ทางเท้า เกาหลีใต้ ต่อให้ก้มหน้าเล่นมือถือก็ไม่เป็นอันตราย เพราะให้ความสำคัญกับคนมากกว่ารถยนต์

ครั้งหนึ่งในปี 1982 ‘เกาหลีใต้’ เคยเป็นประเทศให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจโดยรวม ชนิดที่มีการออกกฎหมายพิเศษ ยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดที่ละเมิดกฎจราจรบนถนนให้ไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญา ตราบใดที่บุคคลนั้นมีประกันภัยครอบคลุม จนตามมาซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคนเดินเท้าสูงกว่าในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ถึง 7.7 เท่า เพื่อแก้ไขสถานการณ์อันน่าเป็นกังวลนี้ ในปี 1998 ‘Seoul Metropolitan Government (SMG)’ ได้ดำเนินโครงการ ‘Creation of pedestrian-friendly walkways’ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมอันน่ารื่นรมย์และปลอดภัยให้กับการเดินเท้า โดยมีจุดมุ่งหมายในการเปลี่ยนให้โซลกลายเป็นเมืองที่เป็นมิตร และช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับคนเดินเท้า พร้อมทั้งพัฒนามาเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอตามข้อกำหนดของกฎหมายที่กล่าวว่า ทาง SMG จะต้องจัดทำ ‘แผนพื้นฐานสำหรับสภาพแวดล้อมสำหรับคนเดินเท้า’ เป็นประจำทุกๆ ห้าปี เพื่อปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของคนเดินเท้าและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุให้ได้มากที่สุด เริ่มจากการแก้ไข 4 ปัญหาหลัก ได้แก่ 1) อันตรายจากการเดินข้ามถนนโดยผิดกฎหมาย อันเนื่องมาจากการขาดทางม้าลาย 2) การยึดครองถนนในเขตที่อยู่อาศัยโดยรถยนต์จำนวนมาก3) สะพานลอยสำหรับคนเดินเท้าและทางเดินใต้ดินมีมากเกินไป4) ทางเดินมีความกว้างไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลกรุงโซลจึงติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยกในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง […]

War & Women’s Human Rights Museum สถานที่บอกเล่าเรื่องราวที่สตรีเกาหลีใต้ต้องเผชิญในสงครามญี่ปุ่น-เกาหลี

แม้สงครามระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีจะจบลงนานแล้ว แต่ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต้องเผชิญในเวลานั้นยังคงอยู่ และรอคอยคำขอโทษมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day หรือ IWD) ที่ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี Urban Creature ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘War & Women’s Human Rights Museum’ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี ในประเทศเกาหลีใต้ War & Women’s Human Rights Museum อาจไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ที่คุ้นหูนักท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดมาแล้วกว่า 13 ปี ตั้งแต่ปี 2012 โดยปรับปรุงจากบ้านที่มีอยู่เดิมบนเชิงเขาซองมี ในเขตมาโปของกรุงโซล บนพื้นที่ทั้งหมด 308 ตารางเมตร ที่แบ่งออกเป็นสองชั้นบนดินและหนึ่งชั้นใต้ดิน พิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบมาในรูปแบบของกำแพงอิฐสีเทาดำ มีประตูที่เล็กกว่าประตูบ้านขนาดปกติเพียงบานเดียวเป็นทางเข้า-ออก อีกทั้งยังไม่มีป้ายบอกทางขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆ มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินไปในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เชิงบรรยาย ที่จะมีไกด์ร่วมเดินกับผู้เยี่ยมชมคอยบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกพิพิธภัณฑ์ไปแต่ละส่วน โดยที่ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถรู้ล่วงหน้าผ่านป้ายได้ว่าพวกเขาจะต้องเจอเข้ากับอะไรเป็นลำดับถัดไป เพื่อนำเสนอถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่หญิงชราต้องเผชิญเมื่อพวกเธอถูกพาตัวไปในสงครามในฐานะสตรีบำเรอกาม การออกแบบภายใน War & Women’s Human […]

‘โซล เกาหลีใต้’ เมืองที่เชื่อว่าฝุ่นจะหมด ฟ้าจะใสในอีก 5 ปีข้างหน้า ด้วยนโยบาย Clearer Seoul 2030

