Sparkling Market ตลาดอาหารทะเลป๋อกวง แลนด์มาร์กใหม่ในไต้หวันที่ได้แรงบันดาลใจจากคลื่นทะเลและชายหาด

ตลาดอาหารทะเลในประเทศติดชายฝั่งทะเล ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดให้เหล่านักท่องเที่ยวเข้ามาลิ้มลองอาหารทะเลสดๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ตลาดอาหารทะเลหลายแห่งต้องเผชิญคือเรื่องความสะอาดของพื้นที่ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวและชาวเมืองให้กลับมาใกล้ชิดกับตลาดอาหารทะเลมากขึ้น ตลาดอาหารทะเลป๋อกวงที่ตั้งอยู่บริเวณท่าเรือประมงซินจู๋ ประเทศไต้หวัน ได้ปรับโฉมใหม่ หวังแก้ปัญหาความทรุดโทรมและไม่เป็นระเบียบของตลาดเดิม จนเกิดเป็น ‘Sparkling Market’ แลนด์มาร์กใหม่ของท่าเรือประมงซินจู๋ Sparkling Market เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างบริษัทออกแบบ Atelier Or และบริษัท Pu-Ming Tseng Architects & Associates ออกมาเป็นอาคารรูปทรงตัว N ที่ถูกลดความสูงลงจากเดิม 13 เมตร เหลือ 7 เมตร เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่กึ่งเปิดโล่ง ในขณะที่หลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กและตัวอาคารถูกออกแบบในลักษณะคลื่นขนาดใหญ่สีน้ำตาลทอง ที่ได้แรงบันดาลใจจากคลื่นทะเลและเม็ดทราย นอกเหนือจากความสวยงาม Sparkling Market ยังถูกออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานพื้นที่ในทุกฤดู ด้วยการติดตั้งฟังก์ชันการระบายน้ำที่ดีในช่วงหน้าฝน หลังคาและผนังของอาคารยังช่วยป้องกันแสงแดดในช่วงฤดูร้อน และช่วยป้องกันลมหนาวในช่วงฤดูหนาว นอกจากนี้ ภายในตลาดยังประกอบด้วยแผงขายของจำนวน 74 แผง ที่มาพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันสำหรับพ่อค้าแม่ค้า เช่น เคาน์เตอร์ล้างจาน น้ำประปา และปลั๊กไฟ โดยทีมผู้ออกแบบหวังว่า Sparkling Market จะเป็นพื้นที่ขายอาหารทะเลที่ตอบโจทย์ด้านการออกแบบที่สวยงาม ควบคู่ไปกับฟังก์ชันการใช้งานที่ช่วยให้พื้นที่สะอาดและถูกสุขลักษณะแก่ผู้ซื้อ-ผู้ขายด้วย […]

Fang Gen Fa Coffee Bar ร้านกาแฟป็อปอัปจากไม้ก๊อกที่มีหนังสือพิมพ์แขวนบนผนังให้อ่านฆ่าเวลา

ในขณะที่หนังสือพิมพ์กำลังจะตายเพราะการเข้ามาของโลกออนไลน์ ยังมีร้านกาแฟแห่งหนึ่งในประเทศไต้หวันที่ยังมีหนังสือพิมพ์แขวนไว้ให้อ่าน คล้ายกับสภากาแฟของบ้านเราในอดีต ‘Fang Gen Fa Coffee Bar’ เป็นร้านกาแฟแบบป็อปอัปที่รวมบริบทของหนังสือพิมพ์ กาแฟ และพื้นที่กลางแจ้งเข้าไว้ด้วยกันในหมู่บ้านอายุกว่า 100 ปีอย่าง ‘Pingtung Military’ ที่อดีตเคยอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นและอดีตรัฐบาลชาตินิยม ร้านกาแฟแห่งนี้ออกแบบโดยสตูดิโอ ‘Atelier Boter’ จากการวางผนังที่สร้างขึ้นจากไม้ก๊อกรีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์เป็นรูปตัวทีแบบเอียงๆ ที่ผนังด้านหน้าติดตั้งราวแขวนหนังสือพิมพ์คล้ายแผงหนังสือในอดีตให้ลูกค้าร้านกาแฟสามารถหยิบขึ้นอ่านได้ฟรีๆ นอกจากนี้ ในบริเวณที่ตั้งของร้านยังเป็นสวนกลางแจ้งที่รายล้อมไปด้วยต้นไม้นานาชนิด และมีโต๊ะสำหรับนั่งดื่มกาแฟแบบขากรรไกรที่ใช้กันทั่วไปในงานเลี้ยงแบบดั้งเดิมของไต้หวัน ซึ่งถูกพัฒนาและออกแบบเพิ่มเติมให้สามารถปรับความสูงและถอดออกได้ง่าย เพื่อปรับเปลี่ยนโต๊ะตามจำนวนผู้ใช้งานและสภาพอากาศได้อย่างทันท่วงที Source : ArchDaily | t.ly/fkYAl

