ปอกเปลือกความเหลื่อมล้ำดั่งหนามทิ่มแทง และความยุติธรรมที่ไม่มีวันออกผลใน วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)

‘วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)’ ผลงานล่าสุดจากค่าย GDH ร่วมกับ ‘ใจ สตูดิโอ’ ผ่านการกำกับของ ‘บอส-นฤเบศ กูโน’ (ซีรีส์แปลรักฉันด้วยใจเธอ) ด้วยเรื่องราวที่แปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่ค่ายหนังอารมณ์ดีของไทยเคยทำมา พร้อมการแสดงของศิลปินที่พลิกบทบาทมาสู่การเป็นนักแสดงอย่าง ‘เจฟ ซาเตอร์’ และ ‘อิงฟ้า’ นักร้องและนางงามที่สลัดบทบาทมารับบทใหม่ในแบบที่ผู้ชมไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายคนรู้สึกอยากดูวิมานหนามขึ้นมาทันที แต่อีกความน่าสนใจสุดๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ความต้องการนำเสนอประเด็นสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ ด้วยการมองเห็นถึงปัญหาของช่องโหว่ทางกฎหมายมากมายที่ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนชายขอบที่ไม่ได้เป็นที่สนใจในสังคม ประเด็นหนึ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ สิทธิตามกฎหมายของคู่รัก LGBTQ+ ที่ทำให้หลายคนพลาดโอกาสในการมีชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของ ‘ทองคำ’ (เจฟ ซาเตอร์) และ ‘เสกสรร’ (เต้ย พงศกร) คู่รักที่ร่วมกันสร้างสวนทุเรียนขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองกว่า 5 ปี โดยทองคำเป็นคนหยิบยื่นเงินในการไถ่ถอนที่ดินติดจำนองและมอบที่ดินผืนนี้ให้เสกไว้เป็นดั่งทะเบียนสมรสของทั้งสอง แต่ยังไม่ทันได้มีความสุขนานพอที่จะเห็นผลผลิตผลิดอกออกผล เสกก็ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตไปในที่สุด ทำให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดกลับไปตกอยู่กับ ‘แม่แสง’ (สีดา พัวพิมล) ผู้เป็นมารดาของเสก และได้พา ‘โหม๋’ (อิงฟ้า วราหะ) ลูกสาวที่เก็บมาเลี้ยง รวมทั้ง […]

บอร์ดเกม ‘นักสืบของอดีต’ ที่ยกประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์แม่ฮ่องสอนมาให้คนหยิบเล่นได้

ที่ผ่านมาประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ได้กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนพูดถึงในวงกว้าง จากที่หลายคนเคยมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัวก็เริ่มอยากเรียนรู้ศึกษามากขึ้น ซึ่งคงดีไม่น้อยถ้ามีแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย สร้างความเข้าใจ และสนุกด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจึงตื่นเต้นมากเมื่อได้เห็นบอร์ดเกมชุด ‘นักสืบของอดีต’ ที่จัดทำโดยทีมวิจัยจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน แน่นอนว่าถ้าความรู้ชุดนี้อยู่แค่ในรูปแบบงานวิจัย มันคงมีคุณค่าและถูกหยิบมาใช้งานในกลุ่มคนวิชาการเท่านั้น ทว่าเมื่อข้อมูลทั้งหมดได้แปลงร่างมาเป็นสื่อร่วมสมัย ที่มีทั้งข้อมูลสนุกๆ ภาพประกอบ กราฟิกสวยๆ และเล่นได้อย่างบอร์ดเกม ย่อมทำให้ประชาชนคนทั่วไปอยากลองเรียนรู้ โปรเจกต์นี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่นำผลงานวิจัยทางด้านโบราณคดี มานุษยวิทยา และประวัติศาสตร์ของทีมวิจัยมาประยุกต์ใช้ผ่านการเรียนรู้จากบอร์ดเกม จำนวน 3 ชุดความรู้ ได้แก่ บอร์ดเกมที่ 1 นักสืบชาติพันธุ์ จุดประสงค์คือ ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การใช้ทรัพยากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดอื่นๆ ทำให้รู้จักเกิดความเข้าใจคนต่างวัฒนธรรม บอร์ดเกมที่ 2 ปริศนาโลงไม้ ทีมผู้จัดทำเล่าว่าเป็นชุดเกมใหญ่และซับซ้อนซ่อนเงื่อนที่สุด สร้างความเข้าใจและความรับรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมโลงไม้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในอำเภอปางมะผ้าที่มีอายุเก่าถึงสองพันกว่าปี การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน ลักษณะทางวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงทั้งในอดีตและปัจจุบัน บอร์ดเกมที่ 3 นักสืบของอดีต ทำเพื่อส่งเสริมทักษะในการสืบค้นเรื่องราวของคน สังคมและวัฒนธรรมในอดีต ด้วยกระบวนการทางโบราณคดี โดยมุ่งให้เกิดความตระหนักรู้และสร้างกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา พร้อมกับให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นในทุกระดับวัย บอร์ดเกมชุดนี้ได้รับการออกแบบ ตรวจสอบข้อมูล และนำตัวเกมไปทดสอบกับคนหลายกลุ่มอย่างพิถีพิถัน เรียกว่าครบทั้งความสนุกและความรู้ […]

