The Apple Tree เปลี่ยนคลินิกสำหรับเด็กด้วยสีสัน ให้การเจอหมอไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป

เด็กกับการหาหมอไม่เคยเป็นของคู่กัน แต่สำหรับ ‘The Apple Tree’ คลินิกกุมารเวชสีสันสดใส ขนาด 64 ตารางเมตร ในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซแห่งนี้กลับแตกต่างออกไป เพราะมีการออกแบบสุดจี๊ดจ๊าดที่ทำให้เด็กรู้สึกสนุกจนการเจอหมอไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป ที่นี่ได้เปลี่ยนห้องตรวจสีขาวแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นห้องสไตล์ Memphis และออกแบบโดยใช้รูปทรงเรขาคณิตที่หลากหลายและสีสันสดใสตัดกันมากกว่า 2 สีขึ้นไป ทำให้พื้นที่มีความสนุกสนานมากกว่าเดิม นอกจาก The Apple Tree จะสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กที่มาหาหมอแล้ว สีสันสดใสเหล่านี้ยังช่วยลดความเครียดของผู้ปกครองเด็กลงได้ด้วย เพราะสีสันที่ตัดกันจะทำให้เกิดประสบการณ์เชิงบวกในการพบแพทย์แต่ละครั้ง ส่วนเหตุผลที่ตั้งชื่อคลินิกว่า The Apple Tree นั้น ก็เพราะต้องการล้อไปกับสำนวน ‘An apple a day keeps the doctor away.’ ที่แปลว่า กินผลไม้วันละลูกทำให้มีสุขภาพดีจนไม่ต้องไปหาหมอนั่นเอง ปัจจุบันคลินิกกุมารเวช The Apple Tree เปิดมาได้ 3 ปีแล้ว และถือเป็น 3 ปีที่ช่วยให้เด็กในกรุงเอเธนส์ไม่กลัวการไปหาหมออีกต่อไป Sources : ArchDaily | […]

บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัด สำหรับครอบครัวที่ไม่สะดวกพาไปเอง กับเพจเฟซบุ๊ก ‘ลูกสาวพาหาหมอ’

เมื่อถึงวัยหนึ่ง การไปหาหมอตามนัดอาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา แต่พออายุมากขึ้น การจะไปไหนมาไหนเองคงไม่สะดวก ลูกหลานก็อาจไม่ว่างพาไปหาหมอทุกครั้ง บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอตามนัดจึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ Pain Point ข้อนี้ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ คือธุรกิจให้บริการพาผู้สูงอายุไปหาหมอในโซนกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เกิดขึ้นจาก ‘เอมี่-อมรรัตน์ ขันตยาภรณ์’ และลูกสาวผู้ทำหน้าที่พาผู้สูงอายุในบ้านไปหาหมอเป็นประจำ เนื่องจากญาติคนอื่นๆ มักไม่ค่อยมีเวลาว่าง ทำให้ทั้งคู่นึกถึงครอบครัวอื่นๆ ที่คนในครอบครัวอาจประสบปัญหาไม่ว่างพาผู้สูงอายุไปหาหมอ จนเกิดเป็นไอเดียที่อยากให้บริการนี้ขึ้นมา หน้าที่ของ ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จะเริ่มต้นตั้งแต่รับผู้สูงอายุจากที่บ้าน พาไปโรงพยาบาล ดำเนินการเรื่องเอกสาร เข้าพบคุณหมอพร้อมกับผู้ป่วยด้วยหากเป็นเคสที่ต้องการ ไปจนถึงพากลับบ้านอย่างปลอดภัย โดยตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาลนั้นจะมีการอัปเดตความคืบหน้าให้ญาติผู้สูงอายุทราบอยู่เรื่อยๆ แต่เนื่องจากเป็นงานที่ต้องนัดล่วงหน้า ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ จึงไม่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินได้ รวมถึงผู้ป่วยเองต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง เช่น พูดคุยสื่อสารและเดินได้ เพราะด้วยข้อจำกัดของพื้นที่รถยนต์ ทำให้พวกเธอไม่สะดวกรับผู้ป่วยที่นั่งวีลแชร์ตลอดเวลาได้ อัตราค่าบริการนี้อยู่ที่ 1,000 บาทต่อ 8 ชั่วโมง โดยยังไม่รวมค่าเดินทางที่เริ่มต้นด้วย 300 บาท หรือคิดตามระยะทางระหว่างบ้านลูกค้าถึงโรงพยาบาลทั้งขาไป-ขากลับ ซึ่งหากใครต้องการใช้บริการต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนถึงวันนัด เพราะถ้าจองช้าคิวอาจเต็มก่อนได้ ปัจจุบัน ‘ลูกสาวพาหาหมอ’ เน้นการให้บริการเพียงพาผู้สูงอายุไปหาหมอเท่านั้น แต่ในอนาคต หากลูกค้ามีความต้องการอื่นๆ ก็อาจมีบริการเพิ่มเติม เช่น การพาไปซื้อของหรือบริการอื่นๆ […]

