Walk Around the City Playlist เพลย์ลิสต์เติมพลังใจ ฟังไปเดินทางไปในเมืองแห่งฝัน

จะมีอะไรดีไปกว่าการได้อยู่กับตัวเองกับเสียงเพลงที่ชอบ ท่ามกลางความวุ่นวายในเมืองนี้ เพราะเสียงดนตรีไม่ได้ให้แค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังให้ความทรงจำและทำให้เห็นแง่งามของชีวิตรายทาง ทีม Urban Creature ขออาศัยจังหวะที่คนเริ่มมีความหวังกับเมืองนี้ คัดสรรเพลงมาทำเพลย์ลิสต์ที่เหมาะกับการฟังระหว่างเดินทางมาให้ทุกคน บางเพลงมีเนื้อหาสะท้อนสังคม บางเพลงชวนให้นึกถึงเมืองในฝัน บางเพลงช่วยปลอบประโลมให้คุณอยากใช้ชีวิตต่อไป ให้เพลงที่พวกเราเลือก ช่วยกล่อมเกลาจิตใจของคุณ ฟังใน Spotify ที่ : https://spoti.fi/3a5Ietf เมืองชุดดำ – Rasmee Isan Soulศกุนตลา แย้มปิ๋วบรรณาธิการบริหาร “น้องสาวมาแต่ไกลฟังไทยคุ้นเอาเสียงลำมาล่ามนต์ ให้ผู้ฟังคอยหนุนเกื้อเมื่อมาถึงเมืองนี้ เมื่อมาถึงเมืองนี้เมืองผู้ดีใส่ชุดดำ ไปทางใดกะตอกย้ำสีคล้ำๆ ทุกก้าวย่าง” โดยที่มา รัสมี เวระนะ แต่งเพลงนี้จากการเดินทางไปร้องเพลงที่ต่างประเทศ เธอหอบเอาเสียงทรงพลังและเสน่ห์หมอลำในแบบฉบับรัสมี ไปอุ่นให้เมืองบรรยากาศสีคล้ำกับผู้คนที่มองไปทางไหนก็เห็นเป็นสีดำมีสีสันที่ไม่เคยเห็น แต่ก็แปลก ในหนแรกที่เราฟัง ‘เมืองชุดดำ’ มันกลับไม่ได้ทำให้เรานึกถึงที่ไหนไกล นอกจาก ‘เมืองยิ้ม’ ที่เราใช้ชีวิตอยู่ ดิ้นรนที่จะมีชีวิตอยู่ อากาศเมืองนี้ไม่ได้ปรากฏบนแอปฯ Weather เป็นเลขตัวเดียวหรือติดลบ  ทว่าแต่ละเหตุการณ์ความเป็นไปของเมืองนี้ ทำให้เราหนาวจนแทบมองไม่เห็นว่าอะไรจะทำให้ใจอุ่นขึ้นพอที่จะยังให้อยู่ในเมืองใหญ่ไซซ์เล็กแห่งนี้ ไม่หนีจากมันไปซะก่อน ความโรยราของความคิดและทิศทางของที่แห่งนี้ก็ดูดสีสันของชีวิตและความหวังออกจากร่างกายนี้ทุกทีๆ  ตลอดหลายนาทีที่เพลงจังหวะสนุกของรัสมีดังก้อง เราแอบตัวหดเล็กลงเพราะความคิดนี้ในหัว แต่ก็ยังอยากแนะนำให้ลองกดฟังจิตวิญญาณอีสานล้ำลึกในแบบโซลของเธอนะ! เพราะเธออุตส่าห์บอกไว้ในเนื้อเพลงแล้วว่า […]

ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

9 นโยบายฟื้นฟูเมือง Hawkins ใน Stranger Things ให้ปลอดภัย ไร้กังวล

จะเป็นอย่างไรถ้าเราไปเกิดเป็นชาวเมือง Hawkins ในซีรีส์ยอดฮิต Stranger Things ประเดิมงานชิ้นแรกในคอลัมน์ Urban Isekai ที่จะพาทุกคนสวมบทบาทไปในต่างโลก เพื่อชี้ประเด็นหรือปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขแบบเมืองๆ แน่นอนว่านาทีนี้หากพูดถึงซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด คงหนีไม่พ้น Stranger Things ซีซัน 4 ที่ฉายไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราเลยขอหยิบซีรีส์ยอดฮิตเรื่องนี้มากระทำการอิเซไกซะหน่อย แฟนซีรีส์ Stranger Things ย่อมรู้อยู่แล้วว่า Hawkins เมืองเล็กๆ กลางป่าในรัฐ Indiana นั้นเกิดเรื่องลึกลับ และเหตุการณ์เหนือธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าขัดข้องอย่างไม่มีสาเหตุ เสียงร้องแปลกประหลาดจากชายป่ายามค่ำคืน ชาวเมืองหายสาบสูญ กระทั่งมีเหตุฆาตกรรมภายในเมือง จนเมืองนี้ ได้รับฉายาว่า ‘เมืองต้องคำสาป’ ด้วยเหตุนี้ เราจึงขอรับบทเป็นนายกเทศมนตรีเมือง Hawkins ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลพัฒนาเมืองให้ดี โดยขอเสนอเป็น 9 นโยบายที่จะช่วยล้างคำสาป ทำให้ Hawkins กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัย 1. ตรวจสอบหน่วยงานในพื้นที่ เรื่องลึกลับใน Stranger Things มักเกิดขึ้นในพื้นที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นห้องทดลองแห่งชาติ […]

ทำไมไทยฮิตแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์ เพราะตามกระแสหรือโหยหาเมืองที่ดี?

“เที่ยวญี่ปุ่นในไทย ไม่ต้องไปไกลก็เหมือนอยู่แดนซากุระ”  ประโยคสุดคุ้นตาที่มักจะเห็นในคอนเทนต์รีวิวสถานที่ท่องเที่ยวสไตล์ญี่ปุ่นในประเทศไทย พักหลังหลายสถานที่ท่องเที่ยวก็นิยมสร้างเลียนแบบสถานที่สำคัญในญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า ‘เที่ยวญี่ปุ่นทิพย์’ เช่น การจำลองหมู่บ้านญี่ปุ่นสมัยเมจิ ปราสาทฮิโนกิที่มาจากเมืองเกียวโต วัดอาซากุสะ ทางลงบันไดสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน  และล่าสุดบางจังหวัดมีไอเดียจะทำย่านถนนคนเดินญี่ปุ่นให้เหมือนกับอยู่ที่นั่นจริงๆ (แต่ในสภาพแวดล้อมไทย) จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า ทำไมบ้านเราถึงฮิตสร้างแหล่งเที่ยวญี่ปุ่นทิพย์กันมากนัก? สร้างญี่ปุ่นทิพย์ เอาใจคนญี่ปุ่นและถูกใจคนไทย จุดเริ่มต้นความญี่ปุ่นทิพย์ต้องย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว สมัยชาวญี่ปุ่นชอบเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ เนื่องจากบ้านเรามีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่มีมาช้านานก็ช่วยส่งเสริมการตลาดให้คนญี่ปุ่นสนใจมาเยี่ยมเยือนประเทศไทยมากกว่าแต่ก่อน สิ่งสำคัญที่ทำให้พวกเขาอยากมาท่องเที่ยวบ่อยๆ คือ การสร้างสถานที่ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ญี่ปุ่น รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้ออำนวย เช่น ป้ายต่างๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นอธิบายกำกับไว้ หรือพนักงานควรสื่อสารภาษาพื้นฐานได้ จึงทำให้เจ้าของธุรกิจสมัยนั้นต้องปรับตัวสร้างแหล่งท่องเที่ยวให้มีบรรยากาศญี่ปุ๊นญี่ปุ่น เพื่อจูงใจลูกค้าแดนซากุระให้มาอุดหนุนบ่อยๆ ขณะเดียวกัน คนไทยเมื่อ 5 ปีก่อน (และปัจจุบัน) ก็ชื่นชอบไปญี่ปุ่นมากที่สุดกว่า 1 ล้านคน/ปี หรือประมาณ 1.4 เปอร์เซ็นต์ของคนไทยทั้งหมด ด้วยสภาพแวดล้อมที่สวยงามจากการออกแบบเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งระบบการขนส่งสาธารณะสะดวกสบาย การดีไซน์อาคารทันสมัย อากาศดี ถ่ายรูปตรงไหนก็สวย และคุณภาพชีวิตที่ปลอดภัย จึงทำให้ชาวไทยหลายคนติดใจประเทศญี่ปุ่นอย่างทวีคูณ ตัดภาพมาช่วงที่ไม่ได้บินต่างประเทศ กลับสู่ชีวิตจริงในเมืองไทยที่ต้องเจอกับปัญหารถติดขัด มลพิษบนท้องถนน น้ำคลองเน่าเสีย […]

ชัชชาติจับมือกับ Traffy Fondue เปิด LINE Chatbot ให้ประชาชนแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยทั่วกรุงเทพฯ

