‘North Boulder Library’ ห้องสมุดอเนกประสงค์ของชุมชน ให้ความรู้พร้อมทั้งสร้างความยั่งยืนต่อพื้นที่

ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน หน้าที่ของห้องสมุดที่ทุกคนรู้จักคือพื้นที่สำหรับให้บริการการอ่าน รวมถึงให้ยืมหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านได้ แต่ในปัจจุบันหลายๆ ห้องสมุดเป็นมากกว่าแค่พื้นที่สำหรับอ่านหนังสืออย่างเดียว หนึ่งในนั้นคือ ‘North Boulder’ ห้องสมุดในรัฐ Colorado ที่เรียกว่าเป็นศูนย์กลางชุมชนเลยก็ได้ North Boulder เป็นห้องสมุดที่ชุมชนรอคอยมานาน ด้วยเหตุนี้ ‘WORKac’ สตูดิโอออกแบบจากนิวยอร์กที่ยึดหลักคิดเรื่องความยั่งยืนและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน จึงออกแบบให้ห้องสมุดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์อเนกประสงค์ของชุมชนด้วย เพราะโครงการนี้ให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นหลัก ส่งผลให้มีโซน Boulder Reads ที่สนับสนุนผลักดันให้ผู้ใหญ่และเด็กมีทักษะในการอ่าน รวมถึงโซน Maker Kitchen ที่มาจากความสนใจของชุมชนในเรื่องพื้นที่เรียนรู้ความสร้างสรรค์และครัวส่วนกลาง ภายในห้องสมุดแห่งนี้ยังมีห้องอ่านหนังสือขนาดใหญ่ที่แบ่งสัดส่วนพื้นที่ให้กับผู้ใหญ่ และพื้นที่สำหรับเด็กที่ไม่ได้เน้นเฉพาะการอ่าน แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้พร้อมเล่นสนุกด้วยองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปีนผาหรือสไลเดอร์ แถมยังมีกระจกบานใหญ่ที่มองวิวภูเขาด้านหน้าได้ มากไปกว่านั้น ส่วน Maker Kitchen ยังเชื่อมต่อออกไปยังสวนกินได้และสนามเด็กเล่นด้านนอก ส่วนโซนด้านนอกมีพื้นทางลาดที่เชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นสองของห้องสมุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเรียนรู้สำหรับชุมชนที่มีบางโปรแกรมเปิดให้เข้าในช่วงกลางคืน เช่น ห้องเรียน ESL (English as a Second Language) ซึ่งผู้เข้าเรียนสามารถใช้ทางลาดนี้ขึ้นไปยังชั้นสองโดยไม่ต้องผ่านห้องสมุดชั้นล่างที่ปิดอยู่ ปิดท้ายด้วยการออกแบบในด้านความยั่งยืน ที่มีการติดแผงโซลาร์เซลล์ไว้บนหลังคาของห้องสมุดเพื่อใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ มี Rain Garden หรือสวนซับน้ำฝน ที่ช่วยรับน้ำฝน […]

พาเหล่านักอ่านเช็กอิน 12 ห้องสมุดในกรุงเทพฯ บรรยากาศดี เดินทางง่าย ฟังก์ชันครบ ตั้งอยู่ในย่านที่ไปเดินเล่นต่อได้

