จอดทับทางม้าลาย ปรับ-จับจริง เริ่ม 1 ก.พ. 65 ที่แยกอโศกเป็นที่แรก มี AI จับภาพ พร้อมส่งใบสั่งให้ถึงที่บ้าน

หลังจากที่มีการถกเถียงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ทางม้าลายในกรุงเทพฯ กันมาสักพัก ตอนนี้ กทม. เริ่มเอาจริงกับการบังคับใช้กฎหมายที่แยกอโศกมนตรีเป็นที่แรก โดยใช้กล้องที่มีเทคโนโลยี AI จับภาพรถที่จอดทับทางม้าลาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปรับและจับจริงตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 65 เป็นต้นไป ใครทำผิดกฎหลังจากนี้รอรับใบสั่งส่งตรงถึงบ้านได้เลย  วันที่ 25 ม.ค. 65 ที่ผ่านมา ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกของกรุงเทพมหานคร ได้แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการปรับปรุงทางม้าลายบริเวณแยกอโศกมนตรี ผ่านเพจ เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang เอาไว้ว่า ต้อง “จับ” “ปรับ” ถึง “เปลี่ยน” พฤติกรรมคนได้ และมีแนวทางในการแก้ไขทางม้าลายให้สะดวก ปลอดภัย จะต้องแก้ด้วย 2 วิธีคือ 1. การแก้ไขทางกายภาพ ด้วยการออกแบบเชิงโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และ 2. การแก้ไขพฤติกรรมวินัยจราจร ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน ซึ่งในขณะนี้บริเวณแยกอโศกมนตรี แยกขนาดใหญ่ที่มีคนเดินเท้าใช้กันเป็นประจำ […]

ผ่อนคลายกับบรรยากาศช่วงปลายปีที่ ICONSIAM

ช่วงปลายปีแบบนี้คือช่วงเวลาที่เหมาะกับการออกจากบ้านไปรับลมและอากาศดีๆ ริมแม่น้ำมากที่สุด อากาศแบบนี้ถ้าเราได้นั่งชิลๆ กินอาหารอร่อย กับบรรยากาศริมแม่น้ำ ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายไปได้เยอะ สถานที่ที่เรานึกถึงทุกครั้งและต้องมาเยือนเพื่อมาชมวิวโค้งน้ำที่สวยที่สุดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ก็คือ ICONSIAM แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มอบประสบการณ์ความรื่นรมย์ให้ทุกคนได้มาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ทุกวัน เพราะมีทั้งพื้นที่สีเขียวที่ร่มรื่นให้นั่งพักผ่อน คาเฟ่และร้านอาหารริมน้ำที่ได้รับลมเย็นๆ ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรวมของสิ่งที่ดีที่สุดของไทยที่ทำให้เราได้กินและได้ช้อปกันอย่างจุใจได้ตลอดวัน เหมาะชวนเพื่อนออกจากบ้านไปใช้เวลาด้วยกันทั้งวันแบบสุดๆ มาดูกันว่า 1 วันที่ ICONSIAM ในช่วงนี้มีที่ไหนน่าไปบ้าง Starbucks Reserve® Chao Phraya Riverfront  ถ้าหากถามว่าสตาร์บัคส์สาขาไหนสวยที่สุดในประเทศไทย เราขอส่ง Starbucks Reserve® Chao Phraya Riverfront ที่ตั้งอยู่บนชั้น 7 ของ ICONSIAM เข้าประกวด เพราะที่นี่เป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดและวิวดีที่สุดในประเทศไทย เพราะจะได้เห็นวิวแม่น้ำเจ้าพระยาแบบพาโนรามา มองเห็นอาคารเก่าย่านเจริญกรุงที่อยู่บริเวณฝั่งตรงข้าม เช่น สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส, โรงภาษีร้อยชักสาม, วัดแม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์) ฯลฯ จึงไม่แปลกใจที่หลายคนเลือกให้เป็นที่นั่งพักผ่อน นั่งคุยงาน หรือแม้กระทั่งมานั่ง Work from Cafe เพราะเป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์และลมดีสุดๆ  นอกจากนี้ยังเป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่และพื้นที่กว้างขวางกว่า 1,260 […]

