MT. BROMO ภูเขาไฟแห่งชีวิต

ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นของพื้นที่ที่มีความสูง 2,329 เมตรเหนือน้ำทะเล ‘โบรโม’ ภูเขาไฟหนึ่งในกลุ่มวงแหวนแห่งไฟที่ยังคงปะทุ กลับถูกโอบรัดไว้อย่างอบอุ่นด้วยทะเลทรายแห่งความเชื่อ การมาเยี่ยมของนักท่องเที่ยว และการสนับสนุนจากรัฐบาล โบรโม เป็นภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ที่ถูกล้อมรอบไปด้วยทะเลทรายสีดำและหมอกหนาตลอดทั้งวัน โดยโบรโมมีชื่อมาจากการออกเสียงเรียกพระพรหมของชาวชวา ที่พวกเขาเชื่อว่าเป็นผู้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ทั้งหลายบนโลก โดยช่วงต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ชาวบ้านในหมู่บ้าน Cemoro Lawang จะเดินทางนำของไปสักการบูชาภูเขาไฟ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ดอกไม้ หรือขนมหวาน ซึ่งจะนำไปวางไว้บริเวณองค์พระพิฆเนศที่ตั้งอยู่ตรงปากปล่องภูเขาไฟ เพื่อขอพรแก่ตนเองและขอให้เทพแห่งภูเขาไฟช่วยปกปักรักษาหมู่บ้าน นอกจากนี้ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่ บริเวณต่างๆ ในทะเลทรายที่มีการตั้งแท่นบูชาจะมีการนำเศษไก่ไปวางไว้เพื่อเป็นการเซ่นไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยรอบด้วย นอกจากการอนุรักษ์ดูแลของชาวบ้านแล้ว รัฐบาลยังมีโครงการช่วยสนับสนุนและส่งเสริมพื้นที่ผ่านการจัดกิจกรรม Karisma Event Nusantara (KEN) โดยจะนำศิลปะ วัฒนธรรม และอาหารในแต่ละพื้นที่ มาจัดแสดงเป็นอีเวนต์ที่ช่วยดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวและขยับเขยื้อนเศรษฐกิจให้เติบโต และในปีนี้ก็มีการจัดกิจกรรมที่ภูเขาไฟโบรโมด้วย กิจกรรมนี้นอกจากจะกระตุ้นเศรษฐกิจระดับประเทศแล้ว ยังช่วยส่งเสริมศิลปินตัวเล็กตัวน้อยในภูมิภาคต่างๆ ทั้งเรื่องของเงินและกำลังใจว่า สิ่งที่พวกเขากำลังทำนั้นได้รับการมองเห็น มีคนอีกมากที่เห็นคุณค่า และยังสร้างความหวังว่า ความสวยงามเหล่านี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีสำหรับผู้คนในภายภาคหน้า หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

NUSANTARA เมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซีย ที่ทั้งไฮเทคและเน้นความยั่งยืน

‘กรุงจาการ์ตา’ คือเมืองหลวงของอินโดนีเซียที่ขึ้นชื่อเรื่องปัญหาความแออัด เพราะมีประชากรอยู่ราว 10.5 ล้านคน ในพื้นที่เพียง 661.5 ตารางกิโลเมตร ทำให้เกิดปัญหาเมืองแสนซับซ้อนตามมา เช่น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม การจราจรติดขัด ปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น ในปี 2019 รัฐบาลอินโดนีเซียจึงประกาศย้ายเมืองหลวงจากกรุงจาการ์ตาไปยังผืนป่าในจังหวัดกาลีมันตัน บนฝั่งตะวันออกของเกาะบอร์เนียว โดยเมืองหลวงใหม่มีชื่อว่า ‘นูซันตารา’ (Nusantara) ซึ่งแปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ในภาษาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียต้องการสร้างนูซันตาราให้เป็นเมืองที่ยึดเรื่องสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญ โดยหวังว่าจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ตัวเมืองมีชีวิตชีวา และเป็นอีกหนึ่งเมืองต้นแบบเรื่องความรักษ์โลก เมืองอัจฉริยะที่ปกป้องผืนป่า นูซันตารามีพื้นที่ครอบคลุม 2,560 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมเกือบ 4 เท่า โดยจะจัดสรรพื้นที่ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ให้เป็น ‘พื้นที่เมือง’ ส่วนอีกประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์จะรักษาไว้เป็น ‘พื้นที่สีเขียว’ สัดส่วนราว 65 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่สีเขียวจะปกคลุมไปด้วยป่าเขตร้อนที่ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอน สอดคล้องกับเป้าหมายออกแบบเมืองให้เป็น ‘เมืองป่าไม้ที่ยั่งยืน’ (Sustainable […]

Microlibrary MoKa นวัตกรรมห้องสมุดไม้ ถอดประกอบได้ กระจายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ห่างไกล