ท้องฟ้ามัวๆ สีเทาอมเหลืองกลายเป็นภาพที่ชินตาของประชาชนชาวเกาหลีใต้ ถึงขนาดกลายเป็นมุกตลกว่า เหตุผลที่คนเกาหลีใต้ชอบสวมเสื้อผ้าสีดำก็เพราะว่าถ้าใส่เสื้อผ้าสีอ่อนหรือสีขาวออกจากบ้านไป กลับบ้านมาจะได้เสื้อสีเทาเพราะฝุ่นแทน แต่วันนี้มุกตลกเหล่านั้นอาจใช้ไม่ได้แล้ว เพราะเมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา (2025) อินสตาแกรมทางการของรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ลงประกาศเฉลิมฉลองวันที่เกาหลีใต้มีอากาศสะอาด ฝุ่นลดลงสูงสุดในรอบหลายปี ด้วยหลากหลายนโยบายและความพยายามของชาวเกาหลีใต้ โดยนโยบายที่โดดเด่นที่สุดก็คือ Clearer Seoul 2030 ที่สืบเนื่องมาจากนโยบาย Clear Seoul ในปี 2007 ซึ่งเป็นความพยายามสร้างอากาศสะอาดให้ชาวแทฮันมินกุกได้หายใจกันอย่างเต็มปอดยาวนานกว่า 20 ปี เปลี่ยนรถบนท้องถนนเพื่อลดฝุ่น หลังพบว่า 28 เปอร์เซ็นต์ของสาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 เกิดจากรถยนต์ดีเซล รัฐบาลเกาหลีใต้จึงออกแผนเปลี่ยนรถยนต์ดีเซลทั่วเมืองให้กลายเป็นรถที่ปล่อยมลพิษต่ำ โดยเฉพาะรถที่ต้องวิ่งระยะใกล้เข้าตัวเมือง ซอยบ้านเรือนและเขตที่พักอาศัยบ่อยๆ อย่างรถขนส่งพัสดุ รถบัสเข้าเมือง (Town Bus) หรือแม้กระทั่งรถทำความสะอาด รวมถึงมอเตอร์ไซค์ส่งอาหาร เนื่องจากวัฒนธรรมการสั่งอาหารเดลิเวอรีที่เติบโตมากในเกาหลีใต้ ด้วยรูปแบบอาหารคุ้นหน้าคุ้นตาอย่างต็อกโบกี ไก่ทอด หรือเบอร์เกอร์ง่ายๆ สำหรับมื้อดึก อีกทั้งวัฒนธรรม ‘ฮนจก’ หรือวัฒนธรรมการชอบอยู่คนเดียวของคนเกาหลีใต้ ขัดกับร้านอาหารที่มักเสิร์ฟเป็นมื้อใหญ่และบางร้านไม่รับลูกค้าเพียงคนเดียวสำหรับการเปิดโต๊ะ ความนิยมสั่งข้าวมากินที่บ้านจึงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มอเตอร์ไซค์ส่งอาหารต้องวิ่งวนอยู่ในเขตเมืองตลอดทั้งวันทั้งคืน มอเตอร์ไซค์เหล่านี้ถูกสั่งให้เปลี่ยนเป็นยานพาหนะไฟฟ้าทั้งหมด เพราะจักรยานยนต์เป็นหนึ่งในต้นตอปัญหาที่ปล่อยมลพิษสูง นอกจากนั้น […]

Pet Forest Gimpo สุสานในเกาหลีใต้ ที่อยากเป็นบ้านหลังสุดท้ายของสัตว์เลี้ยงก่อนกลับดาวหมาแมว