‘Art is the Solution’ 10 จุดดูงานศิลปะยามราตรีจากงาน Galleries’ Nights

คุณเข้าแกลเลอรีหรือดูงานศิลปะแบบใกล้ชิดครั้งล่าสุดเมื่อไหร่?  ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้แกลเลอรีต่างๆ ต้องปิดทำการชั่วคราว ทำให้หลายคนห่างหายจากงานศิลปะ หรือลืมไปแล้วว่าความรู้สึกที่ได้ดูงานศิลปะใกล้ๆ ในแกลเลอรีจริงๆ เป็นอย่างไร  สุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ วงการศิลปะในบ้านเราจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะทางสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยกำลังจะจัดงาน ‘Galleries’ Night Bangkok 2021’ ภายใต้ธีม ‘Art is the Solution’ เพื่อนำผู้คนกลับมายังแกลเลอรีอีกครั้ง และพาทุกคนไปหาคำตอบว่า ศิลปะคือทางออกสำหรับตัวคุณได้อย่างไรบ้าง  สำหรับปีนี้ Galleries’ Night ในกรุงเทพฯ ได้รวบรวมแกลเลอรีมากกว่า 70 แห่ง ที่น่าตื่นเต้นก็คือผู้เยี่ยมชมสามารถกระโดดขึ้น-ลงตุ๊กตุ๊กที่ทางผู้จัดมีบริการฟรี ทุกคนจะได้สัมผัสประสบการณ์ Gallery Hopping และสามารถเพลิดเพลินกับศิลปะร่วมสมัย นิทรรศการ กิจกรรมพิเศษอื่นๆ อีกมากมายผ่านเส้นทางกว่า 30 เส้นทาง Galleries’ Nights จะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ 2 คืน โดยมี 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ วันที่ 26 พฤศจิกายน […]

Bangkok Budgeting เว็บชวนคนกรุงตื่นรู้ และมีส่วนร่วมกับงบประมาณ

หลายๆ ประเทศเปิดให้ประชาชนมีส่วนกับการตัดสินใจด้านการใช้งบประมาณ (Participatory Budgeting) ผู้คนจึงได้มีทางเลือกและได้ร่วมกำหนดทิศทางสังคมไปพร้อมกับภาครัฐ แล้วจะดีมากแค่ไหนกัน ถ้ากรุงเทพฯ มีแพลตฟอร์มให้ประชาชนทุกคนได้มีส่วนจัดการกับงบประมาณต่างๆ ที่นำมาพัฒนาเมืองของเรา เพื่อสร้างสรรค์ให้คนและพื้นที่กรุงเทพมหานครดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ข่าวดีคือในปีนี้ Good Society Summit 2021 จะเปิดเว็บไซต์ Bangkok Budgeting ส่วนหนึ่งของ Human Rights & Anti-Corruption Pavilion เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ได้ตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 โดยคลิกเข้าไปที่ projects.punchup.world/bangkokbudgeting ซึ่งพัฒนาโดยทีม PunchUp, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย), Hand Enterprise, Siam Lab ร่วมกับ Good Society (ติดตามข้อมูลอื่นๆ ได้ที่ www.facebook.com/goodsocietythailand) และการโยนคำถามสำคัญว่าตอนนี้กรุงเทพฯ มีภาพใกล้เคียงเมืองที่เราฝันหรือแผนที่เคยได้เห็นหรือยัง โดยมีการแสดงตัวเลขของงบประมาณในเมืองที่ถูกใช้ไป ซึ่งทุกคนสามารถโหวต 3 หัวข้อเร่งด่วนที่ควรต้องพัฒนาที่สุด เว็บไซต์จะคำนวณคำตอบเพื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมว่าผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง แถมผู้ใช้แพลตฟอร์มยังแชร์ความคิดเห็นได้ถึง 2 รูปแบบ หนึ่ง […]

เที่ยววัดชมปริศนาธรรม พบหลักธรรมที่สอดแทรกอยู่ I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series