ใครที่กำลังหากิจกรรมสักอย่างทำเพื่อพักผ่อนกายคลายความเครียดในวันที่ยังมีบรรยากาศดีๆ แบบนี้อยู่ การได้อ่านหนังสือในสักมุมหนึ่งของเมืองก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่ใช่น้อย เพราะทุกวันนี้ห้องสมุดหลายแห่งในกรุงเทพฯ เป็น ‘ห้องสมุดที่มากกว่าห้องสมุด’ เพราะห้องสมุดในยุคนี้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้การใช้งานห้องสมุดง่ายขึ้น มีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตให้ใช้ ตอบโจทย์คนทำงาน Work from Anywhere ในยุคนี้อย่างมาก และในหลายๆ ห้องสมุดก็มีพื้นที่น่าสนใจที่ไม่ใช่แค่มุมหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เล่นบอร์ดเกม พื้นที่ฉายภาพยนตร์ หรือพื้นที่สำหรับเด็ก เพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย และพาตัวเองเดินเข้าไปในพื้นที่สงบๆ และอบอุ่นสักแห่งเพื่อเติมพลัง วันนี้คอลัมน์ Urban Guide เลยขอมาปักหมุดพิกัด 12 ห้องสมุด พาทุกคนไปเปิดประตูเช็กอินห้องสมุดในกรุงเทพฯ ฉบับอัปเดตล่าสุด ให้ทุกคนได้เจอมุมอ่านที่ชอบ หนังสือเล่มที่ใช่กัน 01 | ห้องสมุดมารวย ‘ห้องสมุดมารวย’ ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านการตลาดและการลงทุนแบบครบวงจร และได้ชื่อว่าเป็นห้องสมุดตลาดทุนที่ครบวงจรที่แรกในประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีการเพิ่มหนังสือประเภทต่างๆ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับนักอ่านทุกเพศทุกวัย ภายใต้คอนเซปต์ ‘ห้องสมุดมีชีวิต’ ที่ไม่ได้มีเพียงแค่หนังสือเล่มให้อ่านเท่านั้น แต่ยังมีสื่อดิจิทัลต่างๆ สำหรับข้อมูลด้านการลงทุน เพื่อบริการให้ผู้ใช้งานเข้าถึงฐานข้อมูลได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย พื้นที่ห้องสมุดแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับนั่งอ่านหนังสือ นั่งทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถใช้เสียงได้ ส่วนชั้นบนเป็นพื้นที่อ่านหนังสือสำหรับผู้ที่ต้องการความเงียบสงบและความเป็นส่วนตัว นอกจากนี้ยังมีบริการอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ […]

Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน

ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri

กลับมาแล้วกับงานหนังสือมือสอง ราคาเริ่มต้นเพียง 20 บาท วันนี้ – 19 พ.ค. 67 ที่ห้องสมุด Neilson Hays

ใครที่เป็นนักอ่านที่หลงใหลในเสน่ห์ของหนังสือมือสอง อย่าลืมแวะเวียนไป ‘งานขายหนังสือมือสองประจำปี’ ของ ‘ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ (Neilson Hays Library)’ ที่ราคาหนังสือภายในงานเริ่มต้นเพียง 20 บาทเท่านั้น ในครั้งนี้ยังคงมีหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากมายหลายประเภทให้เลือกสรร ทั้งนิยาย สอบสวนลึกลับ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หนังสือเด็ก หนังสือเก่า และหนังสือหายาก รวมไปถึงซีดีและดีวีดีด้วย หนังสือทั้งหมดนี้เป็นหนังสือที่ได้รับบริจาคมา และบางส่วนก็เป็นหนังสือที่ทางห้องสมุดคัดเลือกจากชั้นออกมาวางจำหน่าย ด้วยจำนวนที่ค่อนข้างมากและพื้นที่การขายที่ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นจึงจะมีการนำหนังสือเข้ามาเติมเรื่อยๆ รับรองว่าจะได้เจอหนังสือเล่มใหม่ๆ ในแต่ละวันแน่นอน และงานนี้ก็ยังคงขอความร่วมมือให้นักช้อปทุกคนพกพากระเป๋าหรือถุงผ้ามาบรรจุหนังสือกลับบ้านไปด้วย เนื่องจากทางงานไม่มีถุงพลาสติกแจกให้ หรือหากถุงผ้าที่นำไปใส่หนังสือไม่พอ ทางห้องสมุดก็มีกระเป๋าผ้าจำหน่ายภายในงาน งานขายหนังสือมือสองประจำปี จัดขึ้นที่ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ถนนสุรวงศ์ ตั้งแต่วันนี้ – 19 พฤษภาคม 2567 (ปิดวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม) ตั้งแต่เวลา 09.30 – 17.00 น.

