เรือคายัคไร้คนขับ แล่นด้วยพลังงานลมและแสงอาทิตย์ ใช้ AI เก็บอุณหภูมิทะเล และการปล่อย CO2

“เรือลำเล็กแต่แนวคิดและประสิทธิภาพยิ่งใหญ่” เรายกให้เป็นคำจำกัดความของ ‘Autonomous Saildrones’ เรือคายัคแห่งอนาคตที่ติดตั้งเซนเซอร์ เรดาร์ และกล้องความละเอียดสูง เพื่อเก็บข้อมูลมาทำแผนที่ทางทะเล คอยมอนิเตอร์การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำในมหาสมุทร ความเร็วลม อุณหภูมิของทะเล ความชื้น การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ และจำนวนประชากรของสัตว์ทะเล ซึ่งนำไปสู่การส่งข้อมูลดังกล่าวให้นักวิทยาศาสตร์ในห้องแล็บวิเคราะห์ทางออกสำหรับต่อสู้กับ Climate Change อีกด้วย! รูปลักษณ์ภายนอกสีแดงจี๊ดจ๊าด มองเผินๆ ก็ดูเป็นเรือคายัคแหละ ทว่าจริงๆ เป็นปัญญาประดิษฐ์ในรูปแบบยานผิวน้ำไร้คนขับที่แล่นกลางทะเลด้วยพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนใบเรือ ซึ่งเป็นผลงานของ Saildrone บริษัทในแคลิฟอร์เนียผู้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับมหาสมุทรโดยใช้ยานผิวน้ำไร้คนขับ หรือ เรือ AI กว่า 100 ลำ ทั่วโลก  ที่น่าประทับใจคือเรือของ Saildrone เดินทางด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพามนุษย์หลายเดือน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะพิสูจน์มาแล้วว่าปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ธรรมชาติน้อยหรือแทบไม่ปล่อยเลย อีกทั้งที่ผ่านมา ทางบริษัทมุ่งใช้เรือเพื่อแจ้งข้อมูลให้นักวิทยาศาสตร์ทราบข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา สมุทรศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เพื่อขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันความสามารถที่หลากหลายของ Saildrones ก็ยังถูกนำมาใช้ในการติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในทะเล เช่น เส้นทางการเดินเรือ น่านน้ำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง อีกด้วย Source : […]

‘Timelapse’ ฟีเจอร์ใหม่จาก Google Earth ที่แสดงผลกระทบของโลกร้อนและพฤติกรรมมนุษย์ตลอด 37 ปี

ที่ผ่านมาเราทุกคนรับรู้ว่าภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระบบนิเวศต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลง แต่เราไม่เคยเห็นเลยว่ามันเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน จนบางครั้งเราก็เพิกเฉยต่อสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเราไป Google Earth เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า ‘Timelapse’ ที่แสดงวิดีโอจากภาพถ่ายดาวเทียมถึงผลกระทบที่โลกได้รับจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและพฤติกรรมมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การละลายของน้ำแข็ง การลดลงของแม่น้ำ หรือแม้แต่การเจริญเติบโตของเมือง โดย NASA ได้ให้ความร่วมมือในการรวบรวมภาพถ่ายดาวเทียม 24 ล้านภาพที่ถ่ายตั้งแต่ปี 1984 จนถึง 2020 ผ่าน Landsat โครงการสำรวจทางธรณีวิทยาของโลกที่ดำเนินมายาวนานที่สุดในโลก ดังตัวอย่างภาพเราจะได้เห็นกัน ได้แก่ Cape Cod คาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกาที่ค่อยเคลื่อนตัวไปทางใต้อย่างช้าๆ หรือภาพการเจริญเติบโตทางการเกษตรในซาอุดีอาระเบีย ไปจนถึงภาพชายหาดที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่าง Songdo ในเกาหลีใต้ หลังจากได้เห็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผู้คนคงจะหันมาสนใจและให้ความร่วมมือในการช่วยกันทำให้ปัญหานี้บรรเทาลง ให้โลกของเรากลับมาน่าอยู่ขึ้นอย่างแน่นอน คนที่สนใจ กดเข้าไปชมได้ที่ g.co/Timelapse โดยกดเลือก Voyager แล้วค้นหาสถานที่ที่เราอยากดูการเปลี่ยนแปลง Sources :CNN | https://cnn.it/32hNnXN The Hill | https://bit.ly/2QuuHBk 