เวลาเราไปเที่ยววัดเรามักคุ้นชินกับรูปปั้น จิตรกรรมต่างๆ หรือไม่ก็ป้ายคำสอน หากพินิจดูดีๆ และคิดหาความหมาย สิ่งเหล่านี้เหมือนตำราธรรมะอีกรูปแบบหนึ่งแต่มาในรูปแบบศิลปะธรรม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series ในตอนนี้ พระมหาบุญฤทธิ์ ฐิตเมโธ เลขานุการเจ้าอาวาสวัดชลประทานฯ จะพาเรามาเดินทัวร์ในวัดว่าแต่ละจุดมีสิ่งใดแอบแฝงอยู่เป็นปริศนาธรรมน่าเล่า และอะไรคือธรรมะที่ซ่อนอยู่ #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #ปริศนาธรรม

10 ห้องสมุดทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าไปอ่านหนังสือช่วงวันหยุด

วันหยุดแล้วไปหาที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกันไหม? หากใครอยากออกจากบ้านหรือหาที่พักผ่อน แต่ยังต้องการความสงบและไม่อยากไปสถานที่คนพลุกพล่าน คอลัมน์ Urban Guide จะพาไปปักหมุดและสำรวจห้องสมุดกรุงเทพฯ เพื่อหาที่เงียบๆ อ่านหนังสือกัน เดี๋ยวนี้ห้องสมุดหลายที่ไม่ได้มีแค่โซนอ่านหนังสือเท่านั้น แต่ยังมีโซนคาเฟ่ โซนพักผ่อน จะนั่งดูหนัง หรือฟังเพลงเงียบๆ คนเดียวก็ได้ หรือจะหาที่นั่งทำงานเปลี่ยนบรรยากาศ Work From Home ก็มีตัวเลือกหลากหลายเช่นกัน บางที่ก็เพิ่งรีโนเวตใหม่สดๆ ร้อนๆ มีทั้งห้องสมุดดีไซน์ ห้องสมุดศิลปะ ห้องสมุดหนังสือต่างประเทศ หรือห้องสมุดเด็กสำหรับคนที่อยากพาลูกหลานออกไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน ใครอยู่ย่านไหนก็ลองหาห้องสมุดใกล้บ้านได้ในย่านนี้ เราบอกพิกัดทั้ง 10 ที่ไว้ให้หมดแล้ว 01 | ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดเด็กปฐมวัย บ้านโบราณสีเขียวอ่อน 2 ชั้นที่มีบันไดสายรุ้งในย่านเจริญกรุงหลังนี้ คือห้องสมุดที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ที่นี่คือห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการเด็กปฐมวัยและกลุ่มพิเศษของสถาบันราชานุกูล  ภายในห้องสมุดมีพื้นที่กว้างขวาง หนังสือภาพและนิทานสำหรับเด็กถูกจัดวางไว้ตามชั้นต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ ส่วนภายนอกก็มีสนามหญ้าขนาดกลางที่ร่มรื่นและดูอบอุ่น สำหรับจัดกิจกรรมให้เด็กๆ อย่างเช่น การอ่านหนังสือนิทาน […]

ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป

‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด)  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี  ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]