‘การแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอย’ คือหนึ่งในนโยบายที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะปัญหาใกล้ตัว เช่น ทางเท้าพัง ถนนเป็นหลุมบ่อ น้ำท่วมขัง ถนนเปลี่ยว และขยะสะสม คือสิ่งที่กระทบการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ในทุกๆ วัน เพราะเหตุนี้ ทีมงาน ‘เพื่อนชัชชาติ’ จึงนำเทคโนโลยี ‘Traffy Fondue (ทราฟฟี่ฟองดูว์/ท่านพี่ฟ้องดู)’ ที่พัฒนาขึ้นมาโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กลับมาใช้อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนรายงานปัญหารอบตัวที่พบเจอในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ทันที Traffy Fondue คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการเมืองด้วยการใช้ระบบแจ้งและบริหารจัดการด้วย AI Chatbot เพื่อรับแจ้งปัญหาแบบอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ และยกระดับการมีส่วนร่วมของพลเมืองและผู้เกี่ยวข้องได้ทุกพื้นที่และทุกเวลา ที่สำคัญ AI จะช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและส่งปัญหาไปยังผู้รับผิดชอบโดยตรง วิธีแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอยมีดังต่อไปนี้ 1) แอดไลน์เพื่อนชัชชาติได้ที่ t.ly/SNxL 2) เมื่อเจอปัญหาของเมือง ผู้ใช้งานรายงานผ่านไลน์เพื่อนชัชชาติ โดยคลิกที่ ‘รายงานปัญหาเส้นเลือดฝอย’ หลังจากนั้นลิงก์จะโยงไปที่ไลน์ของ ‘Traffy Fondue’ สำหรับระบุรายละเอียดปัญหา ส่งรูปภาพ และส่งพิกัด 3) ระบบหลังบ้านจะทำการรวบรวมปัญหา […]

ไม่เพียงระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากโลกร้อน! เมืองใหญ่ทั่วโลกเสี่ยงน้ำท่วมเพราะทรุดตัวจากที่อยู่หนาแน่น ใช้ทรัพยากรใต้ดิน ฯลฯ

เชื่อว่าเราคงเห็นข่าวหรือได้ยินว่าเมืองใหญ่ๆ ของโลกมีโอกาสจมน้ำเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ด้วยวิกฤตสภาวะโลกร้อนมาแล้ว แต่งานวิจัยจากวารสาร Geophysical Research Letters ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม อาจจะชวนกระตุกต่อมความเชื่อและท้าทายงานวิจัยเดิม เพราะเขาบอกเราว่า การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลอาจจะไม่รวดเร็วเท่ากับอัตราที่เมืองใหญ่ทรุดตัวลง ในงานวิจัยชื่อว่า ‘Subsidence in Coastal Cities Throughout the World Observed by InSAR (สำรวจการทรุดตัวลงของเมืองชายฝั่งทั่วโลกโดยเรดาร์ InSAR)’ ผู้วิจัยสามคนคือ Pei-Chin Wu Meng Wei และ Steven D’Hondt ได้สำรวจ 99 เมืองใหญ่ติดชายฝั่งทะเลทั่วโลกผ่านระบบเรดาร์ และค้นพบว่า อย่างน้อย 33 เมืองทรุดตัวลงด้วยความเร็วมากกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี นั่นคือตัวเลขที่มากกว่าความเร็วการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลกว่า 5 เท่า ผลจากการทรุดตัวของเมืองนั้น คณะผู้วิจัยแจกแจงว่ามี 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ การสูบน้ำบาดาล การสร้างที่อยู่อาศัยหนาแน่น และการขุดเจาะแหล่งพลังงานธรรมชาตินั่นเอง เมืองส่วนใหญ่ที่เป็นที่น่ากังวลที่สุดอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด […]

ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

City for Women, City for All ดีไซน์เมืองในฝันที่ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้หญิงอย่างรอบด้าน