New Taipei City Library Taishan Branch รีโนเวตห้องสมุดเก่าอายุ 20 ปีในไต้หวัน ให้กลับมาเป็นมิตรกับนักอ่านทุกเพศทุกวัย

‘New Taipei City Library’ เป็นระบบห้องสมุดสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มีสาขามากถึง 104 สาขา กระจายตัวอยู่ใน 29 เมือง โดยมี ‘New Taipei City Library Taishan Branch’ เป็นหนึ่งในห้องสมุดเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว บนชั้น 5 ของอาคารรัฐบาลในเขตไท่ซาน เมืองนิวไทเป แม้ New Taipei City Library Taishan Branch จะอยู่ใกล้กับตลาดชุมชนและสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากตัวห้องสมุดมีพื้นที่ภายในคับแคบ การออกแบบที่ล้าสมัย จัดวางผังได้ไม่ดี ทำให้แสงเข้าถึงได้ไม่เพียงพอ จนกระทั่งได้ ‘A.C.H Architects’ สตูดิโอออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดสรรพื้นที่เข้ามาดูแล A.C.H Architects เนรมิตโฉม New Taipei City Library Taishan Branch ขึ้นใหม่ภายในพื้นที่ 1,320 ตารางเมตร โดยเปลี่ยนห้องสมุดชั้นเดียวนี้เป็นแบบเปิดโล่ง […]

The Dark Line เส้นทางชมธรรมชาติในไต้หวัน จากทางเดินรถไฟเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์

การเปลี่ยนเส้นทางเดินรถไฟเก่าที่ถูกทิ้งร้างให้กลับมาใช้งานในรูปแบบอื่นๆ ได้อีกครั้งอาจไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย เนื่องจากเส้นทางหลายสายตัดผ่านพื้นที่ธรรมชาติที่รกชัฏ ซับซ้อน ทำให้ยากที่จะเข้าไปปรับเปลี่ยนโดยไม่ทำลายพื้นที่สีเขียว แต่ ‘The Dark Line’ เส้นทางชมธรรมชาติในเขต Ruifang ประเทศไต้หวันทำสิ่งนี้ได้ ผ่านการเปลี่ยนเส้นทางรถไฟที่ถูกทิ้งร้าง ซึ่งเดิมเคยทำหน้าที่เป็นเส้นทางหลักสำหรับขนส่งถ่านหินไปยังท่าเรือใกล้เคียง ให้กลายเป็นจุดท่องเที่ยวธรรมชาติแห่งใหม่ที่น่าสนใจ จุดตั้งต้นของโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นจากการประกวดออกแบบเส้นทางเดินป่า (Hiking Route) ในปี 2019 จนได้ผู้ชนะในการออกแบบคือ ‘mICHELE & mIQUEL + dA VISION DESIGN’ มาลงมือเปลี่ยนให้พื้นที่นี้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งโดยไม่ทำลายธรรมชาติโดยรอบ ซ้ำยังให้ความรู้สึกเหมือนได้ผจญภัยไปในเส้นทางประวัติศาสตร์ The Dark Line เปิดให้เข้าเยี่ยมชมครั้งแรกเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินหรือปั่นจักรยานชมธรรมชาติได้ตามสะดวก โดยในระหว่างทางจะมีจุดจอดจักรยานและม้านั่งเป็นช่วงๆ สำหรับผู้ที่ต้องการพักเหนื่อยและชมบรรยากาศในระหว่างทาง เส้นทางรอบเขานี้กินระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรจากสถานี ‘Mudan Station’ ไปยัง ‘Sandiaoling Station’ ผ่านเส้นทางที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ด้วยเหล็กเส้นลูกฟูกที่ใช้ในการสร้างทางรถไฟเดิม เพื่อคงไว้ซึ่งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าค้นหา นอกจากนี้ เมื่อเดินทางมาถึงจุดหมายปลายทาง เรายังจะได้พบกับเส้นทางที่ถูกแยกเป็น 2 เส้นทาง โดยเส้นทางหนึ่งจะเป็นจุดเดินเท้าที่เป็นระเบียงคดเคี้ยวยาวยื่นออกไปเหนือช่องเขา […]