สูดกลิ่นหอมกรุ่นจากหอมเหาะ ชุมชนคนทำกาแฟ บนดอยสูงแห่งแม่ฮ่องสอน

คงไม่บ่อยนัก ที่เราจะรู้จักแหล่งที่มาของ ‘กาแฟ’ ที่เราดื่ม และจะมีสักกี่ครั้งในชีวิตที่ได้สูดกลิ่นพร้อมจิบกาแฟจากแหล่งจริงๆ เหล่านี้ดึงดูดให้เราขับรถผ่านโค้งนับพัน และฝ่าสายหมอกไปยังตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อไปเข้าใจศาสตร์กาแฟกับ ‘วิสาหกิจชุมชนหอมเหาะ’ ที่เป็นแหล่งปลูกกาแฟชั้นดี และน่าสนใจตรงที่เป็นจังหวัดที่เพิ่งมาจริงจังเรื่องกาแฟไม่นานนัก ซึ่งการไปแม่ฮ่องสอนครั้งนี้ นอกเหนือจากการเอาร่างกายไปปะทะลมหนาว และคลุกคลีตีโมงกับกาแฟกันจนหนำใจ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เรายิ้มตาม คือการที่คนทำกาแฟทุกชีวิตตั้งใจให้ชุมชนเล็กๆ ในจังหวัดที่ได้ชื่อว่ายากจนที่สุดในประเทศ สามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ‘แม่ฮ่องสอน’ เป็นจังหวัดที่ต้องใช้ความตั้งใจในการไปเยือน เพราะกว่าจะถึงเมืองแห่งสายหมอกแห่งนี้ต้องขับรถผ่านโค้งนับพัน ใครที่ใจสู้ไม่ไหวก็คงคิดหนักแน่นอน แต่ดูเหมือนว่าความอุดมสมบูรณ์ อากาศดีแบบที่หาไม่ได้ในกรุงเทพฯ และความอยากดื่มด่ำกาแฟแม่ฮ่องสอนของเราจะเอาชนะอาการเมารถได้เป็นปลิดทิ้ง ทำไมต้องมาถึงวิสาหกิจชุมชนหอมเหาะ คงเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย นั่นเพราะที่นี่เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปลูกกาแฟหลักของแม่ฮ่องสอน ซึ่งจากที่เราได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นมาของชาวแม่เหาะ ก็ต้องยอมรับเลยว่า กาแฟกับคนแม่ฮ่องสอนถือเป็นความผูกพันที่ไม่อาจแยกจากกันได้ เพราะแม้แต่หน้าบ้านยังมีต้นกาแฟน้อยใหญ่แย่งกันขึ้นหลังละสองสามต้น แม้การปลูกกาแฟจะไม่ใช่เรื่องใหม่ของที่นี่ แต่ถ้าเป็นระดับอุตสาหกรรมแล้วล่ะก็ แม่ฮ่องสอนยังถือเป็นน้องใหม่หากเทียบกับเชียงใหม่หรือเชียงราย ปลูกกาแฟ เขาว่ายิ่งสูงยิ่งดี! แม่ฮ่องสอนเลยได้เปรียบตรงจุดนี้ไป ซึ่งที่นี่สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 1,200 เมตร และไม่ต้องถามถึงคุณภาพของเมล็ดกาแฟเลย เพราะการปลูกแบบผสมจนกลมกลืนกับป่าธรรมชาติ บวกกับสภาพอากาศที่เย็นฉ่ำตลอดทั้งปี ต้นกาแฟเลยได้รับสารอาหารจนอิ่ม และเป็นกาแฟที่มีคุณภาพไม่แพ้ใคร โดยความน่าทึ่งของผลไม้สุดเท่อย่าง ‘กาแฟ’ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับแหล่งปลูกนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี กลายเป็นเสน่ห์ของกลิ่น รส และสัมผัสที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.