หน้ากากอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย
ศิลปินจาก ‘Sum Studio’ คิดค้น “หน้ากาอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย” ที่คนทางบ้านสามารถทำเองได้ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีหรือร้องอี๋ เพราะมันช่วยกันไวรัสได้ดีกว่าที่คิด และเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัย N95 ได้เลย
ศิลปินจาก ‘Sum Studio’ คิดค้น “หน้ากาอนามัยจากเชื้อแบคทีเรีย” ที่คนทางบ้านสามารถทำเองได้ อย่าเพิ่งเบือนหน้าหนีหรือร้องอี๋ เพราะมันช่วยกันไวรัสได้ดีกว่าที่คิด และเทียบเท่ากับหน้ากากอนามัย N95 ได้เลย
‘สมุนไพรฟ้าทะลายโจร’ ทีมแพทย์ของไทยเองนเล็งเห็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร จึงหยิบนำมาศึกษาในหลอดทดลอง ปรากฎว่าสามารถต้านและยับยั้งไวรัสได้ ขั้นตอนต่อไปคือทดลองในผู้ป่วยจริง อย่างนี้แล้วคนไทยจะมียารักษาโควิด-19 เร็วๆ นี้ไหม ?
“บางครั้งในวิกฤตอาจมีโอกาส แต่ในตอนนี้มันไม่ใช่แล้วในวิกฤตมีวิกฤต”เมื่อช่างภาพมืออาชีพ ‘โอ๊ต-ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี’ ต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 การทำหน้าที่เก็บบันทึกช่วงเวลาแห่งความสุขกำลังหายไป และคาดการณ์ไม่ได้ว่าอาชีพช่างภาพจะกลับมาปกติอีกครั้งเมื่อไหร่ แต่เขากลับตั้งสติ หาวิธี เพื่อเอาตัวรอด และเตรียมตัวให้พร้อมด้วยแนวคิดที่ว่า “เมื่อทุกอย่างกลับสู่สถานการณ์ปกติแล้ว สำหรับคนที่เคยล้มลงหากเตรียมพร้อมอยู่เสมอ คุณจะกลับมาวิ่งได้ก่อนใครแน่นอน”
รัฐแคลิฟอร์เนีย ออกมาประกาศ ‘โครงการผูกโตเพื่อผู้สูงอายุ’ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะทำงานร่วมกับร้านอาหารต่างๆ ที่ต้องปิดตัวชั่วคราว ให้ปรุงอาหารครบ 3 มื้อทั้งสัปดาห์ และจัดส่งให้กับผู้สูงอายุทั่วรัฐแคลิฟอร์เนียที่อยู่ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 เพื่อเรียกคืนการจ้างงานพนักงาน และคืนรายได้ให้กับร้าน
เปิด 7 คำทำนายการอยู่อาศัยในอนาคต หลังโควิด-19 จาก ‘Sergey Makhno’ สถาปนิกชาวยูเครน จากเว็บไซต์ ‘ArchiPanic’ นิตยสารออนไลน์เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบ พร้อมภาพประกอบน่ารักเข้าใจง่ายไปด้วยกัน
เปิดมุมมองชีวิตผ่านวิถีคนทำหนังกับ ‘เต๋อ-นวพล ธํารงรัตนฤทธิ์’ ที่เผชิญพายุแห่งวิกฤตเหมือนคนอื่นๆ แต่ก็พยายามค้นหาพลังกาย พลังใจ และพลังแห่งการรู้ เพื่อผ่านพายุลูกนี้ไปด้วยกัน
ประเด็นร้อนไม่แพ้อุณหภูมิเดือนเมษายน คงหนีไม้พ้นค่าไฟแพงทะลุมิเตอร์ จนพี่น้องประชาชนแคลงใจว่า ตัวเลขในบิลที่พุ่งกระฉูดนั้นมาจากไหน ?