Gushan Fish Market ปัดฝุ่นตลาดปลา 100 ปี ในไต้หวัน ให้ใช้พื้นที่ได้มากขึ้น ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น

เชื่อว่าหลายคนคงเคยเห็นสถานที่ที่มีอาณาเขตกว้างขวาง แต่พื้นที่เหล่านั้นกลับมีประโยชน์ใช้สอยน้อย และเกิดเป็นพื้นที่ว่างที่ทำให้รู้สึกไม่คุ้มค่าอยู่หลายแห่ง วันนี้เราขอพาไปเที่ยว ‘ตลาดปลากูซาน’ (Gushan) ในเมืองเกาสง (Kaohsiung) ประเทศไต้หวัน ที่มีอายุเกือบ 100 ปี ซึ่งในยุครุ่งเรืองสถานที่แห่งนี้เคยเป็นทั้งท่าเรือประมงและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจสำคัญในท้องถิ่น แต่เนื่องจากการมีอุตสาหกรรมประมงนอกชายฝั่งที่เฟื่องฟูกว่า เศรษฐกิจในตลาดปลาแห่งนี้จึงถูกลดบทบาทสำคัญลง เพื่อรื้อฟื้นความรุ่งเรืองในครั้งอดีตของตลาดปลาแห่งนี้ ทีมออกแบบได้รื้อถอนอาคารที่ชำรุดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรวมให้สะอาดและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยความกว้างขวางของพื้นที่กว่า 7,243.64 ตารางเมตร ทำให้สามารถแบ่งพื้นที่ที่มีทั้งหมดออกได้เป็น สำนักงานประมง พลาซา ตลาดปลา Gushan ที่ตั้งของสถานี Gushan Ferry Station และศูนย์แสดงสินค้าเกษตรและประมงของเกาสง อาคารหลักถูกออกแบบให้มีลักษณะล่องหน เพื่อให้ผู้ใช้งานมองเห็นธรรมชาติได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ด้วยการใช้กระจกหลอมขึ้นรูป (Fused Glass) และผนังกระจกพ่นทรายสองชั้น (Double Sandblasted Glass Wall) เมื่อแสงแดดหรืออุณหภูมิเปลี่ยนไป กระจกรอบตัวอาคารก็จะสร้างบรรยากาศและมอบอารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกันให้กับผู้ใช้งานด้วย นอกจากนี้ ตลาดปลาที่ปัดฝุ่นใหม่แห่งนี้ยังเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนและทาสีทับบนหลังคา เพื่อแก้ปัญหาเรื่องมลภาวะทางความร้อนและระบายอากาศ ส่วนตรงกลางของอาคารเป็นแบบเปิด ใช้ผนังกระจก 2 ชั้นกันความร้อน เพื่อให้ด้านหน้าและด้านหลังอาคารสามารถรับแสงได้ ทั้งยังมีผนังกันลมทำจากไม้ลามิเนตติดกาวที่รีไซเคิลได้ ส่วนพื้นที่ภายนอกอาคารก็เลือกตกแต่งด้วยต้นไม้ เพื่อเพิ่มความชุ่มฉ่ำสบายตาและมอบอากาศที่สดชื่นให้กับทุกคนที่มาเยือน ด้านการใช้งาน ที่นี่รองรับคนได้มากถึง […]