Mariam’s Library ห้องสมุดดินเผาในแทนซาเนีย ที่ผสานการสร้างแบบดั้งเดิมเข้ากับแนวทางสมัยใหม่

ถ้าการสร้างห้องสมุดเหมือนการติดอาวุธที่ชื่อว่า ‘ความรู้’ ให้กับคนในชุมชน ‘Mariam’s Library’ ก็คืออาวุธประจำชุมชน Mwanyanya หมู่เกาะแซนซิบาร์ เขตเมืองเก่ามรดกโลกที่ปกครองตนเองในประเทศแทนซาเนีย Mariam’s Library เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Parallel’s Gives ที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของสตูดิโอออกแบบ Parallel Studio ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้กับเหล่านักเรียนในแซนซิบาร์ ห้องสมุดขนาดเล็กเพียง 100 ตารางเมตรแห่งนี้ถูกออกแบบโดยผสมผสานการสร้างแบบดั้งเดิมเข้ากับแนวทางสมัยใหม่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพต่อมรดกทางสถาปัตยกรรมของเกาะแซนซิบาร์ กระบวนการก่อสร้างมีการใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบดั้งเดิมจากฝีมือคนในท้องถิ่น และคำนึงถึงความยั่งยืนผ่านการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้อิฐดินเผาในการสร้างตัวห้องสมุด นอกจากนี้ยังมีการเจาะผนังเป็นวงกลมขนาดเล็ก เพื่อเปิดทางให้ลมถ่ายเทได้สะดวก และช่วยลดอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อน รวมถึงติดตั้งหลังคาไฟเบอร์ลูกฟูก เพื่อเปิดให้แสงธรรมชาติส่องผ่านเข้ามาในตัวห้องสมุดได้ในช่วงกลางวัน และเพื่อให้ Mariam’s Library อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร เอื้อต่อการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน Parallel Studio จึงออกแบบให้พื้นที่ภายในแบ่งออกเป็น 2 โซน คือ ส่วนที่นั่งต่างระดับสำหรับนั่งอ่านหนังสือภายในห้องสมุด และพื้นที่เปิดโล่งสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันของเด็กในชุมชน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้เป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะ ให้เด็กในชุมชนที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้คนที่มีความสนใจตรงกันนั่นเอง Sources : ArchDaily | t.ly/lUTlWDesignboom | t.ly/nO4v3

Yeodamjae Library เปลี่ยนวัดร้างกลางภูเขาในกรุงโซล ให้กลายเป็นห้องสมุดเด็กและประวัติศาสตร์เฟมินิสต์

ในวันที่คนเกาหลีใต้ไม่ชอบเด็กจนพบเห็นป้าย ‘ห้ามเด็กเข้า’ หรือ ‘เขตปลอดเด็ก’ ทั่วไป อีกทั้งยังเป็นสังคมปิตาธิปไตยที่สร้างความเกลียดชังต่อ ‘เฟมินิสต์’ (Feminist) และ ‘ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ’ (LGBTQIA+) แต่บริเวณใจกลางภูเขา Naksan เขต Changsin-dong แขวง Jongno-gu ในเมืองโซล ยังมีพื้นที่แห่งหนึ่งที่โอบกอดพวกเขาเหล่านั้นไว้ ภายใต้สถาปัตยกรรมทางศาสนา นั่นก็คือ ‘Yeodamjae Library’ Yeodamjae Library เป็นห้องสมุดสาธารณะที่แต่เดิมเคยเป็นวัดในพุทธศาสนาชื่อ Wongaksa ที่สร้างขึ้นในปี 1983 ก่อนจะถูกทิ้งร้างในปี 2003 เนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันดินสำหรับอะพาร์ตเมนต์ใกล้เคียง ทำให้ผู้คนเข้าไปในสถานที่ได้จากเส้นทางภูเขาทางเหนือที่ทอดจากภูเขา Naksan เท่านั้น จนกลายเป็นสถานที่มั่วสุมของเด็กและเยาวชน เดิมที Yeodamjae Library ถูกวางแผนให้เป็นห้องสมุดเทศบาลสำหรับเด็ก โดยสำนักงานเขต Jongno-gu แต่ไม่ประสบความสำเร็จในระหว่างการเจรจา ทำให้ภายหลัง รัฐบาลกรุงโซล (SMG) ที่กำลังผลักดันให้มีการก่อสร้างศูนย์วัฒนธรรมสำหรับพลเมืองหญิงในขณะนั้นได้เข้ามาสานต่อโครงการ โดยร่วมมือกับสตูดิโอออกแบบ Emer-sys แผนการคือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมโบราณแห่งนี้ให้กลับมาสวยงามและใช้งานได้อีกครั้ง ด้วยการรื้อกำแพงกันดินเดิมที่กั้นระหว่างวัดกับสวนสาธารณะออก และสร้างอาคารกระจกเชื่อมตัววัด เพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานในอนาคต โดยมีห้องสมุดเด็กและสตรีนิยมเป็นหัวใจหลัก ทำให้ภายใน […]