ในวันที่สัตว์เลี้ยงที่เรารักจากไป การได้มีพื้นที่เล็กๆ ในการร่ำลาและกลับมาระลึกในวันที่คิดถึง คงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนต้องการ ปัจจุบันจึงเกิดเป็นธุรกิจที่ดูแลภาวะหลังความตายของสัตว์เลี้ยงขึ้นจำนวนมาก เพื่อปลอบโยนผู้เลี้ยงในวาระสุดท้ายของเจ้าตัวเล็ก ‘Pet Forest Gimpo’ คือสถานที่ทำพิธีศพสัตว์เลี้ยงแห่งแรกของประเทศเกาหลีใต้ ในเมืองกิมโป ที่เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1999 ท่ามกลางบรรยากาศอันเงียบสงบของทุ่งนาและโรงงานใกล้เคียง หลังจากเปิดทำการมาหลายสิบปี ตัวอาคารได้รับการรีโนเวตในปี 2024 นี้ เพื่อเป็นพื้นที่ที่สามารถดูแลช่วงเวลาหลังความตายของเหล่าสัตว์เลี้ยงได้อย่างครบวงจร และช่วยปลอบประโลมความสูญเสียของเจ้าของไปพร้อมๆ กัน ภายในอาคารเล็กๆ ขนาด 340 ตารางเมตรที่มีการแบ่งสันพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน เอื้อให้ผู้ใช้บริการได้มีเวลาส่วนตัวในการบอกลาน้องๆ มีห้องให้คำปรึกษา ไปจนถึงบริเวณโถงกลางที่รายล้อมด้วยกระจก และสวนสีเขียวภายนอกที่ช่วยเพิ่มความลึกให้มิติของพื้นที่ สร้างความสงบให้กับผู้ใช้งาน Pet Forest Gimpo ให้บริการผู้ที่ต้องการทำพิธีศพสำหรับสัตว์เลี้ยง ให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษาแก่เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่โศกเศร้า รวมไปถึงบริการช่องเก็บอัฐิในลักษณะตู้กระจกสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่นอกจากจะเก็บอัฐิได้แล้ว ยังใส่ของที่เต็มไปด้วยความทรงจำเพื่อกลับมาระลึกถึงสัตว์เลี้ยงตัวโปรดในวันครบรอบการจากไปได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/gXRiKBRIQUE MAGAZINE | t.ly/G91Hy

‘Immersive Resilience Garden’ โครงการสวนเขาวงกต ใจกลางกรุงโซล ที่ช่วยพาให้ผู้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

ความวุ่นวายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เราสามารถพักผ่อนและหลบหนีจากความวุ่นวายในระยะสั้นๆ ได้บ้างด้วยการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะ มีโครงการ ‘Immersive Resilience Garden’ ภายในสวนสาธารณะ TTukseom Hanriver ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนพลุกพล่านมากที่สุดในโซล เพื่อให้ผู้คนได้หลีกหนีความวุ่นวายด้วยการเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติใจกลางเมืองแบบ 360 องศากันอย่างเต็มที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกและสร้างขึ้นสำหรับงาน International Garden Fair ปี 2024 ซึ่งจัดโดยรัฐบาลกรุงโซลผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยจะจัดตั้งไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคมปีนี้ Studio ReBuild เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจในการออกแบบสวนแห่งนี้จากปฏิสัมพันธ์ของผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อกับธรรมชาติ ทำให้ตัวสวนออกมาในโครงสร้างแบบชั้นที่สร้างพื้นที่ปิด เพื่อหลบหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง รวมถึงมีลักษณะคล้ายกับเขาวงกต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ทอดยาวในพื้นที่กว่า 400 เมตร ภายในสวนยังประกอบไปด้วยกลุ่มพืชที่แตกต่างกัน 3 ชั้น โดยไล่ระดับตามความสูง เราจึงจะเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขอบนอกของสวน ส่วนชั้นถัดมาเป็นต้นไม้ขนาดกลาง และชั้นในสุดจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ที่นี่ก็มีโต๊ะและเก้าอี้ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามานั่งพักผ่อนท่ามกลางการโอบล้อมของต้นไม้ เพื่อให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ รับรองว่าหากเข้าไปอยู่ด้านในของเขาวงกตแห่งนี้แล้ว จะแทบลืมไปเลยว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงของเกาหลีใต้ Sources :Designboom […]

