KULTX พื้นที่ศิลปะแห่งใหม่โดยคนทำงานหน้าเก่า ที่อยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเมืองขอนแก่น

แม้จะไม่ได้ใหญ่และมีมากเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การกระจายตัวของพื้นที่แสดงศิลปะในต่างจังหวัดนั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและน่าจับตามอง ดังจะเห็นได้จากทางภาคใต้ที่มี ปัตตานี อาร์ตสเปซ และ หอศิลป์เดอลาแปร์ นราธิวาส ส่วนภาคเหนือมีพื้นที่ศิลปะกระจายตัวทั่วสารทิศทั้งเชียงใหม่และเชียงราย หรือจังหวัดเล็กๆ อย่างพะเยาก็มี ARTCADE  ฝั่งอีสานก็เป็นที่เลื่องชื่อในด้านการผลักดันศิลปะไม่แพ้กัน อย่างที่โคราชมีเทศกาลศิลปะนานาชาติ Thailand Biennale ขณะเดียวกัน ขอนแก่นก็มีนิทรรศการศิลปะโด่งดังชื่อ มานิเฟสโต้ (KhonKaen Manifesto) ยังไม่นับรวมพื้นที่แสดงศิลปะ ทั้งหอศิลป์มหาวิทยาลัย แกลเลอรีอย่าง ใหม่อีหลี และ YMD Art Space อันเกิดจากการผลักดันของกลุ่มเพื่อนศิลปินที่ช่วยกันสร้างพื้นที่ศิลปะ จนแตกกิ่งก้านเป็นเทศกาลศิลปะ S.O.E Our City Old Town แก่น เก่า เก๋า ที่เลือกใช้พื้นที่ในเมืองและชุมชนเก่าแก่ฝั่งทิศตะวันตกของบึงแก่นนคร ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดงาน ในวันเวลาที่เมืองขอนแก่นกำลังเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง เราขอชวนไปฟังเสียงของสองศิลปินตัวแทนกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ที่ร่วมด้วยช่วยกันผลักดัน และขับเคลื่อนให้ขอนแก่นได้มีพื้นที่ทางศิลปะ นั่นคือ ‘ต้อง-อุกฤษฏ์ จอมยิ้ม’ อาจารย์ประจำสาขาศิลปะภาพถ่าย จากวิทยาลัยการออกแบบ ม.รังสิต และ ‘ตั้ม-มนพร รอบรู้’ ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวขอนแก่น ที่ยังคงนำทัพทำงานสร้างสรรค์ […]

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

‘ลานยิ้มการละคร’ คณะละครชื่อชวนยิ้ม แต่จิกกัดและตั้งคำถามต่อสังคมอย่างเจ็บแสบ

หากศิลปะไม่เป็นเจ้านายใคร และไม่เป็นขี้ข้าใคร คุณคิดว่าศิลปะเป็นอะไรกันแน่ ถ้าคุณสงสัยในประโยคข้างต้นว่าจริงๆ แล้วศิลปะมีความสำคัญอย่างไรต่อสังคม เราชวนมาคุย กับ ‘กอล์ฟ-นลธวัช มะชัย’ ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ลานยิ้มการละคร’ คณะละครจัดแสดง Performance Art ริมถนนซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อน ที่ถึงแม้จะมีชื่อชวนยิ้ม แต่กลับบอกเล่าเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้น ชวนผู้ชมตั้งคำถาม พร้อมตีแผ่ประเด็นทางสังคมอย่างจิกกัดและเจ็บแสบ อย่างชุดการแสดง ณ บางกลอย ที่ทำให้หลายคนต่างหันกลับมามองประเด็นความขัดแย้ง ความอยุติธรรม และข้อเรียกร้องของชาวบ้านบางกลอยได้อย่างน่าสนใจ ปฐมบทลานยิ้มการละคร ก่อนจะมาเป็นลานยิ้มการละคร (Lanyim Theatre Group) พวกเขาเคยเป็นกลุ่มลานยิ้ม Lanyim Creative Group ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของแก๊งเพื่อนที่เรียนสื่อสารมวลชนด้วยกันแต่หลากแขนง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การแสดง ไปจนถึงการละคร ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในฐานะสื่อ ประกอบกับการแสดงละคร เพื่อสื่อสารประเด็นการเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ชาติพันธุ์ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ การแสดงละครกลับกลายเป็นตัวตนที่ชัดเจนที่สุด พวกเขาต่างรู้ว่าถนัดอะไร อยากจะพูดอะไร ด้วยน้ำเสียงแบบไหน จนกลายมาเป็นกลุ่มลานยิ้มการละครที่เน้นการทำงานประเภทการแสดงละครเป็นหลัก สิ่งที่น่าสนใจของการเกิดกลุ่มลานยิ้มการละครคือการรวมตัวของกลุ่มเพื่อน เราเอ่ยปากถามไปว่า […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.