‘Library in the Chrysanthemum Field’ อาคารอเนกประสงค์ท่ามกลางทุ่งดอกเบญจมาศ รองรับทั้งการเป็นห้องสมุด เวิร์กช็อป และที่เก็บอุปกรณ์

ห้องสมุดหรือ Co-working Space ส่วนใหญ่นั้นมักเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทางของผู้คน ซึ่งบางครั้งเราเองก็คงอยากพักสายตาด้วยการมองวิวทิวทัศน์จากธรรมชาติกันบ้าง ถ้ามีสถานที่ลักษณะนี้ที่ห้อมล้อมไปด้วยสีเขียวขจีให้ใช้งานคงดีไม่น้อย ‘Library in the Chrysanthemum Field’ ตั้งอยู่ในสวนดอกเบญจมาศที่เชิงเขาหยุนไถ ประเทศจีน โดยสถาปนิกของ Atelier Xi ได้รับโจทย์ในการออกแบบอาคารอเนกประสงค์นี้สำหรับใช้งานในชุมชน เพื่อเป็นสถานที่รองรับการอ่านหนังสือ การชิมชาเก๊กฮวย การแสดงดนตรีขนาดเล็ก เวิร์กช็อปเพื่อการศึกษา พร้อมกับเป็นที่จัดเก็บเครื่องมือทางการเกษตร เพื่อไม่ให้อาคารนี้รบกวนวิวทุ่งดอกไม้ สถาปนิกจึงแบ่งอาคารออกเป็น 5 ส่วน และจัดวางให้ออกมาในลักษณะคล้ายกับหมู่บ้านขนาดเล็ก โดยแต่ละตึกนั้นจะเชื่อมต่อถึงกันและหันหน้าออกไปคนละทาง นอกจากจะไม่ทำลายภาพทุ่งดอกไม้แล้ว ยังช่วยเปิดรับภาพทิวทัศน์ได้จากทุกทิศทาง ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็สัมผัสกับธรรมชาติได้ทุกมุมมอง ส่วนผนังด้านในอาคารนั้นก็ประกอบขึ้นจากไม้ในท้องถิ่น ให้โทนสีที่อบอุ่นสบายตา แต่หากดูจากมุมมองภายนอกจะเหมือนประติมากรรมกลางทุ่งดอกไม้ ด้วยสีขาวของตัวอาคารสไตล์มินิมอลตัดกับสีเหลืองและสีเขียวของธรรมชาติ ทำให้ดูโดดเด่น สวยงาม แต่ไม่ขัดสายตา Sources :ArchDaily | tinyurl.com/yckhf2uuAtelier Xi | tinyurl.com/2s436r92