Act on Art เมืองอาร์ตได้เมื่อกฎหมายผลักดัน

หากพูดถึงการชมงานศิลปะในไทย ภาพแรกที่ผุดขึ้นอาจเป็นภาพแกลเลอรีในห้องแอร์ เงียบสงัด ผนังสีขาวโล่งขับชิ้นงานให้เด่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่เต็มไปด้วยชิ้นงานหลายยุคสมัยพร้อมป้ายอธิบายยาวเหยียด หรือห้องโถงที่มีประติมากรรมตั้งอยู่ตรงกลางให้เราคอยเดินเพ่งพิจารณา แต่ที่ประเทศเกาหลีใต้เขาไม่ทำกันแค่นั้น การติดตั้งผลงานศิลปะในประเทศนี้เกิดขึ้นได้ตามท้องถนน จากการสนับสนุนของภาครัฐ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพียงการจัดโครงการเพื่อจ้างศิลปิน หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น แต่ยังมีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารการออกแบบเมือง ที่สนับสนุนผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้อีกด้วย ในทริปเมืองโซลที่ผ่านมา เราพักอยู่ในย่านกังนัม ถนนซัมซอง ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ (CBD : Central Business District) ของเมืองหลวงประเทศเกาหลีใต้ ทำให้ริมถนนใหญ่ย่านนี้เต็มไปด้วยอาคารใหม่ๆ ทั้งสำนักงานใหญ่ ธนาคาร โรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงศูนย์ประชุมและนิทรรศการขนาดใหญ่อย่าง COEX Convention & Exhibition Center โดยย่านนี้อยู่ติดกับถนนเทเฮรัน (Teheran-ro, 테헤란로) ซึ่งเป็นย่านที่เทียบได้กับ Silicon Valley และบริเวณถนนโอลิมปิก ที่เชื่อมต่อไปสู่ โซล โอลิมปิก ปาร์ก (Seoul Olympic Park) เมื่อมองปราดแรกไปตามข้างถนน จะเห็นแค่ระนาบอาคารที่ร่นระยะเปิดทางเท้ากว้างจนตั้งแถวเดินเป็นบอยแบนด์ยุค 80 ได้ แต่พอสังเกตดีๆ จะเห็นประติมากรรมน้อยใหญ่ตั้งอยู่หน้าอาคารเหล่านี้ […]

Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์

ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]

Nodeul Island Park เกาะสวนสาธารณะกลางแม่น้ำฮัน ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเกาะเทียมที่ถูกทิ้งร้าง

เมื่อพูดถึงแม่น้ำฮัน เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงภาพการต้มรามยอนด้วยเครื่องอัตโนมัติ หรือนั่งปิกนิกกินไก่ทอดกับเบียร์ในสวนสาธารณะริมแม่น้ำแบบชิลๆ แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากสวนสาธารณะตามแนวยาวริมแม่น้ำฮันแล้ว ตรงบริเวณเกาะกลางแม่น้ำก็มีสวนสาธารณะแบบลอยน้ำกับเขาด้วยเหมือนกัน ‘Nodeul Island Park’ เป็นสวนสาธารณะที่กินพื้นที่ทั้งหมดของ ‘เกาะโนดึล’ เกาะเทียมกลางแม่น้ำที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักสะพานข้ามแม่น้ำฮันในปี 1917 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกปล่อยทิ้งร้างมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากมีระยะทางไกลจากริมแม่น้ำ ทำให้เดินทางไปได้ยาก แต่หลังจาก ‘MMK+’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองสัญชาติเกาหลีใต้ เข้ามารับผิดชอบในการปรับรูปแบบพื้นที่ของเกาะใหม่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะหลายระดับที่คงไว้ซึ่งความสวยงามของธรรมชาติ ก็ทำให้เกาะโนดึลกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี 2019 พื้นที่ Nodeul Island Park แบ่งออกเป็นสองระดับ โดยระดับพื้นดินเดิมของเกาะถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ที่เชื้อเชิญให้ผู้คนมาเยือนดื่มด่ำไปกับธรรมชาติและวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ในขณะที่แพลตฟอร์มชั้นบนที่อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเชื่อมเกาะถูกเปลี่ยนให้เป็นลานสาธารณะและจุดชมวิวพระอาทิตย์ รวมไปถึงเป็นแหล่งรวมสำนักงาน ร้านค้า แกลเลอรี ร้านหนังสือ ห้องโถงอเนกประสงค์ และห้องจัดแสดงที่จุคนได้กว่า 450 คน นอกจากนี้ ส่วนธรรมชาติที่มีอยู่เดิมของเกาะโนดึลยังได้รับการฟื้นฟูผ่านความร่วมมือจากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ Nodeul Island Park ไม่ใช่แค่พื้นที่สำหรับผู้คน แต่ต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตบนเกาะได้ด้วย ปัจจุบันเกาะที่เคยถูกลืมแห่งนี้ได้กลายมาเป็นสวนสาธารณะและสถานที่ทางวัฒนธรรมยอดนิยมของชาวเกาหลีใต้และผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ใครมีแพลนไปเกาหลีใต้ ลองเดินข้ามสะพานไปยัง Nodeul Island Park ดู บรรยากาศดีไม่แพ้การปิกนิกริมแม่น้ำฮันเลยทีเดียว Sources […]

กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี

เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]