แพทย์กว่า 60% ทำงานเกิน 80 ชม./สัปดาห์ สมาพันธ์แพทย์ฯ เรียกร้อง กมธ.แรงงาน ลด ชม.การทำงาน เพื่อแพทย์และผู้ป่วย

‘หมอ’ น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในสังคมไทย ทั้งยังถูกขยายภาพซ้ำๆ ในแง่ของอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี และมีเกียรติ ทว่าขณะเดียวกัน ก็เป็น ‘หมอ’ และ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ อีกนั่นแหละที่อยู่ในกลุ่มอาชีพที่ทำงานหนักมาก หลายครั้งต้องทำงานเกินเวลา ทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่ถูกสังคมไทยคาดหวังให้ทำงานตลอดเวลา เพราะเป็นอาชีพที่ผูกกับความเสียสละ จากการสำรวจในปี 2562 หัวข้อ ‘ภาระงานและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขและผลกระทบต่อผู้ป่วย’ โดย รศ. นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ จากสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) ที่มีแพทย์ร่วมตอบแบบสอบถาม 1,105 คน ได้ข้อเท็จจริง ดังนี้ แพทย์กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์กว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์หลายคนต้องทำงานดูแลผู้ป่วยติดต่อกันนานกว่า 40 ชั่วโมงโดยไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤต จำนวนชั่วโมงการทำงานแบบนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของแพทย์โดยตรง แต่หลายคนถึงขั้นลาออกเนื่องจากไม่สามารถฝืนทำงานภายใต้แรงกดดันด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแรงได้ แม้จะมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวร แต่แพทย์ส่วนมากไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่เวรหรือไม่ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลมีตำแหน่งแพทย์ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ การสำรวจไม่ได้ครอบคลุมแค่แพทย์เท่านั้น แต่ยังควบรวมไปถึงบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากภาระงานที่มาก จำนวนชั่วโมงที่มากเกินควร […]

ไม่มีเงินเรียนหมอได้ไหม

เด็กต่างจังหวัดหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ‘ทุนเรียนดี แต่ยากจน’ ผ่านมา 20 ปี ทุนนี้ก็ยังคงอยู่ จนกลายเป็นสิ่งที่เด็กในประเทศนี้ต้องมาแย่งชิงกัน ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาฟรี (ที่ฟรีจริงๆ) ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรีเหมือนในหลายประเทศ แต่ปัจจุบันประเทศไทยให้เด็กเรียนฟรีในโรงเรียนรัฐแค่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ทำให้ทุกปีช่วงเปิดภาคการศึกษาเราจะได้เห็นข่าวเด็กสอบติดคณะต่างๆ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์แต่ไม่มีเงินเรียน อย่างกรณีนักเรียนหญิงอายุ 18 ปี ในจังหวัดกาฬสินธุ์สอบติดแพทย์ แต่ทางบ้านฐานะยากจน ทำให้ผู้ใจบุญและชาวเน็ตพร้อมใจโอนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือจนได้เงินบริจาคกว่า 3.7 ล้านบาท หลังจากมีข่าวออกไป เรื่องนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างหนัก หนึ่งในนั้นคือประเด็นที่ว่า “ทำไมประเทศนี้ให้ความสำคัญกับคนที่สอบติดแพทย์มากกว่าเด็กที่สอบติดคณะอื่นๆ” ไปจนถึง “คณะแพทย์ฯ มีทุนมากมายให้นักศึกษาที่มีฐานะยากจน” เมื่อสังคมตั้งคำถาม เราจึงพาทุกคนมาหาคำตอบว่าทำไมอาชีพหมอถึงถูกให้ความสำคัญในสังคมไทย และถ้าอยากเรียนแล้วไม่มีเงินจะเรียนได้ไหม | ค่านิยมของคนรุ่นเก่า “เก่งขนาดนี้ ทำไมไม่เรียนหมอ”“เป็นหมอแล้วได้เงินดีนะ มีค่าตอบแทนสูง”“หมอเป็นอาชีพมั่นคง ไม่ตกงาน” ในปี 2500 ได้มีการสำรวจ ‘ค่านิยมในการประกอบอาชีพของเด็กไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพระนครและเขตธนบุรี’ พบว่า ‘แพทย์’ คืออาชีพที่เด็กๆ ในยุคนั้นใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รองลงมาก็ครู ทหาร ตำรวจ และเข้ารับราชการ […]

ล้วงลึกโลกของยาเสพติด จากประสบการณ์ ‘หมอบำบัดผู้ติดยา’

ชวนจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสารเสพติด มาฉายด้านมืดของยาเสพติดให้กระจ่างขึ้น

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.