Finding Dating Places in Bangkok รวมสถานที่เดตในเมืองใหญ่จากชาว Urban Creature

เนื่องในเดือนแห่งความรัก ที่เหล่าคนมีคู่ฮาๆ คนโสดฮือๆ สิ่งหนึ่งที่ชาวโซเชียลเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นสถานที่เดตสุดโรแมนติก แต่ไม่ว่าจะหาเท่าไหร่สุดท้ายก็ไปจบที่เดินห้างฯ กินอาหารที่ร้านอาหารสักแห่ง หรือนั่งจับมือดูหนังกันสักเรื่อง เชื่อเถอะว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสถานที่ดีๆ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับหวานใจ แบบที่ถ้าหวนกลับไปนึกถึงเมื่อไหร่ก็ต้องรู้สึกประทับใจทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ใช่สถานที่อย่างห้างฯ ใจกลางกรุง แล้วกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนให้ไปกับเขาบ้าง เราเลยขอรวบรวมสถานที่เดตในฝันของชาว Urban Creature ที่จะมาทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วในเมืองของเราก็มีสถานที่ดีๆ เหมาะกับการออกเดตอยู่เหมือนกัน สถานที่เดต : สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)โลเคชัน : จตุจักร (maps.app.goo.gl/Tth6TLpnTZSe9hMy7)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : ​Managing Editor นอกจากร้านหนังสืออิสระที่มักชวนคนไปเดต สวนสาธารณะก็เป็นหนึ่งในสถานที่เดตที่เราชวนคนไปด้วยบ่อยๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนชอบเดินอยู่แล้ว และคิดว่าการได้มีบทสนทนากันเยอะๆ จะช่วยให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้น แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวาง ก็อาจเดินครบจบไวไปหน่อย เราเลยขอเลือก ‘สวนรถไฟ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่เป็นร้อยๆ ไร่ มีหลากหลายส่วนให้ไปสำรวจ รวมถึงมีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ ตั้งแต่เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งพักผ่อนอ่านหนังสือ แถมบางทีก็มีดนตรีในสวนให้ฟังด้วย มากไปกว่านั้น การเดินเล่นพูดคุยในสวนที่มีสีเขียวล้อมรอบก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่น หายใจได้เต็มปอด […]

สนทนาถึงวรรณกรรมกับนักเขียนทั่วโลกใน ‘เทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ 2023’ วันที่ 4 – 5 พ.ย. 66 ที่หอสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับสายวรรณกรรม คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเหล่านักเขียนคนโปรดอย่างใกล้ชิด เพราะนั่นหมายถึงการสร้างเสริมให้ประสบการณ์ในการอ่านและมุมมองทางวรรณกรรมของเรากว้างขวางขึ้นผ่านสายตาของผู้สร้างสรรค์งานเขียน ในช่วงท้ายปีนี้ยังมีอีกงานหนังสือที่น่าสนใจและอยากชวนทุกคนไปร่วมกัน นั่นคือ การกลับมาเป็นปีที่ 2 ของเทศกาลวรรณกรรมนานาชาติ Neilson Hays Bangkok Literature Festival 2023 ที่จัดขึ้นในห้องสมุดที่ถือว่ามีความสวยงามเป็นอันดับต้นๆ ของไทย โดยภายในงานเราจะได้พบกับนักเขียนชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 50 คนที่จะมาร่วมเสวนาพูดคุยถ่ายทอดมุมมองและประสบการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น Adam Higginbotham, Will Schwalbe และ Nguyễn Phan Quế Mai เป็นต้น ยังไม่นับรวมนักเขียนไทยที่ชาวนักอ่านน่าจะคุ้นชื่อเป็นอย่างดี อาทิ อุรุดา โควินท์, ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ (ปราปต์) และ เชน บุนนาค ช่างภาพและผู้เขียนประวัติศาสตร์ตระกูลบุนนาค ที่จะมาแชร์มุมมองงานเขียนไทยในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านการเขียน เช่น เวิร์กช็อปการวาดภาพประกอบหนังสือและการเขียนวรรณกรรม ศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยลายมือ รวมถึงการจัดฉายภาพยนตร์และกิจกรรมตลาดนัดงานคราฟต์ ที่จะมาสร้างสีสันให้งานหนังสือครั้งนี้มีชีวิตชีวาและสนุกสนานขึ้น งาน Neilson Hays Bangkok Literature Festival […]

กระทรวงวัฒนธรรมของเบอร์ลินยื่นข้อเสนอเปลี่ยนห้างสรรพสินค้าให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกของเมือง

เคยคิดกันไหมว่า หากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เป็นศูนย์กลางของการพักผ่อนหย่อนใจ ร้านค้า รวมไปถึงที่ตั้งของสำนักงานนั้นต้องเลิกกิจการไป อาคารขนาดใหญ่เหล่านี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นอะไรได้บ้าง สัญญาเช่า ‘Galeries Lafayette’ ห้างสรรพสินค้าสัญชาติฝรั่งเศสใจกลางกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีแห่งนี้จะหมดลงในช่วงปลายปี 2567 และมีรายงานว่าเจ้าของห้างฯ จะถอนตัวออกหลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 28 ปี เนื่องจากเงื่อนไขการค้าที่มีความท้าทายมากขึ้น ‘Joe Chialo’ วุฒิสมาชิกฝ่ายวัฒนธรรมของเบอร์ลินจึงได้ทำการยื่นข้อเสนอในการเปลี่ยนห้างฯ แห่งนี้ให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกในเมืองเบอร์ลิน โดยราคาในการซื้อห้างฯ และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นห้องสมุดของโครงการนี้อาจจะต้องใช้เงินสูงถึง 589 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.28 หมื่นล้านบาท หากโครงการนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ก็จะเปิดให้บริการได้ในปี 2569 โครงการนี้ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ด้วยข้อสงสัยจากทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเบอร์ลินในเรื่องของสภาพอาคาร ความเหมาะสมในการเปลี่ยนเป็นห้องสมุด และค่าใช้จ่ายที่อาจจะสูงเกินงบประมาณที่มี แต่อย่างไรก็ตาม บรรณารักษ์ในเยอรมนีก็ได้ทำการเรียกร้องให้ดำเนินโครงการต่อไป เพราะถือได้ว่าเป็นโอกาสแห่งศตวรรษที่จะมีห้องสมุดกลางในเมือง โดย ‘Regina Kittler’ หัวหน้าสมาคมห้องสมุดเยอรมนีสาขาเบอร์ลินมองว่า ห้างฯ Galeries Lafayette แห่งนี้มีศักยภาพในการเป็น ‘ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ในเบอร์ลิน’ ด้วยโครงสร้างเดิมที่เป็นกระจกและโลหะขนาดใหญ่ดึงดูดแสงธรรมชาติ มีผังทรงกลมแบบเปิดโล่ง และมีลิฟต์กับบันไดเลื่อนจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการใช้งานในเชิงพาณิชย์ Source :The Guardian | tinyurl.com/4wnjb88z

Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]

ห้องสมุดเปิดใหม่ ‘ประชาชี’ ที่เกิดจากกองดองของคนศิลปะ ใช้งานฟรี ในซอยเจริญกรุง 26

เปิดพิกัดอีกหนึ่งห้องสมุดแห่งใหม่ ‘ห้องสมุดประชาชี’ ในย่านเจริญกรุง ที่เปิดให้ผู้คนเข้าไปใช้งานพื้นที่ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นง่ายๆ จากการรวมตัวกันของคนทำงานศิลปะอย่าง ‘ลี-อัญชลี อนันตวัฒน์’ จาก ‘สปีดี้แกรนด์มา’ และ ‘น้ำหวาน-วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง’ กับ ‘ออดี้-กฤตธี ตัณฑสิทธิ์’ จาก ‘น้ำขึ้น คอลเลกทีฟ’ “ก่อนหน้านี้เราอยู่กันที่ซอยเจริญกรุง 24 ซึ่งในตึกนั้นจะมีห้องหนึ่งที่ใช้เป็นห้องคอมมอนรูม เรามักเอาหนังสือไปวางๆ กันจนเกิดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจขึ้นมา พอเราย้ายมาที่ใหม่บริเวณซอยเจริญกรุง 26 ห้องสมุดประชาชีก็เกิดขึ้น” ออดี้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ และด้วยการเริ่มต้นในรูปแบบนี้ ทำให้หนังสือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหนังสือจากคอลเลกชันส่วนตัวของทั้งสามคน บวกกับหนังสือที่เพื่อนๆ นำมาวางด้วย ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้จึงมีทั้งหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มเฟมินิสต์ เควียร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเมือง ไปจนถึงเป็นแหล่งรวมหนังสือทำมือ (Zine) และสูจิบัตรจากงานนิทรรศการต่างๆ แม้ห้องสมุดประชาชีเปิดให้เข้าใช้พื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ออดี้บอกกับเราว่า นี่ยังไม่ใช่การเปิดแบบเต็มรูปแบบ เพราะในส่วนของชั้น 1 ที่เป็นตัวห้องสมุดในขณะนี้มีการจัด ‘นิทรรศการคำสาปที่ราบสูง Arcane Plateau’ ร่วมด้วย […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.