MADE LIM Café เปลี่ยนโบสถ์คริสต์ 120 ปีในเกาหลีใต้ เป็นคาเฟ่และพื้นที่ศิลปะสมัยใหม่ แฝงด้วยร่องรอยประวัติศาสตร์และแนวคิดธรรมชาติ

กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ คือเมืองหลวงที่ใครหลายคนขนานนามให้เป็นเมืองแห่งคาเฟ่ เพราะไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็ต้องพบเข้ากับคาเฟ่สุดเก๋ ที่มาพร้อมคอนเซปต์หลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบสไตล์มินิมอลไปจนถึงแนวคิดล้ำๆ แต่ความจริงแล้ว ไม่ไกลจากตัวสนามบินอินชอนเองก็มีคาเฟ่ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะแต่เดิมที่นี่คือ ‘โบสถ์วังซาน’ โบสถ์คริสต์อายุ 120 ปี ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ‘NONE SPACE’ สตูดิโอออกแบบและก่อสร้างสัญชาติเกาหลีใต้ ได้รีโนเวตโบสถ์ 3 ชั้นแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘MADE LIM Café’ คาเฟ่และพื้นที่จัดแสดงศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ยังคงไว้ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ NONE SPACE เลือกใช้อิฐและกระจกสีเป็นวัสดุหลักในการรีโนเวต เพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่คงไว้ซึ่งวัสดุตกแต่งเดิมของโบสถ์ให้ได้มากที่สุด และไม่ทำการรื้อถอนภายในหากไม่จำเป็น โดยมีคอนเซปต์คือ ‘MADE 林’ ที่สะท้อนถึงปรัชญาที่มองว่ามนุษย์จะกลับคืนสู่ธรรมชาติ MADE LIM Café แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามการใช้งาน ได้แก่ ‘Forest Hall’ ห้องโถงหลักที่ประกอบด้วยคาเฟ่ ห้องรับประทานอาหาร และห้องโถงสำหรับจัดงาน ในขณะที่ ‘Detached Forest House’ และ ‘Heritage Hall’ ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะเชิงประสบการณ์ที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นอกจากนี้ […]

เบื้องหลังความเปล่งประกายของวงการ K-POP ที่เต็มไปด้วยความจริงอันยากจะยอมรับ

‘เกาหลีใต้’ คือหนึ่งในประเทศที่ตลาดเพลงเติบโตเร็วที่สุดในโลก ส่วนสำคัญเกิดจากอุตสาหกรรม ‘เคป็อป (K-POP)’ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศมากถึง 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ราว 327,000 ล้านบาท) สื่อบันเทิงประเภทนี้กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก จึงไม่แปลกใจที่เคป็อปจะกลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ส่งออกวัฒนธรรมเกาหลีใต้ได้อย่างทรงพลัง เคป็อปก้าวเข้าสู่เวทีระดับโลกจากแนวดนตรีที่มีเมโลดีฟังง่าย สนุกสนาน ฟังครั้งแรกก็ติดหู พร้อมกับการเต้นที่แข็งแรง พร้อมเพรียง และเป๊ะแบบสุดๆ ไม่เพียงเท่านั้น ‘ศิลปินเคป็อป’ หรือ ‘ไอดอลเคป็อป’ ยังมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น น่าหลงใหล และมีเสน่ห์เฉพาะตัว แต่เบื้องหลังของวงการที่หลายคนมองว่าสมบูรณ์แบบนั้นอาจไม่ได้น่าชื่นชมเหมือนภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ขอพาไปสำรวจหลากหลายด้านมืดของวงการเคป็อป ไม่ว่าจะเป็นสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน การล่วงละเมิดทางเพศ และการทำให้ผู้เยาว์เป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นพิษและอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อทั้งศิลปินและแฟนคลับทั่วโลก Promise Youสัญญาทาสที่เอาเปรียบศิลปิน ช่วงเวลาก่อนไอดอลเคป็อปไม่ว่าเดี่ยวหรือกลุ่มจะเปิดตัวในฐานะศิลปินสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการ หรือที่เรียกว่า ‘เดบิวต์’ พวกเขาต้องผ่านการเข้าร่วมโปรแกรมเทรนนิงในฐานะ ‘เด็กฝึก’ หรือ ‘เทรนนี’ ของค่ายเพลง เพื่อพัฒนาและฝึกฝนทักษะต่างๆ อย่างหนักหน่วง ทั้งการเต้น การร้องเพลง การแสดง ฯลฯ ภายใต้ตารางกิจวัตรประจำวันและกฎที่เข้มงวด […]

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.