O’right แบรนด์ความงามจากไต้หวันที่มีส่วนช่วยดูแลโลก จนได้การรับรอง Zero Carbon เป็นแบรนด์แรก

ปัจจุบันองค์ประกอบของการมองหาผลิตภัณฑ์ความงามสักแบรนด์ แค่ใช้แล้วผิวรอดผมสวยคงไม่พอ แต่ต้องพาโลกของเรารอดไปพร้อมๆ กันด้วย ทุกวันนี้คนไทยอาจคุ้นหูกับคำว่า ‘Zero Carbon’ ที่หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์กันมากขึ้นผ่านงานประชุมใหญ่อย่าง COP26 และ COP27 ที่ผ่านมา แต่ใครจะรู้ว่า คำว่า Zero Carbon ที่พูดถึงกันไม่ใช่แค่ภาพใหญ่ที่ขับเคลื่อนเฉพาะภายในภาครัฐหรือองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะสำหรับวงการผลิตภัณฑ์ความงามเองก็มีหลากหลายแบรนด์ที่พยายามทำผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการผลิตให้ได้มากที่สุดเพื่อช่วยโลกของเรา คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปรู้จักกับ ‘O’right’ แบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามจากประเทศไต้หวันที่มีส่วนผสมเป็นออร์แกนิกและวีแกนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แถมยังได้รับการรับรองว่าเป็นแบรนด์แรกที่ Zero Carbon ตั้งแต่ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงกิจกรรม CSR แนวคิด ‘สีเขียว’ O’right เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและความงามสัญชาติไต้หวันที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพของผู้คน และดีต่อสุขภาพของโลกไปพร้อมๆ กัน ผ่านผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมี ‘Steven Ko’ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง O’right มีความตั้งใจในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันของทุกคนให้เป็นมิตรกับโลกมากขึ้น โดยเขามองว่าสิ่งที่จะช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันได้คือ การมุ่งไปสู่การเป็น Zero Carbon นั่นเอง ปณิธานนี้สะท้อนตั้งแต่ในโลโก้ของแบรนด์ O’right […]

