ผักDone แบรนด์กระถางหมักเศษอาหาร DIY ที่อยากเป็นสะพานเชื่อมคนเมืองกับธรรมชาติ

ตามประสาคนเมืองผู้ใช้ชีวิตอยู่กับห้องสี่เหลี่ยม เราโหยหาธรรมชาติเป็นพิเศษในวันที่ใจเหี่ยวเฉา ทุกครั้งที่รู้สึกหมดแรงทำอะไร เสียงน้ำ สายลมแผ่ว และสีเขียวเติมพลังเราได้ในหลายมิติ  ‘นิต้า-มานิตา วิวัฒน์เศรษฐชัย’ ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าถอดตำแหน่งเจ้าของแบรนด์สินค้าและบริการจัดการขยะอาหารออกไป ชีวิตของมานิตาก็ยังน่าสนใจสำหรับเราอยู่ดี เพราะหลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านชีวการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เธอก็ค้นพบว่าสิ่งที่อยากทำไม่ใช่การรักษาโรคภัย แต่เป็นการดูแลตัวเองเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ นั่นคือเหตุผลให้เธอเบนสายมาศึกษาเรื่องอาหาร จิตใจ และสิ่งแวดล้อม มานิตาเข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนได้ 3 ปี ก่อนจะลาออกมาใช้ชีวิตของตัวเองโดยไม่อยากพึ่งเงินตรา ความฝันสูงสุดคือการใช้ชีวิตแบบโจน จันได  2 ปีหลังจากนั้น เธอปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือเครื่องมือหนึ่งในการใช้ชีวิต แต่การจะหาเงินมาอย่างไร นั่นคือคำถาม คำถามนั้นกลายเป็นที่มาให้เธอสร้าง ‘ผักDone’ แบรนด์รักษ์โลกที่มีเป้าหมายในการเชื่อมให้คนเมืองได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและทรัพยากรหมุนเวียน ผ่านสินค้าและบริการในการจัดการขยะอาหาร โดยมีสินค้าไฮไลต์เป็นกระถางดินเผาหมักอาหารที่ผู้ใช้งานนำไปหมักแบบ DIY ได้เอง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ วิธี และกลิ่นเหม็น “เราเห็นความสำคัญของต้นไม้ รู้ว่าการไม่มีมันอยู่เป็นยังไง” เหตุผลในการลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างของคนคนหนึ่งอาจเป็นอะไรก็ได้ แต่สำหรับมานิตา ‘ต้นไม้’ คือคำที่เปลี่ยนมุมมองและรูปแบบการดำเนินชีวิตของเธอ ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่เธอจะก่อตั้งผักDone มานิตาในวัยเด็กอาศัยในบ้านหลังเก่าที่ถึงแม้จะตั้งอยู่กลางกรุงเทพฯ แต่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่รกร้างและร่มเงาของต้นจามจุรีข้างบ้าน ช่วงชีวิตในวัยเยาว์ของเธอจึงผูกโยงกับสีเขียวอย่างแยกไม่ออก “มีต้นจามจุรีต้นหนึ่งอยู่ข้างบ้าน อีกต้นอยู่ด้านหลัง” เธอย้อนความให้ฟัง “มันร่มเย็นมาก ตอนนั้นไม่ได้ Appreciate มัน […]

Food Matter ธีสิสแพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกิน ที่อยากช่วยลด Food Waste ในแต่ละวัน

คุณรู้ไหมว่าอาหารที่ร้านผลิตเกินมาในแต่ละวันถูกจัดการอย่างไร?  สำหรับคนที่ชอบเดินซูเปอร์มาร์เก็ตช่วงค่ำๆ จะเห็นหลายร้านนำอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้มาติด ‘ป้ายเหลือง’ และลดราคาในช่วงสุดท้ายของวัน แต่ก็ยังมีอีกหลายร้านเช่นกันที่แม้จะมีอาหารเหลือจำนวนมาก แต่พวกเขาเลือกที่จะทิ้งโดยเสียเปล่าเพราะเป็นมาตรการด้านความสะอาดและเพื่อรักษามาตรฐานของร้าน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การทิ้งอาหารที่ยังคุณภาพดีเหล่านี้ทำให้เกิด ‘ขยะอาหาร (Food Waste)’ ปริมาณมากในแต่ละวัน แค่ลองคิดเล่นๆ ว่าแต่ละร้านต้องทิ้งอาหารวันละ 1 กก. ทั้งเดือนก็ไม่ต่ำกว่า 30 กก. และถ้าทุกร้านมีขยะที่ต้องทิ้งทุกวัน กรุงเทพฯ จะมีขยะอาหารเยอะมากแค่ไหน? จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถนำอาหารส่วนเกินเหล่านี้มาทำเป็น ‘อาหารป้ายเหลือง’ และขายผ่านช่องทางเดลิเวอรีได้ ทำให้ผู้คนในเมืองนี้ได้เข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง และยังมีส่วนช่วยในการลดขยะอาหารที่เกิดขึ้นในทุกๆ วันได้อีกด้วย คอลัมน์ Debut สัปดาห์นี้เราจะพาไปรู้จักกับ ‘Food Matter’ แพลตฟอร์มสั่งอาหารส่วนเกินจากร้านอาหารที่ทำให้คนเมืองเข้าถึงอาหารคุณภาพดีในราคาที่ถูกลง เหมือนได้เข้าไปเดินเลือกซื้ออาหารป้ายเหลืองในซูเปอร์มาร์เก็ตด้วยตัวเอง  ธีสิสนี้ออกแบบโดย กรีน-เมธพร ทุกูลพาณิชย์ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ CommDe (Communication design) กรีนเป็นผู้เห็นถึงปัญหาของอาหารส่วนเกินที่เหลือทิ้งจากร้านอาหารในแต่ละวัน เธออยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดขยะ และอยากทำให้ผู้บริโภคในเมืองนี้มีทางเลือกในการกินมากขึ้นด้วย จึงทำแอปฯ ฉบับทดลองใช้ 11 วันขึ้นมาเพื่อดูว่าจะช่วยลดขยะอาหารในเมืองนี้ได้มากแค่ไหน ทดลองใช้เว็บไซต์ได้ที่นี่ www.foodmatterth.com  […]

Chiangmai Food Bank ขออาหารค้างตู้ที่ยังกินได้ ส่งต่อ 3 กลุ่มเพื่อหยุดความหิวโหย

ขอเวลาคนละ 10 นาที สำรวจตู้เย็น ตู้กับข้าว พอมีอาหารเหลือทิ้งที่ยังกินได้อยู่หรือเปล่า เพราะอาหารค้างตู้ของคุณ อาจกลายเป็นอาหารอีกมื้อของคนที่ขาดแคลนในตอนนี้!

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.