แม้ล่วงมาสู่ยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึงห้องสมุดได้ โดยเฉพาะในชุมชนพื้นที่ห่างไกลที่ความเจริญเดินทางไปถึงยาก ทำให้มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตไม้อัด ‘PT. Kayu Lapis Indonesia’ และสตูดิโอออกแบบ ‘SHAU Architects’ จนเกิดเป็นโครงการ ‘Microlibrary MoKa’ ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อกระจายห้องสมุดขนาดเล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิม Microlibrary MoKa ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยแนวคิดห้องสมุดต้นทุนต่ำ ประกอบง่าย และขนส่งสะดวกในระยะเวลาอันสั้น กลายเป็นโครงสร้างชิ้นส่วนไม้อัดสำเร็จรูปแบบแบนราบ ที่สามารถประกอบเป็นอาคารห้องสมุดแบบกึ่งสำเร็จรูปที่ถอดประกอบและเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ภายใต้ขนาดเพียง 10 ตารางเมตร นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่งรูปแบบส่วนหน้าอาคารเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น การวางแนวอาคารที่สัมพันธ์กับความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือแม้กระทั่งการใช้งานที่แตกต่างออกไปโดยไม่จำกัดอยู่แค่ประเภทห้องสมุดเท่านั้น และหากต้องการให้อาคารมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น ก็สามารถนำ Microlibrary MoKa มาประกอบต่อกันเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้เรื่อยๆ โดยใช้ไม้อัดเชื่อมต่ออาคาร ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ SHAU Architects ต้องการลดเวลาและต้นทุนในการออกแบบและติดตั้ง เมื่อเทียบกับอาคารอื่นๆ ที่ต้องมีการออกแบบเฉพาะตัว ขณะเดียวกัน ห้องสมุดแห่งนี้ยังเข้าถึงชุมชนและธรรมชาติได้มากขึ้น ผ่านการออกแบบโดยอิงจากอาคารที่ใช้ไม้ค้ำแบบดั้งเดิมอย่าง ‘Rumah Panggung’ ที่มีลักษณะคล้ายบ้านไม้ทรงไทยยกสูงในอดีต Source : ArchDaily | […]

รู้จัก Voice of Baceprot วงเมทัลสาวมุสลิมจากอินโดนีเซีย เตรียมมาแสดงที่ไทย 27 ส.ค.นี้

หากพูดถึงวงดนตรีเมทัลหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าจะมีวงหญิงล้วน สวมฮิญาบ ถือเบส จับกีตาร์ รัวกลอง และร้องเพลงหนักๆ บนเวทีเรียกเสียงเชียร์จากแฟนเพลง แต่ต้องบอกเลยว่า Voice of Baceprot จากประเทศอินโดนีเซียนั้นถือเป็นวงรุ่นใหม่ที่เหล่านักฟังเพลงเมทัลกำลังจับตามอง Voice of Baceprot เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยสมาชิก 3 คน คือ Marsya (ร้องนำและกีตาร์), Widi (เบส) และ Sitti (กลอง) โดยทั้ง 3 คนเรียนดนตรีด้วยกันและต่างก็หลงรักในดนตรีเมทัล จึงรวมตัวก่อตั้งวง Voice of Baceprot ขึ้นในปี 2014 ซึ่งคำว่า Baceprot นั้นมาจากภาษาซุนดา แปลว่า ‘เสียงดังโหวกเหวก’ ที่หมายถึงแนวเพลงของพวกเธอนั่นเอง  เพลงของ Voice of Baceprot นั้นมักจะพูดถึงประเด็นสังคมเสียส่วนใหญ่ กลายเป็นวงที่ทำลายความเชื่อและการเหมารวมที่กดทับผู้หญิงมุสลิมเอาไว้ ทั้งการที่ผู้หญิงชาวมุสลิมไม่ควรจะมีสิทธิ์มีเสียง หรือผู้หญิงไม่เหมาะกับเพลงเมทัลที่เสียงดัง โดยวงเริ่มต้นจากการเล่นดนตรีในโรงเรียนและเปิดตัวอย่างเป็นทางการกับซิงเกิลเดบิวต์ ‘School Revolution’ ในปี 2018  เมื่อวงเป็นที่รู้จักมากขึ้น […]

‘Nusantara’ เมืองหลวงใหม่อินโดนีเซีย ที่ต้องย้ายเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและกระจายความเจริญ

อีก 10 ปีนับจากนี้เราคงจะได้ยลโฉมกับเมืองหลวงใหม่ของอินโดนีเซียที่ชื่อ ‘นูซันตารา (Nusantara)’  หากใครสงสัยว่าทำไมอินโดนีเซียถึงต้องย้ายเมืองหลวง? ลองไปดูข้อมูลสถิติกันเล็กน้อย เมืองหลวงในขณะนี้ของอินโดนีเซียคือ ‘จาการ์ตา’ ตั้งอยู่ในหมู่เกาะชวาที่เป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจ มีประชากรอาศัยอยู่ราว 10.5 ล้านคน แต่มีพื้นที่แค่ 661.5 ตารางกิโลเมตร (ถ้านึกภาพตามไม่ออกคือพื้นที่น้อยกว่ากรุงเทพฯ 3 เท่า แต่มีประชากรหนาแน่นเกือบเท่ากัน) นั่นทำให้เกิดปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจกับส่วนภูมิภาค การจราจรติดขัด พื้นดินยุบเพราะน้ำประปาถูกสูบไปใช้ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงความกังวลว่าเมืองจะจมน้ำในอนาคต ‘นูซันตารา’ เป็นภาษาท้องถิ่นชวาที่แปลว่า ‘หมู่เกาะ’ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว ในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก (East Kalimantan) จะมีพื้นที่ราว 2,000 ตารางกิโลเมตร นั่นคือใหญ่กว่าเมืองหลวงเดิมกว่า 3 เท่า หลังจากเริ่มการศึกษาแนวทางการย้ายเมืองหลวงอย่างละเอียดตั้งแต่ปี 2016 ในสมัยการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โจโก วิโดโด (Joko Widodo) ในที่สุดรัฐสภาก็ได้ผ่านร่างกฎหมายในวันอังคารที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา และมีการระบุแผนโยกย้ายว่าจะใช้ระยะเวลา 10 ปี […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.