Tainan Market ออกแบบหลังคาตลาดค้าส่งในไต้หวัน ให้เป็นสวนสาธารณะที่ผู้คนใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ายังคงเป็นสิ่งที่นักออกแบบคำนึงถึงอยู่เสมอ เพราะการพัฒนาฟังก์ชันการใช้งานของอาคารให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อตัวอาคารและทำให้ผู้คนใช้งานสถานที่เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ทาง MVRDV หรือสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ยังคงมุ่งเดินหน้าออกแบบความท้าทายใหม่ๆ ของการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยกระดับต่างไปจากเดิม ด้วยการออกแบบโครงการตลาดค้าผักและผลไม้แห่งใหม่ที่ชื่อว่า ‘Tainan Market’ ในย่านไถหนาน ประเทศไต้หวัน ที่สร้างแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2022 โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากทีมสถาปนิกเชื่อว่า ตลาดค้าส่งเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและอาหารที่หล่อเลี้ยงผู้คน และจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นไปอีกหากมีฟังก์ชันให้ผู้คนสามารถมาพบปะ สังสรรค์ รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ด้วย MVRDV จึงออกแบบหลังคาโลหะซึ่งเป็นภาพคุ้นเคยของตลาดทั่วไป ให้กลายเป็นหลังคาที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ บริเวณส่วนหนึ่งบนหลังคาถูกออกแบบให้เปิดโล่ง มีพื้นที่กลางแจ้งที่เรียบง่าย มองไกลๆ จะเห็นหลังคาสีเขียวนี้มีลักษณะเป็นเนินภูเขา มีบันไดที่ชวนให้ผู้คนเดินขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจุดสูงสุดเพื่อชมวิวทิวทัศน์รอบๆ อาคารที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยในอนาคตหลังคาของตลาดแห่งนี้ยังอาจพัฒนาเพิ่มเติมให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและผลไม้ด้วย ส่วนพื้นที่อีกด้านหนึ่งของหลังคาคืออาคารสี่ชั้นที่ประกอบด้วยสำนักงานบริหารของตลาด และยังมีศูนย์นิทรรศการที่สามารถจัดแสดงสินค้าเกษตรจากภูมิภาคต่างๆ ซึ่งการต่อเติมอาคารนี้ได้ทำการเจาะโครงสร้างหลัก ทำให้มีช่องทางเดินเข้าออกไปยังบริเวณหลังคาพื้นที่สาธารณะได้ บอกเลยว่าการจับจ่ายซื้อของจะทำได้อย่างสบายอารมณ์ เพราะในส่วนด้านล่างที่เป็นพื้นที่ของตลาดยังถูกออกแบบให้มีความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย โดยจัดสรรโครงสร้างให้เปิดออกทุกด้านและยกเพดานสูงโปร่งเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศ รวมไปถึงการเจริญเติบโตของพืชนานาชนิดบนหลังคาในอนาคต ยังจะช่วยให้ตลาดแห่งนี้มีความเย็นแม้ไต้หวันจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน Source :Åvontuura | bit.ly/3JgNeZG

‘Sensing Taiwan’ ชวนสัมผัสไต้หวันผ่านซีรีส์หนังคลาสสิค ดูออนไลน์ฟรีตลอดเดือนเมษายน 65

หลายคนอาจจะรู้จัก ‘ไต้หวัน’ ผ่านทั้งการท่องเที่ยว วัฒนธรรม อาหารการกิน หรือชานมไข่มุก ไปจนถึงเรื่องราวทางการเมืองในภูมิภาค  วันนี้แม้โควิดจะทำให้เราเดินทางออกนอกประเทศได้ลำบาก เราจึงอยากชวนสัมผัสไต้หวันอีกมุมหนึ่งที่ทุกคนทำได้ผ่านหน้าจอ นั่นคือภาพยนตร์นั่นเอง  ซีรีส์ภาพยนตร์คลาสสิคออนไลน์ ‘Sensing Taiwan’ จัดโดยภาควิชาภาพยนตร์และสื่อจากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา สหรัฐอเมริกาจะชวนทุกคนสัมผัสไต้หวันผ่านภาพยนตร์คลาสสิคในช่วงทศวรรษ 1960-1990 จำนวน 3 เรื่อง ตั้งแต่วันที่ 8-18 เมษายน 2565 เรื่องแรกคือ ‘The Husband’s Secrets (1960)’ ภาพยนตร์ขาว-ดำสไตล์เมโลดรามาเกี่ยวกับความรักสามเศร้าที่ฉายให้เห็นสภาพสังคม-เศรษฐกิจของไต้หวันในสมัยนั้น เรื่องที่สองคือ ‘Storm over the Yangtze River (1969)’ ภาพยนตร์เกี่ยวกับตัวละครที่เป็นสายลับในสงครามช่วงจักรวรรดิญี่ปุ่นเรืองอำนาจ ความน่าสนใจคือภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกกรอบภาพยนตร์สงครามแบบเดิมๆ ฉายให้เห็นความซับซ้อนของ ‘สงคราม’ ผ่านการปฏิสัมพันธ์ของตัวละคร  เรื่องที่สามคือ ‘Super Citizen Ko (1995)‘ ภาพยนตร์เกี่ยวกับยุคสมัยที่ไต้หวันปกครองด้วยระบอบเผด็จการช่วงทศวรรษ 1950 กลุ่มศึกษาทฤษฎีการเมืองในสมัยนั้นเป็นเรื่องต้องห้าม แต่มีกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่งแอบจัด และเมื่อโดนจับได้นั้นเพื่อนคนหนึ่งชื่อ ‘Ko’ ได้เผลอแพร่งพลายความลับของเพื่อนอีกคนให้ตำรวจฟังจนนำไปสู่การประหารชีวิตเพื่อนคนนั้น 30 ปีต่อมา […]