แต่เพราะไม่ใช่ทุกคนที่กะระยะห่างได้ ‘NOSIGNER’ กลุ่มนักเคลื่อนไหวด้านการออกแบบซึ่งทำงานเพื่อหวังให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จากประเทศญี่ปุ่น จึงออกแบบภาพโปสเตอร์น่ารักๆ ที่สื่อสารเข้าใจได้ง่าย มีทั้งเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษลงในเว็บไซต์ ‘PAINAID’ เพื่อให้เราวัดระยะห่างทางสังคมได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องพกสายวัดให้ยุ่งยาก
เมื่อการออกไปข้างนอกกลับกลายเป็นความหวาดระแวง แนวคิดการออกแบบสวนสาธารณะ ‘Parc de la Distance’ ในประเทศออสเตรีย ที่รักษาระยะห่างระหว่างคนด้วยการจัดการพื้นที่จึงเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้คนได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน และสัมผัสพื้นที่สีเขียวได้บ้างในขณะที่ต้องรักษาระยะห่างจากสังคมในช่วง COVID-19 | แนวคิดพลิกพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ออสเตรียเป็นหนึ่งในประเทศแถบยุโรปกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาตรการสำหรับประชาชน เพื่อจำกัดการออกไปข้างนอก และการอยู่ใกล้ชิดกันเป็นจำนวนมาก นั่นจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบสวนสาธารณะ ที่สร้างระยะห่างที่ปลอดภัยระหว่างผู้คนได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ‘Precht studio’ สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากออสเตรียจึงเปิดตัวแนวคิดสุดคูล กับสวนสาธารณะที่ชื่อว่า ‘Parc de la Distance’ ซึ่งสร้างขึ้นในรูปแบบคล้ายลายนิ้วมือ ด้วยความหมายที่อยากกระตุ้นระบบสัมผัสและการรับรู้ของมนุษย์ให้เหมือนกับปลายนิ้ว ด้วยความเชื่อที่ว่าการระบาดของ COVID-19 ทำให้ชาวเมืองกลัวการออกไปข้างนอก และเริ่มออกห่างจากธรรมชาติมากขึ้น สวนสาธารณะแห่งนี้จึงไม่ได้สร้างขึ้นเพียงเพื่อตอบสนองการใช้งานช่วง COVID-19 เท่านั้น แต่เรายังได้เรียนรู้ว่าหลังจากเหตุการณ์นี้ สวนสาธารณะ Parc de la Distance จะกลายเป็นที่พักใจของเหล่าคนเมืองที่ต้องการหลบหนีจากเสียงดัง และความจอแจวุ่นวายในเมืองใหญ่ได้อย่างแน่นอน | การออกแบบที่ใส่ใจทุกรายละเอียด นอกจากแนวคิดที่ดีและตอบโจทย์การใช้งานแล้ว เรื่องของรายละเอียดเล็กน้อยต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยสวนสาธารณะ Parc de la Distance นั้นมีกลไกการจัดเส้นทางคล้ายกันกับลายนิ้วมือ ซึ่งมีการหมุนวนไปในทิศทางเดียวกันหลากหลายเส้นทางที่สามารถใช้งานพร้อมกันได้ […]
ยามที่เราต้องห่างกันมากเป็นพิเศษ เพลงบางเพลงทำให้เราคิดถึงใครบางคน ‘พี่แสตมป์’ จึงขอเปิดช่วงไลฟ์บนเฟซบุ๊ก ‘ห่างกันวันละเพลง’ มาช่วยคลายเหงาและความคิดถึงบนโลกโซเชียล เราชวนพี่แสตมป์คุยเรื่องความสัมพันธ์ของผู้คนในช่วงนี้ ที่ความห่างไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่กลับทำให้ได้ทบทวนว่า “ความสัมพันธ์ของเรามันสําคัญยังไง” #UrbanCreature #UrbanPeople #COVID19 #โควิด19 #ห่างกันวันละเพลง
ชวนประเดิมเมนูสู้เคอร์ฟิวด้วย ‘ผัดไทยพิซซ่า’ ที่หยิบเอาอาหารไทย และอาหารอิตาลีมาดัดแปลงสักหน่อย โดยใช้วัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่างจากครัวเรือน
ชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาด ประเทศไทยยังขาดการเตรียมตัวอย่างจริงจังในเรื่อง ‘อาหาร’ ทำให้เมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉิน ผู้คนโดยเฉพาะกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำเข้าถึงอาหารได้น้อยลง จึงเกิดโครงการปันอาหารปันชีวิต ปิดรับบริจาคอาหารและเงินทุนเพื่อกระจายอาหารให้เข้าถึงกลุ่มคนเปราะบาง ทั้งยังช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาระบายสินค้าไม่ทัน ด้วยการรับซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรมอีกด้วย