกมาบรรจบกัน ซึ่งบาร์เหล้าแห่งนี้เปรียบเสมือน ‘ประตู’ ที่จะเชื่อมโยงผู้คนจากหลากหลายกลุ่ม ผ่านเครื่องดื่มที่ทางร้านคัดสรรมาอย่างดี ทั้งเบียร์ในท้องถิ่นของญี่ปุ่นเอง รวมถึงเบียร์จากต่างประเทศ ให้ผู้คนได้แวะเวียนมาลิ้มลองรสชาติกันแบบไม่รู้เบื่อ นอกจากเบียร์แล้ว การตกแต่งร้านสไตล์มินิมอลก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายแต่ดูทันสมัย โดยจุดโฟกัสของร้านคือ ตู้แช่เครื่องดื่มแบบวอล์กอินที่ทำจากสเตนเลสไล่ระดับสีเขียวอมน้ำเงิน ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางห้องสีขาว ทำให้ตู้แช่ดูโดดเด่น ใครเห็นก็ต้องอยากเข้าไปหยิบเบียร์มาดื่มสักกระป๋อง เนื่องจากเบียร์และสาเกที่เป็นสินค้าหลักของร้านนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก น้ำจึงเป็นแรงบันดาลใจและองค์ประกอบสำคัญในการดีไซน์ร้าน เพราะสีเขียวอมน้ำเงินของตู้เย็นก็ชวนให้นึกถึงน้ำและแสงสว่าง แถมพื้นผิวสเตนเลสที่สะท้อนแสงก็ยิ่งทำให้พื้นที่ในร้านดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้นด้วย นอกจากจะเป็นตู้สำหรับแช่เบียร์ให้เย็นชื่นใจแล้ว ด้านข้างของตู้ยังติดตั้งหัวก๊อกสีน้ำเงินไล่ระดับสีทั้งหมด 6 ตัว ไว้เสิร์ฟเบียร์และไซเดอร์ให้ลูกค้าอีกด้วย ส่วนบริเวณโดยรอบนั้นก็ยังมีม้านั่งและโต๊ะบาร์สีเทาทรงเก๋เตรียมไว้บริการลูกค้า เป็นสเปซให้คนได้นั่งจิบเบียร์สบายๆ หรือจะยืนคุยกันแบบเพลินๆ ก็ได้ ใครเป็นสายคราฟต์เบียร์และกำลังเตรียมตัวไปเที่ยวญี่ปุ่นทันทีที่เปิดประเทศ ก็อย่าลืมแวะไปแถวฮาราจูกุ ชมความมินิมอลและชิมเครื่องดื่มจาก DIG THE LINE DOORS กันนะ Source :Designboom […]

PERMADEATH ธีสิสแบรนด์เบียร์ผู้ชนะเลิศรางวัล B.A.D Beer Contest ที่ฝันว่าการวาดรูปและต้มเบียร์จะเป็นอาชีพได้

‘B.A.D Beer Contest’ คือโครงการประกวดเบียร์ชิงแชมป์แห่งประเทศไทย จัดโดย บริษัท ส้มจี๊ด เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ธุรกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดย ‘คณะก้าวหน้า’ ร่วมกับ ‘พรรคก้าวไกล’ เพื่อสร้างองค์ความรู้เรื่องการผลิตเบียร์และเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ร่าง ‘พ.ร.บ. สุราก้าวหน้า’ เพราะการผลักดันเพียงแค่ในสภาอาจไม่เพียงพอ การขับเคลื่อนนอกสภาจึงเป็นอีกวิธีการที่จะช่วยให้เครื่องดื่มสากลโลกในไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลง  สำหรับผู้ชนะเลิศในการประกวดเบียร์ครั้งแรกประเภทเบียร์ IPA เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาคือแบรนด์ PERMADEATH ส่งเบียร์สีขุ่นกลิ่นหอมตัวที่ใช้ชื่อว่า ‘HAZE SHOT HAZY IPA 6.3%’ เข้าร่วมประกวด ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานธีสิสของ ‘นนท์-ณัชนนท์ เรียบร้อย’ บัณฑิตป้ายแดงจากศิลปากร วังท่าพระ คณะมัณฑนศิลป์ สาขานิเทศศิลป์  “กรรมการที่ตัดสินบอกว่าเบียร์กลิ่นดี รสชาติเยี่ยม กินง่ายและคลีน เป็นเบียร์ที่บอดี้มีความหนาแน่น แต่อาจจะเพิ่มความเข้มข้นได้อีก ความคิดเห็นส่วนตัวของผม คิดว่าเบียร์ที่หนักเกินไปมันอร่อยแค่คำสองคำแรก อาจกินไม่หมดแก้วก็เลี่ยนซะก่อน ผมจึงตั้งใจทำเบียร์ที่ไม่ได้บางจ๋อย ให้กลิ่นรสสัมผัสมาเต็ม เพื่อทำให้กินได้จนหมด อยากทำเบียร์ที่คนกินมีความสุขตลอดแก้ว”  เขาเล่าให้ฟังถึงชัยชนะแก้วแรกของ PERMADEATH แบรนด์ที่ตั้งใจทำเพื่อเป็นธีสิสในด่านสุดท้ายก่อนจบการศึกษา และหวังผลต่อยอดเป็นแบรนด์ที่ตัวเองจะได้เป็นเจ้าของวันข้างหน้า  เพื่อการอ่านออกรส ‘Cheers!’ PERMADEATH […]

ปลดล็อกวงการสุราไทย! สภาฯ โหวตผ่านร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า โอกาสของผู้ประกอบการรายเล็ก-สุราชุมชน

8 มิถุนายน 2565 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการ ‘ร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต’ หรือ ‘ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ วาระที่หนึ่ง ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 178 เสียง ไม่เห็นด้วย 137 เสียง งดออกเสียง 15 เสียง ร่างกฎหมายฉบับนี้เสนอโดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล พร้อมคณะ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน 60 วัน ก่อนจะส่งกลับมาให้สภาฯ พิจารณาอีกครั้งเมื่อวานนี้  สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า มีดังต่อไปนี้ 1) กำหนดให้ผู้ที่ผลิตสุราเพื่อการบริโภค ที่ไม่ใช่สำหรับการค้า เช่น การต้มสุราเพื่อบริโภคเองในครัวเรือน (Homebrewing) หรือการทดลองต้มสุราเพื่อคิดค้นสูตรใหม่ สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และไม่มีความผิดทางกฎหมาย 2) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตผลิตสุรา เช่น ต้องจดทะเบียนบริษัทหรือต้องมีทุนขั้นต่ำในการจดทะเบียน เปิดทางให้ผู้ประกอบการผลิตสุราที่มีเจ้าของเดียวหรือมีรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามารถเริ่มกิจการได้ 3) ไม่กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องกำลังการผลิต กำลังแรงม้า และจำนวนพนักงานในการขออนุญาตผลิตสุรา เป็นการเปิดโอกาสให้การผลิตสุราในชุมชน ที่แต่เดิมกำหนดว่า […]

EAT

คราฟท์เบียร์ไทย ทำไมต้องจดต่างแดน ?

แทนที่จะต้องนำเข้าคราฟท์เบียร์จากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อนำเข้าคราฟท์เบียร์มาดื่มในราคาที่แพงขึ้นทั้งๆ ที่คนไทยทำเองได้แท้ๆ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.