จะดีแค่ไหนถ้ามี ‘เมือง’ ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของ ‘ผู้หญิง’ รอบด้าน ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนความไม่แน่นอนตั้งแต่ก้าวเท้าออกนอกบ้าน ทั้งความเสี่ยงจากการเดินบนท้องถนนเปลี่ยวและคุณภาพแย่ ความไม่เท่าเทียมในที่ทำงาน ระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อภารกิจประจำวันของผู้หญิงที่ต้องทำหลายหน้าที่ในหนึ่งวัน เช่น ทำงาน ซื้อของเข้าบ้าน และดูแลลูก รวมไปถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศในพื้นที่สาธารณะ เช่น โดนผู้ชายปฏิเสธไม่ให้ใช้สนามกีฬาหรือพื้นที่ส่วนกลาง ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งมีปัจจัยจาก ‘การออกแบบเมือง’ ที่ไม่ได้คำนึงถึงผู้ใช้งานที่เป็นผู้หญิงอย่างครบทุกมิติ ข้อมูลจาก Handbook for Gender-Inclusive Urban Planning and Design ของ World Bank ระบุว่า ตั้งแต่ในอดีต เมืองต่างๆ วางแผนและออกแบบเพื่อ ‘ผู้ชาย’ โดย ‘ผู้ชาย’ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘ทัศนคติทางเพศ’ และ ‘บทบาททางเพศแบบดั้งเดิม’ ดังนั้น เมืองเหล่านี้จึงมีฟังก์ชันและดีไซน์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้ชายมากกว่าผู้หญิงไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ข้อมูลยังเปิดเผยว่ามีผู้หญิงเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่มีตำแหน่งสูงสุดในสำนักงานวางผังเมืองและบริษัทสถาปัตยกรรมชั้นนำของโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่การออกแบบพื้นที่สาธารณะจะไม่ค่อยคำนึงถึงหรือครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงและคนกลุ่มน้อยทางเพศเท่าที่ควร คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบ ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ เพื่อสร้างสมดุลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของทุกคนอย่างเท่าเทียม […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

กลุ่มเชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ ทำ Data เมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่พื้นที่สาธารณะ ที่ดิน โรงพยาบาล และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ

โปรเจกต์ ‘เชียงใหม่ ฉันจะดูแลเธอ’ เกิดจากการรวมพลังกายและใจของทีมดูแลเพจห้าคน ทำงานร่วมกับภาคีร่วมอื่นๆ ที่ช่วยกันดูแลพื้นที่เมืองเชียงใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน พื้นที่รวมพลังอันแสนอบอุ่นแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิจัย ‘การพัฒนากระบวนการเพื่อขับเคลื่อนประชาคมเมืองเชียงใหม่’ แผนงานคนไทย 4.0  นอกจากทีมจะมีกิจกรรมและข่าวสารดีๆ มากมายมาส่งต่อให้คนเมืองได้รับรู้และแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างไม่ขาดสาย ล่าสุดทางกลุ่มก็ได้ปล่อย City Data หรือ ข้อมูลเมือง ที่ทั้งเป็นประโยชน์และน่าสนใจมากๆ สำหรับชาวเมืองเผยแพร่ออกมาแบบสดๆ ร้อนๆ  ในพื้นที่เมืองหนึ่ง มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อย มีทั้งประโยชน์และปัญหาสะสมต้องแก้ไข Data เมืองที่สำรวจ รวบรวม และจัดทำออกมาเป็นแผนที่และตัวเลขเหล่านี้ จึงไม่ได้แค่ช่วยให้ข้อมูล แต่ช่วยในแง่การนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อได้ ข้อมูลที่ว่า ถูกรวบรวมไว้ในเว็บไซต์ https://chiangmaiwecare.com/citydata  ข้อมูลเมืองที่ปรากฏ มีทั้งหัวข้อที่เกี่ยวกับเรื่องคน วัฒนธรรม และเมือง ยกตัวอย่างเช่น ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจราจร ซึ่งชี้ให้เห็นความหนาแน่นมาก-น้อยตามระดับจากสูงไปสู่ระดับต่ำ  จำนวนการเช็กอินในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ ที่สะท้อนให้เห็นเลยว่า จุดไหนเป็นจุดยอดฮิตที่มีคนใช้โซเชียลมีเดีย เช็กอิน หรือไปรวมตัวกันมากที่สุด  พื้นที่สาธารณะที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการระยะทาง 400 เมตรจากร้านกาแฟ ที่ดึงเอาจุดเด่นของเมืองกาแฟและคาเฟ่แบบเชียงใหม่ ออกมาจัดทำชุดข้อมูลเชื่อมโยงกับพื้นที่สาธารณะของเมืองได้อย่างน่าสนใจ ตำแหน่งอาคารเก่าทรงคุณค่าและอาคารสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ทรงคุณค่ากับรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ซึ่งทำให้เรามองเห็นความสนใจของทีมผู้จัดทำที่มุ่งประเด็นโฟกัสไปที่การอนุรักษ์ และการปรับใช้สถาปัตยกรรมภายในเมือง เพื่อพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง ข้อมูลและสถิติที่มากถึง […]

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.