โลกร้อนกว่าเดิม! งานวิจัยจีนเผย ในปี 2100 โลกอาจมีฤดูร้อนนานถึง 6 เดือน

นอกจากอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นทุกปี ล่าสุดผลการวิจัยใหม่จากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนเผยว่า ในปี 2100 ปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอาจทำให้ฤดูร้อนยาวนานถึง 6 เดือน ในขณะที่ฤดูหนาวจะมีระยะเวลาสั้นลง จากการเก็บข้อมูลอุณหภูมิบริเวณซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป ระหว่างปี 1952 – 2011 เพื่อศึกษาว่าแต่ละฤดูกาลเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อไร พบว่าในช่วงฤดูร้อนกินเวลาเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 95 วัน จากปกติ 78 วัน ในขณะที่ฤดูอื่นๆ ลดลงเฉลี่ย 3 – 9 วัน  จากข้อมูลชุดนี้เองทำให้นักวิจัยคาดการณ์ว่า ถ้าหากเป็นแบบนี้ต่อไป อาจสร้างผลกระทบแก่ภาคเกษตรกรรม สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ รวมถึงสุขภาพของพวกเราทุกคนด้วย  ผู้คนอาจต้องเผชิญภาวะเจ็บป่วยจากอากาศร้อนที่กินเวลายาวนานขึ้น พืชพันธุ์และสัตว์ท้องถิ่นต้องปรับตัวจากภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง เพราะหากโลกยังคงดูดซับความร้อนมากกว่าที่จะสะท้อนกลับสู่อวกาศ อาจส่งผลให้หน้าร้อนยาวนานนี้เกิดเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ Source : The Hill | bit.ly/2P8BGzM

ทำไมการซักผ้าถึงทำให้โลกร้อน

เวลาที่ใครถาม “ทำไมไม่ชอบซักผ้า ?” จงตอบกลับไปว่า “มันสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ !” ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องจ้อจี้ แต่ที่ไหนได้มันคือเรื่องจริง !! เมื่อวารสารวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเชิงบูรณาการของ Jay S. Golden ระบุว่า กระบวนการซักผ้าเฉพาะสหรัฐอเมริกาสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากกว่า 225 ล้านเมตริกตันต่อปี มีการใช้ไฟฟ้า 191,000 กิกะวัตต์ต่อชั่วโมง (GWh) และใช้น้ำมากกว่า 847 ล้านแกลลอน ยิ่งถ้าบ้านไหนใช้น้ำร้อนซักผ้าด้วยละก็จะยิ่งผลิตคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการซักผ้าด้วยน้ำอุณหภูมิปกติอีก 1.59% เลยทีเดียว แม้ตัวเลขเหล่านี้จะมาจากอเมริกันชน แต่คนไทยอย่างเราก็ไม่ควรมองข้าม เพราะขั้นตอนการซักผ้าแทบจะคล้ายกันทั้งหมด เผลอๆ เหมือนกันทั้งโลกเลยด้วย ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการแยกผ้า โยนเสื้อผ้าลงถัง ไปจนถึงการใช้เครื่องอบผ้าก็ตาม ซึ่งขั้นตอนที่สร้างคาร์บอนมากสุด คือ ‘การอบ’ เพราะต้องอาศัยไฟฟ้าอย่างหนักเพื่อทำให้ผ้าแห้ง โดยคิดเป็น 5.8% ต่อการปล่อยคาร์บอนฯ ในการซักผ้าหนึ่งครั้ง เห็นว่าหลายบ้านเลือกใช้ ‘เครื่องอบผ้า’ แทนการแขวนบนราวตากผ้า โดยเฉพาะคนอเมริกันที่เรามักจะเห็นภาพห้องซักรีดใต้ดินแบบ 3 in 1 คือ ซัก อบ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.