Doc Club & Pub. พื้นที่รวมตัวของคนรักหนัง ที่อยากให้หนังสร้างบทสนทนาในสังคม

ถ้าอยากดูหนังสักเรื่อง ทางเลือกของคุณคือที่ไหน?  ถ้าหากคำตอบส่วนใหญ่เป็นห้างฯ ก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะปัจจุบันโรงหนังแบบ Stand Alone ในเมืองไทยได้กลายเป็นของหายากไปแล้ว เหลือแต่โรงหนังเจ้าใหญ่ไม่กี่เจ้าในห้างสรรพสินค้า เป็นตัวชี้วัดว่าตัวเลือกในการดูหนังของคนไทยน้อยลงทุกวัน หากไม่มี Video Streaming จากต่างชาติเข้ามาโอกาสที่เราจะได้เปิดหูเปิดตาผ่านภาพยนตร์คงน้อยลงไปอีก แม้โรงหนังเล็กๆ ทยอยปิดตัวลงไป เพราะสู้เจ้าใหญ่ไม่ไหว แต่เรื่องน่าดีใจของคนรักในปี 2021 คือเรามี Doc Club & Pub. เป็นทางเลือกในการดูหนังเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งที่ (และเป็นพื้นที่ที่ออกมาจากห้างฯ สักที) เราจะพาไปพูดคุยกับอีกหนึ่งตัวจริงในวงการภาพยนตร์ไทย พี่หมู-สุภาพ หริมเทพาธิป ผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารหนัง BIOSCOPE และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายจัดจำหน่ายหนังทางเลือก Documentary Club ถึงที่มาที่ไปของ Doc Club & Pub. โรงหนัง คาเฟ่ และพื้นที่รวมตัวแห่งใหม่ของคนรักหนัง ที่เขาอยากเห็นหนังเป็นตัวสร้างบทสนทนาในสังคม  เรานัดเจอกันที่ Doc Club & Pub. ในศาลาแดง 1 หลังจากคลายล็อกดาวน์ไม่กี่วัน ที่นี่ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคาร […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

The Rattanakosin Henge ธีสิสที่อยากเห็นกรุงเทพฯ โรแมนติกด้วยวิวพระอาทิตย์ตก

ช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน คือความสวยงามทางธรรมชาติที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเข้าใจและซาบซึ้งไปพร้อมๆ กัน โดยไม่มีกำแพงของภาษาหรือต้องการคำอธิบายอะไรเพิ่มเติม เราจึงได้เห็นฉากในหนังรักโรแมนติกหลายเรื่องที่พระเอกนางเอกเดินทอดน่องคุยกันได้นานๆ ไปเดตกันในสวน และมองวิวพระอาทิตย์ตกด้วยกันในที่สาธารณะ เป็นโมเมนต์โรแมนติกที่แสนจะธรรมดา แต่กลับเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ยากมากในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ไม่โรแมนติก และผังเมืองไม่ได้ออกแบบมาสอดรับกับปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ไม่มีพื้นที่สาธารณะที่ใช้เป็นจุดพักผ่อนหรือเป็นจุดชมวิว เราจึงไม่มีโอกาสได้นั่งชิลๆ ชมวิวพระอาทิตย์ตกแบบเต็มตาสักครั้งในพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองแห่งนี้  มายด์-มาธวี ติลกเรืองชัย บัณฑิตจากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอีกหนึ่งคนที่ตั้งคำถามกับความโรแมนติกของกรุงเทพฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนา และมีพื้นที่ดีๆ ที่สามารถปรับปรุงพื้นที่สาธารณะให้รองรับวิวพระอาทิตย์ตก เธอจึงนำคำถามที่ตัวเองอยากรู้มาทำธีสิส ‘The Rattanakosin Henge โครงการรักษาวิวพระอาทิตย์ตกดิน’ (โครงการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อมุมมองอัสดงสาธารณะ) และพาไปดูว่า ถ้าเราเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้โรแมนติกมากกว่านี้ได้ จะออกมาหน้าตาอย่างไรบ้าง วิวพระอาทิตย์ตกไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากผังเมืองที่คิดมาแล้ว ในช่วงแรกที่เริ่มหาหัวข้อทำธีสิส มายด์พยายามมองหาเรื่องที่เป็นตัวเองและอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เธอสนใจเรื่องสุนทรียศาสตร์ของเมือง จึงพยายามจะตีโจทย์เรื่อง ‘Romantic City’ แต่ยิ่งรีเสิร์ชยิ่งพบว่าคำกว้างไป และอธิบายยาก จึงสโคปประเด็นลงมา และพบว่าความโรแมนติกคือการได้ดื่มด่ำกับช่วงเวลาดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง จึงสรุปออกมาได้ว่า ความโรแมนติกของเธอคือช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตก จากโจทย์เรื่องความโรแมนติกของเมืองและช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน ทำให้มายด์ได้พบว่าทั้งสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกันโดยตรงและมีให้พบอยู่ทั่วโลก โดยปรากฏการณ์นี้เรียกว่า […]

เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

1 3 4 5 6 7 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.