แฟนหนังสารคดีห้ามพลาด เทศกาลสารคดีไต้หวัน ปี 2021

สำหรับคนที่ตกหลุมรักหนังไต้หวัน ปีนี้เทศกาลภาพยนตร์สารคดีไต้หวัน (Taiwan Documentary Film Festival in Thailand) กลับมาตามนัดแบบส่งท้ายปี 2021 โดยปีนี้เทศกาลจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 แล้ว และมีหนังยาวฉายจำนวนถึง 10 เรื่อง รวมถึงหนังสั้นจำนวน 3 โปรแกรม แถมปีนี้ยังจัดเทศกาลพร้อมๆ กันในสามจังหวัดทั้งกรุงเทพฯ หาดใหญ่ (สงขลา) และพะเยา โปรแกรมของเทศกาลในกรุงเทพฯ มีตั้งแต่วันที่ 15 – 19 ธันวาคม ที่ House Samyan และ Doc Club & Pub. ส่วนอีกสองจังหวัดมีตั้งแต่วันที่ 17 – 19 ธันวาคม ที่ Lorem Ipsum Space (หาดใหญ่) และเมืองทองรามา (พะเยา) ส่วนหนังไฮไลต์ประจำปีนี้ก็คือหนังเปิดเทศกาลในวันพุธที่ 15 ธันวาคม เรื่อง Flowers […]

ไต้หวันระแวงจีน เมื่อจีนจัดกำลังล้อมรอบเกาะ

ถ้าติดตามการเมืองภูมิภาคเอเชีย ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันไม่ค่อยจะสู้ดีมานานมากแล้ว นอกจากการพยายามควบรวมฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ ‘นโยบายจีนเดียว’ ใหญ่ขนาดที่ประกาศว่าถ้าคนไต้หวันต้องการอิสรเสรีก็ต้องแลกกับเลือดเนื้อและสงคราม จริงๆ แล้วไต้หวันปกครองเป็นอิสระจากจีนตั้งแต่ปี 2492 แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลปักกิ่งก็มองว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตตัวเอง ซึ่งปักกิ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘รวม’ ไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันให้ได้ และจะแข็งข้อใช้กำลังหากจำเป็น ไม่กี่วันมานี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยว่าแสนยานุภาพของกองกำลังติดอาวุธจีนมีศักยภาพมากขึ้น จนพอที่จะขัดขวางการป้องกันตัวเองของชาติได้ มิหนำซ้ำแผ่นดินใหญ่ยังคอยมอนิเตอร์ไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนทางฝั่งไต้หวันเองก็มีการประเมินถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ เพราะทางการปักกิ่งกำลังดำเนินการเพิ่มกิจการทางทหารล้อมเกาะ ชนิดที่ว่าจงใจมาหายใจรดต้นคอ สาเหตุที่ช่วงหลังการเมืองระหว่างสองจีนคุกรุ่น เพราะประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอย่าง ‘ไช่ อิงเหวิน’ แสดงจุดยืนประณามความพยายามของปักกิ่งที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของเกาะ ปักกิ่งจึงลุกขึ้นมาเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและการทหารต่อไทเป กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยเรื่องกองทัพจีน เพราะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะปี 2564 จีนเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ‘การโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง’ รวมถึงยุทธการบล็อกการสื่อสารข้ามฝั่งตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะที่ทอดยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นผ่านไต้หวัน และทอดยาวลงไปที่ฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่าจุดยุทธศาสตร์ First Island Chain ปัจจุบันจีนกำลังใช้ยุทธวิธีแบบออนไลน์ โดยรวบรวมกองทัพอินเทอร์เน็ตเพื่อโจมตีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้การป้องกันทางอากาศของไต้หวันเป็นอัมพาตผ่านการบังคับบัญชาทางทะเล และใช้ระบบตอบโต้การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ทางกระทรวงได้เสริมว่าจีนได้พัฒนาขีดความสามารถของตัวเองด้วยการใช้ดาวเทียม Beidou ซึ่งเป็นการตอบโต้ระบบ GPS ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ นั่นหมายความว่าปักกิ่งติดตามความเคลื่อนไหวรอบๆ ไต้หวันโดยได้รับความช่วยเหลือจากเครื่องบินสอดแนม โดรน และเรือรวบรวมข่าวกรองของจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมจีนไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นของไต้หวัน […]

ไต้หวันสร้าง Hub อัจฉริยะให้นำถ่านใช้แล้วมารีไซเคิลได้แต้มซื้อของและใช้ขนส่งฟรีๆ

ทุกวันนี้คนไต้หวันใช้แบตเตอรี่เซลล์แห้ง จำพวกถ่านที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวนมากถึง 11,000 ตัน หรือ 11,000,000 กิโลกรัมต่อปี สวนทางกับกำลังการรีไซเคิลของไต้หวันที่ทำได้แค่เพียง 4,000 ตันต่อปีเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้นี่เองทำให้เกิดสถานีรีไซเคิลแบตเตอรี่อัจฉริยะถึง 3 แห่ง ที่เปิดแบบไม่มีวันหลับใหลตลอด 24 ชั่วโมงในเมืองซินจู๋ (Hsinchu) ทั้งในพื้นที่สาธารณะ ร้านชานมไข่มุก และมินิมาร์ต ซึ่งแต่ละ Hub รับแบตเตอรี่เซลล์แห้งไปรีไซเคิลได้ถึง 7 ขนาดด้วยกัน เช่น ถ่านหรือแบตฯ D, C, AA, AAA และ AAAA รวมถึงแบตเตอรี่ 9 โวลต์  หลิน ฉือเจียน (Lin Chih-chien) ผู้ว่าเมืองซินจู๋ตัดสินใจจับมือกับบริษัทสตาร์ทอัปรีไซเคิลชื่อ Ecoco โดยตั้งเป้าหมายที่จะส่งเสริมการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยลดการสัมผัสระหว่างกันในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วย  แต่จะให้ทำโปรเจกต์เบาๆ ก็คงไม่สมชื่อซินจู๋ เมืองแห่งเทคโนโลยี ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนเลยสร้างแรงจูงใจดีๆ เพื่อให้ผู้คนนำถ่านและแบตเตอรี่มารีไซเคิลกันมากขึ้น ด้วยการให้แบตฯ แต่ละก้อนสามารถแลกแต้มได้ 2 รูปแบบ ทั้งแต้มจาก […]

‘ไถจง’ เมืองที่ออกแบบให้คนใช้ชีวิตนอกบ้าน

ไถจง (台中) คือเมืองแห่งอุตสาหกรรมและศูนย์กลางเศรษฐกิจอันดับสามของเกาะไต้หวัน ตั้งอยู่ภาคกลางของเกาะ และเป็นที่ที่หากใครจะไปเที่ยว Sun Moon Lake ทะเลสาบสีมรกตสุดฮิตก็ต้องมาแวะที่นี่ก่อน แต่ถ้าได้ใช้เวลาทำความรู้จักไถจงเพิ่มสักวันสองวัน เดินเล่นในย่านใจกลางเมืองและแวะดูพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Spaces) ที่ตั้งใจออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะกันแล้ว จะพบว่าไถจงเป็นอีกเมืองหนึ่งที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาให้เราได้เก็บแรงบันดาลใจกลับไปเต็มกระบุง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.